กระเทียม สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหาร คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม ประโยชน์และสรรพคุณเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ลดความดัน รักษาแผล ช่วยขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ บำรุงธาตุ

กระเทียม พีชสวนครัว สมุนไพร สรรพคุณของกระเทียม

ต้นกระเทียม มีชื่อสามัญ ว่า Garlic ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเทียม คือ Allium sativum L. จัดว่าเป็นพืชในวงศ์พลับพลึง ( AMARYLLIDACEAE ) และอยู่ในวงศ์ย่อย ALLIOIDEAE การปลูกกระเทียมในประเทศไทยนั้น นิยมปลูกมากในทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่กระเทียมที่ขึ้นชื่อว่ามีคุณภาพดี ต้องกระเทียมศรีสะเกษ กระเทียม นั้น ช่วยรักษาโรคกลากเกลื้อน ใช้น้ำคั้นหัวกระเทียมผสมน้ำอุ่นและเกลือ ใช้กลั้วคอใช้รักษาโรคทอนซิลอักเสบ กระเทียม นิยมปลูกมากในทางภาคอีสานและภาคเหนือ

ลักษณะของกระเทียม

กระเทียม เป็นพืชล้มลุก ลำต้นสูง 2 ฟุต หัวกระเทียมมีลักษณะกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 เซ็นติเมตร ด้านนอกเป็นกลีบเล็กๆ จำนวน 10-15 กลีบ ส่วนเนื้อของกระเทียมมีสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นฉุนจัด

คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกระเทียมสด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้ลังงาน 149 กิโลแคลอรี มีสารสำคัยประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 33.06 กรัม น้ำตาล 1 กรัม กากใยอาหาร 2.1 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม โปรตีน 6.36 กรัม วิตามินบี 1 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.11 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.7 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.596 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 1.235 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 3 ไมโครกรัม วิตามินซี 31.2 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 181 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.672 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 153 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 401 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 1.16 มิลลิกรัม และธาตุซีลีเนียม 14.2 ไมโครกรัม

สรรพคุณของกระเทียม

สมุนไพร กระเทียม นิยมนำมาทำอาหาร กระเทียมมีกลิ่นฉุน ให้ความหอมในอาหาร และมีรสหวานหากนำมาต้ม การบริโภคกระเทียมก็เหมือนการกินยา เป็นอาหารสุมนไพร อาหารสุขภาพ บำรุงร่างกายมากมาย เราได้รวบรวม สรรพคุณของกระเทียมมาให้เพื่อนๆได้เป็นข้อมูล การนำกระเทียมมาใช้ประโชยน์

  1. กระเทียมใช้ช่วยบำรุงผิวหนัง ให้มีสุขภาพผิวดี
  2. กระเทียมนำมาใช้ ช่วยการเจริญอาหารให้อยากกินอาหารจะได้เจริญเติบโต ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของเนื้อเยื่อ บำรุงข้อต่อและกระดูกในร่างกาย
  3. การบริโภคกระเทียมช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้
  4. กระเทียมกินดี ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันร่างกาย
  5. สรรพคุณบำรุงเลือด หากต้องการลดไขมันในเส้นเลือด และลดน้ำตาลในเส้นเลือดควรกินกระเทียม ช่วยป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว ช่วยในการละลายลิ่มเลือด มีสารต่อต้านไม่ให้เม็ดเลือดแดงแตก
  6. ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย คือ ประโยชน์ของกระเทียมอีกข้อหนึ่ง
  7. กระเทียมช่วย ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ
  8. เพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้โดย กระเทียมจะช่วยในเรื่องระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินปัสสาวะ เพราะกระเทียมมีสารบางตัวที่ควบคุมฮอร์โมนทั้งหญิงและชาย ช่วยทำให้มดลูกบีบตัว เพิ่มพละกำลังให้มีเรี่ยวแรง ช่วยป้องกันการเกิดโรคไต
  9. กระเทียมช่วยรักษาความดันโลหิตสูง ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ
  10. กระเทียม มีประโยชน์ด้านผมและหนังศีรษะโดยช่วยแก้ปัญหาผมบาง ยาวช้า มีสีเทา
  11. กระเทียมบำรุงโลหิต ช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง
  12. ช่วยในการขับพิษ และสารพิษอันตรายที่ปนเปื้อนในเม็ดเลือด
  13. สรรพคุณป้องกัน อาการไอ น้ำมูกไหล ป้องกันหวัด โรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ กระเทียมช่วยแก้อาการหอบ หืด ช่วยรักษาโรคหลอดลม ช่วยระงับกลิ่นปาก ช่วยในการขับเหงื่อ
  14. กระเทียมช่วย ขับเสมหะ ช่วยควบคุมโรคกระเพาะ ด้วยสารที่ช่วยยับยั้งไม่ให้น้ำย่อยอาหารมาย่อยแผลในกระเพาะ มีสรรพคุณช่วยในการขับลม ช่วยรักษาอาการจุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก โรคบิด
  15. กระเทียม สรรพคุณช่วยในการขับปัสสาวะ ช่วยในการขับพยาธิได้หลายชนิด เช่น พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย พยาธิเข็มหมุด พยาธิไส้เดือน เป็นต้น ช่วยรักษาโรคตับอ่อนอักเสบชนิดรุนแรงได้
  16. กระเทียมมีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อรา แบคทีเรีย เชื้อราตามหนังศีรษะและเล็บ และการยับยั้งเชื้อ เช่น เชื้อฝีหนอง คออักเสบ เชื้อปอดบวม เชื้อวัณโรค เป็นต้น
  17. กระเทียมช่วย บรรเทาอาการปวดข้อและปวดเมื่อยตามร่างกาย กระเทียมมีกลิ่นฉุนจึงสามารถช่วยไล่ยุงได้เป็นอย่างดี

ข้อควรคำนึงในการบริโภคกระเทียม

  1. การบริโภคกระเทียม เนื่องจากกลิ่นฉุนของกระเทียมหากบริโภคมากเกินไปจะเสียรสชาติของอาหาร การ
  2. ใช้กระเทียมในการบริโภคสดให้ใส่ในปริมาณที่เหมาะสม
  3. สารอาหาร จำพวกอาหารเสริมที่เป้นสารสกัดมาจากกระเทียม จำเป็นต้องศึกษาอย่างละเอียดถึงปริมาณในการบริโภคที่เหมาะสมต่อร่างกาย

การกินกระเทียมวันละ 5 กลีบ นั้นเป็นยาวิเศษ จะบรรเทาอาการแสบแน่นอกจากกรดไหลย้อน ลดแก็สในลำใส้ และป้องกันอาการท้องใส้ปั่นป่วน การกินกระเทียม เหมือนการกินแอสไพรินช่วยลดไข้ ที่มีประโยชน์สูงสุดคือ ช่วยต้านการแข็งตัวของเลือด กระเทียมแห้งมีฤทธิ์น้อยกว่ากระเทียมสด ไม่กินกระเทียมแทนยา แต่การกินกระเทียมต่อเนื่องในปริมาณที่เหมาะสมจะดีต่อสุขภาพ

กระเทียม สมุนไพร พืชล้มลุก นิยมนำมาทำอาหาร คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม ประโยชน์ของกระเทียม สรรพคุณของกระเทียม เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยลดความดัน รักษาแผลสด เป็นยาฆ่าเชื้อ ช่วยขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ บำรุงธาตุ  

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ต้นคำฝอย ( Safflower ) นิยมใช้ประโยชน์จากดอกของคำฝอย สกัดได้สีส้มจากธรรมชาติ สรรพคุณขับประจำเดือน บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต ลดไขมันในเลือด ขับเสมหะ แก้โรคผิวหนัง

คำฝอย ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุรของคำฝอย

คำฝอย นั้นมีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศตะวันออกกลาง สามารถเจริญเติบโตได้ดีทั้งในเขตหนาว และเขตร้อน สำหรับประเทศไทยมีการนำมาปลูกมากในภาคเหนือ เพื่อนๆหลายท่านคงไม่ทราบว่า ชาจากดอกคำฝอย เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เป็นเครื่องดื่มที่ไร้ซึ่งคาเฟอีน แถมยังมี สรรพคุณทางยาอีกต่างหาก เป็นสมุนไพรไทยที่ดีมากๆ

ดอกคำฝอย ชื่อภาษาอังกฤษ เรียก Carthamus tinetorius L. ต้นคำฝอย เป็นต้นไม้ที่พบได้ทางภาคเหนือของประเทศ  ชื่อเรียกอื่นๆของคำฝอย เช่น ดอกคำ คำยอง คำยุง คำหยุม เป็นต้น ดอกคำฝอย พบว่ามีบันทึกไว้ในกระดาษปาปิรัสของอียิปต์ ว่ามีการปลูกต้นคำฝอยบริเวณลุ่มน้ำยูเฟรติส สำหรับใช้เป็นสีผสมน้ำมันสำหรับพิธีกรรมการทำมัมมี่ และในปัจจุบันก็มีการปลูกต้นคำฝอยในพื้นที่อียิปต์ อินเดีย จีน และแถบประเทศที่มีอากาศเย็น เพื่อใช้สำหรับเป็นสีผสมอาหาร ผสมเนยแข็ง และสีย้อมผ้า เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของคำฝอย

นักโภชนาการได้ทำการศึกษาประโยชน์ของเมล็ดและดอกของคำฝอย พบว่า มีน้ำมัน 35 เปอร์เซ็นต์ โปรตีน 8-17 เปอร์เซ็นต์ กรดโอเลอิก 10-60 เปอร์เซ็นต์ กรดลิโนเลอิก 60-80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนกลีบดอกคำฝอยปริมาณ 100 กรัม มีสารอาหารและสารเคมีประกอบ ประกอบด้วย น้ำมัน 0.83 เปอร์เซ็นต์ โปรตีน 5 เปอร์เซ็นต์ เถ้า 1.9 เปอร์เซ็นต์ กากใยอาหาร 10.4 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียม 530 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 287 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 7.3 มิลลิกรัม สารคาร์ทามีดีน ( carthamidine ) ให้สีเหลือง และ สารคาร์ทามีน ( carthamine ) ให้สีแดง

ลักษณะของต้นคำฝอย

ต้นคำฝอย เป็นไม้ล้มลุก ความสูงประมาณ 1 เมตร ขอบใบเป็นหยักเหมือนฟันเลื่อย ปลายของใบจะแหลม เป็นพืชสมุนไพรที่ปลูกง่ายและชอบอากาศเย็น โดยลักษณะของต้นคำฝอย มีดังนี้

  • ลำต้นคำฝอย เป็นลักษณะสัน แตกกิ่งก้านมาก เป็นพืชที่มีอายุสั้น ทนแล้ง เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีระดับความสูงต่ำกว่า 1,000 เมตร ชอบดินร่วนปนทรายหรือดินที่มีการระบายน้ำได้ดี โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกจะอยู่ระหว่าง 5-15 องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิที่เหมาะสมในช่วงออกดอกคือ 24-32 องศาเซลเซียส ใช้ระยะเวลาการปลูกประมาณ 80-120 วันจนเก็บเกี่ยว
    ต้นคําฝอย
  • ใบคำฝอย มีใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปวงรี ลักษณะของใบคล้ายรูปหอกหรือรูปขอบขนาน ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ปลายเป็นหนามแหลม ใบมีความกว้างประมาณ 1-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-12 เซนติเมตร
  • ดอกคำฝอย ออกดอกรวมกันเป็นช่ออัดแน่นบนฐานดอกที่ปลายยอด มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกคำฝอยมีลักษณะกลมคล้ายดอกดาวเรือง เมื่อดอกคำฝอยบานใหม่ ๆ จะมีกลีบดอกสีเหลืองแล้วจึงค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีส้ม เมื่อแก่จัดดอกจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง ที่ดอกมีใบประดับแข็งเป็นหนามรองรับช่อดอกอยู่
  • ผลคำฝอย ลักษณะของผลคล้ายรูปไข่หัวกลับ ผลเบี้ยว ๆ มีสีขาวงาช้างปลายตัด มีสัน 4 สัน ขนาดของผลยาวประมาณ 0.6-0.8 เซนติเมตร ผลเป็นผลแห้งไม่แตก ด้านในผลมีเมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยมยาวรี เปลือกแข็ง มีสีขาว ขนาดเล็ก เมื่อผลแก่แห้งเมล็ดจะไม่แตกกระจาย

สรรพคุณของคำฝอย

การนำเอาต้นคำฝอย มาทำสมุนไพรนั้นสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้ง ดอกสดและดอกแก่ เกสร และ เมล็ด โดยรายละเอียดดังนี้

  • ดอกคำฝอย จะมีรสหวาน ดอกคำฝอยมีสรรพคุณทางยา บำรุงโลหิต บำรุงระบบประสาท บำรุงหัวใจ ขับประจำเดือน ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยป้องกันไขมันอุดตัน
  • ดอกคำฝอยแก่ เรานำมาทำสีผสมอาหารหากนำดอกคำฝอยแก่มาแช่น้ำจะให้สีเหลือง สามารถนำมาผสมในอาหารหรือผสมขนมให้สีสันที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค ดอกคำฝอยแก่ เรานิยมนำมาชงเป็นชา ที่แก่มาชงกับน้ำร้อน
  • เกสรของดอกคำฝอย มีสรรพคุณช่วย บำรุงโลหิต ช่วยขับประจำเดือน
  • เมล็ดของดอกคำฝอย สรรพคุณช่วยขับเสมหะ แก้โรคผิวหนัง หากนพเมล็ดมาบดและทาจะช่วยแก้อาการบวมได้

โทษของคำฝอย

สำหรับการนำคำฝอยมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรค มีข้อควรระวัง ดังนี้

  1.  สตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน เนื่องจากดอกคำฝอย มีฤทธิ์ขับประจำเดือน และทำให้กล้ามเนื้อมดลูกหดตัว อาจทำให้แท้งลูกได้
  2. ควรระมัดระวังการใช้ดอกคำฝอยร่วมกับยาในกลุ่มต้านเกร็ดเลือดแข็งตัว

แม้ว่าดอกคำฝอยจะเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณแทบจะครอบจักรวาล แต่ก็ยังมีข้อควรระวังก่อนทานเช่นกัน ดอกคำฝอยมักถูกใช้เป็นส่วนประกอบของยาสมุนไพร โดยจัดรวมกลุ่มใช้ด้วยกันกับยา หรือพืชตัวอื่นๆ จะไม่ใช้ดอกคำฝอยเดี่ยวๆ เพราะต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม มิเช่นนั้นอาจส่งผลกระทบต่อระบบเลือดได้ หากทานดอกคำฝอยมากเกินไป หรือติดต่อกันนานเกินไป อาจส่งผลให้มีอาการโลหิตจางได้ ซึ่งทำให้มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย วิงเวียนศีรษะ หรืออาจทำให้โลหิตประจำเดือนมามากผิดปกติ

ต้นคำฝอย ( Safflower ) คือ พืชสมุนไพร มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศตะวันออกกลาง ต้นคำฝอยนิยมใช้ประโยชน์จาก ดอกของคำฝอย ดอกคำฝอย สามารถสกัดเอาสีส้มได้ ใช้ผสมอาหาร  คุณค่าทางโภชนาการของดอกคำฝอย สรรพคุณของคำฝอย เช่น ขับประจำเดือน บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต ลดไขมันในเลือด ขับเสมหะ แก้โรคผิวหนัง แก้บวม บำรุงระบบประสาท


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove