ข่า ( Galanga ) สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหาร ต้นข่าเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของข่า ประโยชน์และสรรพคุณช่วยดับคาว ลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันมะเร็ง โทษข่ามีอะไรบ้างข่า สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของข่า

ต้นข่า ภาษาอังกฤษ เรียก Galanga ข่ามีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Alpinia galanga (L.) Willd. เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับกระชาย ขิง กระวาน ขมิ้น เป็นต้น สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของข่า เช่น ข่าหยวก ข่าหลวง กฎุกกโรหินี เป็นต้น

ข่า พืชท้องถิ่น ปลูกง่าย นิยมปลูกในทุกครัวเรือนของบ้านในประเทศไทย ข่า เป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง สามารถหาซื้อได้ตามตลาด สำหรับอาหารไทยและอาหารอินโดนีเซีย นิยมใช้ข่ามาปรุงอาหาร ข่าเป็นหนึ่งในเครื่องเทศยอดนิยม เมนูอาหารอย่าง ต้มข่าไก่ หรือต้มยำกุ้ง น้ำพริกต่างๆ ต้องมีข่าเป็นส่วนผสม

ลักษณะของต้นข่า

ข่า จัดเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ในดิน เหง้าจะมีข้อและปล้องมองเห้นได้ค่อนข้างชัดเจน ลำต้นตรง มีความสูงประมาณ 1 ถึง 2 เมตร ลำต้นมีสีเขียว ใบของข่า เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันที่ยอดของลำต้น ใบมีลักษณะรี ดอกของข่าจะออกที่ยอดลำต้น มีขนาดเล็ก สีขาว และผลของข่าจะเป็นทรงกลม สามารถมองเห็นได้เมื่อดอกแห้ง

คุณค่าทางโภชนาการของข่า

สำหรับการใช้ประโยชน์จากข่า นิยมนำข่ามาบริโภค เหง้าอ่อนของข่า ซึ่งเป็นส่วนที่มีรสเผ็ด ช่วยขับลมได้ดี มีการศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของเหง้าข่าอ่อน ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 20 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 1.1 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.15 กรัม และวิตามินซี 23 มิลลิกรัม

สรรพคุณทางสมุนไพรของข่า

สำหรับการใช้ ประโยชน์ข่า ด้านการรักษาโรค และใช้ทำสมุนไพร นั้น นิยมใช้ หน่อ เหง้า ราก ดอก ผล และใบ เรียกได้ว่าทุกส่วนของข่าสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด รายละเอียด ดังต่อไปนี้

  • เหง้าของข่า สามารถนำมาช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยแก้บิด แก้อาหารเป็นพิษ ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยยับยั้งแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ ช่วยขับน้ำดี ช่วยขับเลือด ขับน้ำคาวปลา เป็นยารักษาแผลสด ช่วยลดอาการอักเสบ ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ใช้รักษาโรคผิวหนัง ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ช่วยรักษากลากเกลื้อน ช่วยแก้โรคน้ำกัด ช่วยแก้ฟกช้ำ ช่วยแก้เหน็บชา ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ช่วยบำรุงสมรรถภาพทางเพศ ช่วยไล่แมลง
  • ใบของข่า สามารถนำมาช่วยฆ่าพยาธิ ช่วยรักษากลากเกลื้อน
  • รากของข่า สามารถนำมาช่วยให้ระบบไหลเวียนของเลือดปรกติ ช่วยขับเสมหะ
  • ดอกของข่า สามารถนำมาช่วยแก้อาการท้องเสีย ช่วยแก้ฝีดาษ
  • ผลของข่า สามารถนำมารักษาอาการปวดฟัน ช่วยรักษาโรคท้องร่วง ช่วยย่อยอาหาร
  • หน่อของข่า สามารถนำมาช่วยบำรุงธาตุไฟ ช่วยแก้ลมแน่นหน้าอก

โทษของข่า

ข่า เป็นพืชที่มีรสเผ็ดร้อน การใช้ประโยชน์จากข่า มีข้อควรระวังในการใช้ข่า ดังนี้

  • น้ำมันหอมระเหยจากเหง้าข่า มีความเป็นพิษ หากบริโภคในปริมาณมากเกินไป ทำให้เป็นพิษต่อร่างกาย
  • ข่า ทำให้เกิดอาการระคายเคืองผิวหนังได้ ทำให้มีอาการแสบร้อนผิวหนัง

ข่า ( Galanga ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของข่า คือ Alpinia galanga (L.) Willd. สมุนไพร พืชตระกูลกระชาย ลักษณะของต้นข่า คุณค่าทางโภชนาการของข่า ประโยชน์ของข่า สรรพคุณของข่า ช่วยดับคาว ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยช่วยรักษาหลอดลมอักเสบ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม ต้นข่าเป็นอย่างไร ต้นข่า เป็นพืชพื้นเมือง มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศเขตร้อน สามารถพบได้ตามประเทศ ศรีลังกา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย และไทย เป็นต้น คนไทยมีความคุ้นเคยกับข่าเป็นอย่างดี ข่าสำหรับคนไทย นิยมนำมาเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร ช่วยดับความอาหารได้เป็นอย่างดี แต่ข่ามีประโยชน์ด้านสมุนไพร มากมาย

การปลูกข่า

ข่าเป็นพืช เศรษฐกิจ ปลูกง่าย ไม่ต้องดูแลรักษามาก ศัตรูพืชน้อย สำหรับการปลูกข่า นั้นมีเรื่องที่ต้องรู้ คือ การเตรียมดิน การปลูก การเก็บผลผลิต รายละเอียด ดังนี้

  1. การเตรียมดิน สำหรับปลูกข่า ข่าชอบดินร่วนซุย มีความชื้น แต่ไม่ชอบน้ำขัง สำหรับการเตรียมต้นพันธุ์ สำหรับปลูกข่า ให้ใช้ต้นพันธุ์อายุ 1 ปี ครึ่ง เนื่องจากอายุพันธุ์ข่า ขนาดนี้เหมาะสำหรับการนำมาปลูก เนื่องจากมีแข็งแรง และมีตามาก ทำให้การเจริญเติบโตจะดี
  2. การปลูกข่า ใช้วิธีการปักดำ นำเหง้าพันธ์ุข่ามาปักลงหลุมที่เตรียมดินไว้ สำหรับหลุมละ 3 เหง้า ระยะห่าง ประมาณ 1 เมตร ต่อหลุม ข่าสามารถแตกหน่อได้มากถึง 1500 กอ ให้ผลผลิตที่ดี
  3. การดูแลข่า ข่าเป็นพืชที่ชอบความชื้นแต่ไม่ชอบน้ำขัง จึงต้องหมั่นตรวจสอบอย่าให้น้ำขัง รดน้ำเดือนละ 2 ครั้งก็เพียงพอสำหรับข่า หมั่นให้ปุ๋ย สามารถเก็บเกี่ยวข่าได้ตามต้องการ

ข่า ( Galanga ) สมุนไพร พืชสวนครัว นิยมนำมาทำอาหาร ลักษณะของต้นข่า เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของข่า ประโยชน์และสรรพคุณของข่า เช่น ช่วยดับคาว ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันมะเร็ง โทษของข่า มีอะไรบ้าง

บทความนี้เรามาทำความรู้จักกับข่ากัน ว่า ข่าเป็นอย่างไร ประโยชน์ด้านยาของข่า การปลูกข่า คุณค่าทางโภชนาการของข่า และเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับข่า ต้มข่าไก่

โหราเดือยไก่ สมุนไพรมีพิษ ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงเลือดและหัวใจ แก้มือเท้าเย็น บรรเทาอาการปวด ขับเหงื่อ ขับของเสียอออกจากร่างกาย ขับปัสสาวะ โทษของโหราเดือยไก่

โหราเดือยไก่ สมุนไพร สรรพคุณของโหราเดือยไก่ ประโยชน์ของโหราเดือยไก่

ต้นโหราเดือยไก่ สมุนไพร มีพิษ สรรพคุณบำรุงไต บำรุงเลือดและหัวใจ ช่วยบำรุงธาตุไฟ แก้มือเท้าเย็น บรรเทาอาการปวด ขับเหงื่อ ขับของเสียอออกจากร่างกาย ขับปัสสาวะ แก้ปวดหัว แก้ปวดท้อง ช่วยแก้อาการฟกช้ำ ปวดบวม แก้ปวดก้นกบ แก้อัมพฤกษ์ รักษาอัมพาต ช่วยลดอาการบวมน้ำที่เกิดจากโรคไต เป็นต้น

จากข้อมูลทางเภสัชศาสตร์ได้ศึกษาโหราเดือยไก่ พบว่ามีสาร Alkaloidsอยู่หลายชนิด เช่น Aconitine, Carmichaeline, Chuan-wubase A, Chuan-wu-base B, Hypaconitine, MesaconitineและTalatisamine เป็นต้น ซึ่งสารที่พบในโหราเดือยไก่มีฤทธิ๋กระตุ้นหัวใจ ทำให้หัวใจมีการบีบตัวได้ดีขึ้น มีการนำสารAlkaoids ไปทดลองกับหนู สามารถแก้อาการปวดของหนูได้ สารชนิดนี้สามารถทำให้ชาและบรรเทาอาการปวดได้

เรามาทำควมรู้จักกับโหราเดือยไก่กัน โหราเดือยไก่ ภาษาอังกฤษ เรียก Prepared Common Monkshood Daughter Root มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aconitum carmichaelii Debeaux ชื่ออื่นๆของโหราเดือยไก่ คือ ชวนอู อูโถว ฟู่จื่อ หู่จื้อ เป็นต้น ต้นโหราเดือยไก่ เป็นพืชล้มลุกชนิกหนึ่ง อายุยืน ความสูงไม่เกิดน 120 เซ็นติเมตร ขนที่ยอดต้น หัวของต้นอยู่ใต้ดิ เปลือกสีน้ำตาล มีรากแก้ว ใบเป็นใบเดี่ยว ดอกออกเป็นช่อ สีน้ำเงินอมม่วง ผลกลมยาว

สรรพคุณของโหราเดือยไก่

สามารถนำมาใช้ประโยชน์ คือ รากและหัวของโหราเดือยไก่ โหราเดือยไก่ตามตำราการแพทย์แผนจีน ระบุ มีรสเผ็ดร้อน เสริมหยางในระบบหัวใจ ช่วยบำรุงธาตุไฟ กระจายความเย็นที่มาจับ ให้ความอบอุ่นแก่กระเพาะอาหาร แก้มือเท้าเย็น บำรุงไต บรรเทาอาการปวด ขับเหงื่อ ขับของเสียอออกจากร่างกาย ขับปัสสาวะ รายละเอียดของการใช้ประโยชน์มี ดังนี้

  • หัวของโหราเดือยไก่ มีฤทธิ์ร้อน ใช้เป็นยาร้อน ใช้แก้ปวดศีรษะ แก้ปวดท้อง และบรรเทาอาการปวด เป็นยาแก้ฝีเย็นทั้งภายในและภายนอก ช่วยแก้อาการฟกช้ำ ปวดบวม แก้ปวดก้นกบ แก้อัมพฤกษ์ รักษาอัมพาต
  • รากของโหราเดือยไก่ ใช้ บำรุงไต ทำให้ร่างกายอบอุ่น แก้อาการปวดท้อง แก้ปวดกระเพาะ ช่วยลดอาการบวมน้ำที่เกิดจากโรคไต ช่วยแก้อาการมือเท้าชา

ข้อควรระวังในการบริโภคโหราเดือยไก่

เนื่องจากโหราเดือยไก่มีความเป็นพิษ มีฤทธิ์ร้อน สตรีมีครรถ์ไม่ควรบริโภค และก่อนการบริโภคต้องผ่านการกำจัดพิษ ก่อน ความเป็นพิษของโหราเดือยไก่ ส่งผลต่อ ระบบประสาทและหัวใจ ทำให้แสบร้อนในปาก คลื่นไส้ อาเจียน แขนขาชา วิงเวียนศีรษะ ตาพร่า รูม่านตาขยาย กล้ามเนื้อหัวใจอาจถูกทำลาย และอาจเสียชีวิตได้

วิธีการกำจัดพิษของโหราเดือยไก่

การกำจัดพิษโหราเดือยไก่ คือ ต้องล้างให้สะอาดก่อน จากนั้นตากให้แห้ง แล้วนำมาแช่น้ำอีกรอบ โดยเปลี่ยนน้ำใหม่ วันละ 1-2 ครั้ง หลังจากนั้นนำไปต้มกับถั่วดำและชะเอม ต้มจนสุก จากนั้นค่อยนำไปตากแดดให้แห้ง

วิธีแก้พิษโหราเดือยไก่ หากกินโหราเดือยไก่โดยไม่กำจัดพิษก่อน ต้องทำการล้างท้อง ทำให้อาเจียน และให้น้ำเกลือ และทำให้ร่างกายอบอุ่น

โหราเดือยไก่ สรรพคุณเด่น คือ เป็นยาแก้ปวด ซึ่ง สมุนไพรช่วยแก้ปวด อื่นๆ มีดังนี้

ว่านชักมดลูก สมุนไพร สรรพคุณของว่านชักมดลูก ประโยชน์ของว่านชักมดลูกว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ประฌยชน์ของโด่ไม่รู้ล้มโด่ไม่รู้ล้ม
ดีปลี สมุนไพร สรรพคุณของดีปลี ประโยชน์ของดีปลีดีปลี
ผักขวง สะเดาดิน สมุนไพร สรรพคุณของสะเดาดินสะเดาดิน
ผักขวง
หอมหัวใหญ่ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมุนไพรหอมหัวใหญ่
สะระแหน่ มินต์ สมุนไพร พืชสวนครัวสะระแหน่
ฟักข้าว สมุนไพร สรรพคุณของฟักข้าว ประโยชน์ของฟักข้าวฟักข้าว
บุก สมุนไพร สรรพคุณของบุก ประโยชน์ของบุกบุก

โหราเดือยไก่ สมุนไพร มีพิษ ประโยชน์และสรรพคุณของโหราเดือยไก่ บำรุงไต บำรุงเลือดและหัวใจ ช่วยบำรุงธาตุไฟ แก้มือเท้าเย็น บรรเทาอาการปวด ขับเหงื่อ ขับของเสียอออกจากร่างกาย ขับปัสสาวะ โทษของโหราเดือยไก่

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove