เบาหวานขึ้นตา ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ส่งผลให้ประสาทจอตาขาดเลือก สายตาพล่ามัว มีเลือดออกในวุ้นตา ลานตาบวมน้ำ วิธีรักษาเบาหวานขึ้นตามีแนวทางอย่างไรเบาหวานขึ้นตา โรคตา โรคเบาหวาน

เบาหวานขึ้นตา หรือ โรคเบาหวานขึ้นประสาทจอรับภาพ ภาษาอังกฤษเรียก Diabetes retinopathy  เป็นโรคแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ถือเป็นโรคตา โรคที่เกี่ยวกับตา มีรายละเอียดอย่างไร สาเหตุ การป้องกัน กานรักษา

ระยะการเกิดโรคเบาหวานขึ้นตา

สำหรับโรคเบาหวานขึ้นจอตา นั้นสามารถแบ่งโรคได้เป็น 2 ระยะ คือ เบาหวานขึ้นจอตาระยะแรก และเบาหวานขึ้นจอตาระยะรุนแรง รายละเอียด ดังนี้

  • เบาหวานขึ้นจอตาระยะแรก ในระยะนี้ยังไม่มีหลอดเลือดฝอยที่ตางอกขึ้นใหม่
  • เบาหวานขึ้นจอตาระยะรุนแรง ในระยะนี้เกิดหลอดเลือยฝอยงอกขึ้นใหม่

ไม่ว่าการเกิดเบาหวานขึ้นตาในระยะใดก็ตามจะทำให้เกิดภาวะจอตาบวม ทำให้ความสามารถในการมองเห็นเสื่อมคุณภาพ เกิดอาการพล่ามัว ซึ่งปัจจัยของการเกิดเบาหวานขึ้นตานั้น มีปัจจัยเสี่ยง ประกอบด้วย

  • คนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานเป็นเวลานาน
  • คนป่วยที่มีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง
  • การมีไตวายจากเบาหวาน
  • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
  • ผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูง
  • ผู้หญิงที่มีอาการโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

สาเหตุของโรคเบาหวานขึ้นตา

  1. การรั่วของน้ำจากผนังหลอดเลือด ซึ่งเราเรียกว่า Exudate
  2. ผนังของหลอดเลือดในบางส่วน มีอาการโป่งออกมา ซึ่งเราเรียกว่า Aneurysm
  3. เมื่อเกิดการขาดเลือด ทำให้ร่างกายสร้างเส้นเลือดใหม่เพื่อไปเลี้ยงส่วนที่ขาดเลือด และเส้นเลือดใหม่นี้เกิดขาดเราเรียกว่า proliferative
  4. เส้นเลือดเส้นใหม่ที่งอกออกมา ไม่แข็งแรงแตกง่ายเป็นสาเหตุของการตาบอด
  5. พบว่ามีเลือดออกที่จอรับภาพ เราเรียกว่า Haemorrhage
  6. พบว่ามีเส้นเลือดบางส่วน เกิดการตีบการตัน ซึ่งส่งผลทำให้เลือดไปเลี้ยงจอรับภาพไม่พอ

อาการของเบาหวานขึ้นตา

ในบางผู้ป่วยที่มีอาการเบาหวานขึ้นตาในระยะแรก จะมองเห็นปรกติ และต่อมา สายตาพล่ามัวลงและอาจจะลุกลามไปถึงจุดรับภาพ(macula) การมองภาพอาจเห็นภาพบิดเบี้ยว ลานสายตาจะผิดปรกติจากการบวมน้ำ สายตาจะมืดลงเป็นแถบๆ สายตามืดลงอย่างกระทันหัน มีเลือดออกในน้ำวุ้นตาอย่างกระทันหัน

สำหรับอาการสายตาที่มัวลงเกิดจากการผิดปรกติของเส้นเลือด สามารถแบ่งอาการผิดปรกติได้ 4  กรณี ประกอบด้วย

  • กรณีแรก คือ เกิดการรั่วของน้ำหรือไขมัน โดยรั่วออกมาในเนื้อเยื่อ ทำให้เนื้อเยื่อจอประสาทตามีอาการบวม หากเกิดการบวมตรงกลางจอประสาทตา จะทำให้การรับภาพไม่ชัดเจน
  • กรณีที่สอง คือ การที่เส้นเลือดมีอาการเสื่อมตัว ทำให้เกิดการอุดตัน ส่งผลต่อเนื้อเยื่อประสาทตาขาดเลือด เกิดอาการอักเสบและตาย ทำให้เนื้อเยื่อบวม และ มีการงอกใหม่ของเส้นเลือดเพื่อชดเชยส่วนที่ตาย ทำให้จอประสาทตาบวม ส่งผลต่อการมองเห็นที่ไม่ชัด
  • กรณีที่สาม คือ การที่เส้นเลือดเกิดแตก และมีเลือดไหลออกในเนื้อเยื่อลูกตา ทำให้การมองเห็นเป็นเงาและมัว
  • กรณีที่สี่ คือ การที่เนื้อเยื่อของจอประสาทตาเกิดพังผืด และไปดึงรั้งเนื้อเยื่อจอประสาทตา ทำให้เกิดภาวะจอประสาทตาลอก  ต้องรับการรักษาจากแพทย์อย่างถูกต้อง ไม่เช่นนั้นอาจทำให้เกิดตาบอดได้

การรักษาอาการเบาหวานขึ้นตา

สำหรับการรักษา โดยเบื้องต้น ต้องควบคุมโรคเบาหวานที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค หากอาการเบาหวานขึ้นตามากจะใช้การรักษาด้วยการยิงแสงเลเซอร์ เพื่อป้องกันไม่ให้โรคลุกลามมากขึ้น เพื่อทำลายหลอดเลือดที่เกิดใหม่ และรักษาอาการบวมในตา โดยในปัจจุบัน การรักษาโรคเบาหวานขึ้นตา มี 3 วิธี ประกอบด้วย การรักษาด้วยแสงเลเซอร์ การใช้ยารักษาและ การผ่าตัด โดยรายละเอียด ประกอบด้วย

  • การรักษาเบาหวานขึ้นตาด้วยแสงเลเซอร์ เป็นวิธีมาตรฐานในการรักษาในระยะที่มีการสร้างหลอดเลือดใหม่ และ ผู้ป่วยมีจุดภาพชัดบวม แสงเลเซอร์จะทำให้หลอดเลือดที่ผิดปกติฝ่อลง
  • การรักษาเบาหวานขึ้นตาด้วยยา เป็นการรักษาโดยการฉีดยา เพื่อลดการรั่วของหลอดเลือด ยาที่ใช้ในการรักษาปัจจุบัน มี 2  กลุ่ม คือ ยาสเตียรอยด์ และ ยาต้านการสร้างหลอดเลือดใหม่
  • การรักษาเบาหวานขึ้นตาด้วยการผ่าตัด สำหรับผู้ป่วยที่เกิดเลือดออกในวุ้นตาจะถูกดูดซึมใน 3 สัปดาห์ และอาจทำให้เกิดพังผืดที่วุ้นตา จึงจำเป็นต้องผ่าตัดวุ้นตา เพื่อไม่ให้โรคลุกลาม

การป้องกันเบาหวานขึ้นตา

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานขึ้นตา ต้องจัดการที่สาเหตุหลักของการเกิดโรค คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ต้องดูแลร่างกายไม่ให้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งแนวทางการปฏิบัติตน มีวิธีดังต่อไปนี้

  • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดอาหารที่มีรสเค็ม หวาน และมีไขมันสูง
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน
  • ลดละเลิกการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์
  • รับประทานยารักษาเบาหวานตามกำหนดที่แพทย์สั่ง
  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
  • ควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
  • ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
  • หากมีอาการผิดปรกติเกี่ยวกับการมองเห็น เช่น ตามัว มองไม่ชัด หรือมองเห็นเป็นจุดดำ เป็นต้น ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยโรค

โรคเบาหวานขึ้นตา คือ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ส่งผลให้ประสาทจอตาขาดเลือก สายตาพล่ามัว มีเลือดออกในวุ้นตา ลานตาบวมน้ำ วิธีรักษาเบาหวานขึ้นตามีแนวทางอย่างไร

เลือดออกในวุ้นตา Vitreous hemorrhage การฉีกขาดของหลอดเลือดที่วุ้นตา อาการสายตาพร่ามัวแต่ไม่มีอาการปวด มองเห็นเหมือนหยักไหย่ สายตามัวตอนตื่นนอน รักษาโรคอย่างไรเลือดออกในวุ้นตา โรคตา โรคไม่ติดต่อ

เลือดออกในวุ้นตา เป็นภาวะหนึ่งเกี่ยวกับโรคตา โรคทางตา เกิดจากการฉีกขาดของหลอดเลือด เกิดจากจอประสาทขาดเลือด การฉีกขาดของเส้นเลือด ภาวะที่มีเลือดออกในวุ้นลูกตาเกิดจากการฉีกขาดของหลอดเลือดใหม ่เนื่องจากจอประสาทขาดเลือด หรือเกิดจากการฉีกขาดของเส้นเลือดเนื่องจากการกระแทก ภาวะเลือดออกในน้ำวุ้นตา คือ การที่มีเลือดขังอยู่ภายในน้ำวุ้นตา โดยผู้ป่วยจะมีอาการได้หลายอย่าง

สาเหตุที่ทำให้เลือดออกในน้ำวุ้นตา

  1. เบาหวานขึ้นตา ทำให้ จอตาเสื่อม เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยสุด
  2. เกิดจากจอตาขาดโดยไม่มีการหลุดลอก สาเหตุนี้เราพบว่า 12 – 17 % ของผู้ป่วยโรคนี้มีสาเหตุมาจากจอตาขาดแต่ไม่ได้หลุดลอก
  3. การหลุดจากขั้วประสาทตาและจานประสาทตาของวุ้นในตา พบว่า 7.5 – 12% มีเลือดออกในน้ำวุ้นในตาจากสาเหตุนี้
  4. การหลุดลอกของจอตา พบว่า 7 – 10% ของผู้ป่วยมีเลือดออกที่วุ้นในตาเกิดจากการลอกหลุดจองจอตา

ปัจจัยเสี่ยงของเลือดออกในวุ้นตามีทั้งที่สัมพันธ์กับโรคทางกายชนิดต่างๆเช่น เบาหวาน, เลือดข้น, โรคเลือดบางชนิด (Sickle cell anemia), โรคของท่อเลือดแดง (Aortic arch syndrome), โรคของผนังลูกตาชั้นกลาง (เช่น ม่านตาอักเสบ หรือ Uveitis), หลอดเลือดจอตาอักเสบ, ตลอดจนอุบัติเหตุรุนแรงที่ลูกตา เป็นต้น

อาการของภาวะเลือดออกในวุ้นตา

ผู้ป่วยภาวะเลือดออกในวุ้นตา คือ ตาพร่ามัว แต่ไม่มีอาการปวด โดยทั่วไปจะไม่พบว่าตาแดง ผู้ป่วยจะมองเห็นเหมือนอะไรลอยไปมา เห็นเหมือนหยักไย่ เห็นเหมือนเงาเคลื่อนที่ หรือเห็นเป็นเงาสีแดงเคลื่อนไปมา และอาการตาพร่ามัวมักจะเป็นตอนตื่นนอน และหากปล่อยทิ้งไว้นาน อาจเป็นต้อหินได้ อาการที่พบได้จากมีเลือดออกในวุ้นตา ได้แก่

  • อาการสายตาพร่ามัว แต่ไม่มีอาการปวด ซึ่งอาการสายตาพร่ามัว นั้นอาการน้อยหรือมากจะขึ้นอยู่กับ เลือดที่ออกในวุ้นตา และ ตำแหน่งของเลือดที่ออก
  • มีเลือดออกในวุ้นตาอย่างฉับพลัน ซึ่งการที่เลือดออกในวุ้นตาอย่างฉับพลันนั้นทำให้สายตามัวลงอย่างรวดเร็ว แต่หากอาการพล่ามัวของตา เกิดขึ้นอย่างช้าๆ เกิดจากอาการเลือดออกแบบซึมทีละนิด
  • มีการมองเห็นภาพผิดปรกติ ลักษณะภาพคนลอยไปลอยมา หรือ มองเห็นเหมือนหยักไย่ ในบางคนมองเห็นเป็นเงาเคลื่อนที่ ไปมา
  • มีอาการสายตามัวตอนตื่นนอน แต่เมื่อเวลาผ่านไปการมองเห็นจะค่อยๆดีขึ้น
  • มีอาการปวดดวงตา สำหรับผู้ป่วยบางราย ซึ่งในกรณีนี้เกิดจากอาการแทรกซ้อน คือ เกิดภาวะต้อหิน

ผลข้างเคียงจากการเกิดเลือดออกในวุ้นตา

อาการเลือดออกในวุ้นตา นั้นสามารถเกิดผลข้างเคียง ที่เกิดจากการเลือดออกในวุ้นตา สามารถแยกบลายละเอียดได้ ดังนี้

  • ภาวะ Hemosiderosis bulbi คือ อาการตาพล่ามั่ว ที่เกิดจากการเกาะตัวของธาตุเหล็กที่แก้วตา
  • ภาวะ Proliferative vitreo retinopathy คือ ภาวะพังผืดดึงรั้งจอตา อาจทำให้เกิดตาบอดได้
  • ภาวะ Ghost cell glaucoma คือ การเกิดต้อหิน เซลล์ที่มาจากเม็ดเลือดแดง ไหลย้อนเข้ามาในช่องที่อยู่ของวุ้นตา ทำให้เกิดการอุดตันในช่องด้านหน้าของลูกตา ส่งผลต่อความดันตา ทให้สูงขึ้นจนเกิดต้อหิน
  • ภาวะ Hemolytic glaucoma การที่สิ่งแปลกปลอมเข้าไปอุดตันทางเดินของน้ำในตา

การรักษาอาการเลือดออกในวุ้นตา

ในการรักษาอาการเลือดออกในวุ้นตา ต้องหาสาเหตุของอาการให้พบว่าเกิดจากอะไรถึงจะสามารถรักษาได้ตรงจุดแต่โดยทั่วไป เลือดในวุ้นตาจะค่อยๆถูกร่างกายดูดซึมหมดได้เอง

  • หากจอตาหลุดลอก แพทย์จะทำการ ผ่าตัดวุ้นตาและผ่าตัดแก้ไขจอตาให้เข้าที่
  • ทำเลเซอร์ เพื่อป้องกันมิให้เลือดออกซ้ำ
  • หากจอตาหลุดลอก แพทย์จะทำการผ่าตัดแก้ไขจอตาที่หลุดลอก
  • ฉีดยาชื่อ Vascular endothelial growth factor เข้าไปในวุ้นตาเพื่อลดการเกิดหลอดเลือดเกิดใหม่
  • ฉีดยา Hyaluronidase เข้าไปในวุ้นตา เพื่อละลายเลือด

ป้องกันการเกิดเลือดออกในวุ้นตา

สำหรับการดูแลร่างกายให้ปราศจาก ภาวะเลือดออกในวุ้นตา นั้นต้องงป้องกันสาเหตุของการเกิดโรค รวมถึงหมั่นสังเกตุความผิดปรกติของการมองเห็น โดยการป้องกัน มีรายละเอียดดังนี้

  • เข้ารับการตรวจสุขภาพดวงตา เป็นประจำทุกปี
  • พยายามดูแลตัวเองให้ปราศจากโรคที่มีผลต่อการทำงานของดวงตา เช่น โรคเบาหวาน
  • การสายตาเกิดผิดปรกติ เช่น สายตาพล่ามัว ให้รีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจ
  • ดูแลสุขตัวเอง และดูแลสิ่งแวดล้อมรอบตัว ให้ไม่มีสิ่งสกปรก เพื่อให้ร่างกายไม่ได้รับสิ่งสกปรก
  • ระมัดระวังการใช้ชีวิตประจำวัน ลดความเสี่ยงทั้งหมดที่มีโอกาสให้เกิดอุบัตติเหตุกับดวงตา

สมุนไพรบำรุงสายตา ประกอบด้วย พืช ผัก ต้นไม้ ที่มีวิตามินเอ สูง สามารถช่วยบำรุงสายตาได้ดี มีดังนี้

มะละกอ สมุนไพร สมุนไพรไทย ผลไม้
มะละกอ
ปอผี สมุนไพร ผักกระเดียง สรรพคุณของปอผี
ปอผี
ผักกระเดียง
มะนาว สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของมะนาวมะนาว
เสาวรส สมุนไพร ผลไม้ ประโยชน์ของเสาวรส
เสาวรส
มะรุม สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของมะรุม
มะรุม
ชะอม สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ชะอม

เลือดออกในวุ้นตา ( Vitreous hemorrhage ) เกิดจากการฉีกขาดของหลอดเลือดที่วุ้นตา ลักษณะอาการ ตาพร่ามัวแต่ไม่มีอาการปวด มองเห็นเหมือนหยักไหย่ สายตามัวตอนตื่นนอน เกิดจากการกระแทกดวงตา

เลือดออกในวุ้นตา เกิดจากอะไร เลือดออกในตา สาเหตุของเลือดออกในตา การรักษาเลือดออกในวุ้นตา วุ้นตา ตาพล่ามัว โรคตา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove