แคนดิไดอะซิส ภาวะการติดเชื้อราแคนดิดาเป็นยีสต์ที่พบทั่วไป ติดเชื้อที่ช่องปาก คอหอย หลอดอาหาร และ กระเพาะอาหาร กลุ่มเสี่ยงที่ติดโรค อาการของโรค และ การรักษาโรค

โรคแคนดิไดอะซิส โรคติดเชื้อ ติดเชื้อราที่ช่องปาก โรคติดต่อ

เชื้อชนิดนี้พบได้ตามเยื่อเมือกในอวัยวะต่างๆ เช่น ช่องปาก คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร อวัยวะเพศหญิง ยีสต์กลุ่มนี้จะไม่ทำให้เกิดโรค แต่ความอับชื้นทำให้ ยีสต์ชนิดนี้มีความรุนแรงจนก่อให้เกิดเป็นโรค โรคแคนดิไดอะซิสพบได้บ่อยเกิดได้ทั่วโลก พบในทุกเพศ ทุกวัย และ พบทารกแรกเกิด และ ผู้สูงอายุ มากที่สุด จากรายงานของโรคพบว่า ร้อยละ 90 ของผู้ติดเชื้อมักติดเชื้อที่คอหอย

สาเหตุของการติดเชื้อแคนดิไดอะซิส

โรคแคนดิไดอะซิสเกิดจากติดเชื้อราช่ือแคนดิดา เป็นเชื้อราที่อยู่ในร่างกายมนุษย์ แต่เชื้อราเกิดการเจริญเติบโตรวดผิดปกติ จนเกิดภาวะภูมิคุ้มกันต้านทานโรคผิดปกติ โดยมักเกิดกับอวัยวะที่มีความชื้นสูง เช่น ช่องคลอด ช่องปาก โรคนี้สามารถแพร่จากคนสู่คน จากการสัมผัสเชื้อโรค และ เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคแคนดิไดอะซิส

สำหรับโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคแคนดิไดอะซิส ได้แก่ กลุ่มคนต่างๆเหล่านี้

  • ผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิต้านทานโรคต่ำ เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคเอดส์ เด็กทารก ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ เป็นต้น
  • กลุ่มคนที่มีอวัยวะเพศอับชื้น
  • กลุ่มคนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่สุขอนามัยไม่ดี
  • กลุ่มคนที่ใช้ยาบางประเภทอย่างต่อเนื่อง เช่น ยาปฏิชีวนะ และ ยากลุ่มCorticosteroid
  • กลุ่มคนใส่ฟันปลอม

อาการของโรคแคนดิไดอะซิส

สำหรับอาการของโรคแคนดิไดอะซิส สามารถแบ่งอาการของโรค 3 ลักษณะ คือ การติดเชื้อเฉพาะที่ การติดเชื้อในกระแสเลือด และ การติดเชื้อจากการใช้ยาปฏิชีวนะ โดยรายละเอียดของโรคแคนดิไดอะซิส มีดังนี้

  • อาการติดเชื้อเฉพาะที่ จะติดเชื้อบริเวณอวัยวะที่มีเยื่อเมือก เช่น ช่องปาก คอหอย หลอดอาหาร ช่องคลอด อวัยวะเพศ โดยอาการของโรคจะแสดงอาการ คือ เกิดเนื้อเยื้อสีขาวข้น ผิวเรียบ เป็นมันเหมือนไขนม รอบๆของเนื้อเยื่อ จะมีลักษณะ แดง เจ็บ แสบ และ คัน  ซึ่งอาการอื่นๆที่พบ คือ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย อาการมักไม่รุนแรง รักษาให้หายได้
  • อาการติดเชื้อในกระแสเลือด เกิดเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลืือด ซึ่งภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดมีความรุนแรง อันตรายทำให้เสียชีวิตได้ โดยพบว่ามีการติดเชื้อ ที่หัวใจ สมอง ตับ ไต ร่วมด้วย อาการตอดเชื้อในกระแสเลือด ผู้ป่วยจะแสดงอาการ คือ มีไข้สูง  อ่อนเพลีย อวัยวะต่างๆอักเสบ ปวดตัว อาการเหล่านี้มักพบคนที่มีภูมิคุ้มต้านทานโรคต่ำ
  • อาการติดเชื้อจากการใช้ยาปฏิชีวนะ การใช้ยาปฏิชีวนะ ส่งผลเสียต่อร่างกาย ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตผิดปรกติจนเกิดโรค อาการนี้ขึ้นกับภูมิต้านทานโรคของแต่ละบุคคล

การรักษาโรคแคนดิไดอะซิส

สำหรับแนวทางการรักษาโรคแคนดิไดอะซิส คือ การรักษาที่สาเหตุของการเกิดโรค เช่น การใช้ยาต้านเชื้อรา การหยุดการใช้ยาปฏิชีวนะ รวมถึงการประคับประครองอาการของโรค โดยรายละเอียด ดังนี้

  • การใช้ยาต้านเชื้อรา ซึ่งขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และ อาจเป็นการใช้ยาทาเฉพาะที่ ยากิน หรือ ยาฉีด
  • สำหรับสาเหตุของโรคจากการใช้ยาปฏิชีวนะ ให้ทำการหยุดการใช้ยาที่เป็นสาเหตุของโรค
  • การรักษาโรคด้วยการประคับประคองตามอาการ เช่น การใช้ยาแก้ปวด เพื่อลดอาการปวดจากอวัยวะอักเสบ

การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคแคนดิไดอะซิส

สำหรับผู้ป่วนโรคแคนดิไดอะซิส ควรมีแนวทางการดูแลตนเอง ดังต่อไปนี้

  • ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • ควรรักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้อยู่ในสภาพที่ดี
  • ไม่ควรอยู่ในสถานที่เสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อโรค

การป้องกันการติดเชื้อโรคแคนดิไดอะซิส

สำหรับการป้องกันโรคแคนดิไดอะซิส มีแนวทางการปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้

  • ออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
  • รักษาความสะอาดของอวัยวะที่มีโอกาสติดเชื้อ เช่น อวัยวะเพศ ช่องปาก
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน
  • ไม่ซื้อยาปฏิชีวนะ หรือ ยาสเตียรอยด์ เพื่อใช้เอง

โรคแคนดิไดอะซิส ( Candidiasis ) ภาวะการติดเชื้อแคนดิดา เป็นยีสต์ที่พบได้ทั่วไป ติดเชื้อที่ช่องปาก คอหอย หลอดอาหาร และ กระเพาะอาหาร กลุ่มเสี่ยงที่ติดโรค อาการของโรค และ การรักษาโรค

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

โรคหัดเยอรมัน โรคเหือด โรคหัดสามวัน เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหัดเยอรมัน ทำให้เกิดผื่นแดงตามร่างกาย เกิดได้กับทุกคน ไม่ใช่โรคร้ายแรง การรักษาและป้องกันทำอย่างไรโรคหัดเยอรมัน โรคเหือด โรคหัดสามวัน โรคติดต่อ

โรคหัดเยอรมัน เป็นโรคที่มีอาการคล้ายโรคหัด ซึ่งการแสดงอาการของโรคนั้น แสดงให้เห็นที่ผิวหนัง เกิดอาการผื่น มีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต สำหรับประเทศไทย เรียกโรคนี้ว่า โรคเหือด หรือ โรคหัดสามวัน

สาเหตุของการเกิดโรคหัดเยอรมัน

โรคหัดเยอรมัน เกิดจากร่างกายติดเชื้อไวรัสรูเบลลา ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำมูก หรือ น้ำลายของคนที่มีเชื้อไวรัสรูเบลลา และ เกิดการแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่น โดยผ่านการไอ การจาม และ การสูดอากาศที่มีเชื้อโรคอยู่ หากเกิดการติดเชื้อกับหญิงที่ตั้งครรภ์อยู่สามารถติดเชื้อสู่ทารกผ่านทางกระแสเลือดได้

กลไกการเกิดโรคหัดเยอรมัน คือ เมื่อเกิดการหายใจรับเชื้อโรคไวรัสหัดเยอรมันเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ เชื้อกระจายเข้าสู่กระแสเลือดและเข้าสู่ระบบน้ำเหลือง ต่อมน้ำเหลือง ตับ และ ม้าม สุดท้านเชื้อโรคจะกระจายเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ระบบการทำงานต่าง ๆของร่างกายผิดปรกติ

ระยะของการเกิดโรค

สำหรับระยะของการเกิดโรค มี 2 ระยะ คือ ระยะการฟักตัวของโรค และ ระยะติดต่อ ซึ่งทั้งสองระยะนี้ จะหายภายใน 2-3 สัปดาห์ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ระยะการฟักตัวของโรค ระยะนี้ประมาณ 14 – 23 วัน แต่โดยเฉลี่ยและ ระยะนี้จะใช้เวลาประมาณ 16 – 18 วัน หลังจากนั้นเช้ือโรคจะแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ โดยไม่มีอาการผื่นขึ้นตามร่างกาย
  • ระยะติดต่อ ระยะนี้จะเกิดขึ้น 5 วันก่อนร่างกายเกิดผื่น ช่วง 7 วันก่อนมีผื่น และ 7 วันหลังผื่นหาย คืิอ ระยะที่สามารถแพรกระจายเชื้อโรคสู่ผู้อื่นได้ โรคนี้มักระบาดในโรงเรียน โรงงาน สถานที่ทำงาน และ เกิดมากในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน

อาการของโรคหัดเยอรมัน

สำหรับโรคหัดเยอรมัน นั้นจะแสดงอาการในระยะแรก เหมือนอาการติดเชื้อไวรัสธรรมดา หลังจากได้รับเชื้อโรคแล้ว จะแสดงอาการดังต่อไปนี้

  • มีไข้ ประมาณ 37 องศาเซลเซียส
  • มีอาการบวมที่คอ ท้ายทอย และ หลังหู เกิดจากอาการต่อมน้ำเหลืองโต
  • มีผื่นแดง และ ตุ่มนูน ขึ้นที่ใบหน้า และ ลามไปตามผิวหนังส่วนต่างๆ เช่น แขน ขา และกระจายตามตัว บางรายอาจมีอาการคันตามผิวหนัง
  • มีอาการปวดหัว
  • เบื่ออาหาร
  • มีอาการตาแดง จากสาเหตุเยื่อบุตาอักเสบ
  • คัดจมูกและมีน้ำมูก
  • มีอาการบวม และ ปวดตามข้อกระดูก

อาการของโรคจะมีประมาณ 2 – 3 วัน ยกเว้นอาการต่อมน้ำเหลืองโต ซึ่งมีอาการนี้ใช้เวลานานหลายสัปดาห์จึงหาก โรคนี้เป็นภาวะโรคที่อันตรายสำหรับสตรีมีครรภ์

โรคหัดเยอรมันโดยกำเนิด ( Congenital Rubella Syndrome )

โรคหัดเยอรมันโดยกำเนิด คือ ภาวะการเกิดโรคหัดเยอรมัน ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหัดเยอรมันระหว่างการตั้งครรภ์ ทารกที่ติดเชื้อหัดเยอรมัน จะมีอาการพิการของร่างกาย เช่น พัฒนาการช้า สติปัญญาบกพร่อง หูหนวก เกิดต้อกระจก โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ก ารทำงานของตับ ม้ามและไขกระดูกมีปัญหา ขนาดศีรษะเล็กและสมองไม่พัฒนา

วิธีรักษาโรคหัดเยอรมัน

การรักษาโรคหัดเยอรมัน โดยทั่วไปที่ไม่ได้เกิดกับสตรีมีครรภ์ การรักษาโรคแพทย์จะรักษาโดยการประคับประคองอาการของโรคตามอาการของโรค เช่น การให้ยาลดไข้ การให้ยาทาแก้ผดผื่นคัน การให้ยาต้านการอักเสบ เป็นต้น

การรักษาหัดเยอรมันสำหรับสตรีมีครรภ์ สำหรับสตรีตั้งครรภ์ในระยะ 3 เดือนแรก แพทย์จะแนะนำให้ยุติการตั้งครรภ์ ส่วนสตรีที่มีอายุครรภ์เกิน 7 เดือนทารกมักจะปลอดภัย ส่วนสตรีที่มีอายุครรภ์ต่ำกว่า 6 เดือน ทารกมักมีโอกาสพิการ ซึ่งในกรณีนี้แพทย์มักตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ แต่สำหรับในบางรายที่ไม่ยอมยุติการตั้งครรภ์ แพทย์จะฉีดอิมมูนโกลบูลินให้ผู้ป่วย ป้องกันการติดเชื้อสู่ทารกและช่วยลดความรุนแรงของโรคกับทารกได้

วิธีป้องกันการเกิดโรคหัดเยอรมัน

การป้องกันการเกิดโรคหัดเยอรมัน ในปัจจุบันสามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน โดยวัคซีนจะกำหนดให้ฉีดเข็มแรก สำหรับ เด็กอายุ 9 – 12 เดือน และ ฉีดเข็มที่ 2 เมื่ออายุได้ 4 – 6 ปี ซึ่งจะสร้างภูมิต้านทานโรคคางทูมได้ตลอดชีวิต

ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคหัดเยอรมัน

สำหรับผู้ป่วยโรคหัดเยอร์มัน มีข้อควรปฏิบัตตน ดังต่อไปนี้

  • ผู้ป่วยโรคหัดเยอรมันระยะติดต่อ ควรหลีกเลี่ยงการเข้าสังคม อาการอยู่ในพื้นที่ที่มีผู้คนแออัด
  • ไม่ควรเข้าใกล้ผู้ป่วยโรคอื่นๆ เพราะอาจทำให้เกิดการติดต่อสู่ผู้อื่นได้ง่าย และ อาจจะรุนแรงมาก
  • อุปกรณ์ต่างๆ เช่น แก้วน้ำ จาน ชาม ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว โทรศัพท์ ของเล่น เครื่องใช้ต่าง ๆ ต้องแยกอุปกรณ์ไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น

โรคหัดเยอรมัน โรคเหือด โรคหัดสามวัน คือ โรคติดต่อ ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหัดเยอรมัน ทำให้เกิดผื่นแดงตามร่างกาย สามารถเกิดได้กับทุกคน โรคนี้ไม่ร้ายแรง สาเหตุของโรค อาการของโรค การรักษาโรค และ การป้องกันการเกิดโรค

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove