มะเร็งท่อน้ำดี ( Cholangiocarcinoma ) เนื้อร้ายที่ท่อทางเดินน้ำดี เกิดกับตับและอวัยวะภายในช่องท้อง พบมากในเพศชายอายุ 40 ปีขึ้นไป เกิดจากการรับประทานปลาน้ำจืดดิบมะเร็งท่อน้ำดี โรคมะเร็ง ตัวเหลืองตาเหลือง กินปลาดิบ

โรคมะเร็งท่อน้ำดีในประเทศไทย

โรคนี้เป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของสาเหตุการตายของคนไทยจากโรคมะเร็ง โรคนี้พบมากในภาคอีสาน เนื่องจากการนิยมการกินปลาดิบ จนเกิดจากการติดพยาธิใบไม้ตับชนิด Opisthorchis viverrini ซึ่งเป็นปรสิตที่พบในปลาน้ำจืด ที่มีเกล็ด เช่น ปลาตะเพียน ปลาขาว ปลาสร้อย ปลากะสูบ ปลาแม่สะแด้ง ปลาซิว ปลาแก้มช้ำ ปลาขาวนา เป็นต้น

เมื่อคนกินปลาน้ำจืดแบบสุกๆ ดิบๆ ตัวอ่อนของพยาธิจะเข้าไปเจริญเติบโตอยู่ในท่อน้ำดี และอยู่ได้นานถึง 20 ปี ดังนั้น โรคมะเร็งท่อน้ำดี เกิดจากการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ กลุ่มเสี่ยงต่อโรคมะเร็งท่อน้ำดี คือ คนอายุ 40 ปีขึ้นไป ที่มีประวัติกินปลาน้ำจืดแบบสุกๆดิบๆ การรักษาโรคมะเร็งท่อน้ำดี หากพบในระยะเริ่มต้น สามารถรักษาให้หายขาดได้ถึงร้อยละ 90

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี

สำหรับสาเหตุของการเกิดมะเร็งท่อน้ำดีนั้น ยังไม่มีการศึกษาได้สามารถระบุสาเหตุของการเกิดโรคอย่างชัดเจนนัก แต่พบว่าการเกิดการอักเสบแบบเรื้อรังที่ท่อน้ำดี มีผลทำให้เซลล์ของเยื่อบุผิวท่อน้ำดีเป็นเซลล์มะเร็งได้ โดยพบว่ามีโรค ดังต่อไปนี้ที่มีความเสี่ยงการเกิดอักเสบของท่อน้ำดี คือ โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง โรคพยาธิใบไม้ในตับ และ ความผิดปรกติของท่อน้ำดีจากกรรมพันธ์

ชนิดของมะเร็งท่อน้ำดี

สำหรับมะเร็งท่อน้ำดี นั้นสามารถแบ่งชนิดของโรคได้ 2 ชนิด ประกอบด้วย มะเร็งท่อน้ำดีในตับ และ มะเร็งท่อน้ำดีนอกตับ รายละเอียด ดังนี้

  • มะเร็งท่อน้ำดีในตับ ลักษณะของโรคคล้ายมะเร็งตับ การวินิจฉัยโรคมักถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งตับ เกิดจากเซลล์ของเยื่อบุท่อน้ำดีในตับและขยายออกสู่เนื้อตับข้างๆ
  • มะเร็งท่อน้ำดีนอกตับ มะเร็งชนิดนี้จะทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำดี จากการที่มีท่อน้ำดีขนาดใหญ่ตั้งแต่ขั้วตับจนถึงท่อน้ำดีส่วนปลาย ซึ่งผู้ป่วยมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี

สำหรับปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีนั้น มีปัจจัยเสี่ยงการการกินอาหารที่มีให้เกิดผลกระทบต่อตับ สำหรับปัจจัยเสี่ยงการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี มีดังนี้

  • การเกิดโรคภาวะท่อน้ำดีอักเสบแบบเรื้อรัง
  • การเกิดโรคที่ระบบทางเดินของท่อน้ำดี
  • การเกิดนิ่วที่ตับ
  • กรรมพันธุผิดปกติตั้งแต่กำเนิด คือ ถุงน้ำดีผิดปกติในระบบทางเดินน้ำดี

ระยะของโรคมะเร็งท่อน้ำดี

สำหรับระยะการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี นั้น มี 4 ระยะ คือ ระยะลุกลามเฉพาะท่อน้ำดี ระยะลุกลามออกนอกท่อน้ำดี ระยะลุกลามเข้าสู่หลอดเลือดขนาดเล็ก และ ระยะลุกลามเข้าสู่หลอดเลือกขอนาดใหญ่และกระแสเลือด

อาการของมะเร็งท่อน้ำดี

ลักษณะของอาการของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี อาการคล้ายกับผู้ป่วยโรคตับ ซึ่งในระยะแรกของโรคจะไม่แสดงอาการให้เห็น และ จะแสดงอาการเมื่อโรคเริ่มมีการลุกลามแล้ว โดยสามารถสังเกตุอาการของโรคได้ ดังนี้

  • มีอาการตัวเหลืองและตาเหลือง
  • มีอาการไม่สบายท้อง อึดอัดและแน่นท้อง
  • ปวดท้องส่วนบนบริเวณใต้ชายโครงขวา
  • มีอาการปวดหลังและปวดไหล่
  • มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • คันตามตัวทั่วร่างกาย
  • อุจจาระมีสีซีด
  • ปัสสาวะมีสีเข้ม
  • เหนื่อยง่าย
  • อ่อนเพลีย
  • เบื่ออาหาร
  • น้ำหนักตัวลดลง
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • มีก้อนโตที่หน้าท้อง

การรักษาโรคมะเร็งท่อน้ำดี

สำหรับการรักษาโรคมะเร็งท่อน้ำดี นั้นการพิจารณารักษามีปัจจัยต่างๆ คือ ขนาดของมะเร็ง ตำแหน่งของมะเร็ง และ ลักษณะของมะเร็ง ระยะของมะเร็ง และ การแพร่กระจายของมะเร็ง รวมถึงสุขภาพและกำลังใจผู้ป่วยด้วย โดยการรักษาใช้การผ่าดัด และเคมีบำบัด ควบคู่กันได

  • การผ่าตัด เป็นการรักษาหลักของโรคมะเร็งท่อน้ำดี ซึ่งจะผ่าตัดเนื้องอก และผ่าตัดระบายท่อน้ำดี ผู้ป่วยที่สามารถผ่าตัดเนื้องอกได้แต่ในขณะที่ผ่าตัดพบว่าระยะโรคไม่สามารถผ่าตัดออกได้ ควรได้รับการผ่าตัดระบายท่อน้ำดีเพื่อรักษาอาการคันและตัวเหลืองตาเหลือง
  • เคมีบำบัดและรังสีรักษา ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดเอามะเร็งออกได้หมด หรือใช้ในการรักษาหลังผ่าตัดเพื่อเพิ่มโอกาสการหายขาด

การป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ำดี

สำหรับการป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ำดี ต้องลดโอกาสเกิดโรคที่ตับ เป็นหลัก โดยรายละเอียดดังนี้

  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อลดโอกาสติดเชื้อต่างๆ
  • เลิกกินปลาน้ำจืด ที่ปรุงแบบสุกๆดิบๆ
  • คนที่อาศัยอยู่ในแหล่งที่มีการระบาดของโรคพยาธิใบไม้ตับ ต้องระวังการติดเชื้อโรคและการติดพยาธิ
  • ควรพบแพทย์ขอรับการตรวจอุจจาระเพื่อตรวจหาไข่ของพยาธิใบไม้ตับ เป็นประจำทุกปี

มะเร็งท่อน้ำดี ( Cholangiocarcinoma ) คือ ภาวะการเกิดก้อนเนื้อร้ายที่ท่อทางเดินน้ำดี เป็นโรคที่เกิดกับตับ และ ระบบอวัยวะภายในช่องท้อง โรคนี้พบมากในเพศชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป สาเหตุเกิดจากการรับประทานปลาน้ำจืดดิบๆ

ตับอักเสบ ( Hepatitis ) ภาวะตับบาดเจ็บหรือถูกทำลาย อาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว ไข้ต่ำๆ ปวดท้องใต้ชายโครงขวา ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะมีสีเข็ม อุจจาระมีสีซีดตับอักเสบ โรคตับอักเสบ โรคเป็นพิษต่อตับ โรคตับ

ภาวะตับอักเสบ เรียกว่า Hepatitis หมายถึง การอักเสบของเซลล์ตับ ที่เกิดการบาดเจ็บ หรือการถูกทำลายของเนื้อตับ ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพทำงานของตับ  สาเหตุของการเกิดตับอักเสบ แยกได้ 2 กรณี คือ ภาวะตับอักเสบจากการติดเชื้อ และ ภาวะตับอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ

ซึ่งโรคตับอักเสบ หากไม่รักษาภายใน 180 วัน โรคตับอักเสบจะกลายเป็น โรคตับอักเสบเรื้อรัง และหากไม่สามารถรักษาได้ทัน โรคตับอักเสบจะเข้าสู่ภาวะตับแข็ง ซึ่งหากเข้าสู่ภาวะตับแข็ง จะไม่สามารถฟื้นฟูตับได้

ปัจจัยที่ทำใหเกิดโรคตับอักเสบ

สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดโรคตับอักเสบ นั้นจะอยู่ที่คน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคนที่กินยาที่เป็นพิษต่อตับ และ กลุ่มคนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยสามารถสรุปปัจจัย เสี่ยงของการเกิดโรคตับอักเสบได้ ดังนี้

  • อายุหากอายุยิ่งสูง จะมีโอกาสเกิดตับอักเสบมากขึ้น
  • เพศหญิง มีอัตราการเกิดโรคที่สูงกว่าเพศชาย
  • กลุ่มคนเคยมีประวัติหรือเป็นโรคเกี่ยวกับตับ เช่น โรคตับแข็ง โรคไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น
  • กลุ่มคนมีภาวะโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง เป็นต้น
  • กลุ่มคนที่เป็นโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น โรคเอดส์ เป็นต้น
  • กลุ่มคนที่ดื่มเครื่องดื่มสุราเป็นประจำ
  • กลุ่มคนที่สาดสารโปรที่ คนที่ไม่ทานเนื้อสัตว์ นม และ ไข่ เป็นต้น

สาเหตุของภาวะตับอักเสบ

สำหรับภาวะตับอักเสบนั้น สามารถแบ่งได้ 2 สาเหตุ คือ เกิดจากการติดเชื้อและเกิดจากการที่ไม่ได้ติดเชื้อ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ตับอักเสบจากติดเชื้อโรค เรียก Infectious hepatitis เชื้อโรคที่ทำให้เกิดตับอักเสบ คือ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และ เชื้อปรสิต หากเกิดการอักเสบนานๆ จะเกิดฝีที่ตับได้
  • ตับอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ สาเหตุของตับอักเสบลักษณะนี้จะเป็น การถูกกระทบกับสารเคมี หรือ ได้รับสิ่งปนเปื้อนเป็นเวลานาน เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มน้ำที่ปนสารเคมี เป็นเวลานาน ซึ่งลักษณะนี้จะเรียก โรคพิษต่อตับ  เรียก Toxic hepatitis นอกจากนี้ การกินยาที่เป็นพิษต่ตับเป็นเวลานานติดต่อกัน หรือ มากเกินไป ก็ส่งผลเสียต่อตับ เช่นกัน เช่น ยาแก้ปวด นาพาราเซตามอน

อาการของโรคตับอักเสบ

ลักษณะอาการของผุ้ป่วยโรคตับอักเสบ จะมีอาการหลากหลายเป็นมากบ้าง เป็นน้อยบ้าง หรือ บางรายไม่แสดงอาการ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะของอาการโรคตับอักเสบ ได้ดังนี้

  • มีอาการอ่อนเพลียมาก
  • มีอาการปวดเมื่อยตามตัว ข้อกระดูก และ กล้ามเนื้อ
  • มีไข้ต่ำๆ
  • รู้สึกเบื่ออาหาร
  • มีอาการคลื่นไส้และอาเจียน
  • ปวดท้องไม่มาก โดยปวดที่ใต้ชายโครงขวา
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง
  • ปัสสาวะมีสีเข็ม
  • อุจจาระมีสีซีด

การวินิจฉัยโรคตับอักเสบ

สำหรับการวินิจฉัยโรคตับอักเสบ แพทย์จะทำการซักประวัติ และ อาการของผู้ป่วย พฤติกรรมการบริโภค สิ่งแวดล้อมรอบตัว จากนั้นต้องทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด ตรวจเลือดเพื่อตรวจสอบการทำงานของตับ และอาจต้องตัดชิ้นเนื้ิอลงไปเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยาอย่างละเอียด

การรักษาโรคตับอักเสบ

แนวทางการรักษาโรคตับอักเสบ ต้องหาสาเหตุของการเกิดโรคให้พบ และ หยุดสาเหตุของการทำให้เกิดตับอักเสบ รวมถึงประคับประครองอาการอื่นๆที่ร่วมด้วย ซึ่งแนวทางการรักษา เพื่อฟื้นฟูการทำงานของตับ มีดังนี้

  • หยุดดื่มสรุา
  • พักผ่อนให้มากๆ เพื่อลดการทำงานของตับ และทำให้ตับฟื้นตัวเร็วขึ้น
  • ดื่มน้ำสะอาด อย่างน้อยวันละ 8 ถึง 10 แก้ว
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ต้องเป็นอาหารอ่อนๆ
  • ระมัดระวังเรื่องการใช้ยา ต้องกินยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น

สำหรับความรุนแรงของโรคตับอักเสบ นั้นมีอยู่หลายปัจจัย เช่น อายุผู้ป่วย เพศ ความแข็งแรงของผุ้ป่วย เป็นต้น สำหรับผู้ป่วยโรคตับบอักเสบ มีข้อควรปฏิบัตตนดังนี้

  • พักผ่อนให้เต็มที่
  • ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8 ถึง 10 แก้ว
  • ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
  • กินอาหารอ่อนๆ หลีกเลี่ยงอาหารประเภทไขมัน
  • ออกกำลังกายเบาๆ
  • ไม่ซื้อยากินเอง
  • รีบพบแพทย์ เมื่ออาการต่างๆแย่ลง เช่น คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า หรือ เจ็บท้องบริเวณใต้ชายโครงขวาอย่างรุนแรง

การป้องกันการเกิดโรคตับอักเสบ

สำหรับการป้องกันโรคตับอักเสบ ต้องระมัดระวัง หลีกเลี่ยง ปัจจัยต่างๆที่จะทำร้าย และ เป็นพิษต่อตับ โดยการป้องกันโรคตับอักเสบ มีดังนี้

  • ไม่กินยาโดยไม่จำเป็น ไม่ซื้อยาใช้เอง
  • หากมีประวัติการแพ้ยา ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ
  • ไม่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • พักผ่อนให้เต็มที่
  • ดื่มน้ำสะอาดในปริมาณที่ร่างกายต้องการ

โรคตับอักเสบ (Hepatitis ) คือ ภาวะเซลล์ตับอักเสบจากการบาดเจ็บ หรือ ถูกทำลาย โรคเกี่ยวกับตับ อาการโรคตับอักเสบ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว ข้อกระดูก และ กล้ามเนื้อ ไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร คลื่นไส้และอาเจียน ปวดท้องที่ใต้ชายโครงขวา ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะมีสีเข็ม อุจจาระมีสีซีด สาเหตุตับอักเสบเกิจากอะไร การรักษาตับอักเสบ และ ป้องกันอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove