จอประสาทตาลอก (  Retina detachment ) เกิดรอยฉีกขาด การดึงรั้งของผังผืดจอประสาทตาทำให้น้ำเซาะจนจอประสาทหลุดลอก ทำให้มองเห็นแสงแฟลช มองเห็นจุดสีดำ สายตาพล่ามัวจอประสาทตาลอก โรคตา โรคไม้ติดต่อ

จอประสาทตาลอก โรคเกี่ยวกับตา ภาษาอังกฤษ เรียก Retina detachment สาเหตุของจอประสาทตาลอก เกิดจากรู เกิดรอยฉีกขาด เกิดการดึงรั้งของผังผืด เกิดการอักเสบ จึงทำให้มีน้ำเซาะจนทำให้จอประสาทหลุดลอก จอประสาทตาลอก

จอตาลอก หรือ จอตาหลุดลอก คือ ภาวะการแยกตัวของจอประสาทตาออกจากตำแหน่งเดิม ซึ่งการลอกของจอประสาทตาทำให้เกิดอาการเห็นแสงเหมือนฟ้าแลบหรือแสงแฟลช มองเห็นจุดดำ คล้ายหยักไย่ ร่วมถึงอาหารสายตาพล่ามัว มักเกิดจากสาเหตุของการเสื่อมของดวงตาตามอายุ โดยเฉพาะคนที่อายุ 50 ปี ขึ้นไป

สาเหตุของจอประสาทตาลอก

สำหรับ สาเหตุของจอประสาทตาลอก เราแบ่งได้ 3 ชนิด โดยรายละเอียด ประกอบด้วย

  1. จอประสาทตาลอกจากรู หรือ รอยฉีกขาดที่จอประสาทตาrhegmatogenous retinal detachment ) มักเกิดจากอุบัติเหตุทำให้มีการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงที่ดวงตา เกิดอาการจอประสาทตาเสื่อมในคนที่มีสายตาสั้น
  2. จอประสาทตาลอกจากการดึงรั้งtractional retinal detachment ) เกิดจากพังผืดที่จอประสาทตาดึงรั้งหรือจอประสาทตาหลุดลอกจากน้ำในวุ้นตาทำให้หลุด
  3. จอประสาทตาลอกแบบไม่มีรูขาดที่จอตาExudative ) การอักเสบ หรืออุบัติเหตุ ส่งผลให้มีน้ำรั่วซึมและขังอยู่ใต้จอประสาทตา พบได้ในคนที่มีเนื้องอกที่จอประสาทตา ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงมากกว่าปรกติ หรือภาวะไตวาย เป็นต้น

บุคคลที่มีความเสี่ยงเป็นโรคจอประสาทตาลอก คือ คนสายตาสั้นมาก คนที่เคยมีจอประสาทตาลอกมาก่อน พันธุกรรม คนที่ผ่านการผ่าตัดต้อกระจก คนที่เคยเกิดอุบัติเหตุที่ดวงตา

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลอกของประสาทตา

เราสามารถแยกถึงปัจจัยของการเกิดการลอกของประสาทตา ได้ดังนี้

  • อายุที่มากขึ้น เกิดการเสื่อมของตา โดยเกิดน้ำวุ้นลูกตาด้านหลังเสื่อมตามอายุ โดยเกิดการหดตัวและลอกของจอตา
  • คนที่มีสายตาสั้นมาก คนที่สายตาสั้นมากจะมีอาการเสื่อมของน้ำวุ้นลูกตา จนเกิดการฉีกขาดของจอประสาทตาได้ง่าย
  • คนที่เคยมีประวัติการลอกของจอประสาทตามาก่อนแล้ว
  • คนที่คนในครอบครัวเคยมีประวัติการลอกของจอประสาทตา
  • อาการติดเชื้อหรืออักเสบของลูกตา
  • การเกิดเนื้องอกภายในลูกตา
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องจากโรคจอประสาทตาเป็นโรคแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
  • การเกิดอุบัติเหตุกระทบกระเทือนที่ตาอย่างรุนแรง

อาการของจอประสาทตาลอก

สำหรับอาการของจอประสาทตาลอก คือ มองเห็นจุดดำลอยไปมาและเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ มองเห็นแสงคล้ายแสงแฟรช มองเห็นภาพบางส่วนไม่ครบ เป็นต้น โดยเราสามารถแยกรายละเอียดเป้นข้อๆ ได้ดังนี้

  • มองเห็นแสงแฟลชหรือแสงฟ้าแลบ
  • ลักษณะในการมองเห็นเหมือนมีสิ่งปิดบังอยู่
  • มองเห็นจุดสีดำ หรือ ภาพใยแมงมุม
  • การมองเห็นไม่มีประสิทธิภาพ ลักษณะพล่ามัว

การรักษาจอประสาทตาลอก 

สำหรับ การรักษาจอประสาทตาลอก นั้นสามารถทำได้โดยการยิงเลเซอร์บริเวณรอยขาด หากพบมีการลอกขาดของจอประสาทตาแล้ว แพทย์จพรักษาโดยฉีดก๊าซเข้าไปในตา จากนั้นทำการการผ่าตัดหนุนจอประสาทตาและผ่าตัดน้ำวุ้นในตา ทั้งนี้ขึ้นกับอาการ

  • การรักษาจอประสาทตาลอกในกรณีที่ จอประสาทตาฉีกขาด สามารถรักษาด้วยการใช้แสงเลเซอร์ยิงเพื่อปิดรูที่ฉีกขาด หรือ ใช้วิธีจี้ด้วยความเย็น ( Cryotherapy ) รอบ ๆ รอยฉีกขาดของจอประสาทตา
  • การผ่าตัดจอประสาทตาลอก มีวิธีการผ่าตัดอยู่หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย โดยรายละเอียดการผ่าตัดมีดังนี้
    • การฉีดก๊าซเข้าไปในตา เรียกPneumatic retinopexy ใช้การฉีดก๊าซเข้าไปในช่องน้ำวุ้นลูกตาเพื่อดันให้จอประสาทตาที่หลุดลอกกลับเข้าไปติดที่เดิม
    • การผ่าตัดหนุนจอประสาทตา เรียก Scleral buckling ใช้ยางเพื่อหนุนตาขาวให้เข้าไปติดจอประสาทตาที่หลุดลอก
    • การผ่าตัดน้ำวุ้นลูกตา เรียก Pars plana vitrectomy เป็นการตัดน้ำวุ้นลูกตาที่ดึงรั้งจอประสาทตาให้ฉีกขาดออก

การป้องกันการลอกของจอประสาทตา

  • จากปัจจัยเสี่ยงที่กล่าวมาข้างต้น หากท่านมีอาการผิดปรกติ ให้เข้ารับการตรวจดวงตาอย่างละเอียด เพื่อรักษาอย่างทันท่วงที
  • หากมีอาการมองเห็นแสงไฟคล้ายฟ้าแลบ หรือ เห็นเหมือนแสงแฟลช อาจเป็นสัญญาณเตือนภาวะจอประสาทตาลอก ควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจจอประสาทตาทันที
  • ระมัดระวังการเกิดอุบัตติเหตุการกระแทกกับดวงตาอย่างรุนแรง

สมุนไพรบำรุงสายตา ประกอบด้วย พืช ผัก ต้นไม้ ที่มีวิตามินเอ สูง สามารถช่วยบำรุงสายตาได้ดี มีดังนี้

ตำลึง สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัวตำลึง
ชะพลู สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชล้มลุกชะพลู
ขมิ้น สมุนไพร สมุนไพรไทยขมิ้น
ฟักทอง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของฟักทอง
ฟักทอง
มะรุม สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของมะรุมมะรุม
ชะอม สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัวชะอม

จอประสาทตาลอก (  Retina detachment ) คือ ภาวพจอประสาทตาลอกเกิดรู เกิดรอยฉีกขาด เมื่อเกิดการดึงรั้งของผังผืด หรือ เกิดการอักเสบ จะทำให้มีน้ำเซาะจนทำให้จอประสาทหลุดลอก ส่งผลให้เกิดอาการมองเห็นแสงแฟลช เหมือนมีสิ่งปิดบังอยู่ มองเห็นจุดสีดำ สายตาพล่ามัว โรคตา วิธีรักษาจอประสาทตาลอก อาการจอประสาทตาลอกเป็นอย่างไร สาเหตุ อาการ การรักษา โรคจอประสาทตาลอก จอตาลอก โรคตา โรคเกี่ยวกับตา รักษาตา

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

ตากุ้งยิง Hordeolum การอักเสบบริเวณหนังตา ต่อมไขมันที่เปลือกตา มี 2 ชนิด ตากุ้งยิงชนิดหัวผุด ตากุ้งยิงชนิดหัวหลบใน อาการบวมที่เปลือกตา บวมที่หนังตา ขี้ตาเขียวตากุ้งยิง โรคตา ตาอักเสบ โรคติดเชื้อ

โรคตากุ้งยิง เป็นโรคชนิดหนึ่งเกี่ยวกับโรคตา เป็นอาการอักเสบที่บริเวณ หนังตา(external hordeolum) ขนตา(hair follicle) หรือ ต่อมไขมันที่เปลือกตา (internal hordeolum) ซึ่งตากุ้งยิงนี้สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศ ทกวัย โอกาสของการเกิดโรคมีเท่ากันทั้งในชายและหญิง แต่จะพบมากในผู้ป่วยเด็ก ที่อายุไม่เกิน 10 ปี เนื่องจากภูมิคุ้มกันโรคของเด็กยังจัดการกับเชื้อโรคไม่ดีเท่าผู้ใหญ่ โดยโรคตากุ้งยิง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ ตากุ้งยิงชนิดหัวผุด และ ตากุ้งยิงชนิดหัวหลบใน รายละเอียดของชนิดตากุ้งยิง มีดังนี้

  • ตากุ้งยิง ชนิดหัวผุด หรือจะเรียกว่า ตากุ้งยิงภายนอก ทางการแพทย์เรียก External hordeolum เกิดจากการอักเสบของต่อมเหงื่อบริเวณผิวหนัง ที่โคนขนตา จะมีอาการเกิดหัวฝีเห็นได้อย่างชัดเจนที่ขอบตา ลักษณะของฝีจะไม่ใหญ่
  • ตากุ้งยิง ชนิดหัวหลบใน หรือจะเรียกว่า ตากุ้งยิงภายใน ทางการแพทย์รียก Internal hordeolum เกิดจากการอักเสบของต่อมไขมันที่เยื่อบุเปลือกตา ต้องปลิ้นเปลือกตาจึงจะสามารถมองเห็นฝี มักจะมีขนาดใหญ่

สาเหตุของการเกิดโรคตากุ้งยิง

โรคตากุ้งยิงเกิดจากการติดเชื้อ Staphylococcus aureus สามารถหายเองได้ โดยผู้ที่มีภาวะเสี่ยงเป็นโรคตากุ้งยิง จะพบมากในผู้ที่มีอาการป่วย เป็นโรคเบาหวาน คนที่มีหนังตาอักเสบเรื้อรัง คนที่มีไขมันในเลือดสูง การติดเชื้อนั้น ทำให้เกิดการอักเสบของต่อมไขมันบริเวณเปลือกตา โดยทั่วไปแล้วต่อมไขมันใต้เปลือกตานั้นมีจำนวนมาก ซึ่งไขมันสามารถระบายออกทางรูระบายเล็ก ๆ ใกล้ขนตาได้ หากมีสิ่งสกปรก เช่น ฝุ่นละอองไปอุดตัน ทำให้ไขมันไม่สามารถระบายออกที่รูต่อมไขมันได้ หากมีเชื้อโรคเข้าไปได้ ก็จะเกิดการอักเสบ และเป็นหนอง มีอาการเจ็บ และ บวม สาเหตุของการติดเชื้อที่มักจะเกิดขึ้นนั้น ได้แก่

  • การขยี้ตาบ่อย ๆ ด้วยมือที่ไม่สะอาด
  • การทำความสะอาดรอบดวงตาไม่ดี ทำให้ฝุ่นและสารละคายเคืองเข้าสู่ดวงตาง่าย
  • การไม่รักษาความสะอาดของคอนแทคเลนส์ ทำให้สิ่งสกปรกเจือปนเข้าสู่ดวงตา

อาการโรคตากุ้งยิง

ผู้ป่วยที่เป็น โรคตากุ้งยิง เริ่มจากการมีอาการเจ็บ ๆ คัน ๆ ที่เปลือกตา ต่อมาเปลือกตาจะเริ่มบวมแดง และรู้สึกปวดบริเวณเปลือกตา  เกิดการการมีก้อนที่บริเวณเปลือกตา และ อาการปวดบริเวณหนังตา จะเกิดเวลา กรอกตา หรือ หลับตา จะมีอาการปวด ในบางคนจะมีอาการบวมที่บริเวณเปลือกตา บางคนจะมีน้ำหนองไหลออกจากเปลือกตา และ ถ้าหนองที่เปลือกตา เกิดแตก จะทำให้ ขี้ตาเป็นสีเขียว  หากกดลงไปบริเวณก้อนจะรู้สึกเจ็บ ก้อนที่หนังตาจะกลายเป็นฝีและหัวเป็นหนอง ภายใน 5 วัน และหนองจะแตกไปเอง และจะค่อยๆยุปไป และหายไปเอง แต่ในกรณีที่หนองไม่หมดจะทำให้เกิดก้อนที่เปลือกตาเป็นข้อนแข็ง

การรักษาโรคตากุ้งยิง

สำหรับการรักษาโรคตากุ้งยิง นั้น สามารถหายเองได้ โดยการรักษาคือ การประคับประครองอาการของโรคไม่ให้ลาม หรือ อักเสบมากขึ้น สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

  1. การผ่าเอาหนองออก จะใช้สำหรับกรณีที่มีอาการรุนแรง หากอาการตากุ้งยิง ไม่ดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ โดยสังเกตุอาการว่ามีก้อนมีขนาดใหญ่มากและเจ็บตา มีเลือดออกที่เปลือกตา มีตุ่มน้ำเกิดขึ้นที่เปลือกตา ที่เปลือกตามีสะเก็ด สายตาผิดปรกติ หากมีอาการดังกล่าวต้องพบแพทย์ เพื่อผ่าตัดดูดหนอง ก่อนที่อาการจะลามไปมากกว่านี้
  2. การใช้ยาหยอดตา เพื่อทำรักษาความสะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อมากขึ้น
  3. รับประทานยาแก้อักเสบ และ บรรเทาอาการปวดของตังตา

เมื่อเรามีญาติพี่น้องหรือคนในครอบครัว เป็นตากุ้งยิง ให้ดูแลาตัวผู้ป่วย และสภาพแวดล้อม เพื่อป้องกันการติดเชื้อมากขึ้น สำหรับตัวผู้ป่วย ให้ประคบน้ำอุ่น ห้ามบีบหรือเค้นเอาหนองออก และหากหนองแตกเอง ให้ล้างด้วยน้ำต้มสุก หมั่นล้างมือบ่อยๆ หยอดตาและทานยา ตามสั่งหมอ งดการทำอะไรที่จะเกิดการระคายเคืองดวงตา

การป้องกันอาการตากุ้งยิง

โรคตากุ้งยิงสามารถป้องกันการเกิดโรคได้ด้วยการรักษาสุขอนามัย เพื่อไม่ให้มีเชื้อโรคมาทำให้ตาอักเสบ โดยรายละเอียดของการป้องกันการเกิดตากุ้งยิง มีรายละเอียด ดังนี้

  • รักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะส่วนที่อยู่ใกล้กับดวงตตา เช่น ใบหน้า และ เส้นผม เป็นต้น
  • ไม่ควรขยี้ตา เนื่องจากมือที่ขยี้ตาอาจไม่สะอาด ควรล้างมือบ่ายๆ
  • ทำความสะอาดรอบๆดวงตาทุกครั้ง หลังจากใช้เครื่องสำอางค์
  • หากมีความรู้สึกว่าดวงตาอักเสบ หรือ ติดเชื้อ ให้ใช้การทำความสะอาด และ การประคบร้อน เพื่อป้องกันการอุดตันของต่อไขมันบริเวณเปลือกตา
  • ให้ดูแลร่างกายให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินเอ และที่มีสารเบต้าแคโรทีนสูง เช่น ไข่แดง เนย เครื่องใน และพืชผักสีเหลือง เป็นต้น

สมุนไพรบำรุงสายตา ประกอบด้วย พืช ผัก ต้นไม้ ที่มีวิตามินเอ สูง สามารถช่วยบำรุงสายตาได้ดี มีดังนี้

ผักบุ้ง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของผักบุ้งผักบุ้ง
ปอผี สมุนไพร ผักกระเดียง สรรพคุณของปอผีปอผี ผักกระเดียง
มะนาว สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของมะนาวมะนาว
ลูกยอ ต้นยอ สมุนไพร สมุนไพรไทย
ยอ
ผักโขม สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของผักโขม
ผักโขม
มะระ สมุนไพร พืชรสขม ประโยชน์ของมะระ
มะระ

โรคตากุ้งยิง ( Hordeolum ) คือ อาการอักเสบบริเวณหนังตา ขนตา หรือ ต่อมไขมันที่เปลือกตา โรคตากุ้งยิง แบ่งได้ 2 ชนิด คือ ตากุ้งยิงชนิดหัวผุด และ ตากุ้งยิงชนิดหัวหลบใน วิธีรักษาตากุ้งยิง ตากุ้งยิงรักษาอย่างไร ตากุ้งยิงเกิดจากอะไร อาการบวมที่เปลือกตา บวมที่หนังตา ขี้ตาเขียว สาเหตุของตากุ้งยิง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove