ตับอักเสบ ( Hepatitis ) ภาวะตับบาดเจ็บหรือถูกทำลาย อาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว ไข้ต่ำๆ ปวดท้องใต้ชายโครงขวา ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะมีสีเข็ม อุจจาระมีสีซีดตับอักเสบ โรคตับอักเสบ โรคเป็นพิษต่อตับ โรคตับ

ภาวะตับอักเสบ เรียกว่า Hepatitis หมายถึง การอักเสบของเซลล์ตับ ที่เกิดการบาดเจ็บ หรือการถูกทำลายของเนื้อตับ ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพทำงานของตับ  สาเหตุของการเกิดตับอักเสบ แยกได้ 2 กรณี คือ ภาวะตับอักเสบจากการติดเชื้อ และ ภาวะตับอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ

ซึ่งโรคตับอักเสบ หากไม่รักษาภายใน 180 วัน โรคตับอักเสบจะกลายเป็น โรคตับอักเสบเรื้อรัง และหากไม่สามารถรักษาได้ทัน โรคตับอักเสบจะเข้าสู่ภาวะตับแข็ง ซึ่งหากเข้าสู่ภาวะตับแข็ง จะไม่สามารถฟื้นฟูตับได้

ปัจจัยที่ทำใหเกิดโรคตับอักเสบ

สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดโรคตับอักเสบ นั้นจะอยู่ที่คน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคนที่กินยาที่เป็นพิษต่อตับ และ กลุ่มคนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยสามารถสรุปปัจจัย เสี่ยงของการเกิดโรคตับอักเสบได้ ดังนี้

  • อายุหากอายุยิ่งสูง จะมีโอกาสเกิดตับอักเสบมากขึ้น
  • เพศหญิง มีอัตราการเกิดโรคที่สูงกว่าเพศชาย
  • กลุ่มคนเคยมีประวัติหรือเป็นโรคเกี่ยวกับตับ เช่น โรคตับแข็ง โรคไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น
  • กลุ่มคนมีภาวะโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง เป็นต้น
  • กลุ่มคนที่เป็นโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น โรคเอดส์ เป็นต้น
  • กลุ่มคนที่ดื่มเครื่องดื่มสุราเป็นประจำ
  • กลุ่มคนที่สาดสารโปรที่ คนที่ไม่ทานเนื้อสัตว์ นม และ ไข่ เป็นต้น

สาเหตุของภาวะตับอักเสบ

สำหรับภาวะตับอักเสบนั้น สามารถแบ่งได้ 2 สาเหตุ คือ เกิดจากการติดเชื้อและเกิดจากการที่ไม่ได้ติดเชื้อ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ตับอักเสบจากติดเชื้อโรค เรียก Infectious hepatitis เชื้อโรคที่ทำให้เกิดตับอักเสบ คือ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และ เชื้อปรสิต หากเกิดการอักเสบนานๆ จะเกิดฝีที่ตับได้
  • ตับอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ สาเหตุของตับอักเสบลักษณะนี้จะเป็น การถูกกระทบกับสารเคมี หรือ ได้รับสิ่งปนเปื้อนเป็นเวลานาน เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มน้ำที่ปนสารเคมี เป็นเวลานาน ซึ่งลักษณะนี้จะเรียก โรคพิษต่อตับ  เรียก Toxic hepatitis นอกจากนี้ การกินยาที่เป็นพิษต่ตับเป็นเวลานานติดต่อกัน หรือ มากเกินไป ก็ส่งผลเสียต่อตับ เช่นกัน เช่น ยาแก้ปวด นาพาราเซตามอน

อาการของโรคตับอักเสบ

ลักษณะอาการของผุ้ป่วยโรคตับอักเสบ จะมีอาการหลากหลายเป็นมากบ้าง เป็นน้อยบ้าง หรือ บางรายไม่แสดงอาการ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะของอาการโรคตับอักเสบ ได้ดังนี้

  • มีอาการอ่อนเพลียมาก
  • มีอาการปวดเมื่อยตามตัว ข้อกระดูก และ กล้ามเนื้อ
  • มีไข้ต่ำๆ
  • รู้สึกเบื่ออาหาร
  • มีอาการคลื่นไส้และอาเจียน
  • ปวดท้องไม่มาก โดยปวดที่ใต้ชายโครงขวา
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง
  • ปัสสาวะมีสีเข็ม
  • อุจจาระมีสีซีด

การวินิจฉัยโรคตับอักเสบ

สำหรับการวินิจฉัยโรคตับอักเสบ แพทย์จะทำการซักประวัติ และ อาการของผู้ป่วย พฤติกรรมการบริโภค สิ่งแวดล้อมรอบตัว จากนั้นต้องทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด ตรวจเลือดเพื่อตรวจสอบการทำงานของตับ และอาจต้องตัดชิ้นเนื้ิอลงไปเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยาอย่างละเอียด

การรักษาโรคตับอักเสบ

แนวทางการรักษาโรคตับอักเสบ ต้องหาสาเหตุของการเกิดโรคให้พบ และ หยุดสาเหตุของการทำให้เกิดตับอักเสบ รวมถึงประคับประครองอาการอื่นๆที่ร่วมด้วย ซึ่งแนวทางการรักษา เพื่อฟื้นฟูการทำงานของตับ มีดังนี้

  • หยุดดื่มสรุา
  • พักผ่อนให้มากๆ เพื่อลดการทำงานของตับ และทำให้ตับฟื้นตัวเร็วขึ้น
  • ดื่มน้ำสะอาด อย่างน้อยวันละ 8 ถึง 10 แก้ว
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ต้องเป็นอาหารอ่อนๆ
  • ระมัดระวังเรื่องการใช้ยา ต้องกินยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น

สำหรับความรุนแรงของโรคตับอักเสบ นั้นมีอยู่หลายปัจจัย เช่น อายุผู้ป่วย เพศ ความแข็งแรงของผุ้ป่วย เป็นต้น สำหรับผู้ป่วยโรคตับบอักเสบ มีข้อควรปฏิบัตตนดังนี้

  • พักผ่อนให้เต็มที่
  • ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8 ถึง 10 แก้ว
  • ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
  • กินอาหารอ่อนๆ หลีกเลี่ยงอาหารประเภทไขมัน
  • ออกกำลังกายเบาๆ
  • ไม่ซื้อยากินเอง
  • รีบพบแพทย์ เมื่ออาการต่างๆแย่ลง เช่น คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า หรือ เจ็บท้องบริเวณใต้ชายโครงขวาอย่างรุนแรง

การป้องกันการเกิดโรคตับอักเสบ

สำหรับการป้องกันโรคตับอักเสบ ต้องระมัดระวัง หลีกเลี่ยง ปัจจัยต่างๆที่จะทำร้าย และ เป็นพิษต่อตับ โดยการป้องกันโรคตับอักเสบ มีดังนี้

  • ไม่กินยาโดยไม่จำเป็น ไม่ซื้อยาใช้เอง
  • หากมีประวัติการแพ้ยา ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ
  • ไม่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • พักผ่อนให้เต็มที่
  • ดื่มน้ำสะอาดในปริมาณที่ร่างกายต้องการ

โรคตับอักเสบ (Hepatitis ) คือ ภาวะเซลล์ตับอักเสบจากการบาดเจ็บ หรือ ถูกทำลาย โรคเกี่ยวกับตับ อาการโรคตับอักเสบ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว ข้อกระดูก และ กล้ามเนื้อ ไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร คลื่นไส้และอาเจียน ปวดท้องที่ใต้ชายโครงขวา ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะมีสีเข็ม อุจจาระมีสีซีด สาเหตุตับอักเสบเกิจากอะไร การรักษาตับอักเสบ และ ป้องกันอย่างไร

ข้ออักเสบ ( Septic arthritis ) ติดเชื้อแบคทีเรียที่ข้อกระดูก อากาของโรคปวด บวม แดง ร้อน บริเวณรอบ ๆ ข้อกระดูก มีหนองที่ข้อกระดูก แนวทางการรักษาและดูแลอย่างไร

โรคข้ออักเสบ โรคข้อ โรคกระดูก โรคข้อและกระดูก

หากท่านมี อาการปวดข้อกระดูก มี อาการแดง ร้อน ตามข้อกระดูกแล้ว อย่าพึ่งคิดว่าเป็น โรคเก๊าท์ อาการปวดข้อกระดูก มีหลายโรค ซึ่ง โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ เป็นอีก โรคที่มีอาการปวดตามข้อ รวมอยู่ด้วย และความอันตรายของโรคก็มีมาก หากไม่รักษาอาจพิการถึงเสียชีวิตได้

โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ ภาษาอังกฤษ เรียก Septic arthritis โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ คือ ภาวะการอักเสบของข้อกระดูกต่างๆ ที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อโรค ซึ่งเชื้อโรคที่พบส่วนใหญ่ เป็นเชื้อแบคทีเรีย ( Bacteria ) อาการที่พบ คือ ผู้ป่วยจะมีอาการปวด บวม แดง ร้อน บริเวณรอบ ๆ ข้อกระดูก และจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อมีความเสี่ยงต่อการทุพลภาพสูง หากสงสัยว่าเรากำลังมีอาการปวดข้อ เป็นข้ออักเสบจากการติดเชื้อแล้ว ให้รีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการรักษา

ในบทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับ โรคข้ออักเสบชนิดติดเชื้อ กัน โรคนี้เป็นโรคเกี่ยวกับข้อและกระดูก รวมถึงโรคเกี่ยวกับการติดเชื้อ มาทำความรู้จัก สาเหตุของการเกิดโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ อาการของโรคเป็นอย่างไร การวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้วินิจฉัยจากอะไร การรักษาโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ รวมถึงการป้องกันและการดูแลผู้ป่วยโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ

สาเหตุของการเกิดโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ

โรคข้ออักเสบติดเชื้อ จะมีอาการปวดข้อกระดูก เนื่องจากมีหนอง ซึ่งเราสามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคได้ 2 สาเหตุใหญ่ คือ การติดเชื้อแบคทีเรีย และการติดเชื้อหนองใน มาดูรายละเอียดของสาเหตุต่างๆ ดังนี้

  1. สาเหตุของข้ออักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อแบคทีเรีย สามารถเข้าสู่ร่างกายเราได้ 3 ช่องทาง คือ ติดเชื้อจากแผลจากผิวหนังและกระแสเลือด  ติดเชื้อจากภาวะภูมิต้านทานร่างกายต่ำ และติดเชื้อจากระบบทางเดินปัสสาวะ
  2. สาเหตุของข้ออักเสบติดเชื้อหนองในแท้ เชื้อโรคจากโรคหนองในแท้ มีอันตรายสูง เป็นอันตราย หากเกิดการติดเชื้อโรคหนองในที่ข้อกระดูก อัตราการตายและการทุพพลภาพสูง กลุ่นคนที่ต้องระวังการติดเชื้อจากหนองใน คือ ผู้ที่ตั้งครรภ์ ผู้มีประจำเดือน ผู้ขาดคอมพลีเมนต์  และผู้ป่วยที่เป็นโรคเอสแอลอี

อาการของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ

เราจะแยกอาการของ โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ ตามสาเหตุของการติดเชื้อ เป็น อาการของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ทั่วไป และ อาการของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อหนองใน รายละเอียดของอาการต่างๆ มีดังนี้

  • อาการผู้ป่วยโรคข้ออักเสบติดเชื้อแบคทีเรียทั่วไป คือ มีอาการปวด บวม แดงและร้อน บริเวณรอบ ๆ ข้อกระดูก ซึ่งข้อที่พบบ่อย คือ ข้อหัวเข่า ข้อสะโพก ข้อเท้า ข้อมือและข้อศอก นอกจากอาการปวด บวม แล้ว ผู้ป่วยจะมีไข้ หนาวสั่นด้วย แต่อาการนี้จะหายเองภายใน 45 วัน
  • อาการผู้ป่วยโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อหนองใน คือ มีอาการปวด บวม แดงและร้อน บริเวณรอบ ๆ ข้อกระดูก ลักษณะของอาการปวดจะย้ายที่ไปเรื่อยๆ ข้อกระดูกที่พบว่าปวด คือ ข้อมือ ข้อเข่า ข้อเท้าและข้อนิ้วมือ เป็นต้น

การตรวจวินิจฉัยโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ

การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ นั้น โดยเริ่มต้นสามารถทำได้โดย การสอบถามอาการของผิดปรกติจากผู้ป่วย และประวัติต่างๆ หากพบว่าผู้ป่วยมีอาการเหมือนโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อแล้ว เพื่อให้เกิดความแน่ใจ สามารถทำได้โดยการตรวจเชื้อโรค จากการเจาะน้ำข้อกระดูกไปตรวจ การเจาะCBC และการตรวจทางรังสีวิทยา โดยรานละเอียด ดังนี้

  1. การเจาะน้ำที่ข้อกระดูกไปตรวจ ดูระดับน้ำตาล หากมีระดับน้ำตาลต่ำ มีโอกาสเจอเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของอาการอักเสบ
  2. การเจาะ CBC เพื่อดูค่าเม็ดเลือดขาว
  3. การตรวจทางรังสีวิทยา เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของกระดูกรอบ ๆ ข้อ หากพบว่าบางลงหลังการติดเชื้อได้ 7 วันและจะพบว่าช่องว่างระหว่างข้อแคบลงหลังจากติดเชื้อได้ 14 วัน แสดงว่ามีการติดเชื้อ

การรักษาโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ

การรักษาภาวะข้ออักเสบจากการติดเชื้อโรคนั้น สามารถทำการรักษาโดยการดูดหนองออกจากข้อกระดูกให้หมดและใช้ยาปฏิชีวนะ และรักษาโดยการประคับประครองอาการแทรกซ้อน ตามลำดับ รายละเอียดของการรักษา มีดังนี้

  • เจาะข้อกระดูก เพื่อทำการระบายหนองออกจากข้อกระดูก การเจาะจะง่ายหากเป็นข้กระดูกหัวเข่า แต่ถ้าเป็นข้อกระดูกอื่นๆ เช่น ข้อสะโพก หรือหัวไหล จะเจาะยาก ต้องใช้การเจาะด้วยการส่องกล้อง
  • จากนั้นใช้ยาปฏิชีวนะ การเจาะหนองอาจไม่หมด ซึ่งเชื้อโรคสามารถเจิญเติบโตต่อได้ โดยการใช้ยาปฏิชีวนะ ในระยะแรกจะให้ยาโดยการฉีด จากนั้นหลังจากผ่านไป 6 สัปดาห์ จะให้ยา เพื่อฆ่าเชื้อให้หมดและไม่กลับมาเจริญเติบโตในข้อกระดูก
  • จากนั้นเป็นระยะเวลาของการประคับประคองการเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น การใช้ยาแก้ปวด เฝ้าระวังการช็อกจากการขาดน้ำ

การป้องกันการเกิดโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ

  • ข้ออักเสบจากการติดเชื้อ สามารถเกิดขึ้นจากการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคหนองใน ดังนั้น ต้องระวัง และป้องกัน หากต้องมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อโรคหนองใน
  • โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อนั้น เชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายและเข้าสู่กระแสเลือดทางแผล ดังนั้น หากเกิดแผลต้องระวังการติดเชื้อ ทำความสะอากแผลให้สะอาด
  • พักผ่อนให้เพียงพอ เนื่องจากการพักผ่อนที่เพียงพอทำให้ภูมิต้านทานโรคของร่างกายทำงานปรกติ และร่างกายแข็งแรง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง

อาการปวดทำให้ผู้ป่วย โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ ทรมาน การแก้อาการปวด ช่วยให้ผู้ป่วยบรรเทาอาการของโรคได้ เราจึงของแนะนำ สมุนไพร ช่วยแก้ปวด มีดังนี้

แคนา ต้นแคนา สมุนไพร ประโยชน์ของแคนาแคนา
กระเทียม สมุนไพร สมุนไพรไทย เครื่องเทศกระเทียม
หญ้าคา สมุนไพร สมุนไพรไทยหญ้าคา
ไมยราบ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชล้มลุกไมยราบ

โรคข้ออักเสบ ( Septic arthritis ) คือ ภาวะการอักเสบของข้อกระดูกจากการติดเชื้อ เชื้อแบคทีเรีย อาการโรคข้ออักเสบ คือ มีอาการปวด บวม แดง ร้อน บริเวณรอบ ๆ ข้อกระดูก จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆจากการติดเชื้อ มีหนองที่ข้อกระดูก โรคระบบข้อและกระดูก สาหตุ อาการ รักษาอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove