หลอดเลือดตีบเกิดจากการสะสมของไขมันและแคลเซี่ยมที่หลอดเลือดมากเกินไป ทำให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่พอ เกิดอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ หน้ามืด เวียนศีรษะ เป็นลมหลอดเลือดตีบ ไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคหลอดเลือด โรคไม่ติดต่อ

ปัจจุบันพบว่า สาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทย ที่ไม่ใช่อุบัติเหตุ มาจาก โรคหัวใจและหลอดเลือด สูงเป็นอันดับ 2 เป็นรองเพียงแค่โรคมะเร็งเท่านั้น และจากตัวเลขจากกระทรวงสาธารณสุข ยังบ่งชี้ด้วยว่า ในช่วงระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดกว่า 3 หมื่นคน คิดเป็นเฉลี่ยชั่วโมงละเกือบ 4 คน และมีแนวโน้มการเสียชีวิตด้วยโรคนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะ “โรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน” ที่ปัจจุบันคนไทยมีอัตราการเกิดโรคนี้มากสุด และเป็นสาเหตุของการตายอันดับต้นๆ ของเมืองไทย

โรคหลอดเลือดหัวใจ ส่วนใหญ่ เกิดจากไขมัน และ เนื้อเยื่อสะสมในผนังของหลอดเลือด ทำให้ เยื่อบุผนังหลอดเลือดชั้นใน ตำแหน่งนั้นหนาตัวขึ้น ทำให้ หลอดเลือดตีบแคบลง ทำให้เลือดซึ่งนำออกซิเจนไหลผ่านได้น้อยลง ส่งผลให้ เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ จนเกิด ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

ซึ่งจะทำให้มี อาการเจ็บหน้าอก เกิดขึ้น หากเกิดการอุดตันของหลอดเลือดเฉียบพลัน ซึ่งมักเกิดจากคราบไขมันที่สะสมอยู่ที่ผนังของหลอดเลือดชั้นในแตกออกและกลายเป็นลิ่มเลือดจะ ส่งผลให้เกิด ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน อันนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ หรือเสียชีวิตกะทันหันได้

สาเหตุของโรคหลอดเลือดตีบ 

สำหรับ สาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ นั้นยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนได้ทั้งหมด แต่อันตรายที่เกิดจาก การตีบของเส้นเลือด มีมาก และเราได้รวมสาเหตุหลักๆของโรคนี้ มีดังนี้

  1. แรงดันของความดันโลหิต
  2. เกิดการอักเสบจากโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกัน
  3. โรคติดเชื้อบางชนิดเช่น Chlamydia pneumoniae or Helicobacter pylori) หรือเชื้อไวรัสบางตัวเช่น cytomegalovirus
  4. การบริโภคไขมัน น้ำตาล มากเกินไป

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบ

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค คือ การสูบบุหรี่ ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วนลงพุ่ง ขาดการออกกำลังกาย รับประทานอาหารไม่ถูกต้อง เพศ อายุ และกรรมพันธ์ุ

อาการของโรคหลอดเลือดตีบ

อาการของหลอดเลือดหัวใจตีบ คือ หากเกิดหลอดเลือดตีบ อวัยวะจะขาดเลือด หากขาดเลือดที่ขา ขาก็จะเน่า ซึ่งการขาดเลือดจากหลอดเลือดตีบ สามารถทำให้อวัยวะในร่างกายทุกส่วนสามารถขาดเลือดได้ อาการสำคัญ ของโรคนี้ สามารถแบ่งได้ดังนี้

  • เจ็บเค้นอก ที่เป็นลักษณะเฉพาะของโรคหัวใจขาดเลือด คือ อาการเจ็บหนักๆ เหมือนมีอะไรมาทับหรือรัดบริเวณกลางหน้าอกหรือใต้กระดูกกลางหน้าอก อาจมีร้าวไปบริเวณคอ กราม ไหล่ และแขนทั้ง 2 ข้างโดยเฉพาะข้างซ้าย เป็นมากขณะออกแรง เป็นนานครั้งละ 2-3 นาที เมื่อนั่งพักหรืออมยาขยายหลอดเลือดใต้ลิ้นอาการจะทุเลาลง
  • เหนื่อยง่าย ขณะออกแรงหรือออกกำลังกายที่เกิดขึ้นเฉียบพลันภายใน 1–2 สัปดาห์ หรือที่เกิดขึ้นเรื้อรังเกินกว่า 3 สัปดาห์ขึ้นไป
  • หายใจหอบ นอนราบไม่ได้ แน่นอึดอัด หายใจเข้าไม่เต็มปอด อาจมีอาการเจ็บเค้นอกร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้
  • หน้ามืด เวียนศีรษะ เป็นลม ร่วมกับอาการแน่นหน้าอก ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากมีความดันโลหิตต่ำเฉียบพลัน
    อาการหมดสติหรือหัวใจหยุดเต้น

แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับสุขภาพที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค เช่น เลิกสูบบุหรี่ ควบคุมอาหาร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กำจัดความเครียด
  • การรักษาด้วยยา เช่น ยาต้านเกล็ดเลือด ยาต้านการแข็งตัวของลิ่มเลือด ยาขยายหลอดเลือด ยาควบคุมการเต้นของหัวใจ ยาลดไขมัน ยาควบคุมความดันโลหิต เป็นต้น
  • การรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีผ่านสายสวน เป็นการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนร่วมกับการสอดฝังขดลวดค้ำยันผนังหลอดเลือด การให้ยาละลายลิ่มเลือด หรือใช้เครื่องมือทางการแพทย์ชนิดพิเศษ
  • การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ

การป้องกันโรคหลอดเลือดตีบ

โรคเส้นเลือดหัวใจตีบสามารถป้องกันได้ โดยการตรวจวัดระดับไขมันในเส้นเลือดอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมอาหาร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดการสูบบุหรี่ สามารถแบ่งเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
  • หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • หยุดสูบบุหรี่
  • ลดความเครียด

สมุนไพรช่วยลดไขมันในเส้นเลือด สามารถช่วยบรรเทาการเกิดโรคหลอดเลือดตีบได้ เราจึงรวบรวมสมุนไพรสรรพคุณช่วยลดไขมันมาเสนอ

เก๋ากี้ สมุนไพร โกจิเบอร์รี่ สรรพคุณของโกจิเบอร์รี่เก๋ากี้ โกจิเบอร์รี่ ลูกสมอไทย สมอไทย ราชาสมุนไพร สมุนไพรไทยสมอไทย
ถั่วเขียว ถั่วงอก ธัญพืช สมุนไพรถั่วเขียว หญ้าปักกิ่ง สมุนไพร หญ้าเทวดา สรรพคุณหญ้าเทวดาหญ้าปักกิ่ง
ชุมเห็ดเทศ ต้นชุมเห็ดเทศ สรรพคุณของชุมเห็ดเทศ สมุนไพรชุมเห็ดเทศ มะกอก สรรพคุณของมะกอก น้ำมันมะกอก โทษของมะกอกมะกอก

โรคหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดตีบ คือ โรคของหลอดเลือดแดงขนาดกลาง ที่มีการสะสมของไขมัน และ แคลเซี่ยม มากเกินไป จนทำให้ไปเกาะที่ผนังด้านในของหลอดเลือด เมื่อเส้นเลือดอุดตัน หรือ ตีบ ทำให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่พอ ทำให้เกิดอาการ เจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ หน้ามืด เวียนศีรษะ เป็นลม การรักษาโรคหลอดเลือดตีบ

หัวใจวาย ( Heart Failure ) กล้ามเนื้อหัวใจไม่ทำงานตามปรกติ เกิดกับผู้สูงวัยและคนเครียด อาการเหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หัวใจเต้นผิดปกติ หน้ามืด ใจสั่นหัวใจวาย ภาวะหัวใจวาย โรคหัวใจ เจ็บหน้าอก

โรคหัวใจวาย ภาษาอังกฤษ เรียก Heart Failure ซึ่งเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ภาวะหัวใจล้มเหลว หรือ ภาวะหัวใจวาย โรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ ไม่ใช่โรคติดเชื้อ การเกิดหัวใจล้มเหลว เกิดจากภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ตามปรกติ ซึ่งผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยง จะมีอาการที่เป็นสัญญาณ เช่น เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก หายใจลำบาก

โรคหัวใจล้มเหลว สามารถเกิดขึ้นได้กับ คนทุกวัย ทุกชาติ ทุกศาสนา และทุกเพศ ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคนี้จะแตกต่างกันไป จากสถิติพบว่าร้อยละ 3 ของประชากรในประเทศกำลังพัฒนาเป็นโรคหัวใจ และร้อยละ 30 ของคนอายุ 70 ปีขึ้นไป เป็นโรคนี้ แต่สาเหตุของการเกิดจะแตกต่างกันไป โดยรวมแล้ว ยิ่งอายุมากขึ้นจะพบได้มากขึ้น โดยในภาพรวมในประเทศที่กำลังพัฒนา พบความชุกของภาวะหัวใจล้มเหลวได้ประมาณ 2 – 3% ของประชากรทั้งหมด แต่หากอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป จะพบความชุกของภาวะนี้ได้ 20 – 30%

สาเหตุของการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว 

อาจเป็นสาเหตุจากการ เป็นผลข้างเคียงของโรคอื่น เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ โรคลิ้นหัวใจรั่ว โรคลิ้นหัวใจตีบ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ นอกจากโรคต่างๆ เป็นสาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลวแล้ว ความเครียด การพักผ่อนน้อย การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ ก็เป็นสาเหตุของโรคหัวใจวายได้

  • โรคหัวใจขาดเลือด (โรคหลอดเลือดหัวใจ) เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ คือ เป็นโรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ เป็นต้น
  • โรคของกล้ามเนื้อหัวใจที่เรียกว่า Dilated cardiomyopathy
  • โรคลิ้นหัวใจต่างๆ เช่น โรคลิ้นหัวใจรั่ว โรคลิ้นหัวใจตีบ
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • สาเหตุอื่นๆที่พบได้ค่อนข้างน้อย เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ การได้รับยาหรือสารบางประ เภทเกินขนาด เช่น โคเคน แอลกอฮอล์ การได้รับยาเคมีบำบัดบางชนิดที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง โรคที่มีโปรตีนชื่อ Amyloid เข้าไปสะสมที่กล้ามเนื้อหัวใจ (Amyloidosis) เป็นต้น

อาการของโรคหัวใจวาย

เราสามารถแยกเป็นข้อๆ ได้ ดังนี้

  1. มีอาการเหนื่อยและหายใจลำบาก ( Dyspnea )
  2. นอนราบไม่ได้ ( Orthopnea )
  3. เหนื่อยฉับพลันขณะหลับ ( Paroxysmal nocturnal dyspnea )
  4. มีอาการอ่อนเพลีย อ่อนแรง
  5. เกิดน้ำคั่งในอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ
  6. หัวใจเต้นผิดปกติ
  7. หน้ามืด
  8. ใจสั่น
  9. ปากเขียว
  10. เล็บมือเขียว

ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจวาย

สำหรับกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจ ประกอบด้วย คนที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป และ คนที่เป็นที่มีโอกาสเสี่ยง เช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันในหลอดเลือดสูง ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ คนอ้วน และ คนที่ไม่ออกกำลังกาย

การรักษาภาวะหัวใจวาย

สำหรับแนวทางการรักษา โรคหัวใจต้องทำการลดภาระการทำงานของหัวใจลง สามารถทำได้โดย

  1. การป้องกันการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  2. การควบคุมและกำจัดน้ำส่วนเกินหรือน้ำคั่งในอวัยวะต่างๆ โดย ลดการบริโภคเกลือหรือของเค็ม เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับเกลือมากเกินกว่าความสามารถในการกำจัดของเสียของไต
  3. การลดภาระการทำงานของหัวใจ โดยการไม่ออกแรงมาก หรือ ไม่ออกกำลังกายหนักเกินไป หากรู้ตัวว่าเหนื่อยต้องพัก
  4. การเพิ่มความสามารถในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ

การป้องกันภาวะหัวใจวาย

สำหรับการป้องกันการเกิดภาวะหัวใจวาย คือ การป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว โดยเฉพาะการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ( โรคหลอดเลือดหัวใจ ) เช่น การไม่สูบบุหรี่ การลดระดับไขมันในเลือดหากมีไขมันในเลือดสูง และการป้องกันการเป็นโรคเบาหวาน เป็นต้น

หัวใจวาย ( Heart Failure ) ภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจไม่ทำงานตามปรกติ พบมากในผู้สูงอายุ คนที่อยู่ในภาวะเครียด อาการของโรคหัวใจวาย เช่น เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก หายใจลำบาก นอนราบไม่ได้ อ่อนเพลีย เกิดน้ำคั่งในอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ หัวใจเต้นผิดปกติ หน้ามืด ใจสั่น ปากเขียว เล็บมือเขียว การรักษาโรคหัวใจ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove