เนื้องอกในสมอง เนื้อเยื่อผิดปรกติที่สมอง ทำให้เกิดอาการปวดหัวอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ชัก มีปัญหาการพูดและการฟัง รวมถึงการมองเห็น กลายเป็นมะเร็งสมองได้โรคเนื้องอกในสมอง เนื้องอกในสมอง โรคสมอง โรคระบบประสาทและสมอง

ชนิดของเนื้องอกที่สมอง

สำหรับการแบ่งชนิดของเนื้องอกที่สมองนั้น สามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ เนื้องอกที่เป็นเนื้อธรรมดา และ เนื้องอกที่เป็นเนื้อร้าย ดดยรายละเอียดของเนื้องอก แต่ละประเภทมีรายละเอียด ดังนี้

  • เนื้องอกในสมองที่เป็นเนื้อธรรมดา ( Benign Brain Tumors ) ซึ่งเนื้องอกชนิดนี้ ไม่อันตรายและเจริญเติบโตช้า สามารถรักษาให้หายขาดได้
  • เนื้องอกในสมองที่เป็นเนื้อร้าย ( Malignant Brain Tumors ) ซึ่งเนื้องอกชนิดนี้ มีอันตรายเจริญเติบโตแบบผิดปกติ เป็น เซลล์มะเร็ง และจะลามเข้าสู่สมอง ไม่สามารถควบคุมการเจริญเติบโตได้

สาเหตุของการเกิดเนื้องอกในสมอง

สำหรับการเกิดเนื้องอกที่สมองนั้น เราสามารถแยกสาเหตุของโรคได้ 2 สาเหตุ แยกตามชนิดของเนื้องอก คือ สาเหตุของเนื้องอกในสมองแบบธรรมดา และ สาเหตุของเนื้องอกในสมองแบบเนื้อร้าย โยรายละเอียดของการเกิดเนื้องอกในสมอง มีดังนี้

  • สาเหตุการเกิดเนื้องอกในสมองแบบเนื้อธรรมดา พบว่าเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เซลล์มีการแบ่งตัวและเจริญเติบโตแบบผิดปกติ
  • สาเหตุการเกิดเนื้องอกในสมองแบบเนื้อร้าย เกิดจากเซลล์มะเร็งก่อที่สมอง โดยเซลล์มะเร็งจากอวัยวะอื่นลามเข้าสู่สมอง ทางกระแสเลือด จนเกิดเนื้อร้าย โดยเนื้อร้ายจะเจริญเติบโตได้เร็ว และเป็นอันตรายต่อร่างกาย

ระยะของการเกิดเนื้องอกในสมอง

ระยะของการเกิดเนื้องอกในสมอง มี 4 ระยะ เหมือนกับการเกิดมะเร็ง ซึ่งในการดูแลผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง จะไม่แบ่งระยะของมะเร็ง แต่จะแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกในสมองที่สามารถผ่าตัดรักษาได้ กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกในสมองที่ไม่สามารถผ่าตัดรักษาได้ และ กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกในสมองที่รักษาแล้วลับมาเป็นซ้ำ

อาการของผู้ป่วยโรคเนื้องอกในสมอง

เมื่อเกิดเนื้อร้ายขึ้นที่สมองนั้น จะแสดงอาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาทและสมอง โดยลักษณะอาการของโรคเนื้องอกในสมอง เป็นอาการที่แสดงออกอย่างรุนแรง ทำให้ผู้ป่วยได้รับความทรมาน โดยสามารถสรุปอาการของโรคได้ดังนี้

  • ปวดอย่างรุนแรง และ เพิ่มความปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • มีอาการง่วงซึม
  • ประสิทธิภาพในการพูดลดลง พูดจาติดขัด
  • ประสิทธิภาพการฟังลดลง ไม่ได้ยินเสียง
  • ประสิทธิภาพการมองเห็นลดลง มองเห็นเป็นภาพเบลอๆ หรือ มองเห็นภาพซ้อน
  • มีอาการสับสน มึนงง
  • ความจำไม่ดี
  • ประสิทธิภาพการทรงตัวลดลง
  • มีอาการชัก
  • แขนขาอ่อนแรง
  • อัมพาตครึ่งซีก

อาการต่างๆเหล่านี้ บ่งบอกถึงความผิดปรกติของการทำงานของสมองที่เชื่อมต่อกับระบบประสาท หากว่ามีอาการลักษณะดังกล่าว มีความเสี่ยงในการเกิดโรคเนื้องอกในสมองได้

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดเนื้องอกในสมอง

ปัจจัยต่างๆที่ทำให้มีโอกาสเกิดเนื้องอกในสมองนั้น มีหลายปัจจัย สามารถสรุปได้ ดังนี้

  • พันธุกรรม ในกรณีที่คนในครอบครัวมีประวัติการเกิดเนื้องอกในสมอง พบว่าคนในครอบครัวเดียวกันมีโอกาสการเกิดเนื้องอกในสมอง สูงกว่าคนในครอบครัวที่ไม่มีประวัติ
  • การได้รับรังสีอันตรายเป็นเวลานาน เช่น รังสีจากไมโครเวฟ คลื่นโทรศัพท์ รังสีจากการฉายแสงรักษามะเร็ง รังสีจากระเบิดปรมาณู แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานใดเชื่อมโยงว่ารังสีเหล่านี้ แต่การได้รับรังสีเข้าสู่ร่างกาย นั้นเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเนื้องอกในสมองได้
  • อายุ ซึ่งจากสถิติการเกิดโรคเนื้องอกในสมอง พบว่าเกิดขึ้นกับทุกเพศทุกวัย แต่อัตราการเกิดโรคของผู้ใหญ่มีสูงกว่าเด็ก

การวินิจฉัยโรคเนื้องอกในสมอง

เมื่อพบว่าระบบการทำงานของร่างกายผิดปรกติ ลักษณะคล้ายกับโรคเนื้องอกในสมอง นั้นแพทย์จะทำการวินิจฉัย โดยการซักประวัติ และ อาการโดยเบื้องต้น จากนั้นต้องทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดยมีวิธีการตรวจร่างกาย ดังนี้

  • การทำการเอกซเรย์สมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ( MRI ) หรือ การทำตรวจเอกซเรย์สมองทางคอมพิวเตอร์ (CT scan) จะทำให้แพทย์เห็นภาพเกี่ยวกับความผิดปรกติของสมองอย่างชัดเจน
  • การตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อตรวจให้ชัดเจนว่าเนื้องอกเป็นเนื้องอกชนิดใด
  • การตรวจเลือด เพื่อประเมินสภาพร่างกายโดยทั่วไปของผู้ป่วย
  • ตรวจเอกซเรย์ปอด เพื่อดูความผิดปกติในช่องอก ปอด และ การแพร่กระจายของโรคมะเร็งสู่ปอด

วิธีรักษาเนื้องอกในสมอง

การรักษาโรคเนื้องอกในสมอง นั้น มีความแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้องอก แบะ สภาพร่างกายของผู้ป่วย  โดยแนวทางการรักษาเนื้องอกในสมอง มีอยู่ 3 วิธีหลัก คือ การผ่าตัด การฉายรังสี การให้ยาเคมีบำบัด และการให้ยารักษาเพื่อบรรเทาอาการต่างๆ

  • การผ่าตัดเพื่อรักษาเนื้องอกในสมอง สามารถทำได้หากจุดที่เกิดเนื้องอกไม่กระทบต่อเนื้อเยื่อและเส้นประสาท ซึ่งการผ่าตันนั้แพทย์จะทำการผ่าตัดเอาเนื้องอกออกให้มากที่สุด
  • การฉายแสงเพื่อรักษาเนื้องอกในสมอง เป็นการใช้รังสีพลังงานสูง ทำลายเนื้องอกที่สมอง การฉายรังสีนั้นสามารถทำได้ทั้งวิธีการฉายรังสีจากภายนอก และ การฝังรังสี
  • การให้เคมีบำบัด เป็นการใช้ยาเพื่อทำบายเซลล์เนื้องอก โดยการให้เคมีบำบัดมีทั้งรูปแบบยากิน และ ยาฉีด ซึ่งการให้เคมีบำบัดนั้นต้องอยู่ในวินิจฉัยของแพทย์

ภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดเนื้องอกในสมอง

สิ่งที่ต้องระวังจากการเกิดโรคเนื้องอกในสมอง คือ ภาวะแทรกซ้อน ซึ่งภาวะแทรกซ้อนของโรคเนื้องอกในสมองมีความอันตรายถึงชีวิต โดยสามารถสรุป ได้ดังนี้

  • การตกเลือดที่สมอง ณ จุดที่มีเนื้องอกอยู่
  • ภาวะการอุดตันของน้ำไขสันหลัง ทำให้โพรงสมองคั่งน้ำ
  • ภาวะสมองเคลื่อนตัวจากฐานกะโหลก ทำให้ความดันสมองเพิ่มขึ้นอย่างเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิต
  • อาการชัก เมื่อเนื้องอกในสมองขยายตัว หรือ สมองมีอาการบวม เสี่ยงต่อการเกิดลมชัก แพทย์จะให้ทานยาต้านอาการชัก

การป้องกันการเกิดเนื้องอกในสมอง

เนื่องจากในปัจจุบัน การศึกษาทางการแพทย์ยังไม่ทราบยืนยันสาเหตุของการเกิดโรคเนื้องอกในสมองได้ แต่ปัจจัยการเกิดโรค คือ พันธุกรรม การรับรังสีอันตราย และ อายุของผู้ป่วยและภูมิต้านทานต่อโรคของแต่ละคน ดังนั้น ในปัจจัยการเกิดโรคบางอย่างสามารถป้องกันได้ โดยสามารถสมุนปแนวทางการป้องกันการเกิดโรคเนื้องอกในสมอง ได้ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้รังสีอันตราย เป็นเวลานาน เช่น รังสีไมโครเวฟ รังสีปรมณู
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และ ทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น ที่มีควันบุหรี่ สถานที่สกปรกไม่ถูกหลักอนามัย
  • หมั่นตรวจร่างกาย คัดกรองโรค เพื่อให้สามารถรักษาโรคได้ทันท่วงที
  • หากมีอาการผิดปรกติ ปวดหัวรุนแรง ให้พบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของโรค

โรคเนื้องอกในสมอง การเกิดเนื้อเยื่อผิดปรกติที่สมอง ทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ปวดหัวอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ชัก มีปัญหาการพูดและการฟัง รวมถึงการมองเห็น สามารถกลายเป็นมะเร็งสมองได้ หากไม่ได้รับการรักษา

อัมพาต ภาวะสมองขาดเลือด ( Ischemic Stroke ) ส่งผลต่อประสาทควบคุมร่างกาย ทำให้แขนขาอ่อนแรง เกิดจากหลอดเลือดสมองอุดตันหรือแตก เป็นภาวะฉุกเฉินทำให้เสียชีวิตได้โรคซีวีเอ โรคอัมพาต ภาวะสมองขาดเลือด โรคสมองขาดเลือด

โรคอัมพาต เกิดจากภาวะสมองขาดเลือด ส่งผลให้ระบบประสาทควาบคุมร่างกายไม่สามารทำงานได้ แขน ขา อ่อนแรง ไม่สามารถขยับได้ ผู้ป่วยที่เกิดภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว ร้อยละ 20 สามารถหายได้ภายใน 90 วัน หากสามารถหาสาเหตุของปัญหาทัน ในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ส่วนใหญ่จะไม่เสียชีวิต แต่จะอยู่ในภาวะซึมเศร้าและตรอบใจตาย

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคอัมพาต

การเกิดโรคสมองขาดเลือด ปัจจัยทั้งหมดเกิดจากปัจจัยการดำรงชิวิตที่ไม่ถูกวิธีเป็นส่วนใหญ่ ทั้งการกิน และความเครียด ปัจจัยเสี่ยงมีดังนี้

  • เกิดจากโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากแรงดันโลหิตสูง ทำให้ผนังหลอดเลือดเปราะ ทำให้หลอดเลือดสมองแตก ทำให้สมองขาดเลือด
  • เกิดจากโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะทำให้เลือดสูบฉีดมาก ทำให้แรงดันเลือดสูง เป็นโรคที่อยู่คู่กับโรคความดันโลหิตสูง
  • เกิดโรคอ้วน การมีน้ำหนักตัวมาก ทำให้เกิดการสะสมไขมันส่วนเกินในเลือดสูง เมื่อไขมันไปเกาะที่ผนังหลอดเลือดทำให้แรงดันเลือดสูงขึ้น และอาจทำให้แตกได้
  • การสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากสิ่งนี้ทำให้ผนังหลอดเลือดบาง ทำให้หลอดเลือดเปราะและแตกง่าย
  • การไม่ออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ ทำให้ระบบภายในร่างกายไม่แข็งแรง
  • การอยู่ในภาวะเครียด ไม่ผ่อนคลาย ทำให้ร่างกายเสื่อมสภาพเร็วขึ้น
  • ปัจจัยเกี่ยวกับอายุ เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายก็เสื่อมสภาพตามการใช้งาน ซึ่งพบว่าคนอายุ 45 ปีขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงสูงมากที่สุด
  • การเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อเส้นเลือด และแรงดันเลือด
  • กรรมพันธ์ พบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ คนในครอบครัวมีโอกาสเกิดโรคนี้สูงกว่าปรกติ

ในประเทศที่พัฒนาแล้ว มีอัตราความเสี่ยงของการเกิดโรคนี้มากกว่าปรกติ จากภาวะสภาพสังคมที่เครียดและการแข่งขันสูง

สำหรับการเกิดอัมพาต นั้นจะมีสัญญาณเตือนล่วงหน้า เราสามารถสังเกตุความเปลี่ยนแปรงของร่างกายได้ว่าหากมีความผิดปรกติ สามารถหาแพทย์เพื่อรักษาให้ทันเวลา โดยผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการ ชาที่แขนขา จากนั้านแขขาจะเริ่มอ่อนแรง หรือมีอาการชา หรืออ่อนแรงที่ร่างกายซีกใดซีกหนึ่ง สายตาจะมืด และมองไม่เห็นชั่วคราว มีภาพซ้อนและเบลอ เวียนหัว อาการบ้านหมุน เป็นลมบ่อยๆ และปวดหัวอย่างรุนแรง การพูดจาไม่ชัด ออกเสียงลำบาก มีอาการพูดตะกุกตะกัก พูดติดขัด ออกเสียงไม่ชัด  ความสามารถการกลืนอาหารลดลง อาการเหล่านี้หากหายภายใน 24 ชั่วโมง สามารถจะกลับสูภาวะปรกติ หากเกิน 24 ชั่วโมง ถือว่าเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ต้องใช้เวลาในการบำบัด

สาเหตุของการเกิดโรคอัมพาต

สาเหตุของการเกิดโรคอัมพาต หรือ โรคอัมพฤกษ์ เกิดจากสมองขาดเลือดอย่างกระทันหัน ซึ่งสาเหตุของสมองขาดเลือด เกิดจาก 2 สาเหตุสำคัญ คือ หลอดเลือดแดงไปเลื้ยงสมองอุดตัน และหลอดเลือดแดงไปเลี้ยงสมองแตก

  • หลอดเลือดสมองอุดตัน เกิดจากหลอดเลือดแดงสมองตีบตัน สาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดแดงตีบ คือ ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน การสูบบุหรี่ เกิดภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมอง หรือ ลิ่มเลือดจากโรคหัวใจเต้นรัว
  • หลอดเลือดสมองแตก เป็นสาเหตุที่พบมาก เกิดจากภาวะหลอดเลือดสมองโปร่งพอง จากโรคความดันโลหิตสูง

แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดหลอดเลือดไปเลี้ยงสมองมีปัญหา ไม่ได้เกิดจากปัญหาของหลอดเลือดโดยตรง แต่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน โรคความดัน และภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง ซึ่งสาเหตุที่แท้จริงคือ การใช้ชีวิตไม่ถูกวิธี คือ การพักผ่อนน้อย กินอาหารไม่มีประโยชน์ และเครียด

อาการของผู้ป่วยโรคอัมพาต

สำหรับอาการได้กล่าวไปแล้วในข้างต้น แต่เราจะแสดงรายการอาการโรคอัมพาต เพื่อให้ดูง่ายมากขึ้นมีดังนี้

  • แขน ขา ชาและอ่อนแรงไม่สามารถขยับได้ หรือ อ่อนแรงครึ่งซีก ข้างใดข้างหนึ่ง
  • ความสามารถในการพูด และฟังน้อยลง
  • มีปัญหาระบบการมองเห็น เช่น ตาพร่ามัว มองไม่ชัด เห็นภาพเพียงบางส่วน เห็นภาพได้แคบลง
  • ความสามารถในการหายใจน้อยลง ทำให้หายใจลำบาก และเหนื่อยหอบง่าย
  • ปวดหัว เวียนหัว เสียความสามารถในการทรงตัว
  • ปวดหัวอย่างรุนแรงแบบกระทันหัน
  • คลื่นไส้อาเจียน

การตรวจวินิจฉัยโรคอัมพาต

การตรวจวินิจฉัย แพทย์จะสังเกตุจากอาการ การตรวจร่างกาย เช่น ความดันโลหิต การตรวจการเต้นของหัวใจ การตรวจระบบประสาท การตรวจเลือด เพื่อดูน้ำตาลและไขมันในเลือด จากนั้นทำการตรวจสมองด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

การรักษาโรคอัมพาต

สำหรับการรักษานั้น ต้องรักษาตามอาการของสาเหตุที่ทำให้สมองขาดลเือด

  • หากเกิดจากหลอดเลือดสมองแตก ต้องเข้ารับการผ่าตัด ใส่สารบางอย่างเพื่อไปอุดหลอดเลือด
  • หากเกิดจากภาวะหลอดเลือดสมองโป่งพอง สามารถรักษาโดยการให้ยาละลายลิ่มเลือด

นอกจากนั้นแล้ว การรักษาจะทำเพื่อป้องกันการเกิดโรคอีกครั้ง เช่น การให้กินยาลดการแข็งตัวของเลือด การควบคุมการเกิดโรคที่มีผลต่อหลอดเลือด เช่น รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาโรคเบาหวาน และรักษาโรคไขมันในหิตสูง รวมถึงการทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อให้แข้งแรง และฝึกการพูด เป็นต้น

การดูแลตนเองและดูแลผู้ป่วยโรคอัมพาต

  • ให้ปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • ให้ขยันทำกายภาพบำบัด
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน ของผู้ป่วยให้ดี เพื่อคามเสี่ยงการติดเชื้อ
  • จัดสถานที่ที่มีผู้ป่วยให้เหมาะสม และเพื่อความสะดวกในการช่วยตัวเองได้
  • จัดอาหารให้ครบหมวดหมู่ และถูกสุขอนามัย

ป้องกันโรคอัมพาต

  • หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคที่หมด
  • ไม่สูบบุหรี่
  • ไม่ดื่มเครื่องดืมผสมแอลกอฮอ
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ลดของหวาน และไขมัน
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในภาวะปรกติ
  • ตรวจสุขภาพร่างกายประจำปี
  • ในผู้ป่วยให้กินยาตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด

ผลข้างเคียง ที่เกิดจากโรคอัมพาต นั้น คือ คุณภาพชีวิตที่ลดลง ความพิการ ปัญหาด้านการทำงาน ปัญหารายได้ ซึ่งทั้งหมด จะส่งผลผลต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพ เป็นอย่างมาก

โรคอัมพาต โรคอัมพฤกษ์ เกิดจากภาวะสมองขาดเลือด เป็นโรคที่มีความรุนแรงสูง ทำให้เสียชีวิตได้ และหากรอดชีวิตร่างกายก็จะไม่กลับสู่ปรกติ มักจะพิการ ช่วยตัวเองไม่ได้มาก ร่างกายอ่อนแอ ติดเชื้อง่าย รวมถึงเกิดภาวะโรคซึมเศร้า ด้วย เป็นโรคที่ต้องการกำลังใจในการใช้ชีวิตสูงมาก

หลายคนเรียกโรคนี้ว่าโรคเวรโรคกรรม เหมือนตายทั้งเป็น เป็นโรคที่ไม่ฆ่าใครตายแต่สร้างความทรมานทางจิตใจมาก ในปัจจุบันภาวะสังคมที่มีการแข่งขันสูง ความเครียดทำให้เกิดโรคนี้มากขึ้น ในวันที่ 24 พ.ค.ของทุกปี เป็นวันอัมพฤกษ์ อัมพาตโลก วันหลอดเลือดสมอง ผู้เกี่ยวข้องด้านสาะารณสุขจะออกมารณรงค์ให้ประชาชน หันมาใส่ใจดูแลสุขภาพ ร่างกายและจิตใจให้แข็งแรง เพื่อป้องกัน โรคสมองขาดเลือด เรามาทำความรู้จักกับโรคสมองขาดเลือด โรคอัมพาต ให้ละเอียดมากขึ้น ว่า ปัจจัยเสี่ยงของโรค สาเหตุของโรค อาการ การรักษา และการดูแลผู้ป่วย จะทำอย่างไร

จากสถิติของประชากรไทย ปี พ.ศ.2547 พบว่า ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของหญิงไทยอันดับหนึ่ง ร้อยละ 15 ของการเสียชิวิต การเกิดโรคหลอดเลือดในสมอง ของคนไทย มีอัตรา 250 คน ต่อ หนึ่งแสนคน คนไทยเป็นโรคหลอดเลือดในสมอง ปีละ 150,000 คน มีการเสียชีวิตทุกๆ 10 นาที จากโรคนี้

โรคอัมพาต เป็นอาการ แขน ขา หรือร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ ขยับไม่ได้ และอ่อนแรง ส่วนอัมพฤกษ์ คือ อาการ แขน ขา อ่อนแรงกว่าเดิม แต่สามารถใช้งานได้อยู่ ทั้งสองอาการเกิดจากอาการสมองขาดเลือด จึงทำให้เกิดอาการแขนขาใช้งานไม่ได้ หรืออ่อนแรง โรคนี้ทางการแพทย์ เรียก โรคซีวีเอ ย่อมาจาก cerebrovascu lar accident

อาการผิดปกติของร่างกายที่ที่เกิดจากสมองขาดเลือด นานกว่า 24 ชั่วโมง โรคอัมพาต สามารถพบได้มากในคนอายุ 45 ปีขึ้นไป ซึ่งสามารถพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคนี้มีหลายปัจจัย เราได้รวมปัจจัยของการเกิดอัมพาต มาให้ มีดังนี้

โรคอัมพาต ภาวะสมองขาดเลือด ( Ischemic Stroke ) คือ ภาวะขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง ส่งผลให้ระบบประสาทควบคุมร่างกายทำงานผิดปรกติ แขนขาอ่อนแรง เกิดจาก หลอดเลือดแดงไปเลื้ยงสมองอุดตัน หรือ หลอดเลือดแดงไปเลี้ยงสมองแตก กรณีรุนแรงรักษาไม่ทันอาจเสียชีวิตได้ สาเหตุ อาการ การรักษา การป้องกันโรค


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove