ฝรั่ง Guava ผลไม้แสนอร่อย สรรพคุณของฝรั่ง กลิ่นปาก บำรุงเหงือกและฟัน บำรุงผิวพรรณ รักษาแผลลักษณะของต้นฝรั่งเป็นอย่างไร ทำความรู้จักกับฝรั่ง

ฝรั่ง สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณฝรั่ง

ต้นฝรั่ง ภาษาอังกฤษ เรียก Guava ชื่อวิทยาศาสตร์ของฝรั่ง คือ psidium guajawa L สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของฝรั่ง เช่น จุ่มโป มะแกว มะกา มะมั่น มะปุ่น มะก้วย สีดา ชมพู่ เป็นต้น ฝรั่งมีถิ่นกำเนิดที่ทวีปอเมริกากลาง คาดว่าเข้าสู่ประเทศไทยโดย พ่อค้าชาวโปรตุเกตและสเปน นำเข้ามา ซึ่งปัจจุบันฝรั่งได้รับความนิยมในการบริโภคสูงในประเทศ จัดว่าเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศ

ฝรั่งในปะเทศไทย

ฝรั่งในประเทศไทย ถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ผลฝรั่งได้รับความนิยมในการบริโภคผลสดสูง มีการปลูกต้นฝรั่งเพื่อใช้จำหน่ายเชิงพาณิชย์ ผลฝรั่งรสชาติดี ราคาไม่แพง วิตามินซีสูง นอกจากนั้นผลฝรั่งสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆได้ เช่น น้ำฝรั่ง เยลลี่ฝรั่ง แยมฝรั่ง เป็นต้น ซึ่งแหล่งปลูกฝรั่งที่สำคัญของประเทศไทยอยู่ในจังหวัดนครปฐม ราชบุรี และ จังหวัดใกล้เคียงกับกรุงเทพมหานคร ผลผลิตฝรั่งมีทั้งปี

ลักษณะของต้นฝรั่ง

ต้นฝรั่ง ไม้ยืนต้น สามารถปลูกได้ในทุกสภาพดิน ขยายพันธ์ได้ด้วยการตอนกิ่ง เพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นฝรั่ง มีดังนี้

  • ลำต้นฝรั่ง ลำต้นเป็นทรงพุ่ม ความสูงประมาณ 3 – 8 เมตร เปลือกต้นเรียบ มีเปลือกของลำต้นสีน้ำตาล
  • ใบของฝรั่ง เป็นใบเดี่ยว ยอดอ่อนมีขนสั้นๆ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-8 ซม. ยาว 6-14 ซม.
  • ดอกของฝรั่ง เป็นดอกเดี่ยวหรือช่อ 2-3 ดอก ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ร่วงง่าย มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก
  • ผลของฝรั่งจะมีสีเขียว ผลเป็นผลสด ผลดิบสีเขียว กินได้ เมื่อสุกเป็นสีเหลือง

สายพันธ์ฝรั่ง

พันธุ์ของฝรั่งที่นิยมกินสดๆ เป็นพันธุ์ฝรั่งที่นิยมปลูกเพื่อการค้า นั้น มี 5 พันธ์ ประกอบด้วย ฝรั่งเวียดนาม ฝรั่งกิมจู ฝรั่งกลมสาลี่ ฝรั่งแป้นสีทอง และ ฝรั่งไร้เมล็ด โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ฝรั่งเวียดนาม ลูกใหญ่กว่าฝรั่งพื้นบ้าน ถึง 2 – 3 เท่า ถูกนำเข้าจากเวียดนามมาปลูกที่อำเภอสามพรานเมื่อ พ.ศ. 2521– 2523
  • ฝรั่งกิมจู เป็นฝรั่งไร้เมล็ด สีนวลสวย รสหวานกลมกล่อม กรอบ
  • ฝรั่งกลมสาลี่ เป็นพันธ์แรกๆที่นิยมปลูกกันมาก ต่อมามีพันธ์แป้นสีทองเข้ามา จึงปลูกน้อยลงเรื่อยๆ
  • ฝรั่งแป้นสีทอง ปลูกมากที่สุดในประเทศไทย ผลเมื่อโตเต็มที่จะขาว ฟู กรอบ เริ่มแรกปลูกที่อำเภอสามพราน ภายหลังได้แพร่กระจายไปทั่ว
  • ฝรั่งไร้เมล็ด ลักษณะลูกยาวๆ ไม่มีเมล็ด รสชาติด้อยกว่าฝรั่งแป้นสีทอง และกิมจู

คุณค่าทางโภชนาการของฝรั่ง

สำหรับการบริโภคฝรั่งนิยมรับประทานผลฝรั่งสด ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลฝรั่งขนาด 100 กรัม พบให้พลังงานมากถึง 51 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย วิตามิน B1 0.06 มิลลิกรัม วิตามิน B2 0.13 มิลลิกรัม วิตามิน C 160 มิลลิกรัม วิตามิน A 89 มิลลิกรัม แคลเซี่ยม 13 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 25 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรต 11 กรัม โปรตีน 0.90 กรัม เส้นใยอาหาร 6 กรัม ไขมัน 0.11 กรัม ความชื้น 80.70% และมีสารเพคตินเป็นจำนวนมาก

เพคติน ( pectin ) เป็น พอลิแซ็กคาไรด์ ( polysaccharide ) ประเภท heteropolysaccharide ซึ่งมีหน่วยย่อย คือ กรด กาแล็กทูโรนิก เมทิลการแล็กทูโรเนต และน้ำตาล ทำหน้าที่ยึดเกาะผนังเซลล์ของร่างกายให้แน่น

สรรพคุณของฝรั่ง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากฝรั่งด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถนำฝรั่งมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่ ใบ ผลและราก ซึ่งรายละเอียด สรรพคุณของฝรั่ง มีดังนี้

  • รากของฝรั่ง สามารถใช้ รักษาฝี รักษาแผลพุพอง แก้เลือดกำเดาไหล
  • ใบของฝรั่ง ใช้ในการ แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้ท้องเดิน ใช้ห้ามเลือดในแผลสด ระงับกลิ่นปาก รักษาฝี เป็นยาล้างแผล ดูดหนอง และถอนพิษบาดแผล บรเทาอาการเหงือกบวม แก้พิษเรื้อรัง แก้ปวด
  • ผลอ่อนของฝรั่ง ใช้ในการแก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้ท้องเดิน ระงับกลิ่นปาก รักษาอาการบิด รักษาอาการเลือดออกตามไรฟัน บำรุงเหงือกและฟัน บำรุงผิวพรรณ
  • ผลสุก สามารถใช้เป็นยาระบายได้ดี

วิธีทำน้ำฝรั่ง

  1. เริ่มจากการคัดเเลือกผลฝรั่ง ที่สดๆ ก่อน การสังเกตุผลฝรั่งที่สด ดูจากผลฝรั่งแข็ง ไม่นุ่ม นำผลฝรั่งมาหั่นเป็นชิ้น เอาเมล็ดออก จากนั้นให้เตรียมน้ำเชื่อมโดย
  2. การเตรียมน้ำเชื่อม ให้นำน้ำสะอาดต้มสุก ใส่น้ำตาล และ เกลือลงไปต้ม ให้ได้รสชาติหวานแบบกลมกล่อม
  3. เมื่อเราได้น้ำเชื่อมและเนื้อฝรั่งแล้ว ก็เริ่ม โดยการ นำเนื้อฝรั่งมาใส่น้ำพอท่วมเนื้อฝรั่ง และ ปั่นให้ละเอียด เราจะได้น้ำฝรั่ง จากนั้น ให้ทำการกรองน้ำฝรั่ง เราจะได้น้ำสีเขียวของฝรั่ง
  4. นำน้ำฝรั่งมาปรุงรสกับน้ำเชื่อม ซึ่งขั้นตอนนี้ ความหวานของน้ำเชื่อมให้ใส่ได้ตามใจคนดื่มได้เลย
  5. จากนั้นให้นำน้ำฝรั่ง ที่เราปรุงรสเอาไว้แล้ว แช่เย็น เมื่อน้ำฝรั่งเย็นได้ที่ก็พร้อมสำหรับนำมาดื่มให้ความสดชื่นต่อร่างกาย

โทษของฝรั่ง

สำหรับการกินฝรั่ง หากบริโภคอย่างไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดโทษต่อร่างกายได้ โดยข้อควรระวังในการบริโภคฝรั่ง มีรายละเอียด ดังนี้

  • การรับประทานเมล็ดของฝรั่ง อาจทำให้เมล็ดตกค้างในไส้ติ่ง ทำให้เกิดภาวะไส้ติ่งอักเสบได้
  • สตรีมีครรภ์หากรับประทานผลฝรั่งในปริมาณที่มาก อาจทำให้เกิดภาวะท้องอืดได้ง่าย ทำให้เป็นอันตรายต่อครรภ์
  • ผลฝรั่งอาจมีสารตกค้างที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ การนำฝรั่งมารับประทาน ควรทำความสะอาดอย่าให้มีสารตกค้างที่ผิวของผลฝรั่ง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

ผักแพว ผักไผ่ ( Vietnamese Coriander ) สมุนไพร นิยมรับประทานเป็นผักสด ต้นผักแพวเป็นอย่างไร คุณค่าทางอาหาร ประโยชน์และสรรพคุณช่วยขับลม ชขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร

ผักแพว มินต์เวียดนาม สมุนไพร สรรพคุณของผักแพว

ผักแพว หรือ ผักไผ่ เป็นผักพื้นบ้านที่รู้จักกันดี ใบมีกลิ่นหอม สรรพคุณ ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร ช่วยขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยย่อยอาหาร แก้อาการท้องผูก แก้อาการท้องเสีย รักษาไข้หวัด ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิค้านทานของร่างกาย ใช้รักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน รักษาผื่น ลดอาการบวมแดง รักษาแผลอักเสบ ป้องกันการติดเชื้อโรคของแผล มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของผิว บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงสายตา ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยดับกลิ่นปาก รักษาแผลในช่องปาก ระงับการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย รักษาโรคเบาหวาน ป้องกันโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ป้องกันมะเร็งลำไส้ ป้องกันมะเร็งผิวหนัง ป้องกันมะเร็งเต้านม ป้องกันมะเร็งปากมดลูก บำรุงเลือด ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ลดการเกิดโรคหัวใจวาย ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด ป้องกันโรคต้อกระจก

จาก สรรพคุณของผักแพว ข้างต้น ทำให้ผักแพวเป็น ผักสมุนไพร ที่น่าทำความรู้จักกันอย่างละเอียด ผักแพว นิยมรับประทานในกลุ่ม คนภาคเหนือและอีสาน เป็นผักที่ให้รสเผ็ดร้อน ทานคู่กับลาบ ซุปหน่อไม้ หรือน้ำพริก ทำให้รสชาติตัดกัน เข้ากันได้อย่างดี

ผักแพว ภาษาอังกฤษ เรียก Vietnamese Coriander มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Polygonum odoratum Lour. เป็นพืชตระกลูเดียวกันกับไผ่ สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของผักแพว คือ พริกม้า พริกม่า หอมจันทร์  ผักไผ่ จันทน์โฉม จันทน์แดง ผักไผ่น้ำ  ผักแพ้ว ผักแพรว ผักแจว พริกบ้า หอมจันทร์ เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการผักแพว

นักโภชนาการได้ศึกษาผักแพว ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 54 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารต่างๆ อาทิ เช่น น้ำ 89.4 กรัม
กากใยอาหาร 1.9 กรัม โปรตีน 1.6 กรัม ไขมัน 0.8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 7 กรัม แคลเซียม 573 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 272 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.9 มิลลิกรัม แคลเซียม 79 มิลลิกรัม วิตามิน เอ 8,112 IU วิตามินบี1 0.05 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.59 มิลลิกรัม ไนอาซีน 1.7 มิลลิกรัม และวิตามินซี 77 มิลลิกรัม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของผักแพว

ผักแพว เป็น พืชล้มลุก ลักษณะของลำต้น ตั้งตรง มีความสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร ขนาดลำต้นมีเล็ก ทรงกลม เป็นข้อปล้อง มีสีเขียวอมม่วงแดง ลักษณะรากของผักแพว เป็นรากฝอยแตกออกจากเหง้า ใบของผักแพว เป็นใบเดี่ยว ใบยาวทรงกระบอก ปลายแหลม มีกลิ่นหอม ผิวใบเรียบ เป็นมัน ใบมีสีเขียวสด ดอกของผักแพว ออกเป็นช่อ มีขนาดเล็ก ดอกตูม สีม่วงแดง ดอกบานเต็มที่จะมีสีขาว เมล็ดของผักแพว เมล็ดมีขนาดเล็ก แก่เร็ว และร่วงง่าย

สรรพคุณทางสมุนไพรของผักแพว

ผักแพว สามารถใช้ประโยชน์ทางสมุนไพรได้ทุกส่วน ทั้ง ลำต้น ใบ และราก รายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้น และใบของผักแพว ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร ช่วยขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยย่อยอาหาร แก้อาการท้องผูก แก้อาการท้องเสีย รักษาไข้หวัด ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิค้านทานของร่างกาย ใช้รักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน รักษาผื่น ลดอาการบวมแดง รักษาแผลอักเสบ ป้องกันการติดเชื้อโรคของแผล
    มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของผิว บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงสายตา ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยดับกลิ่นปาก รักษาแผลในช่องปาก ระงับการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย รักษาโรคเบาหวาน ป้องกันโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ป้องกันมะเร็งลำไส้ ป้องกันมะเร็งผิวหนัง ป้องกันมะเร็งเต้านม ป้องกันมะเร็งปากมดลูก บำรุงเลือด ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ลดการเกิดโรคหัวใจวาย ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด ป้องกันโรคต้อกระจก
  • รากของผักแพว ใช้รักษาแผลติดเชื้อ รักษาโรคผิวหนัง

การเลือกซื้อผักแพว

ผักแพว ที่ดี ต้องสด การเลือกซื้อให้สังเกตุความสดของใบ ไม่เหี่ยว ไม่เหลือง ส่วนการเก็บรักษาผักแพว เก็บใส่ในถุงพลาสติกปิดให้สนิท หรือเก็บใส่กล่องพลาสติก แล้วนำไปแช่ตู้เย็นในช่องแช่ผัก

ผักแพว ผักไผ่ ( Vietnamese Coriander ) ผักพื้นบ้าน สมุนไพร ใบมีกลิ่นหอม นิยมรับประทานเป็นผักสด ลักษณะทางพฤษศาสตร์ของผักแพว คุณค่าทางโภชนาการของผักแพว ประโยชน์ของผักแพว สรรพคุณของผักแพว ช่วยขับลม ช่วยขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงสายตา

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove