โบทูลิซึม ( Botulism ) ภาวะการติดเชื้อโบทูลินัมท็อกซิน ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง หนังตาตก ภาวะการหายใจล้มเหลว แนวทางการรักษาและป้องกันโรคทำอย่างไรโบทูลิซึม โรค โรคติดเชื้อ โรคระบบประสาท

โรคโบทูลิซึ่ม ( Botulism ) ภาวะการติดเชื้อโรคที่เป็นโรคร้ายแรงที่มีอัตราการเสียชีวิตสูง ในช่วง พ.ศ. 2493-2502 ( ค.ศ. 1950-1959 ) ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการภาวะการหายใจล้มเหลวภายในเวลา 60 วัน ซึ่งในระหว่างการติดเชื้อผู้ป่ยจะเกิดภาวะแทรกซ้อนง่าย  สำหรับประเทศไทยมีการพบการอุบัติของโรคโบทูลิซึมใน ปีพ.ศ. 2549 ซึ่งมีผู้ป่วยมากถึง 190 คนในคราวเดียว

โรคโบทูลิซึม ( Botulism ) เกิดจากร่างกายติดเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ แบคทีเรียคลอสตริเดียมโบทูลินัม ( Clostridium botulinum ) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่พบอยู่ได้ทั่วไป ตามพื้นดิน ในน้ำจืด และในน้ำทะเล เมื่อมีสภาวะที่เหมาะสม คือ ในสภาพอากาศที่ไม่มีออกซิเจน แบคทีเรียจะแบ่งตัวสร้างสปอร์ ( Spore ) และปล่อยพิษออกมา เรียกว่า Botulinum toxin

โบทูลินัมท็อกซิน ( Botulinum toxin ) มี  7 ชนิด คือ ชนิด A B C D E F และ G ซึ่งแต่ละชนิดจะแตกต่างกันตามกลไกในการสลายโปรตีน โบทูลินัมท็อกซินจะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทกล้ามเนื้อทำให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อ แต่ในการกลับกับสามารถระงับอาการเจ็บปวด และ ช่วยลดการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติได้ โบทูลินัมท็อกซิน ( Botulinum toxin ) จึงถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคต่างๆได้เช่นกัน

ประวัติของโบทูลินัมท็อกซิน ( Botulinum toxin )

โบทูลินัมท็อกซิน ( Botulinum toxin ) พบครั้งแรกในยุคสงครามนโปเลียน ตั้งแต่ พ.ศ. 2338-2356 มีการค้นพบคนที่มีอาการป่วยเป็นอัมพาต พบว่ามีการเชื่อมโยงกับไส้กรอก ซึ่ง ภาษาละติน เรียก botulus ใน พ.ศ. 2365 มีการตีพิมพ์งานวิจัย พบว่าพิษที่สกัดออกมาจากไส้กรอก ส่งผลให้เกิดอาการอ่อนแรง และเหงื่อไม่ออก สารพิษตัวนี้ใช้รักษาความผิดปกติต่างๆของระบบประสาทได้

จากนั้น 75 ปีต่อมา Emile-Pierre van Ermengen ค้นพบว่าสาเหตุของอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง และเหงื่อไม่ออก เกิดจากสารพิษที่ถูกผลิตขึ้นจากแบคทีเรียคลอสตริเดียมโบทูลินัม ( Clostridium botulinum ) เรียกว่า โบทูลินัมท็อกซิน ( Botulinum toxin )

ชนิดของโรคโรคโบทูลิซึ่ม ( Botulism )

โรคที่เกิดจากโบทูลินั่มท็อกซิน ( botulinum toxin ) สามารถแบ่งได้ 5 ชนิด โดยแยกจากสาเหตุของการติดเชื้อ ประกอบด้วย

  • Foodborne botulism คือ โรคโบทูลิซึ่มที่เกิดจากการกิน ซึ่งอาหารมีการปนเปื้อนสารโบทูลินั่มท็อกซิน พบบ่อยในอาหารกระป๋อง สำหรับประเทศไทยผู้ป่วยโบทูลิซึ่มส่วนใหญ่พบว่ามาจากการกินหน่อไม้บรรจุปี๊บ
  • Intestinal botulism คือ โรคโบทูลิซึ่มที่เกิดจากการกินสปอร์ของแบคทีเรียคลอสตริเดียมโบทูลินัม ( Clostridium botulinum )
  • Wound botulism คือ โรคโบทูลิซึ่มที่เกิดจากบาดแผลเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียคลอสตริเดียมโบทูลินัม ( Clostridium botulinum ) มักพบได้ในกลุ่มผู้ที่ใช้สารเสพติดโดยการฉีดยา
  • Biological weapon คือ การรับเชื้อที่เกิดจากการสร้างเชื้อแบคทีเรียคลอสตริเดียมโบทูลินัม ( Clostridium botulinum ) ซึ่งพบมีการผลิตโบทูลินั่มท็อกซินเพื่อเป็นอาวุธสงครามชีวภาพในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
  • Iatrogenic botulism คือ การใช้โบทูลินั่มท็อกซิน ( botulinum toxin ) ชนิด A เพื่อรักษาโรคบางชนิด

สาเหตุของโรคโบทูลิซึม ( Botulism )

โรคโบทูลิซึม ( Botulism ) เกิดจากร่างกายติดเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ แบคทีเรียคลอสตริเดียมโบทูลินัม ( Clostridium botulinum ) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่พบอยู่ได้ทั่วไป ตามพื้นดิน ในน้ำจืด และในน้ำทะเล เมื่อมีสภาวะที่เหมาะสม คือ ในสภาพอากาศที่ไม่มีออกซิเจน แบคทีเรียจะแบ่งตัวสร้างสปอร์ ( Spore ) และปล่อยพิษออกมา เรียกว่า Botulinum toxin

อาการโรคโบทูลินั่ม

สำหรับอาการของโรคเมื่อเกิดการรับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ผู้ป่วยจะไม่มีไข้แต่จะมีอาการหัวใจจะเต้นช้า ความดันเลือดปรกติ ต่อมาผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการอ่อนแรง โดยเริ่มจากใบหน้า ภาวะการกลืนอาหาร ภาวะการหายใจ จากนั้นจะเกิดอาการกับกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เช่น คอ แขน และขา ผู้ป่วยจะมีอาการพูดไม่ชัด ปากแห้ง หนังตาตก หากเกิดภาวะรุนแรงจะทำให้เกิดภาวะการหายใจล้มเหลวเสียชีวิตได้

การรักษาโรคโบทูลิซึม ( Botulism )

แนวทางการรักษาโรคโบทูลิซึม ( Botulism )  แพทยืจะใช้การรักษาด้วยการให้ยาต้านพิษ และ ประคับประครองอาการต่างๆของโรค ซึ่งต้องเฝ้าระวังระบบประสาทการหายใจล้มเหลว ด้วยการให้เครื่องช่วยหายใจ แนวทางการรักษาโรคโบทูลิซึม ( Botulism ) มีดังนี้

  • การให้ยาต้านพิษ ในผู้ป่วยที่ไม่ใช่เด็กทารก จะให้สารต้านพิษ Botulinum toxin ซึ่งผลิตจากเซรุ่มที่ได้จากม้า (Equine antitoxin) แต่สำหรับเด็กทารก แพทย์จะให้ยาสารภูมิต้านทาน (แอนติบอดี/Antibody) ซึ่งผลิตจากเซรุ่มของคน (Human botulism immune globulin) เนื่องจากการให้ Equine antitoxin พบว่าไม่สามารถรักษาได้ นอกจากนั้น การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย Clostridium botulinum ก็พบ ว่า ไม่มีประโยชน์เช่นกัน
  • การรักษาแผล โดยจะรักษาในผู้ป่วยที่มีบาดแผล ปากของบาดแผลที่แคบจะต้องถูกเปิดให้กว้างขึ้น เพื่อให้ออกซิเจนเข้าไปสัมผัสกับบาดแผลให้ทั่วถึง ซึ่งจะทำให้เชื้อนี้ไม่ผลิตพิษขึ้นมาอีก และให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรียนี้ในผู้ป่วยที่มีบาดแผลด้วย แม้ว่าประ โยชน์ที่ได้รับยังไม่ชัดเจนก็ตาม
  • การรักษาประคับประคองตามอาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องเฝ้าติดตามระ บบการหายใจ โดยหากกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจอ่อนแรง จนเกิดภาวะการหายใจล้มเหลว ก็ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูก ก็ต้องใช้ยาระบาย/ยาแก้ท้องผูก หรือการสวนทวารช่วย หรือหากมีอาการ ท้องอืด แน่นท้อง ก็ต้องใช้ยาลดอาการ หรือใส่สายให้อา หารและดูดเอาอากาศและน้ำย่อยออกมา หรือผู้ป่วยที่ปัสสาวะไม่ออก ก็ต้องใส่สายสวนปัสสาวะ เป็นต้น

การป้องกันโรคโบทูลิซึม ( Botulism )

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคนี้ คือ การลดภาวะเสี่ยงต่างๆในการติดเชื้อโรคและการทำร่างกายให้แข็งแรง เพื่อสามารถต้านเชื้อโรคได้ ซึ่งแนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • ไม่แนะนำให้เด็กทารกที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี บริโภคน้ำผึ้ง ยกเว้นจะนำไปปรุงเป็นอาหารที่ผ่านความร้อนที่อุณหภูมิมากกว่า 116 องศาเซลเซียส ร่วมกับการเพิ่มความกดอากาศขณะปรุง เช่น การตุ๋น หรือการอบ เพื่อทำลายสปอร์ของเชื้อโรคโบทูลิซึมที่อาจปนเปื้อน
  • หลีกเลี่ยงการอาหารหมักดอง
  • การรับประทานอาหารกระป๋องรวมถึงนมผง ต้องรับประทานจากผู้ผลิตที่เชื้อถือเรื่องความสะอาดได้ ดูฉลาก อย. บริโภคก่อนวันหมดอายุ และไม่เลือกบรรจุภัณฑ์ที่มีรอยบุบ รอยแตก รอยรั่ว บวม โป่ง เป็นสนิม
  • เข้ารับการฉีดวัคซีนสำหรับฉีดป้องกันพิษ Botulinum toxin
  • รับประทานอาหารที่สะอาดถูกสุขอนามัย
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

ไข้กาฬหลังแอ่น ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียเมนิงโกค็อกคัส ทำให้เกิดอาการมีไข้สูง ปวดหัว คอแข็ง ชัก เลือดออกตามผิวหนัง เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว การรักษาต้องทำอย่างไรไข้กาฬหลังแอ่น โรค โรคติดเชื้อ

ไข้กาฬหลังแอ่น ( Meningococcal Disease ) คือ โรคจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งสามารถติดต่อสู่ร่างกายผ่านสารคัดหลั่ง โดยมีระยะการติดเชื้อเร็วมาก หากรักษาไม่ทันอาจเสียชีวิตได้ และถึงแม้ได้รับการรักษา อาการข้างเคียงจากการรักษาก็มีความเสี่ยงสูงต่อการพิการและการเสียชีวิตจากการรักษาได้

คำว่า “ ไข้กาฬ ” หมายถึง โรครุนแรง มีผื่นสีดำเกิดขึ้นตามร่างกาย
คำว่า “ หลังแอ่น ” หมายถึง อาการของผู้ป่วยหลังจะแข็งเกร็ง และ มีอาการชัก

โรคนี้มีสาเหตุของการติดเชื้อโรคหลายสาเหตุ เช่น ภาวะภูมิคุ้มกันโรคส่วนตัว สภาพสิ่งแวดล้อมทีไม่ถูกสุขอนามัยก็ยังเป็นสาเหตุของการเกิดโรคได้ โรคไข้กาฬหลังแอ่นสามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ ไข้กาฬหลังแอ่นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และ ไข้กาฬหลังแอ่นติดเชื้อในกระแสเลือด รายละเอียด ดังนี้

  • ไข้กาฬหลังแอ่นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ การติดชื้อโรคที่เยื่อหุ้มสมอง ทำให้เกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทำให้ส่งผลถึงการแสดงอาการที่กระดูกสันหลัง
  • ไข้กาฬหลังแอ่นติดเชื้อในกระแสเลือด การติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด เมื่อมีเชื้อโรคในกระแสเลือดที่เลือดไหลเวียนไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย ทำให้ส่งผลกระทบต่อร่างกายปวดตัว ผิวหนังมีเลือดออก

สาเหตุของการเกิดโรคไข้กาฬหลังแอ่น

โรคไข้กาฬหลังแอ่นเกิดจากเชื้อเบคทีเรีบเมนิงโกค็อกคัส ซึ่งเมื่อเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้เข้าสู่ร่างกาย จะส่งผลต่อการแสดงอาการต่างๆของโรค ซึ่งเป็นการติดต่อเกิดจากการหายใจเอาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย เชื้อโรคเหล่านี้ปะปนอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย โรคไข้กาฬหลังแอ่นจะทำให้เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดและสามารถทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบได้

อาการของผู้ป่วยโรคไข้กาฬหลังแอ่น

โรคไข้กาฬหลังแอ่น ผู้ป่วยจะมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดหัวมาก ปวดตามตัว คลื่นไส้ คอแข็งและหลังแอ่น มีผื่นเป็นจุดเลือดบนผิวหนัง และในรายที่มีอาการหนัก เชื้อโรคจะเข้าสู่กระแสเลือด และทำให้เกิดอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ป่วยบางรายมีลักษณะอาการแบบเรื้อรัง ป่วยหลายเดือนไม่หาย ซึ่งอาการของโรคสามารถแยกได้เป็น 2 กลุ่มผู้ติดเชื้อ คือ อาการที่พบในเด็กเล็ก และ อาการที่พบในเด็กวัยรุ่น โดยรายละเอียดของอาการมีดังนี้

อาการไข้กาฬหลังแอ่นในเด็กเล็ก ลักษณะอาการมีไข้ขึ้นสูง เบื่ออาหาร อาเจียน ซึม นอนตลอดเวลา มีผื่นขึ้นตามแขน ขา และตามตัว และ ผิวเป็นรอยจ้ำ

อาการไข้กาฬหลังแอ่นในเด็กวัยรุ่น ลักษณะอาการมีไข้ขึ้นสูง ปวดหัว อาเจียน เกร็งที่คอ คอแข็ง ซึมลง เกิดผื่นขึ้นตามขาและแขน และ สายตาสู้แสงจ้าๆไม่ได้

การรักษาโรคไข้กาฬหลังแอ่น

สำหรับแนวทางการรักษาโรคไข้กาฬหลังแอ่น ปัจจุบันสามารถรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ โดยการให้ยาแอมพิซิลลิน ( ampicillin ) ยาเพนิชิลสิน ( penicillin ) ยาคลอแรมฟีนีนิคอล ( Chloram­phenicol ) ยาซัลโฟนาไมด์ ( sulfonamide ) แต่การรักษาโรคนี้นั้นใช้การให้ยาปฏิชีวนะ ควบคู่กับการประคับประคองตามอาการและป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรค

การรักษาด้วยการประคับประคอง เช่น การให้ลดไข้ การให้น้ำเกลือ การให้ยาช่วยให้เลือดแข็งตัว เป็นต้น

การรักษาภาวะแทรกซ้อน

ภาวะแทรกซ้อนของโรคไข้กาฬหลังแอ่นเป็นสิ่งที่น่ากลัวสำหรับโรคนี้ เนื่องจากผู้ป่วยมีภาวะภูมิคุ้มกันโรคต่ำ มีโอกาสในการเกิดโรคต่างๆที่เป็นอันตรายต่อชีวิต แนวทางการรับมือกับภาวะแทรกซ้อนของโรคไข้กาฬหลังแอ่น มีดังนี้

  • ผู้ป่วยที่มีเยื่อหุ้มสมองอักเสบโดยไม่มีการติดเชื้อในกระแสเลือด มีอัตราตายประมาณ 2-10%
  • ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดชนิดรุนแรงมีอัตราตายสูงถึง 70-80% แต่หากการรักษาเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อัตราตายจะอยู่ที่ประมาณ 40%
  • ผู้ป่วยที่เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หากรอดชีวิตอาจเกิดอัมพาตของเส้นประ สาทจากสมอง (Cranial nerve) หรือเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตครึ่งซีกของร่างกายได้
  • อาจเกิดสมองเสื่อม ปัญญาอ่อน หรือหูหนวกได้
  • ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดชนิดรุนแรง ตามปลายนิ้วมือ ปลายนิ้ว เท้าอาจเกิดการเน่าตายเนื่องจากภาวะช็อกทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายไม่พอ หรือเกิดจากลิ่มเลือดไปอุดตัน

การป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น

แนวทางการป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น คือ การทำร่างกายให้แข็งแรง รวมถึงรับวัคซีนป้องกันโรค โดยแนวทางต่างๆมีดังนี้

  • เข้ารับวัคซีนป้องกันโรค กับผู้ป่วยในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค
  • ดูแลสุอนามัยรอบตัวให้ปราศจากเชื้อโรค
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove