มะดัน ( Madan ) เป็นผลไม้รสเปรี้ยว วิตามินซีสูง กินผลสดได้ ต้นมะดันเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณขับเสมหะ แก้เจ็บคอ เป็นยาระบาย แก้ไข้ทับระดู โทษของมะดัน

มะดัน ต้นมะดัน สรรพคุณของมะดัน ประโยชน์ของมะดัน

ต้นมะดัน ชื่อสามัญ คือ Madan ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะดัน คือ Garcinia schomburgkiana Pierre พืชตระกูลเดียวกับมังคุด ชื่อเรียกอื่นๆของมะดัน เช่น ส้มมะดัน  ส้มไม่รู้ถอย เป็นต้น

ลักษณะของต้นมะดัน

ต้นมะดัน เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผัดใบ มีรสเปรี้ยว สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่เขตร้อน โดยเฉพาะประเทศไทย สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ลักษณะของลำต้น ใบ ดอก ผล มีดังนี้

  • ลำต้นมะดัน มีความสูงประมาณ 7 – 10 เมตร ลักษณะแตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม เปลือกของลำต้นเรียบ สีน้ำตาลอมดำ
  • ใบมะดัน ลักษณะเป็นใบเดี่ยว มีสีเขียวเข้ม ขอบใบเรียบ โคนใบและปลายใบแหลม แผ่นใบมะดันลักษณะเรียบลื่น
  • ดอกมะดัน ดอกของมะดันจะออกตามซอกใบ ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะเป็นกระจุก ซึ่งกระจุกหนึ่งจะมี 3 – 6 ดอก ดอกมะดันมีสีเหลืองอมส้ม กลีบดอกคล้ายรูปไข่
  • ผลมะดัน มีลักษณะเป็นทรงรี ปลายของผลแหลม มีสีเขียว ผิวเรียบ มันลื่น ผลมะดันมีรสเปรี้ยว ภายในผลมีเมล็ด ผลละหนึ่งเมล็ด

คุณค่าทางโภชนากการของมะดัน

สำหรับการนำมะดันมาบริโภค นั้นนิยมบริโภคใบอ่อนและผลของมะนั้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของผลมะดันและใบมะดัน โดยมีายละเอียด ดังนี้

  • คุณค่าทางโภชนาการของผลมะดัน ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.5 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม โปรตีน 0.3 กรัม กากใยอาหาร 0.4 มิลลิกรัม วิตามินเอ 431 หน่วยสากล วิตามินบี2 0.04 มิลลิกรัม วิตามินซี 5 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 17 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 7 มิลลิกรัม
  • คุณค่าทางโภชนาการของใบมะดันอ่อน ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 7.3 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม โปรตีน 0.3 กรัม วิตามินเอ 225 หน่วยสากล วิตามินบี1 0.01 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.04 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.02 มิลลิกรัม วิตามินซี 16 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 103 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 8 มิลลิกรัม

ประโยชน์ของมะดัน

เนื่องจากมะดันมีวิตามิหลายชนิด และ มีวิตามินซีสูง มะดันจึงถูกนำมาเป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอางค์บำรุงผิวพรรณ ทั้ง สบู่ ครีมบำรุงผิว โทนเนอร์ เป็นต้น นอกจากนั้นมะดันมีรสเปรี้ยว ดังนั้น จึงนิยมนำเอามะดันมาทำอาหาร ให้รสเปรี้ยวต่างๆ เช่น น้ำพริก ต้มยำ เป็นต้น ผลของมะดัน สามารถนำมาทำผลไม้แช่อิ่มได้

สรรพคุณของมะดัน

สำหรับมะดัน จัดเป็นพืชพื้นเมือง มีประโยชน์ต่อการดำรงค์ชีวิต ในด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค โดย สรรพคุณของมะดัน มีการนำเอา รกมะดัน รากมะดัน ใบมะดัน ผลมะดัน เปลือกมะดัน ดอกมะดัน มาใช้ประโยชน์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • ดอกมะดัน มีสรรพคุณช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก รักษามะเร็ง
  • ผลมะดัน มีรสเปรี้ยว สรรพคุณช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยสร้างภูมิต้านทานโรค ทำให้ชุ่มคอ แก้เจ็บคอ แก้กระษัย รักษาไข้หวัด แก้ไอ ขับเสมหะ ขับประจำเดือน ช่วยขับน้ำคาวปลา แก้ระดูเสีย แก้ประจำเดือนมาไม่ปรกติ
  • ใบมะดัน สรรพคุณ แก้กระษัย ช่วยขับเลือด ช่วยฟอกเลือด รักษาหวัด แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยแก้ระดูเสียในสตรี แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ช่วยขับประจำเดือน
  • รกของมะดัน สรรพคุณแก้กระษัย ช่วยขับเลือด ฟอกเลือด รักษาไข้หวัด รักษาไข้ทับระดู ขับเสมหะ
  • รากของมะดัน สรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ช่วนขับเลือด ช่วยฟอกเลือด รักษาไข้หวัด รักษาไข้ทับระดู ขับเสมหะ
  • เปลือกของมะดัน สรรพคุณแก้กระษัย ช่วนขับเลือด ช่วยฟอกเลือด รักษาไข้หวัด รักษาไข้ทับระดู ขับเสมหะ

ความเด่นของมะดัน คือ ความเปรี้ยว มีกรดอินทรีย์ วิตามินซีสูง ช่วยสร้างภูมิคุ้มโรคกรดอินทรีย์ในมะดัน สามารถนำมาใช้ในการดูแลผิวพรรณ ช่วยให้ผลัดเซลล์ผิว จึงนำมาใช้ในกระบวนการผลิตเครื่องสำอาง ทั้ง สบู่ ครีมบำรุงผิว เป็นต้น

โทษของมะดัน

มะดันมีลักษณะเด่น ที่ รสเปรี้ยวมาก มีความเป็นกรดสูง แต่ก็มีวิตามินซี การใช้ประโยชน์และการบริโภคมะดัน จึงต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม หากมากเกินไปจะเกิดโทษต่อร่างกายได้ โดยโทษของการกินมะดันมากเกินไป มีดังนี้

  • สำหรับผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหาร ไม่ความกินมะดัน ที่มีความเปรี้ยวในปริมาณมาก เนื่องจากกรดและความเปรีี้ยวของมะดันจะทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานหนักขึ้น
  • สำหรับผู้ป่วยโรคไต ควรงดการกินมะดัน เนื่องจากรสเปรี้ยวของมะดัน จะกระตุ้นให้ขับปัสสาวะมากขึ้น ทำให้ไตทำงานหนักขึ้น
  • กรดจากอาหารที่มีรสเปรี้ยว จะกัดกร่อน ผิวเคลือบฟัน ทำให้ให้ฟันสึกหรอเร็ว ทำให้เสียวฟัน
  • การกินอาหารรสเปรี้ยวมากเกินไป ทำให้ ท้องเสีย ร้อนใน และ ระบบน้ำเหลืองในร่างกายมีปัญหา

มะดัน ( Madan ) คือ พืชไม้ยืนต้น เป็นผลไม้รสเปรี้ยว สามารถบริโภคผลสดได้ ต้นมะดันเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของมะดัน สรรพคุณของมะดัน เช่น ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ เป็นยาระบาย แก้ไข้ทับระดู แก้กระษัย โทษของมะดัน ผลมะดันมีวิตามินซีสูง มี เบตาแคโรทีน รวมถึงแร่ธาตุสำคัญ เช่น แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส เป็นตัน

พริก ( chili ) พริกขี้หนูสวน ( Bird pepper ) สมุนไพรรสเผ็ดร้อน นิยมนำมาปรุงรสอาหาร ต้นพริกเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณช่วยเจริญอาหาร กระตุ้นน้ำย่อย โทษของพริกพริก สมุนไพร สรรพคุณของพริก ประโยชน์ของพริก

พริก หากกล่าวถึงพริก เป็นพืชสวนครัว ที่รู้จักกันทั่วโลก พริกให้รสเผ็ดร้อน นิยมนำมาปรุงอาหารให้รสเผ็ด เรามาทำความรู้จักกับพริก ว่าลักษณะทางพฤษศาสตร์ของพริก ประโยชน์ สรรพคุณของพริก  และข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากพริก เป็นอย่างไร พะแนงเนื้อ แกงเลียง

พริกเป็นพืชเศรษฐกิจ พริกในทางการค้าและอุตสาหกรรม มีการนำเอาสีของพริก ที่มีความหลากหลาย เช่น พริกสีเขียว พริกสีแดง พริกสีเหลือง พริกสีส้ม พริกสีม่วง และพริกสีงาช้าง มาใช้ประโยชน์ ทั้งด้านการใช้สีสันของพริก และการปรุงอาหาร ซึ่งพริกสามารถปลูกได้ดีในประเทศเขตร้อนชื้น ที่มีแสงแดด

ซึ่งปัจจุบัน เทรนในการอนุรักษ์ธรรมชาติมีมากขึ้นทุกวัน การใช้สีที่ได้มาจากธรรมชาติจึงมีต้องการมากขึ้น พริกเป็นพืชอายุสั้น ที่สามารถให้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูง ทั้งใช้บริโภคพริกสดและแปรรูปพริกให้อยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่น พริกแห้ง พริกป่น พริกดอง ซอสพริก น้ำพริก เครื่องพริกแกง น้ำจิ้มแบบต่าง ๆ รวมถึงยารักษาโรค

ประโยชน์ของพริกมีมากมายขนาดนี้ ไม่มาทำความรู้จักกับพริกได้อย่างไร

พริก ภาษาอังกฤษว่า Chilli peppers หรือ chili คำคำนี้มาภาษาสเปน ว่า chile ส่วน พริกขี้หนูสวน เรียก Bird pepper หรือ Chili pepper ชื่อวิทยาศาสตร์ของพริก คือ Capsicum annuum L. พริกจัดเป็นพืชตระกลูเดียวกันกับมะเขือ พริกขี้หนู มีชื่อเรียกอื่นๆ อีก ที่เรียกแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น เช่น พริกแด้ พริกแต้ พริกนก พริกแจว พริกน้ำเมี่ยง หมักเพ็ด ดีปลีขี้นก พริกขี้นก พริกมะต่อม ปะแกว มะระตี้ ดีปลี ครี ลัวเจียะ ล่าเจียว มือซาซีซู, มือส่าโพ เป็นต้น

มีการนำพริกมาศึกษาสารเคมีในพริก พบว่ามีสารสำคัญ คือ Capsaicin  เป็นสารเคมีที่ให้ฤทธิ์เผ็ดร้อน นอกจากนั้นมีสารเคมีอื่นในพริก ประกอบด้วย Dihydrocapsaicin ,Nordihydrocapsaicin ,Homodihydrocapsaicin และ Homocapsaicin

สำหรับสารเคมี Capsaicin ที่อยู่ในพริกนั้นมีฤทธิ์ระคายเคืองต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งทำให้ประสาท เกิดความรู้สึกร้อนไหม้ กระตุ้นให้เกิดเมือกเพื่อป้องกันการระคายเคือง รวมถึงกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อย

นักวิทยาศาสตร์ยังสามารถค้นพบสารเคมีในพริก ชื่อ แคโรทีนอยด์ มีสรรพคุณต้านมะเร็งได้ สำหรับสารแคโรทีนอยด์ เป็นรูปแบบหนึ่งของสารแคโรทีน นักวิทยาศาสตร์ ได้นำเอาสารชนิดนี้มาสกัดทำอาหารเสริม ซึ่งในปัจจุบัน เป็นอาหารเสริมที่ได้รับความนิยมเป็นจำนวนมาก ในพริกนอดจากมีสารเคมีสำคัญมีประโยชน์ต่อร่างกาย ยังมีวิตามินซีสูง ช่วยบำรุงผิว แต่หากกินมากเกินไป จะทำให้ปวดท้อง และทำให้ท้องเสียได้

ชนิดของพริก

พริกมีหลากหลายพันธ์ เช่น พริกขี้หนูสวน พริกไทย พริกหยวก พริกเหลือง พริกชี้ฟ้า พริกหนุ่ม พริกกะเหรี่ยง สำหรับการปลูกพริกใช้บริโภคในประเทศไทยนั้น นิยมปลูกอยู่ 2 ชนิด คือ พริกรสหวาน เช่น พริกหยวก พริกชี้ฟ้า เป็นต้น และ พริกรสเผ็ด เช่น พริกขี้หนูสวน พริกขี้หนูใหญ่ เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพริกขี้หนู

พริกขี้หนู เป็นพืชล้มลุก เป็นไม้พุ่ม อายุสั้น ประมาณไม่เกิน 3 ปี เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแถบทวีปอเมริกา เมล็ด สามารถนำเมล็ดไปขยายพันธ์ต่อได้ ลักษณะของพริกมีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นของพริก ความสูงของต้นพริกประมาณไม่เกิน 1 เมตร ลักษณะมีการแตกกิ่งก้านสาขาจำนวนมากมาก กิ่งมีสีเขียว และสีน้ำตาล
  • ใบของพริกขี้หนู เป็นใบเดี่ยว สีเขียว ใบเรียงสลับกันตามกิ่งก้าน ใบเป็นรูปไข่ ปลายแหลม ผิวใบเรียบ
  • ดอกของพริกขี้หนู ออกเป็นช่อ ลักษณะดอกจะกระจุกตามซอกใบ มีช่อละ 2 ถึง 3 ดอก และดอกจะเปลี่ยนเป็นผลพริก
  • ผลของพริกขี้หนูสวน ลักษณะของผลพริกจะยาวรี ปลายแหลม ผลมีสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ภายในผลมีเมล็ด สามารถนำเมล็ดไปขยายพันธ์ต่อได้

สรรพคุณของพริกขี้หนู

พริกขี้หนูมีการนำเอาพริกมาใช้ประโยชน์ในการรักษาโรค ในทุกส่วนของพริก ทั้ง ต้น ผล ใบ ซึ่งเราได้แยกสรรพคุณขอพริกตามส่วนต่างๆ ของพริกมาให้ ดังนี้

  • ใบของพริก ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลม  ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด ช่วยผ่อนคลาย รักษาไข้หวัด แก้อาการปวดหัว  ช่วยแก้อาการคัน  ใช้รักษาแผลสดและแผลเปื่อย ใช้รักษาอาการบวม ฟกช้ำดำเขียว ปวดตามข้อ เคล็ดขัดยอก
  • ผลพริก ช่วยเจริญอาหาร ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย ช่วยบำรุงร่างกาย รักษาโรคพยาธิในลำไส้ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยลดน้ำหนัก ลดไขมันในเส้นลือด ช่วยบำรุงเลือด ช่วยรักษาโรคความดัน ช่วยสลายลิ่มเลือด ช่วยลดการอุดตันของหลอดเลือด ช่วยขับเสมหะ ลดน้ำมูก บรรเทาอาการไอ รักษาการอาเจียน ใช้ขับน้ำคาวปลาของสตรีหลังคลอด สมุนไพรสำหรับสตรีหลังคลอด  ช่วยรักษาโรคหิด รักษากลากเกลื้อน แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย  ช่วยกระตุ้นให้ผมงอก
  • รากของพริก ช่วยบำรุงเลือด ช้วยฟอกเลือด  เป็นยารักษาโรคเก๊าท์ ช่วบลดอาการปวด
  • ลำต้นพริก นำมาทำยาแก้กระษัย เป็นยาขับปัสสาวะ  แก้เท้าแตก

การปลูกพริก

  • การเตรียมดิน สำหรับปลูกพริก ให้ไถพรวน แล้วรดน้ำตาม เพื่อปรับสภาพดินและป้องกันกำจัดเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคในพริก กำจัดวัชพืชในแปลงพริก
  • การเพาะกล้า ให้แช่เมล็ดพริกในน้ำ เพื่อเร่งการงอกของราก จากนั้นหว่านเมล็ดลงบนแปลงเพาะ หรือถาดหลุม จากนั้นอีกประมาณ 30 วัน ให้ย้ายต้นกล้าลงแปลงปลูก
  • การบำรุงต้นพริกและผลพริก เพื่อความสะดวกและการประหยัดค่าใช้จ่าย ให้ใช้ปุ๋ยชีวภาพ ฉีดพ่นเพื่อกระตุ้นให้ต้นให้พริกเจริญเติบโตออกดอก ให้ผลดก การให้ปุ๋ย หลังย้ายต้นกล้าลงแปลงปลุก ประมาณ 5 วันแล้ว ให้เริมให้ปุ๋ย เพื่อเร่งการเจริญเติบโต เมื่อต้นพริกอายุได้ 50 วัน ให้ใส่ปุ๋ยเพื่อเร่งดอก
  • โรคและแมลงศัตรูพืชของพริก มีน้อยมาก ถ้าให้ปุ๋ยชีวภาพอย่างสม่ำเสมอและถูกต้อง มักจะพบปัญหา ยอดหงิก ซึ่งมาจากเพลี้ยไฟ ให้ถอนและทำลายต้นทิ้ง

ข้อควรระวังในการรับประทานพริกขี้หนู

  • สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับกระเพราะอาหารและลำไส้ ไม่ควรกินพริก เนื่องจากพริกจะทำให้ระคายเคืองมากขึ้น
  • หากเด็กกินพริกเข้าไป จะมีอาการแสบร้อนมากกว่าผู้ใหญ่ ให้แก้ด้วยการให้ดื่มนมตา ในน้ำนมจะมีสาร Casein ช่วยให้อาการเผ็ด แสบร้อนลดลงได้
  • พริกทำให้ให้เกิดสิวได้ เนื่องจากพริกมีฤทธ์ให้ขับของเสียออกจากร่างกาย และของเสียจะถูกขับออกมาทางผิวหนัง ซึ่งทำให้ผิวหนังมีอาการอักเสบมากขึ้น
  • สำหรับผู้ที่ไม่เคยกินเผ็ด ความเผ็ดของพริกจากมากกว่าปรกติ ให้ระมัดระวังในการรับประทาน

พริก ( chili ) พริกขี้หนูสวน ( Bird pepper ) พืชสวนครัว รสเผ็ดร้อน สมุนไพร นิยมนำมาปรุงรสอาหาร ลักษณะของต้นพริก เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของพริก ช่วยเจริญอาหาร ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย ช่วยบำรุงร่างกาย ข้อควรระวังในการกินพริก

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove