มะขาม Tamarind พืชสารพัดประโยชน์ นิยมกินผลมะขามเ็นอาหาร สรรพของมะขาม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงผิว เป็นยาระบายอ่อนๆ ลักษณะของต้นมะขามเป็นอย่างไร

มะขาม สมุนไพร สรรพคุณของมะขาม

ต้นมะขาม ภาษาอังกฤษ Tamarind ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะขาม คือ Tamardus lndica Linn  สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของมะขาม เช่น ขาม ตะลูบ ม่องโคล้ง มอดเล ส่ามอเกล หมากแกงอำเบียล มะขามไทย อำเปียล เป็นต้น มะขามจัดเป็นพันธุ์ไม้มงคล พืชที่มีคำว่าขาม พ้องกับคำว่า น่าเกรงขาม จึงนิยมปลูกในบ้าน มะขามยังเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์

ประโยชน์ของมะขามมีมากมาย เป็นพืชที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ คุณค่าทางโภชนาการสูง ส่วนที่นำมาใช้เป็นยาจะเป็นเนื้อฝักแก่ (มะขามเปียก) เปลือกของลำต้น (ทั้งสดและแห้ง) และเนื้อในเมล็ด สามารถช่วยรักษาได้หลายโรค เช่น เป็นยาขับเสมหะ แก้อาการท้องเดิน บรรเทาอาการท้องผูก ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ เป็นต้น

ลักษณะของต้นมะขาม

ต้นมะขาม เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามากไม่มีหนาม สามารถขยายพันธ์ได้หลายวิธี เพาะเมล็ดพันธ์ การตอนกิ่ง เป็นต้น

  • ลำต้นมะขาม ลำต้นขนาดใหญ่ แตกกิ่งก้านสาขามากมาย เปลือกต้นขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อน
  • ใบมะขาม ลักษณะเป็นใบประกอบ ใบมีเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่ ปลายใบและโคนใบมน
  • ดอกมะขาม ดอกจะออกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีเหลือง
  • ผลมะขาม ลักษณะผลเป็นฝักยาว รูปร่างโค้ง ฝักอ่อนเปลือกสีเขียวอมเทา ฝักแก่สีน้ำตาลเกรียม ภายในฝักมีเนื้อสีน้ำตาล เนื้อมีรสเปรี้ยวหรือหวาน ภายในเนื้อฝักมีเมล็ดลักษณะแบนเป็นมันสีน้ำตาล

คุณค่าทางโภชนาการของมะขาม

สำหรับการรับประทานมะขามเป็นอาหารสามารถรับประทานใบและเนื้อผลมะขาม ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเนื้อมะขามดิบ ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 239 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 62.5 กรัม น้ำตาล 57.4 กรัม กากใยอาหาร 5.1 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม โปรตีน 2.8 กรัม วิตามินบี 1 0.428 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.152 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1.938 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.143 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.066 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 14 ไมโครกรัม โคลีน 8.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 3.5 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.1 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.8 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 74 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.8 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 92 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 113 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 628 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 28 มิลลิกรัม และสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม

ยอดอ่อนและฝักอ่อนมีวิตามินเอ มาก มะขามเปียกรสเปรี้ยว ทำให้ชุ่มคอ ลดความร้อนของร่างกายได้ดี

เนื้อฝักมะขามที่แก่จัดอุดมด้วยกรดอินทรีย์ เช่น กรดซิตริก ( Citric Acid ) กรดทาร์ทาริก ( Tartaric Acid ) หรือ กรดมาลิก ( Malic Acid ) เป็นต้น คุณสมบัติชำระล้างความสกปรกรูขุมขน คราบไขมันบนผิวหนังได้ดี

สรรพคุณของมะขาม

สำหรับการนำมะขามมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากใบและผลมะขาม สรรพคุณของมะขาม มีดังนี้

  • ใบมะขาม สรรพคุณบำรุงผิวพรรณ ทำให้ผิวพรรณสะอาดและช่วยต้านทานโรค รักษาแผลเรื้อรัง
  • เนื้อผลของมะขาม สรรพคุณช่วยต้านอนุมูลอิสระ บำรุงผิว ลดรอยคล้ำของผิว ช่วยให้ผิวสดใส เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ไอ ขับเสมหะ ถ่ายพยาธิตัวกลมและพยาธิเส้นด้าย ช่วยขับน้ำนม สำหรับสตรีหลังคลอด
  • เปลือกของผลมะขาม สรรพคุณช่วยสมานแผล

โทษของมะขาม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะขามมีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากมะขาม ดังนี้

  • มะขามมีความเป็นกรด หากมีบาดแผลและโดยเนื้อมะขาม อาจทำให้เกิดอาการระคายเคือง แสบได้
  • มะขามหากกินมากเกินไป อาจทำให้ท้องเสีย การท้องเสียมากเกินไป อาจทำให้ร่างกายขาดน้ำเป็นอันตรายได้
  • มะขามเปียกใช้ขัดผิว หรือ พอกหน้า แต่หากใช้มะขามเปียกเกินอาทิตย์ละ 2 ครั้ง อาจทำให้ผิวระคายเคืองได้
  • สำหรับการขัดผิว หรือ พอกหน้า ด้วยมะขามปียก อย่าลืมบำรุงผิวให้ชุ่มชื้น ด้วยครีมบำรุงผิว และ ครีมกันแดด

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

กระเพรา Basil สมุนไพร รู้จักกันดีในสังคมไทย ผัดใบกระเพราอาหารยอดนิยม สรรพคุณของกระเพรา แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม กระเพรามีโทษหรือไม่ รู้จักกับกระเพรา

กระเพรา สมุนไพร สรรพคุณของกระเพรา

กระเพรา ภาษาอังกฤษ เรียก Basil ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเพรา คือ Ocimum sanctum, Linn. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกระเพรา เช่น กระเพราแดง กระเพราขาว ก่ำก้อขาว ก่ำก้อดำ กอมก้อขาว กอมก้อด ห่อตูปลา ห่อกวอซู เป็นต้น กระเพรา เป็นพืชพื้นเมืองของเขตร้อนของทวีปเอเชียและแอฟริกา ซึ่งพบมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เป็นต้น ผักสวนครัว พืชอายุสั้น พบเห็นได้ทั่วไปในบ้านของสังคมไทย สรรพคุณของกระเพราแก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม รักษาโรคผิวหนัง ไล่แมลง แก้ไอ ขับเสมหะ

ประโยชน์ของกะเพรา  นิยมนำใบกระเพราใช้ประกอบอาหาร ใบกระเพรามีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รสเผ็ดร้อน เพิ่มรสชาติให้กับอาหาร น้ำมันหอมระเหยของใบกระเพรามีสารสำคัญ ประกอบด้วย ไลนาลูออล ( linalool ) และ เมทิลคาวิคอล ( methylchavicol ) สามารถนำมาใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ น้ำมันหอมระเหยจากกระเพรามีประโยชน์มากมายและราคาสูง

ลักษณะของต้นกระเพรา

ต้นกะเพรา พืชล้มลุก ที่มีความสูงประมาณ 60 เซ็นติเมตร สามารถขยายพันธุ์โดยการเพราะเมล็ดพันธ์  ปลูกง่าย ไม่ต้องการแสงมาก ไม่ต้องการการดูแลมาก ลักษณะของต้นกระเพรา มีดังนี้

  • ลำต้นกระเพรา แตกกิ่งก้านสาขา ความสูงประมาณ 60 เซ็นติเมตร โคนลำต้นค่อนข้างแข็ง ลำต้นมีขนและมีกลิ่นหอม
  • ใบกระเพรา ลักษณะเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบเป็นทรงรี ปลายแหลมหรือมน โคนแหลม ขอบจักฟันเลื่อยและเป็นคลื่น แผ่นใบมีขนโดยเฉพาะยอด ใบสีเขียว เรียกกะเพราขาว ใบสีแดงเรียกกะเพราแดง
  • ดอกกระเพรา ลักษณะดอกออกเป็นแบบช่อฉัตร ออกบริเวณปลายยอดและปลายกิ่ง รูปคล้ายระฆัง ดอกสีขาวแกมม่วงแดงมีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายเรียวแหลม ด้านนอกมีขน
  • เมล็ดกระเพรา  เมล็ดกลมเล็กๆ สีน้ำตาล อยู่ในดอกแห้งของกระเพรา นำไปแช่น้ำเปลือกหุ้มเมล็ดพองออกเป็นเมือกเมื่อแก่หรือแห้ง เมล็ดจะเป็นสีดำอยู่ข้างในซึ่งหุ้มด้วยกลีบเลี้ยง 

คุณค่าทางโภชนาการของกระเพรา

สำหรับการรับประทานกระเพราเป็นอาหารนิยมรับประทานส่วนใบเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบกระเพราสด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 23 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย ไขมัน 0.6 กรัม ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 0.4 กรัม ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 0.1 กรัม โซเดียม 4 มิลลิกรัม  โพแทสเซียม 295 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด 2.7 กรัม กากใยอาหาร 1.6 กรัม น้ำตาล 0.3 กรัม โปรตีน 3.2 กรัม และ วิตามินต่างๆ เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามืนดี วิตามินบี  วิตามินบี วิตามินอี วิตามินเค และสารอาหารอื่นๆ เช่น แคลเซียม ธาตุเหล็ก  แมกนีเซียม ไทอามิน ไรโบพลาวิน ไนอาซิน  ซิงค์ และ ฟอสฟอรัส

น้ำมันหอมระเหยของกระเพรามีสารสำคัญยู่หลายชนิด เช่น  โอวิมอล ( ocimol ) เมทิลคาวิคอล ( methylchavicol ) แคลิโอฟิลลีน ( caryophyllene ) ไลนาลูออล ( linalool ) บอร์มีออล ( bormeol ) ยูจีนอล ( eugenol )  และ แคมฟีน ( camphene )

สรรพคุณของกระเพรา

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระเพรา ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถนำมาใช้ ทั้งส่วน ใบ เมล็ด และราก รายละเอียด ของสรรพคุณของกระเพรา มีดังนี้

  • ใบสดของกระเพรา มีน้ำมันหอมระเหย ประกอบไปด้วย ไลนาลูออล ( linalool ) และ เมทิลคาวิคอล ( methylchavicol ) สรรพคุณใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ
  • ใบแห้งของกระเพรา สรรพคุณช่วยยับยั้งการเจริญเติมโตของเชื้อโรคบางชนิด ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางชนิด
  • เมล็ดของกระเพรา นำเมล็ดไปแช่น้ำ เมล็ดจะพองเป็นเมือกสีขาว นำไปพอกในบริเวณตา จะไม่ทำให้ตาเราช้ำ
  • รากของกระเพรา ใช้รากแห้ง นำมาชงหรือต้มดื่ม แก้โรคธาตุพิการ

โทษของกระเพรา

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระเพรา มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ ซึ่งโทษของกระเพรา มีดังนี้

  • น้ำยางจากกะเพรา มีความเป็นพิษ อย่าให้ยางสัมผัสผิว เพราะจะทำให้ระคายเคือง
  • การปลูกกระเพราเชิงพาณิยช์อาจมีสารตกค้างในใบกระเพรา ดังนั้นหากเป็นใบกระเพราที่ไม่ทราบที่มาหรือไม่แน่ใจใว่สะอากปราศจาคสารตกค้าง ให้ล้างให้สะอาดก่อนนำมาทำอาหาร

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove