อ้อย ( Sugar cane ) สมุนไพร พืชเศรษฐกิจ นำมาทำน้ำตาล ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงร่างกาย อ้อยในประเทศไทย มี 2 ชนิด อ้อยเคี้ยว อ้อยสำหรับทำน้ำตาล ต้นอ้อยเป็นอย่างไร

อ้อย สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณอ้อย

อ้อย ( Sugar cane ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของอ้อย คือ Saccharum officinarum L. พืชตระกลูหญ้า สมุนไพร พืชเศรษฐกิจ นำมาทำน้ำตาล รสหวาน ประโยชน์ของอ้อย สรรพคุณของอ้อย ช่วยบำรุงร่างกาย อ้อยในประเทศไทย ที่นิยมปลูกมี 2 ชนิด คือ อ้อยเคี้ยว  และ อ้อยสำหรับทำน้ำตาล ต้นอ้อยเป็นอย่างไร สมุนไพรไทย ลักษณะของต้นอ้อย การปลูกอ้อย อ้อยสรรพคุณเป็นอย่างไร

ต้นอ้อย เป็นพืชล้มลุก พืชเศรษฐกิจ ใช้ทำน้ำตาล รวมถึงเป็นวัตถุดิบในการทำเอทานอล อ้อยมีสรรพคุณเด่น คือ ให้ความหวาน นิยมนมาทำเป็นเครื่องปรุงอาหารให้ความหวาน เรียกว่า น้ำตาล แต่อ้อยนั้นไม่ใช่แค่ให้วคามหวานเพียงอย่างเดียว อ้อยยังมีประโยชน์ด้านยารักษาโรค สมุนไพรไทย ด้วย เราจะมานำเสนอ เรื่อง อ้อย ว่า อ้อยเป็นอย่าไร ลักษณะของต้นอ้อย การปลูกอ้อย และการนำอ้อยมาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรคต่างๆ เป็นอย่างไร

ลักษณะของต้นอ้อย

ต้นอ้อย เป็น พืชล้มลุก การขยายพันธ์โดยการแตกกอ สามารถปลูกโดยใช้น้ำน้อย ลักษณะของต้นอ้อย มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นอ้อย ลำต้นมีสีแดงอมม่วงความสูงของลำต้นไม่เกิน 5 เมตร ลำต้นของอ้อยจะตั้งตรง ไม่มีกิ่งก้าน ลำต้นของอ้อยจะเป็นข้อปล้องจำนวนมาก ซึ่งมีน้ำมากและมีความหวาน
  • ใบอ้อย มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว รูปใบหอก มีหนามเล็กๆที่ขอบใบ
  • ดอกอ้อย ออกดอกที่ปลายยอด
  • ผลเป็นผลแบบผลธัญพืช แห้งและมีขนาดเล็ก
  • รากของอ้อยนั้นอยู่ใต้ดิน มีขนาดใหญ่ ซึ่งกระจายทั่วลำต้น โดยรากของอ้อยจะแบ่งออกเป็น 2 ชุด คือ รากของท่อนพันธุ์ และรากของหน่อ

สำหรับ อ้อยในประเทศไทย นั้น มีพันธุ์อ้อยที่นิยมปลูกอยู่ 2 ชนิด คือ อ้อยเคี้ยว และอ้อยสำหรับทำน้ำตาล

  • อ้อยเคี้ยว จะมีเปลือกและชานนิ่ม ให้วความหวานปานกลาง นิยมปลูกเพื่อนำน้ำอ้อยมาดื่มสด ซึ่งพันธ์อ้อยเคี้ยวที่นิยมปลูก คือ อ้อยสิงคโปร์  พันธุ์มอริเชียส พันธุ์บาดิลาสีม่วงดำอ้อยทั้ง 3 พันธุ์นี้จัดเป็นพวกอ้อยพันธ์ดั้งเดิม ที่ปลูกในแถบเกาะนิวกินี สามารถเคี้ยวให้ความหวานที่มากพอและไม่แข็งจนเกินไป
  • อ้อยสำหรับทำน้ำตาล เป็นอ้อยที่ถูกพัฒนาสายพันธ์ ให้น้ำมาก เป็นสายพันธ์ที่นิยมปลูกทั่วโลก มีสายพันธ์ต่างๆ มากถึง 220 พันธ์อ้อย

สรรพคุณทางสมุนไพรของอ้อย

สำหรับตำราแพทย์แผนไทยนั้น จะใช้ อ้อยเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ รักษาหนองใน ขับนิ่ว ใช้ขับเสมหะ อ้อย นั้นสามารถใช้ประโยชน์ทางยาได้ตั้งแต่ ราก และลำต้น ซึ่งรายละเอียด ดังนี้

  • รากอ้อย ใช้นำมาเป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้หืด แก้ไอ ช่วยแก้ไข้ ช่วยรักษาเลือดลม ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยบำรุงร่างกาย รักษาอาการอาการอ่อนเพลีย รักษาอาการผอมแห้งหิวและหอบไม่มีเรี่ยวแรง ช่วยบำรุงโลหิตระดูของสตรี
  • ลำต้นอ้อย ใช้นำมาช่วยรักษาแผลพุพอง เป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยแก้อาการท้องผูก ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ช่วยแก้อาการเจ็บคอ ช่วยขับเสมหะ ช่วยรักษาโรคไซนัส ช่วยแก้หืด แก้ไอ ช่วยแก้ไข้ ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยรักษาเลือดลม ช่วยบำรุงร่างกาย รักษาอาการอาการอ่อนเพลีย รักษาอาการผอมแห้งหิวและหอบไม่มีเรี่ยวแรง ช่วยบำรุงโลหิตระดูของสตรี ช่วยรักษาโรคงูสวัด
  • เปลือกของต้นอ้อย ช่วยแก้ตานขโมย รักษาโรคปากเป็นแผล

การนำอ้อยมาใช้ประโยชน์

สำหรับ ประโยชน์ของอ้อย นั้น เราสามารถแบ่งประโยชน์ของอ้อยออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ประโยชน์การใช้โดยตรงจากอ้อย และการใช้อ้อยด้านอุตสาหกรรม ซึ่งรายละเอียดดังนี้

  • การใช้ประโยชน์จากอ้อยโดยตรง คือ เป็นอาหาร ให้ความหวาน เป็นอาหารสัตว์ เป็นเชื้อเพลิง ใช้เป็นวัตถุคลุมดินหรือบำรุงดิน เป็นต้น
  • การใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์จากอ้อยนั้น จะให้ ชานอ้อย  กากตะกอน กากน้ำตาล ซึ่งสิ่งเหล่านี้ นอกจากจะได้น้ำตาลทรายที่เราใช้ปรุงอาหารแล้ว ชานอ้อย กากตะกอน รวมถึงกากน้ำตาล สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน เช่น ชานอ้อย ใช้เป็นเชื้อเพลิง ใช้ผลิตวัสดุก่อสร้าง เช่น อัดเป็นแผ่น  แผ่นกันความร้อน ใช้ผลิตเยื่อกระดาษ และกระดาษชนิดต่าง ๆ ใช้เป็นอาหาร ใช้ทำปุ๋ยหมัก  กากตะกอน ใช้ทำเป็นปุ๋ยบำรุงดิน ใช้ในผลิตภัณฑ์ขัดเงา ผลิตหมึกสำหรับกระดาษคาร์บอน ผลิตลิปสติก กากน้ำตาล ใช้ทำปุ๋ย ใช้เลี้ยงสัตว์ ใช้ผลิตแอลกอฮอล์ ใช้ทำผงชูรส ใช้ทำกรดน้ำส้ม เป็นต้น

โทษของอ้อย

สำหรับการบริโภคน้ำอ้อยในปริมาณมาก และ ติดต่อกันนานเกินไป ทำให้เกิดการสะสมน้ำตาลในร่างกายมากเกินไป ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานตามมาอีกมากมาย

อ้อย ภาษาอังกฤษ เรียก Sugar cane มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Saccharum officinarum L. อ้อย นั้นจัดเป็นพืชในตระกูลหญ้า ไผ่ สำหรับ อ้อยมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น อ้อยขม อ้อยดำ อ้อยแดง อ้อยตาแดง เป็นต้น อ้อย สามารถปลูกได้ในประเทศเขตร้อน น้ำของต้นอ่อยมีความหวาน นำทำน้ำตาลรับประทาน นอกจากน้ำตาลแล้วอ้อยถูกนำมาเป็นวัตถุดิบในการทำกระดาษ พลาสติก เป็นเชื้อเพลิง และอาหารสัตว์ เป็นต้น ประเทศที่มีการปลูกอ้อยจำนวนมาก คือ บลาซิล คิวบา และอินเดีย

การปลูกอ้อย

สำหรับ การปลูกอ้อย นั้น อ้อยจะมีการเจริญเติบโตอยู่ 4 ระยะ ประกอบด้วย

  • ระยะงอก ภาษาอังกฤษ เรียก germination phase เป็นระยะแรก คือ หน่อเริ่มโผล่พ้นดิน ซึ่งใช้เวลาประมาณ 14-21 วัน เป็นหน่อที่เกิดจากตาของท่อนพันธุ์ เราเรียก หน่อแรก (primary shoot)
  • ระยะแตกกอ ภาษาอังกฤษ เรียก tillering phase ในระยะนี้การแตกกอของอ้อยจะใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์หลังปลูก และการแตกกอนี้จะใช้เวลาประมาณ 4 เดือน ซึ่งปัจจัยที่ทำให้อ้อยสามารถแตกกอได้ดี คือ ความชื้นในดิน แสง อุณหภูมิ และปุ๋ย การปลูกอ้อยในระยะการแตกกอต้อง การควบคุม น้ำ และ วัชพืช ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการแตกกอให้ผลผลิตที่ดีได้
  • ระยะย่างปล้อง ภาษาอังกฤษ เรียก stalk elongation phase เมื่อปลูกอ้อยได้อายุ 4-8 เดือน อ้อยจะเข้าสู่ระยะย่างปล้อง คือ อ้อยจะมีการเพิ่มความยาวและขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของปล้องอย่างรวดเร็ว เมื่อผ่านระยะ 8 เดือนแล้ว การเจริญเติบโตของอ้อยจะเริ่มลดลง และเริ่มมีการสะสมน้ำตาลเพิ่มมากขึ้นฃ
  • ระยะแก่และสุก ภาษาอังกฤษ เรียก maturity and ripening phase ในระยะนี้อ้อยพร้อมให้ผลผลิตแล้ว อัตราการเจริญเติบโตช้าลงมาก การสะสมน้ำตาลนั้นจะเริ่มจากส่วนโคนไปหาปลาย สามารถตัดผลผลิตไปใช้ประโยชน์

อ้อย ( Sugar cane ) สมุนไพร พืชเศรษฐกิจ นำมาทำน้ำตาล ประโยชน์และสรรพคุณของอ้อย ช่วยบำรุงร่างกาย อ้อยในประเทศไทย ที่นิยมปลูกมี 2 ชนิด คือ อ้อยเคี้ยว  และ อ้อยสำหรับทำน้ำตาล ต้นอ้อยเป็นอย่างไร สมุนไพรไทย ลักษณะของต้นอ้อย การปลูกอ้อย อ้อยสรรพคุณเป็นอย่างไร

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.   Take care of yourself first with good information. The content on this website is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick or feel unwell You should consult a doctor. to receive proper treatment For more information, please see our Terms and Conditions of Use.

ขี้เหล็กเทศ ( Coffea senna ) สมุนไพรตระกูลถั่ว ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงร่างกาย รักษาแผล ขับปัสสาวะ รักษานิ่ว รักษาหนองใน ลดความดัน ต้นขี้เหล็กเทศเป็นอย่างไรขี้เหล็กเทศ สมุนไพร ต้นขี้เหล็ก สมุนไพรบำรุงหัวใจ

สมุนไพร สำหรับวันนี้ ขี้เหล็กเทศ ภาษาอังกฤษ เรียก Coffea senna ชื่อวิทยาศาสตร์ของขี้เหล็กเทศ คือ Senna occidentalis (L.) Link เป็นพืชตระกูลถั่ว ชื่ออื่น ๆของขี้เหล็กเทศ คือ ขี้เหล็กเผือก ผักเห็ด ลับมืนน้อย หมากกระลิงเทศ ขี้เหล็กผี ชุมเห็ดเล็ก พรมดาน ชุมเห็ดเทศ ผักจี๊ด กิมเต่าจี้ ม่อกังน้ำ ว่างเจียงหนาน คางเค็ด ผักเค็ด ผักเคล็ด เลนเค็ด

หากจะกล่าวถึง ขี้เหล็กเทศ เป็นพืชมีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ สามารถปลูกได้ในประเทศเขตร้อนชื้น โดยจะขึ้นพื้นที่โล่ง รกร้าง ตามไหล่เขา ริมคลอง ยอดอ่อนและใบถูกนำมาเป็น ส่วนผสมสำหรับทำ แกงเลียง แกงเผ็ด ต่างก็ใช้ขี้เหล้กเทศ มีความอร่อยของอาหาร มีการนำเมล็ดของขี้เหล็กเทศมาบดดื่มแทนชาและกาแฟ แต่การรับประทานขี้เหล็กเทศต้องบริโภคในปริมาณที่เหมาะสำ หากรับประทานมากเกินไปจะเป็นพิษต่อกระเพาะอาหาร ต่อตับ ระบบเลือด หัวใจ ปอดและลำไส้ได้ ซึ่งพิษของขี้เหล็กเทศอยู่ที่เมล็ด แต่

ประโยชน์ของขี้เหล็กเทศ

สำหรับ ประโยชน์ของต้นขี้เหล็กเทศ คือ ใช้บำรุงร่างกาย  รักษาแผลในหู เป็นยาเย็น แก้ไข้มาลาเรีย เป็นยาขับปัสสาวะ ฆ่าเชื้อโรค รักษาโรคทางเดินปัสสาวะและนิ่ว รักษาโรคหนองใน รักษาโรคหัวใจ ใช้ลดความดันโลหิต เป็นยาแก้วิงเวียน รักษาอาการตาบวมแดง เป็นยาแก้ตาแดงตาอักเสบ แก้ไอ หอบหืด แก้ร้อนในปาก ยาบำรุงกระเพาะอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาระบบการย่อยอาหารไม่ดี แก้ปวดกระเพาะอาหาร ใช้รักษาโรคเบาหวาน แก้ปวดหัว แก้ปวดฟัน ยาลดไข้ เป็นยาถ่าย ยาระบาย เป็นยาถ่ายพยาธิ รักษาโรคผิวหนัง ใช้ทารักษากลากเกลื้อน ผิวหนังพุพอง โรคผิวหนังอักเสบ โรคผิวหนังต่าง ๆ ใช้เป็นยาถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย

ต้นแลใบของขี้เหล็กเทศเป็นอาหารสัตว์ชั้นยอด เหมาะแก่การให้ โคและกระบือรับประทานเป็นอาหารเสริม เนื่องจากขี้เหล็กเทศ มีทั้ง โปรตีน ใยอาหาร ไขมัน คาร์โบไฮเดรต หรือนำมาทำปุ๋ยก็เป็นแหล่งโพแทสเซียมชั้นดี

จากข้อมูลทางเภสัชศาสตร์ได้ศีกษาขี้เหล็กเทศ พบว่าในขี้เหล็กเทศมีสาร เช่น Aloe-emodin, Cassiollin, Chrysophanol, Dianthronie heteroside, Emodin, Homodianthrone, Islandicin, N-methylmorpholine alkaloid, Physcion, Physcion-l-glycoside, Physcion homodianthrone, Toxalbulmin, Rhein, กรดอะมิโน, น้ำมันหอมระเหย แต่มีงานวิจัย พบสารที่สกัดจากใบและเปลือกของขี้เหล็กเทศ ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยกระตุ้นหัวใจ และฆ่าได้ มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ กระตุ้นลำไส้ ช่วยในการขับถ่าย มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

ลักษณะของต้นขี้เหล็กเทศ

ต้นขี้เหล็กเทศ เป็น พืชล้มลุก อายุยืน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ลักษณะของต้นขี้เหล็กเทศ มีดังนี้

  • ลำต้นของขี้เหล็กเทศ ความสูงไม่เกิน 2 เมตร ลำต้นสีเขียว เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด
  • ใบของต้นขี้เหล็กเทศ เป็นใบประกอบ แบบขนนกปลายคู่
  • ดอกต้นขี้เหล็กเทศ ออกเป็นช่อจะออกตามปลายกิ่ง
  • ผลของต้นขี้เหล็กเทศ มีลักษณะเป็นฝัก ฝักอ่อนเป็นสีเขียว ส่วนฝักแก่เป็นน้ำตาล

สรรพคุณของขี้เหล็กเทศ

การนำเอาขี้เหล็กเทศมาใช้ประโยชน์ทางสมุนไพร ต้องระมัดระวังการใช้งาน เนื่องจากตัวขี้เหล็กเทศ มีพิษ ซึ่งพิษของขี้เหล็กเทศจะเป็นพิษต่อกระเพาะอาหาร ต่อตับ ระบบเลือด หัวใจ ปอดและลำไส้ได้ โดยประโยชน์ของขี้เหล็กเทศ สามารถนำมาใช้ได้ทั้ง เมล็ด เปลือก รากและใบ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • รากของขี้เหล็กเทศ ใช้บำรุงร่างกาย  รักษาแผลในหู เป็นยาเย็นดับพิษร้อนในร่างกาย แก้ไข้มาลาเรีย เป็นยาขับปัสสาวะ ฆ่าเชื้อโรค รักษาโรคทางเดินปัสสาวะและนิ่ว รักษาโรคหนองใน
  • เมล็ดของขี้เหล็กเทศ ใช้บำรุงธาตุ รักษาโรคหัวใจ ใช้ลดความดันโลหิต เป็นยาแก้วิงเวียน รักษาอาการตาบวมแดง เป็นยาแก้ตาแดงตาอักเสบ แก้ไอหอบหืด แก้ร้อนในปาก ยาบำรุงกระเพาะอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาระบบการย่อยอาหารไม่ดี ยาบำรุงกระเพาะอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาระบบการย่อยอาหารไม่ดี
  • เปลือกของขี้เหล็กเทศ ใช้รักษาโรคเบาหวาน รักษาไข้มาลาเรีย รักษาโรคหนองใน
  • ใบของขี้เหล็กเทศ ใช้ แก้ปวดหัว แก้ปวดฟัน รักษาอาการตาบวมแดง เป็นยาแก้ตาแดงตาอักเสบ ยาลดไข้ แก้ไอหอบหืด แก้ร้อนในปาก ยาบำรุงกระเพาะอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาระบบการย่อยอาหารไม่ดี เป็นยาถ่าย ยาระบาย เป็นยาถ่ายพยาธิ รักษาโรคหนองใน เป็นยารักษาโรคผิวหนัง ใช้ทารักษากลากเกลื้อน ผิวหนังพุพอง โรคผิวหนังอักเสบ โรคผิวหนังต่าง ๆ ใช้เป็นยาถอนพิษ ใช้รักษาแมลงสัตว์กัดต่อย

ข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากขี้หล็กเทศ

เนื่องจากขี้เหล็กเทศมีพิษ ซึ่งต้องกำจัดพิษของขีเหล็กเทศก่อน โดยพิษของขี้เหล็กเทศมีโปรตีนที่เป็นพิษ โดยการกำจัดพิษ สามารถทำได้โดยการนำเมล็ดไปคั่วจนเป็นสีน้ำตาลและมีกลิ่นหอมเสียก่อน หากไม่กำจัดพิษ หรือกำจัดพิษไม่หมด จะมีอาการอาเจียนและท้องร่วงอย่างรุนแรง ให้รีบล้างท้องและนำส่งแพทย์โดยด่วน

ขี้เหล็กเทศ ( Coffea senna ) พืชตระกูลถั่ว สมุนไพร ประโยชน์ของขี้เหล็กเทศ สรรพคุณของขี้เหล็กเทศ บำรุงร่างกาย รักษาแผลในหู เป็นยาเย็น แก้ไข้มาลาเรีย ขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะและนิ่ว รักษาโรคหนองใน ลดความดันโลหิต ลักษณะของต้นขี้เหล็กเทศ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove