เส้นเลือดสมองแตก เวียนหัวอย่างรุนแรง สายตาพร่ามัว อาเจียน

เส้นเลือดสมองแตก ภาวะสมองขาดเลือดและออกซิเจน ทำให้สมองถูกทำลาย สูญเสียการควบคุมร่างกาย เป็นภาวะอันตราย ต้องรับการรักษาจากแพทย์อย่างใกล้ชิด คนสูบบุหรี่เสี่ยงหลอดเลือดสมองแตก เส้นเลือดสมองแตก โรคสมอง อัมพฤษ์

เส้นเลือดสมองแตก จัดเป็นโรคอันตราย ต้องนำผุ็ป่วยส่งโรงพยาบาลให้ทัน โรคนี้คนไทยเป็นเยอะและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆเลยทีเดียวพบมากในคนอายุ 50 ปีขึ้นไป โรคนี้มักเกิดจากความเสื่อมของหลอดเลือดที่สมองจากการเสื่อมตามอายุ ผู้ป่วยที่เส้นเลือดสมองแตกอาจกลายเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต กลายเป็นผุ้ป่วยติดเตียงได้ การรักษานอกจากต้องรักษาโรคทางกาย โรคทางใจเป็นสิ่งที่จะควบคู่กันไปกับคนเส้นเลือดสมองแตก

6 สัญญาณเตือนสำหรับโรคเส้นเลือดสมองแตก

  • ความเครียด ความเครียดทำให้ระบบการทำงานของร่างกายขาดความสมดุล หากมีอาการเหนื่อยโดยไม่มีสาเหตุ ควรพบแพทย์ทันที เนื่องจากนี้เป็นสัญญาณของเส้นโลหิตในสมองแตก
  • มีปัญหาของตาข้างใดข้างหนึ่งมองไม่เห็น สมองแต่ละซีกทำงานในการควบคุมการทำงานของร่างกาย เมื่อสมองได้รับการกระทบกระเทือนจากเส้นเลือดในสมองแตก จะทำให้เกิดปัญหาการมองไม่เห็น
  • อ่อนแรง โดยมีอาการแขนขาอ่อนแรงการทำงานของสมองผิดปกติทำให้แขนหรือขาด้านใดด้านหนึ่งชา ถ้ารู้สึกว่าแขนขาชานั้นอาจจะเป็นเรื่องปกติหากหายเองภายใน 2-3 นาที แต่หากไม่หายต้องพบแพทย์ด่วน
  • มีอาการเวียนหัวและพูดติดขัด เรื่องการพูดนั่นเป็นสัญญาณว่าสมองไม่สามารถจะตอบสนองต่อการพูดและเส้นประสาทในการรับผิดชอบในการพูดได้ควรปรึกษาแพทย์ทันที
  • มีความสับสนด้านความคิด เนื่องจากสมองอาจขาดออกซิเจน ทำให้ไม่สามารถจดจำได้อย่างคล่องแคล่ว ไม่สามารถจะพูดให้คนอื่นเข้าใจได้ อาจจะมีเส้นเลือดในสมองที่แตกอยู่
  • ปวดหัวอย่างรุนแรง คนที่ไม่เคยมีประวัติเป็นไมเกรนมาก่อน อาจเป็นสัญญาณเตือนว่า โรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน ควรเช็คกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที

สาเหตุของเส้นเลือดสมองแตก

ภาวะเส้นเลือดในสมองแตก หรือ ตีบตัน นั้นเป็นสาเหตุจากโรคหลอดเลือดในสมอง ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยเส้นเลือดสมองแตกเกิดจากลิ่มเลือดอุดตันระบบไหลเวียนของโลหิต หรือ ไขมันอุดตันหลอดเลือดในสมอง ทำให้หลอดเลือดตีบ และ ประสิทธิภาพในการไหลเวียนเลือดลดลง ส่งผลให้เลือดและออกซิเจนไม่สามารถเข้าไปเลี้ยงสมองได้ และ อีกร้อยละ 20 ของผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตก เกิดจาก หลอดเลือดสมองแตก หรือ ฉีกขาด เกิดจาก หลอดเลือดที่สมองเปราะบาง เมื่อมีภาวะความดันโลหิตสูงอาจทำให้เส้นเลือดสมองแตกได้ เส้นเลือดสมองหากแตกถือว่าอันตรายมาก ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดเส้นเลือดสมองแตก

สามารถสรุปปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองแตก หรือ ตีบตัน นั้น ได้ดังนี้

  • ภาวะความดันโลหิตสูง ความดันดลหิตที่สูงทำให้เกิดแรงดันที่หลอดเลือดหากหลอดเลือดเปราะบางก้สามารถแตกได้ง่าย
  • ภาวะไขมันในเลือดสูง การมีไขมันในเส้นเลือดสูงทำให้เกิดไขมันสะสมและเกาะตัวที่เส้นเลือดทำให้เกิดความดันเลือดสูงขึ้น
  • มีภาวะโรคเบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูงทำให้เกิดหลอดเลือดแข็งทั่วร่างกาย
  • การสูบบุหรี่และการใช้ยาเสพติด
  • การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก
  • มีประวัติบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นโรคเส้นเลือดในสมองแตก
  • มีความเสี่ยงที่ทำให้ลิ่มเลือดที่จะไปอุดตันหลอดเลือดสมอง
  • การขาดการออกกำลังกาย
  • การเสื่อมของหลอดเลือดตามอายุ

อาการของโรคเส้นเลือดสมองแตก

สำหรับอาการของโรคนี้สามารแบ่งอาการของโรค ได้ 2 ระยะ คือ ระยะเส้นเลือดสมองเริ่มตีบตัน และ ระยะเส้นเลือดสมองแตกไปแล้ว

  • ระยะเส้นเลือดสมองเริ่มตีบตัน ระบบไหลเวียนเลือดสู่สมองเริ่มติดขัด ทำให้สมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ทำให้มีอาการตาพร่ามัว ชาตามร่างกาย อาจมีอาการหมดสติได้
  • ระยะเส้นเลือดในสมองแตก เป็นระยะที่เกิดอาการแล้ว เป็นระยะที่มีความอันตรายมาก เนื่องจากมีเลือดออกในสมอง ต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน เป็นระยะที่เสี่ยงต่อการเป็นอัมพาตได้

ลักษณะความรุนแรงของอาการเส้นเลือดในสมองแตกนั้นแตกต่างกันออกไปตามความแข็งแรงของร่างกายแต่ละคน และความเสียหายของสมองจากการขาดเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง อาการที่เป็นสัญญาณของเส้นเลือดในสมองแตก ดังนี้

  • มีอาการชาตามตัว แขนขาอ่อนแรง ขยับตัวไม่ได้ อัมพาตครึ่งซีก
  • ใบหน้าบิดเบี้ยว ควบคุมกล้ามเนื้อบนใบหน้าไม่ได้ สูญเสียการควบคุมใบหน้า เช่น มุมปากตก น้ำลายไหล กลืนลำบาก พูดลำบาก พูดติดขัด สื่อสารไม่ได้ มึนงง
  • ทรงตัวไม่ได้ เสียสมดุลการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น เดินเซ เดินลำบาก ขยับแขนขาลำบาก
  • มีปัญหาด้านสายตา เช่น สายตาพร่ามัว มองไม่เห็น มองเห็นภาพซ้อน ตาบอดข้างเดียว
  • มีอาการเวียหัวอย่างรุนแรง คลื่นไส้อาเจียนร่วม

เมื่อมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นตามลักษณะที่กล่าวมาข้างต้นให้รีบพบแพทย์ทันที

การวินิจฉัยโรคเส้นเลือดสมองแตก

การวินิตฉัยการเกิดโรคเส้นเลือดในสมองแตกนั้น แพทย์สามารถทำการวินิจฉัยโรคได้จาก ลักษณะทางกายภาพที่พบเห็น และ ต้องทำการตรวจร่างกาย เพื่อให้ทราบความชั้ดเจนของโรค โดย

  • ตรวจความดันโลหิต
  • ตรวจเลือด
  • ตรวจเอกซเรย์หลอดเลือดสมอง (Angiogram) แพทย์จะฉีดสารย้อมสีเข้าสู่เส้นเลือด จากนั้นจึงฉายภาพเอกซเรย์ส่วนศีรษะเพื่อหาจุดที่เส้นเลือดในสมองแตกหรืออุดตัน
  • ตรวจสมองด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ใช้รังสีจากเครื่อง CT Scan ฉายไปยังบริเวณศีรษะ แล้วสร้างภาพออกมาด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยลักษณะและตำแหน่งที่เส้นเลือดในสมองแตกหรืออุดตัน
  • ตรวจสมองด้วยเครื่องจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI Scan) การตรวจคล้ายกับ CT Scan แต่เครื่องจะสร้างภาพจากสนามแม่เหล็กที่ส่งคลื่นไปรอบ ๆ ตัวผู้ป่วยในขณะตรวจ และภาพที่ออกมาจะมีรายละเอียดที่ชัดเจนกว่า CT Scan
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: EKG) ด้วยการติดขั้วไฟฟ้าบริเวณหน้าอก แพทย์จะตรวจหาความผิดปกติผ่านทางจอภาพที่แสดงจังหวะการเต้นของหัวใจ
  • ตรวจหลอดเลือดใหญ่ที่คอ (Carotid Ultrasound) เป็นการตรวจการไหลเวียนของเลือดในเส้นเลือดบริเวณลำคอที่ทำหน้าที่ส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง
  • ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram)

การรักษาโรคเส้นเลือดสมองแตก

สำหรับการรักษาโรคเส้นเลือดในสมองแตกนั้น มีแนวทางการรักษาที่แตกต่างกัน ตามระยะของโรค โดยรายละเอียดของการรักษาโรคมี ดังนี้

  • การรักษาโรคหลอดเลือดในสมองแตกในระยะที่หลอดเลือดตีบตัน รักษาด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือดเพื่อทำให้เลือดไหลเวียนได้อย่างปกติ
  • การรักษาโรคหลอดเลือดในสมองในระยะหลอดเลือดสมองแตกไปแล้ว ต้องทำการการควบคุมเลือดที่ออกในสมอง รักษาระดับความดันเลือด และต้องผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายของเนื้อสมอง

เส้นเลือดสมองถูกลิ่มเลือดอุดตันทำให้ระบบไหลเวียนเลือดสู่สมองไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อออกซิเจนในเลือดไม่เพียงพอ การรักษาจะได้ผลดีกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต้องรีบพบแพทย์ภายใน 4 ชั่วโมงนับจากมีอาการอย่างไรก็ตาม หากเป็นกรณีฉุกเฉินที่ผู้ป่วยเกิดเส้นเลือดอุดตันในสมอง เป้าหมายของการรักษา คือ ควบคุมปริมาณเลือดที่ออกด้วยการรักษาระดับความดันโลหิต ในกรณีที่เลือดออกมาก แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสมองด้วย

การป้องกันการเกิดโรคเส้นเลือดสมองแตก

เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเส้นเลือดในสมองแตกมีหลายประการ การป้องกันการเกิดโรคทำได้ง่ายกว่าการรักษาเนื่องจากหากเกิดขึ้นแล้วการจะกลับมาใช้ชีวิตอย่างปรกติทำได้ยาก แนวทางการป้องกันการเกิดโรค มีดังนี้

  • ตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ เพื่อทราบถึงระดับความดันเลือดของตนเอง
  • ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในระดับสมดุลย์
  • ตรวจวัดระดับไขมันในเส้นเลือดให้อยู่ในระดับปรกติ
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ไม่สูบบุหรี่
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม หวานและมัน

เส้นเลือดสมองแตก ภาวะสมองขาดเลือด และ ออกซิเจน จากหลอดเลือดสมอง ตีบ อุดตัน หรือ แตก สมองถูกทำลาย สูญเสียการควบคุมร่างกาย โรคอันตราย การป้องกันโรคง่ายกว่าการรักษา

Last Updated on March 17, 2021