พยาธิใบไม้ในปอด ( Paragonimus ) ปอดติดเชื้อเกิดจากการพยาธิใบไม้ใน ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เสมหะมีสีเขียวข้น เสมหะมีพยาธิปน เกิดจากการกินอาหารดิบ

โรคพยาธิใบไม้ในปอด โรคพยาธิ โรคปอด โรคในทรงอก

อาการของโรคพยาธิใบไม้ในปอด อาการสำคัญคือ ไอเรื้อรัง และไอเป็นเลือด เกิดจากการติดพยาธิจากการกินอาหาร กินปูดิบ กินกุ้งดิบ เช่น ปูน้ำตก ปูลำห้วย ปูป่า กุ้งฝอย นอกจากไอแล้ว เสมหะจะมีสีเขียวข้น บางครั้งอาจมีพยาธิออกมากับเสมหะ หากไม่รักษาอาจ ทำให้พยาธิขึ้นสมอง มีอาการชัก สายตาผิดปรกติ  มีอาการบวมเหมือนคนเป็นดรคพยาธิตัวจี๊ด ทำความรู้จักกับ โรคพยาธิใบไม้ในปอด ว่า เกิดจากสาเหตุอะไร รักษาอย่างไร และต้องดูแลอย่างไร

โรคพยาธิใบไม้ปอด ชนิดพาราโกนิมัส หรือภาษาอังกฤษ เรียก Paragonimus เกิดจากการพยาธิใบไม้ ชื่อ Paragonimus westermani ที่อาศัยอยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อย่าง หมา แมว เป็นต้น เมื่อพยาธิตัวนี้เข้าสู่ร่างกายคน จะเข้าสู่ปอด ทำให้มีอาการไอเรื้อรังและไอเป็นเลือดได้ ซึ่งพยาธิใบไม้ชนิดนี้ สามารถแพร่ระบาดสู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้โดย การรับประทานอาหารประเภทปูและกุ้งน้ำจืดบางชนิด แบบดิบๆ ซึ่งโรคนี้สามารถพบได้ในประเทศเขตร้อน แถบเอเชีย อเมริกาใต้และแอฟริกา สำหรับประเทศไทยนั้น พบว่ามีรายงานผู้ป่วยในจังหวัดเพชรบรูณ์ สระบุรี นครนายก เชียงราย น่าน เลย ราชบุรี เป็นพยาธิชนิดพาราโกนิมัส เฮเทอโรทรีมัส (Paragonimus heterotremus)

สาเหตุของการติดพยาธิใบไม้ในปอด

สาเหตุหลักของการติดพยาธิใบไม้ในปอดนั้น เกิดจาก การมีพยาธิใบไม้ที่มีการอาศัยในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น เสือ พังพอน ซึ่งโรคพยาธิชนิดนี้ ผู้ป่วยบางรายกลืนเสมหะลงไป ทำให้ไข่พยาธิที่จะขับออกมากับเสมหะ สามารถออกมากับอุจจาระ และลงสู่แหล่งน้ำะรรมชาติ สัตว์น้ำ อย่าง ปู และกุ้ง กินต่อ ทำให้เกิดการแพร่ระบาดได้ง่าย ภายใน 30 วัน ไข่พยาธิสามารถฟักตัวได้ และเจริญเติบโตต่อในร่างกายของสัตว์เหล่านั้น เมื่อมนุษย์จับสัตว์แหล่านั้นมาทำอาหาร โดยไม่มีการปรุงอาหารให้สุก ก่อน ก็จะรับไข่พยาธิเข้าสู่ร่างกาย

สำหรับการรับไข่พยาธิเข้าสู่ร่างกายและจะเกิดโรคพยาธิใบไม้ในปอดนั้น มีระยะของการเกิดโรค ยาวนานถึง 20 ปี เนื่องจากในชีวิตประจำวันของสัตว์ที่มีไข่ของพยาธืนั้น เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของพยาธิใบไม้ในตับได้

ระยะของการติดต่อ

ซึ่งระยะของการติดโรคนั้น มี 2 ระยะคือ ระยะฟักตัวและระยะติดต่อ รายละเอียดของระยะต่างๆ มีดังนี้

  • ระยะฟักตัวของโรค ในระยะนี้กินเวลา ประมาณ 45 วัน นับตั้งแต่พยาธิใบไม้เข้าสู่ร่างกาย จากนั้นเจริยเติบโตเป็นตัวเต็มวัยและสามารถผสมพันธ์และออกไข่ได้
  • ระยะติดต่อของโรค ในระยะนี้สามารถกินเวลาได้มากกว่า 20 ปี เนื่องจากหากมีพยาธิใบไม้เจริญเติบดตในร่างกายแล้ว เกิดการขยายพันธ์ แต่การติดต่อของพยาธิจะไม่ติดต่อจากมนุษย์สู่มนุษย์โดยตรง แต่การติดต่อนั้นต้องอาศัยตัวกลางเป็นพาหะ เช่น กุ้ง หอยและปู เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคพยาธิใบไม้ในปอด

ลักษณะอาการของโรค มีความเหมือนกับโรควัณโรค คือ อาการไอแบบเรื้อรัง มีเสมหะเหนียวข้น อาจมีโลหิตปนออกมากับเสมหะ รวมถึงไอเป็นเลือด และสามารถพบพยาธิออกมากับเสมหะได้ ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บที่หน้าอก หากไม่เข้ารับการวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของโรคและรับการรักษาอย่างทันท่วงที จะทำให้ พยาธิขึ้นสมอง หากพยาธิเข้าสมองแล้ว ผู้ป่วยจะปวดหัว มีอาการเหมือนผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง มีอาการชัก เป็นลมบ้าหมู ระบบสายตาผิดปกติ มีหนอนพยาธิอาศัยอยู่ใต้ผิวหนัง จะรู้สึกเหมือนเป็น โรคพยาธิตัวจี๊ด

สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรค สามารถทำได้โดยการ สังเกตุอาการของผู้ป่วย ตรวจเสมหะและตรวจอุจจาระเพื่อหาไข่ของพยาธิ เอ็กซเรย์ปอดเพื่อดูความผิดปรกติของปอด เป็นต้น

การรักษาโรคพยาธิใบไม้ในปอด

สามารถทำการรักษาได้โดยการใช้ยา แต่การใช้ยาจะมีอาการแทรกซ้อน บ้าง แต่ไม่เป็นอันตราย เช่น มีอาการท้องเดิน ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน โดยยาที่ใช้ในการรักษาโรคพยาธิใบไม้ในปอด คือ

  1. ยาไบไทโอนอล (Bithionol) ต้องให้ยานี้ในปริมาณ 30 ถึง 40 มิลลิกรัม ต่อ น้ำหนักตัวคน 1 กิโลกรัม โดยให้ยาวันเว้นวัน 10 ถึง 15 ครั้ง
  2. ยาไบทิน บิส (Bitins bis) ต้องให้ยาในปริมาณ 10 ถึง 20 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ให้ยาวันเว้นวัน 10 ถึง 15 ครั้ง
  3. ยาฟาซควอนเตล (Prazlquamtel) ต้องให้ยาในปริมาณ 25 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ให้วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลาติดต่อกัน 3 วัน

การควบคุมและป้องกันโรคพยาธิใบไม้ในปอด

ลักษณะการป้องกันให้ทำเหมือนโรคพยาธิไส้เดือนและพยาธิใบไม้ในตับ โดยข้อควรปฏิบัติสำหรับการควบคุมและป้องกัน มีดังนี้

  1. ให้กำจัดเสมหะและอุจจาระของผู้ป่วยย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันการขยายพันธ์ และแพร่เชื้อสู่สัตว์อื่นๆ เช่น ขุดหลุมฝังเสมหะและถ่ายอุจจาระให้ลึกๆ ไม่บ้วนเสมหะลงที่สาะารณะ ที่มีคนจำนวนมาก และแม่น้ำลำคลอง
  2. ทำลายสัตว์ที่เป็นพาหะตัวกลางนำโรค เช่น หอย ปู กุ้ง หนู พังพอน แต่การกำจัดนั้น เป็นไปได้ยาก สิ่งที่ดีที่สุดคือ การหลีกเลี้ยงในการสัมผัสและใกล้ชิดกับสัตว์ที่มีโอกาสเป็นพาหะของพยาธิ
  3. ไม่รับประทานอาหารพวกกุ้งและปูแบบดิบๆ

โรคพยาธิใบไม้ในปอด ( Paragonimus ) ภาวะการติเชื้อที่ปอด เกิดจากการพยาธิใบไม้ Paragonimus westermani ที่อาศัยอยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หมา แมว เป็นต้น เมื่อพยาธิตัวนี้เข้าสู่ร่างกายคน เข้าสู่ปอด ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เสมหะมีสีเขียวข้น เสมหะมีพยาธิปน เกิดจากการกินอาหารดิบ ปูดิบ กุ้งดิบ โรคติดต่อ สาเหตุ การรักษา ต้องดูแลอย่างไร

แอสเปอร์จิลโลซิส โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เกิดจากการติดเชื้อรา ทำให้มีไข้ ไอมีเสมหะ น้ำมูกเหม็น ปอดอักเสบ การรักษาโรคแอสเปอร์จิลโลซิส และ การป้องกันการเกิดโรคแอสเปอร์จิโลสิส ติดเชื้อรา โรคจากนก โรคติดต่อ

แอสเปอร์จิลโลซิส ภาษาอังกฤษ เรียก Aspergillosis เป็นโรคระบาด คือ โรคติดต่อที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา โรคนี้พบว่าเกิดกับคนครั้งแรกปี พ ศ. 2390 ปัจจุบันโรคนี้มีอัตราการเกิดโรคสูงขึ้นเรื่อยๆ โรคนี้เป็นโรคเกิดกับสัตว์ต่อมาได้ติดต่อสู่คน เชื้อราที่พบ คือ แอสเปอร์จิลลัส ฟูมิกาตัส ( Aspergillus fumigatus ) ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆที่ระบบทางเดินหายใจ การรักษาโรคแอสเปอร์จิลโลซิส และ การป้องกันการเกิดโรค

โรคแอสเปอร์จิลโลซิส Aspergillosis โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

โรคแอสเปอร์จิลโลซิส พบว่ามี 3 แบบ คือ  โรคแพ้เชื้อรา (Allergic aspergillosis)  โรคเชื้อราชนิดอยู่เฉพาะที่ ( aspergilloma) และ โรคเชื้อราชนิดกระจายในเนื้อเยื่อปอด ( invasive aspergillosis )

  • โรคแพ้เชื้อรา ( Allergic aspergillosis ) คนไข้ จะมีอาการหอบ หืด พบว่ามีเม็ดเลือดขาว ชนิดอีโอซิโนฟิล ( eosinophils ) สูง เกิดจากการแพ้เชื้อรา ซึ่งเชื้อราเข้าไปในร่างกายและเจริญเติบโตบนเยื่อบุทางเดินลมหายใจ หลอดลม ผู้ป่วยมักมีอาการเช่นเดียวกับ โรค asthma แต่มีอาการเรื้อรังและรุนแรง  และอาจจะทำให้เกิดการอุดตันภายในหลอดลม
  • โรคเชื้อราชนิดอยู่เฉพาะที่ ( aspergilloma ) เกิดจากเชื้อราเข้าสู่ร่างกายและไปเจริญเติบดตในโพรงปอด จนทำให้ โพรงหลอดลมพอง และเกิดโรคภายในปอดตามมา ผู้ป่วยจะมีอาการ อาการไอ มีเสมหะ อาจไอเป็นเลือด
  • โรคเชื้อราชนิดกระจายในเนื้อเยื่อปอด ( invasive aspergillosis ) เชื้อราเข้าสู่ร่ายกายไปเจริญเติบโตที่ปอด ส่งผลให้เกิดโรคเกี่ยวกับปอด ทำให้ภูมิต้านทานร่างกายต่ำลง ผู้ป่วยมักมีอาการปอดบวม และมีไข้สูงไอ หายใจลำบาก มีเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติ เชื้อโรคอาจลามไปสู่หัวใจและสมองได้

สาเหตุของการติดเชื้อแอสเปอร์จิลโลซิส

โรคแอสเปอร์จิลโลซิส เกิดจากการติดเชื้อรา แอสเปอร์จิลลัส ฟูมิกาตัส ( Aspergillus fumigatus ) ที่พบในสัตว์ปีก คือ นก ซึ่งเกิดการระบาดทางการหายใจ ทำให้ระบบทางเดินหายใจมีปัญหา

อาการของโรคแอสเปอร์จิลโลซิส 

โรคแอสเปอร์จิลโลสิส จะแสดงอาการที่ระบบทางเดินหายใจ หายใจติดขัด ไอ และ มีเสมหะ ทำให้ปอดอักเสบ ซึงลักษณะของอาการโรคนี้มี 3 ลักษณะ ประกอบด้วย การแพ้เชื้อรา แบบก้อนเชื้อรา แบบทำลายปอดเรื้อรัง และ แบบลุกลาม โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • อาการแบบแพ้เชื้อรา ( ABPA ) เป็นปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายต่อการยึดครองพื้นที่ในทางเดินหายใจของเชื้อ Aspergillus fumigatus มักเกิดในผู้ป่วยที่เป็นโรคทางเดินหายใจอยู่ก่อน เช่น โรคซิสติคไฟโบรสิส (cystic fibrosis) หรือผู้ป่วยโรคหอบหืด (asthma) อาการ คือ มีไข้ ไอ เสมหะเหนียวอุดหลอดลม เอ็กซเรย์พบฝ้าในปอด บางรายมีอาการไอเป็นเลือด บางคนมีอาการคัดจมูกเรื้อรัง น้ำมูกเป็นหนองปนเลือด มีกลิ่นเหม็น แบบไซนัสอักเสบเรื้อรัง ไม่ดีขึ้นแม้จะรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
  • อาการแบบก้อนเชื้อรา ( aspergilloma )  เป็นเชื้อราที่รวมตัวกันเป็นก้อนอยู่ภายในปอด มักเกิดในปอดที่มีโพรงของถุงลมอยู่ก่อน ก้อนของเชื้อราจะอยู่ภายในโพรงถุงลม กลิ้งไปมาได้ภายในโพรง ในระยะแรกจะไม่มีอาการ อาจตรวจพบโดยบังเอิญจากการเอ็กซเรย์ ต่อมาจึงจะมีอาการไอเป็นเลือด และมักออกมาเป็นจำนวนมากจนถึงขั้นเสียชีวิต
  • อาการแบบทำลายปอดเรื้อรัง ( chronic necrotizing pulmonary aspergillosis, CNPA ) มักพบในผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง ( COPD ) ที่ต้องพึ่งยาสเตอรอยด์ ผู้ป่วยที่ติดสุรา อาการคือมีไข้ ไอ หอบ เจ็บหน้าอก เป็นสัปดาห์ถึงเดือน เสมหะมีเลือดปนหนอง น้ำหนักลด เอ็กซเรย์พบมีปอดอักเสบหรือเป็นฝีในปอด แต่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะโดยทั่วไป
  • อาการแบบลุกลาม ( invasive aspergillosis ) มักพบในผู้ป่วยที่มีระดับเม็ดเลือดขาวในเลือดต่ำ เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะและต้องรับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยที่เป็นลูคีเมีย มะเร็งของต่อมน้ำเหลือง เชื้อแอสเปอร์จิลลัสจะลุกลามจากปอดเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้มีไข้สูง หนาวสั่น ไอเป็นเลือด หายใจเร็ว หอบ เขียว และเกิดการติดเชื้อของอวัยวะต่าง ๆ ได้ทั่วรางกาย ในรายที่เริ่มเป็นที่ไซนัส เมื่อเชื้อลุกลามจะมีการทำลายกระดูกบริเวณใบหน้า ทำให้เจ็บปวด มีเลือดออกจากจมูก

การรักษาโรคแอสเปอรืจิลโลซิส

สำหรับการรักษาโรคนี้ สามารถรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรคแอสเปอร์จิลโลสิสที่ได้ผลดี คือ Voriconazole , Posaconazole , Amphothericin B , Itraconazole , และ Caspofungin ในช่วงแรกที่ผลการตรวจยังไม่ยืนยันกลับมาทั้งหมดควรให้ยา Amphothericin B ไปก่อน เพราะเป็นยาครอบจักรวาลของโรคติดเชื้อราแทบบทุกชนิด แต่ยา Voriconazole ใช้ไม่ได้ผลกับเชื้อ Zygomycetes ที่ทำให้เกิดโรค Mucormycosis ที่มีอาการคล้ายกันแบบไซนัสอักเสบ

โรคแอสเปอร์จิลโลสิสแบบก้อนเชื้อราที่ยังไม่แสดงอาการอะไรอาจยังไม่ต้องรักษา เพราะยารับประทานหรือฉีดโดยทั่วไปได้ผลเพียง 60% แต่เมื่อเริ่มมีอาการไอเป็นเลือดแล้วควรรักษาทันที เพราะบางครั้งเลือดออกมากจนหายใจไม่ทันและอาจเสียชีวิต การรักษามีทั้งการผ่าตัดและการใช้ยาฆ่าเชื้อราหยดเข้าไปในก้อนโดยตรง ขึ้นกับขนาดและตำแหน่งของก้อน

โรคแอสเปอร์จิลโลสิสแบบแพ้เชื้อราเป็นอาการที่เกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้ การรักษาต้องใช้ยา Corticosteroids ชนิดรับประทาน (ชนิดสูดดมที่ใช้กันเป็นประจำในภาวะหลอดลมตีบไม่ได้ผล) และอาจให้ยา Itraconazole ร่วมด้วยก็ได้ นอกจากนั้นควรใส่ผ้าปิดจมูกกันฝุ่นละอองเมื่อเข้าไปในแหล่งกักตุนของเชื้อ เช่น ฟาร์มไก่ กรงนก และในห้องปรับอากาศ

โรคแอสเปอร์จิลโลซิสจะควบคุมและป้องกันอย่างไร ควรหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค ใส่ผ้าปิดจมูกกันฝุ่นละออง ในคนที่มีประวัติการแพ้เชื้อราควรหลีกเลี้ยงการทำงานใกล้กับสัตว์ปีก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove