หัวใจโต ( Cardiomegaly ) ภาวะหัวใจใหญ่กว่าปกติ ทำให้ความดันโลหิตสูง แต่หัวใจสูบฉีดเลือดได้ไม่ดี อาการเหนื่อยง่าย หายใจเร็ว เวียนหัว อ่อนเพลีย เท้าบวม แน่นหน้าอกโรคหัวใจโต โรคหัวใจ ภาวะหัวใจโต

ภาวะหัวใจโต นั้นไม่ใช่โรค แต่เป็นสภาวะหนึ่งที่เกิดขึ้นจากที่เกิดจากการเกิดโรคของ หัวใจ ปอด และหลอดเลือด ซึ่งโดยแล้ว ภาวะหัวใจโต สามารถพบได้ 2 ลักษณะ คือ หัวใจโตจากผนังห้องหัวใจหนาผิดปกติ (Hypertrophy) และ ห้องของหัวใจมีการขยายผิดปกติ (Dilatation)

หัวใจโต พบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ แต่พบได้สูงขึ้นในผู้สูงอายุจากการเสื่อมของเซลล์ต่างๆของหัวใจตามธรรมชาติ และโอกาสเกิดหัวใจโต ใกล้เคียงกันทั้งในผู้หญิงและในผู้ชาย จากสถิติการเกิดโรคหัวใจโต นั้นพบว่าในผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ บ่อยๆ เป็นประจำ จะมีภาวะหัวใจโต

โรคหัวใจโต ไม่ใช้โรคติดต่อ แต่ความร้ายแรงของโรคสามารถทำให้เสีชีวิตได้ โรคนี้มักเกิดกับคนที่มีความดันโลหิตสูง ซึ่งทำให้หัวใจทำงานหนัก โรคหัวใจโต คือ โรคที่ขนาดของหัวใจที่โตกว่าปกติ ซึ่งสามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ

  1. หัวใจโตจากกล้ามเนื้อที่หนาตัวกว่าปกติ การที่กล้ามเนื้อหัวใจใหญ่ขึ้น เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจทำงานหนัก บีบตัวมากขึ้น ลักษณะนี้ ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง และโรคลิ้นหัวใจตีบ ได้
  2. หัวใจโตจากกล้ามเนื้อหัวใจทำงานไม่ดี ทำให้มีเลือดคั่งหัวใจ ทำให้เหมือนลูกโป่ง

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจโต

มีปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจโต ประกอบด้วย

  • อายุที่สูงขึ้น
  • การสูบบุหรี่
  • ภาวะอ้วน
  • การดื่มสุรา
  • ความผิดปกติของการเผาผลาญและการใช้พลังงานของร่างกาย มักเกิดจากการเป็นโรคแทรกซ้อนของโรค เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และ โรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม สำหรับคนมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดหัวใจ มีโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคสูงกว่าปรกติ

สาเหตุของโรคหัวใจโต

เราสามารถแยกสาเหตุที่ทำให้หัวใจโตได้ ดังนี้

  1. โรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากการทำมีการสูบฉีดเลือดมาจะทำให้หัวใจทำงานหนัก ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจโต
  2. โรคลิ้นหัวใจรั่วหรือโรคลิ้นหัวใจตีบ หรืออาการอักเสบติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ
  3. ความผิดปรกติของกล้ามเนื้อหัวใจ(Cardiomyopathy) เช่น การดื่มสุรามาก ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย
  4. ความผิดปรกติ จากโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เช่น ผนังหัวใจรั่ว เป็นต้น
  5. โรคหัวใจเต้นผิดปกติ สามารถทำให้หัวใจโตได้
  6. ความดันปอดสูง เป็นสาเหตุทำให้หัวใจโตได้
  7. โรคไทรอยด์ ซึ่งโรคนี้ทำให้หัวใจทำงานหนัก เป็นสาเหตุของหัวใจโต
  8. การสะสมธาตุเหล็กในร่างกายมากเกินไป ทำให้เกิดโรค Hemochromatosis
  9. เกิดจากความผิดปรกติของโปรตีนในกล้ามเนื้อหัวใจ เรียกว่า Amyloidosis

อาการของโรคหัวใจโต

ผู้ป่วยมักไม่ค่อยเห็นอาการผิดปรกติมาก เพราะผู้ป่วย ยังมีหัวใจที่ทำงานปรกติ แต่สามารถสังเกตุอาการ ต่างๆ ได้ เช่น เหนื่อยง่าย หายใจเร็ว มีอาการเวียนหัว อ่อนเพลียง่าย มีใจสั่น เท้าบวม ไอตอนนอน และจะแน่นหน้าอกตอนนอนราบ สามารถแยกอาการให้ชั้ดเจนมากขึ้น เป็นข้อๆ มีดังนี้

  • เหนื่อยง่ายกว่าปกติ โดยเฉพาะเมื่อต้องออกแรง
  • วิงเวียน คล้ายเป็นลม ง่าย
  • หัวใจเต้นผิดปกติ อาจ เบา เร็ว ช้า หรือ ไม่สม่ำเสมอ
  • อาจมีอาการไอผิดปกติโดยไม่รู้สาเหตุ
  • หายใจลำบาก
  • อาจบวม เท้า แขน ขา ใบหน้า
  • อาจเจ็บหน้าอก
  • อาจนอนราบไม่ได้ นอนราบแล้วจะหายใจลำบาก

เราสามารถการตรวจโรคหัวใจโตได้หลายวิธี มีดังนี้

  1. การทำเอ็กซ์เรย์ปอดและหัวใจ
  2. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อดูความผิดปรกติของการเต้นของหัวใจ
  3. การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อดูความหนาของกล้ามเนื้อหัวใจ การบีบตัวของหัวใจ และการทำงานของลิ้นหัวใจ
  4. การตรวจแสกนMRI
  5. เจาะเลือดตรวจ

การรักษาโรคหัวใจโต

สามารถทำได้ โดยการใช้ยารักษา และการผ่าตัด

  1. การให้ยารักษาใช้ยาจำพวก ยาขับปัสสาวะ ยาลดความดัน เพื่อป้องกันหัวใจวาย
  2. การผ่าตัด จำเป็นต้องตรวจดูความผิดปรกติที่ชัดเจน เช่น การผ่าตัดในกรณีมีความผิดปรกติที่ลิ้นหัวใจ หรือในกรณีที่หนักมาก จำเป็นต้องผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ

การป้องกันการเกิดโรคหัวใจโต

สามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ ที่ทำให้ความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือดสูง และระดบน้ำตาลในเลือดสูง เช่น เลิกการสูบบุหรี่ ควบคุมน้ำหนัก ปรับการรับประทานอาหารโดยรับประทานอาหารรสจืด ลดการบริโภคน้ำตาล ควบคุมความดันดลหิต ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ

สมุนไพรลดความดันโลหิต ความดันโลหิตสูงเป็นสามเหตุของโรคหัวใจโต เราจึงแนะนำสมุนไพรที่สรรพคุณช่วยในเรื่องลดความดันโลหิต มี ดังนี้

ถั่วเขียว ถั่วงอก ธัญพืช สมุนไพรถั่วเขียว หญ้าปักกิ่ง สมุนไพร หญ้าเทวดา สรรพคุณหญ้าเทวดาหญ้าปักกิ่ง
มะกอก สรรพคุณของมะกอก น้ำมันมะกอก โทษของมะกอกมะกอก ทองพันชั่ง สมุนไพร พืชท้องถิ่น สรรพคุณของทองพันชั่งทองพันชั่ง
ตรีผลา สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตรีผลาตรีผลา ต้นพลูคาว พลูคาว สรรพคุณของพลูคาว ประโยชน์ของพลูคาวพลูคาว

โรคหัวใจโต ( Cardiomegaly ) คือ ภาวะหัวใจใหญ่กว่าปกติ สาเหตุของหัวใจโต มีหลากหลายสาเหตุ ทำให้ความดันโลหิตสูง หัวใจสูบฉีดเลือดได้ไม่ดี เหนื่อยง่าย หายใจเร็ว เวียนหัว อ่อนเพลีย ใจสั่น เท้าบวม ไอตอนนอน แน่นหน้าอก ทำให้หัวใจล้มเหลวได้ การรักษาและป้องกันโรคหัวใจโตำอย่างไร

หัวใจวาย ( Heart Failure ) กล้ามเนื้อหัวใจไม่ทำงานตามปรกติ เกิดกับผู้สูงวัยและคนเครียด อาการเหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หัวใจเต้นผิดปกติ หน้ามืด ใจสั่นหัวใจวาย ภาวะหัวใจวาย โรคหัวใจ เจ็บหน้าอก

โรคหัวใจวาย ภาษาอังกฤษ เรียก Heart Failure ซึ่งเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ภาวะหัวใจล้มเหลว หรือ ภาวะหัวใจวาย โรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ ไม่ใช่โรคติดเชื้อ การเกิดหัวใจล้มเหลว เกิดจากภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ตามปรกติ ซึ่งผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยง จะมีอาการที่เป็นสัญญาณ เช่น เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก หายใจลำบาก

โรคหัวใจล้มเหลว สามารถเกิดขึ้นได้กับ คนทุกวัย ทุกชาติ ทุกศาสนา และทุกเพศ ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคนี้จะแตกต่างกันไป จากสถิติพบว่าร้อยละ 3 ของประชากรในประเทศกำลังพัฒนาเป็นโรคหัวใจ และร้อยละ 30 ของคนอายุ 70 ปีขึ้นไป เป็นโรคนี้ แต่สาเหตุของการเกิดจะแตกต่างกันไป โดยรวมแล้ว ยิ่งอายุมากขึ้นจะพบได้มากขึ้น โดยในภาพรวมในประเทศที่กำลังพัฒนา พบความชุกของภาวะหัวใจล้มเหลวได้ประมาณ 2 – 3% ของประชากรทั้งหมด แต่หากอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป จะพบความชุกของภาวะนี้ได้ 20 – 30%

สาเหตุของการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว 

อาจเป็นสาเหตุจากการ เป็นผลข้างเคียงของโรคอื่น เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ โรคลิ้นหัวใจรั่ว โรคลิ้นหัวใจตีบ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ นอกจากโรคต่างๆ เป็นสาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลวแล้ว ความเครียด การพักผ่อนน้อย การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ ก็เป็นสาเหตุของโรคหัวใจวายได้

  • โรคหัวใจขาดเลือด (โรคหลอดเลือดหัวใจ) เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ คือ เป็นโรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ เป็นต้น
  • โรคของกล้ามเนื้อหัวใจที่เรียกว่า Dilated cardiomyopathy
  • โรคลิ้นหัวใจต่างๆ เช่น โรคลิ้นหัวใจรั่ว โรคลิ้นหัวใจตีบ
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • สาเหตุอื่นๆที่พบได้ค่อนข้างน้อย เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ การได้รับยาหรือสารบางประ เภทเกินขนาด เช่น โคเคน แอลกอฮอล์ การได้รับยาเคมีบำบัดบางชนิดที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง โรคที่มีโปรตีนชื่อ Amyloid เข้าไปสะสมที่กล้ามเนื้อหัวใจ (Amyloidosis) เป็นต้น

อาการของโรคหัวใจวาย

เราสามารถแยกเป็นข้อๆ ได้ ดังนี้

  1. มีอาการเหนื่อยและหายใจลำบาก ( Dyspnea )
  2. นอนราบไม่ได้ ( Orthopnea )
  3. เหนื่อยฉับพลันขณะหลับ ( Paroxysmal nocturnal dyspnea )
  4. มีอาการอ่อนเพลีย อ่อนแรง
  5. เกิดน้ำคั่งในอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ
  6. หัวใจเต้นผิดปกติ
  7. หน้ามืด
  8. ใจสั่น
  9. ปากเขียว
  10. เล็บมือเขียว

ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจวาย

สำหรับกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจ ประกอบด้วย คนที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป และ คนที่เป็นที่มีโอกาสเสี่ยง เช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันในหลอดเลือดสูง ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ คนอ้วน และ คนที่ไม่ออกกำลังกาย

การรักษาภาวะหัวใจวาย

สำหรับแนวทางการรักษา โรคหัวใจต้องทำการลดภาระการทำงานของหัวใจลง สามารถทำได้โดย

  1. การป้องกันการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  2. การควบคุมและกำจัดน้ำส่วนเกินหรือน้ำคั่งในอวัยวะต่างๆ โดย ลดการบริโภคเกลือหรือของเค็ม เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับเกลือมากเกินกว่าความสามารถในการกำจัดของเสียของไต
  3. การลดภาระการทำงานของหัวใจ โดยการไม่ออกแรงมาก หรือ ไม่ออกกำลังกายหนักเกินไป หากรู้ตัวว่าเหนื่อยต้องพัก
  4. การเพิ่มความสามารถในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ

การป้องกันภาวะหัวใจวาย

สำหรับการป้องกันการเกิดภาวะหัวใจวาย คือ การป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว โดยเฉพาะการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ( โรคหลอดเลือดหัวใจ ) เช่น การไม่สูบบุหรี่ การลดระดับไขมันในเลือดหากมีไขมันในเลือดสูง และการป้องกันการเป็นโรคเบาหวาน เป็นต้น

หัวใจวาย ( Heart Failure ) ภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจไม่ทำงานตามปรกติ พบมากในผู้สูงอายุ คนที่อยู่ในภาวะเครียด อาการของโรคหัวใจวาย เช่น เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก หายใจลำบาก นอนราบไม่ได้ อ่อนเพลีย เกิดน้ำคั่งในอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ หัวใจเต้นผิดปกติ หน้ามืด ใจสั่น ปากเขียว เล็บมือเขียว การรักษาโรคหัวใจ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove