หนองในเทียม ( Chlamydia infection ) ติดเชื้อแบคทีเรีย คลามัยเดีย ทราโคมาทิส ที่อวัยวะสืบพันธุ์ ทำให้มีลูกยาก อาการมีหนองออกจากอวัยวะเพศ รักษาและป้องกันอย่างไร

โรคหนองในเทียม หนองในเทียม โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคติดต่อ

สาเหตุของหนองในเทียม

สาเหตุของการติดโรคหนองในเทียม เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์กับคนเป็นโรคหนองในเทียมอยู่แล้ว โดยไม่มีการป้องกันการเกิดโรค ซึ่งเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคหนองในเทียม คือ เชื้อแบคทีเรียคลามัยเดียทราโคมาติส ( Chlamydia Trachomatis )  เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้สามารถเจริญเติบโตและแพร่กระจายเชื้อโรคทาง เช่น อวัยวะเพศ ทวารหนัก ปาก หรือ ดวงตา โดยเชื้อโรคจะปะปนมมากับสารคัดหลั่งของมนุษย์ โรคนี้ยังสามารถแพร่จากแม่สู่ลูกได้ เป็นอันตรายสำหรับสตรมีครรภ์

กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสในการติดโรคหนองในเทียม

สำหรับกลุ่มที่มีโอกาสในการเกิดโรคหนองในเทียม คือ กลุ่มวัยรุ่นที่มักไม่มีการป้องกันในการมีเพศสัมพันธ์ กลุ่่มคนที่นิยมเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ รวมถึงเด็กในครรภ์ที่มีแม่มีเชื้อโรคหนองในเทียมในร่างกายเป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคหนองในเทียม

เมื่อร่างกายได้รับเชื้อแบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุของโรคหนองในเทียม เชื้อโรคจะมีระยะในการฟักตัว ภายใน 7 – 21 วัน อาการที่พบของโรคโดยทั่วไป จะมีอาการติดเชื้อในลำคอ เจ็บคอเรื้อรัง หรือ ปวดรูตูด มีน้ำหรือเลือดไหลออกจากตูด เป็นอาการที่แสดงออกมาจากแหล่งที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย หากเข้าทางปาก จะแสดงอาการที่คอ หากเชื้อโรคเข้าทางทวารหนัก ก็จะแสดงอาการทางทวารหนัก แต่อาการของโรคหนองในเทียมจะแสดงอาการแตกต่างกันในชายและหญิง ซึ่งรายละเอียดของการการของโรค มีดังนี้

อาการหนองในเทียมที่เกิดในผู้หญิง

  • มีอาการตกขาวผิดปกติ
  • ปัสสาวะขัดและมีอาการแสบ
  • ปวดท้องน้อย
  • ปวดหลัง
  • คลื่นไส้ อาเจีน
  • มีไข้
  • เลือดออกผิดปกติระหว่างรอบประจำเดือน

อาการหนองในเทียมที่เกิดในผู้ชาย

  • มีสารคัดหลั่งไหลออกมาจากอวัยวะเพศ ลักษณะใสหรือขุ่นข้นๆ
  • ปวดแสบเวลาปัสสาวะ
  • ปัสสาวะขัด
  • คันบริเวณอวัยวะเพศ
  • ปวดอันฑะ
  • ลูกอัณฑะบวม

อาการแทรกซ้อนที่เกิดกับโรคหนองในเทียม

ความอันตรายหนึ่งของโรคหนองในเทียม คือ ภาวะแทรกซ้อนของโรค ซึ่งภาวะแทรกซ้อนนี้มีอาการแตกต่างกันในผู้ชายและผู้หญิง โดย รายละเอียด มีดังนี้

ภาวะแทรกซ้อนในเพศชาย

สำหรับโรคที่เกิดและมีสาเหตุของโรคจากการติดเชื้อหนองในเทียม คือ อัณฑะอักเสบ ติดเชื้อต่อมลูกหมาก ถ้าไม่ทำการรักษาอย่างทันทั่งทีทำให้เป็นหมันได้ โรคข้ออักเสบ โรคหนองในเทียม ทำให้ข้อกระดูกอักเสบ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ตาอักเสบ เช่นเดียวกัน

ภาวะแทรกซ้อนในเพศหญิง

สำหรับโรคที่เกิดและเป็นสาเหตุมาจากการติดเชื้อหนองในเทียม คือ โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ ทำให้เกิดภาวะการมีบุตรยาก เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูก เป็นต้น

การรักษาโรคหนองในเทียม

สำหรับการรักษาโรคหนองในเทียมนั้น สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ โดยให้กินยา Azithromycin ขนาด 1 กรัม ครั้งเดียว  หรือ กินยา Doxy cycline สองครั้ง ในเวลา 7 วัน คำแนะนำไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง ต้องอยู่ในการวินิจฉัยของแพทย์เท่านั้น นอกจากนั้น ต้องรักษาอาการแทรกซ้อนของโรคด้วยตามอาการที่พบ สำหรับคนที่เคยมีประวัติการติดเชื้อหนองในเทียม ต้องเข้ารับการตรวจโรคซ้ำ 90 วันหลังจากรักษาโรคแล้ว

การป้องกันโรคหนองในเทียม

สำหรับสาเหตุหลักของการติดเชื้อโรคหนองในเทียม คือ การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคหนองในเทียม โดยขาดการป้องกันที่ดี โดยการป้องกันการเกิดโรคหนองในเทียม มีรายละเอียดดังนี้

  • การมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอน ที่ไม่ใช้คู่ของตน ต้องสวมถุงยางอนามันป้องกันทุกครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการการเที่ยวกลางคืนและการหลับนอนกับคนที่เราไม่รู้จักโดยไม่มีการป้องกันโรค
  • การใช้ชิวิตร่วมกับผู้ป่วยโรคหนองในเทียม ต้องป้องกันการติดเชื้อ

โรคหนองในเทียม ( Chlamydia infection ) คือ โรคติดต่อจากเชื้อแบคทีเรีย คลามัยเดีย ทราโคมาทิส ทำลายระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง ทำให้มีลูกยาก อาการของโรค คือ มีหนองไหลออกจากอวัยวะสืบพันธ์ การรักษาโรคหนองในเทียม และ การป้องกันโรคทำอย่างไร

ซิฟิลิส ( Syphilis ) เกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียที่ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ปาก เยื่อบุตา แผลตามร่างกาย ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดตามข้อ ผื่นแดง มีตุ่มแดงๆที่อวัยวะเพศโรคซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

โรคซิฟิลิส ติดต่อสู่คนได้อย่างไร โรคซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งเชื้อโรคเข้าสู่เยื่อบุช่องคลอด ท่อปัสสาวะ สามารถติดต่อกันได้ในระยะแรก เพราะว่าในระยะนี้ยังไม่มีอาการให้เห็น และผู้ป่วยจะเริ่มมีหูด ในระยะต่อมา นอกจากการติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ แล้ว ยังพบว่า สามารถติดต่อได้ทางการสัมผัสเชื้อโรคทางการสัมผัสมือ นั่งโถส่วมร่วมกัน ผิวหนังมี่มีแผล และการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก

สาเหตุของโรคซิฟิลิส

  • เชื้อที่เป็นสาเหตุ : เกิดจากเชื้อซิฟิลิส ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า “ทรีโพนีมาพัลลิดุม” (Treponema pallidum) มีลักษณะคล้ายเกลียวสว่าน (Spirochete bacteria) เชื้อชอบอยู่ในที่ที่มีความชื้นและตายได้ง่ายในที่ที่มีความแห้ง และถูกทำลายได้ง่ายด้วยสบู่หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ
  • การติดต่อ : สามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรคซิฟิลิสในระยะที่ 1 และถ้าสัมผัสกับน้ำเหลืองที่ผิวหนังของผู้ที่เป็นโรคซิฟิลิสในระยะที่ 2 (ระยะออกดอก) ก็จะมีโอกาสที่จะรับเชื้อได้เช่นกัน นอกจากนี้เชื้อยังสามารถติดจากแม่ไปสู่ลูกในขณะตั้งครรภ์โดยผ่านทางรกและในขณะคลอดได้ด้วย ส่วนโรคในระยะที่ 3 มักจะเป็นระยะที่ไม่มีการติดต่อ
    • เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเยื่อเมือก เช่น ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ทวารหนัก ช่องปาก เยื่อบุตา หรือเข้าผ่านทางรอยถลอกหรือบาดแผลเล็กน้อยที่ผิวหนัง เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายเชื้อจะเข้าสู่กระแสเลือดและไปจับตามอวัยวะต่าง ๆ ทำให้เกิดโรคตามอวัยวะและทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนในระยะยาว
    • เนื่องจากเชื้อซิฟิลิสเป็นเชื้อที่อ่อนแอและตายได้ง่าย ดังนั้น เชื้อจึงไม่สามารถติดต่อกันได้ผ่านการสัมผัสมือหรือเสื้อผ้า การนั่งโถส้วม การจับลูกบิดประตู การใช้ช้อนส้อม การเล่นในอ่างอาบน้ำหรือสระว่ายน้ำร่วมกัน
  • ระยะฟักตัวของโรค (ตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งเกิดอาการ) : ประมาณ 10-90 วัน (โดยเฉลี่ยคือประมาณ 21 วัน)

อาการของผู้ป่วยโรคซิฟิลิส อาการมี 4 ระยะ คือ Primary Secondary Latent และTertiary

  • อาการระยะแรก(Primary Syphilis) ผู้ป่วยจะเป็นแผลที่ริมแผลแข็ง หลังจากนั้นประมาณไม่เกิน 3 เดือนจะมีตุ่มแดงๆเป็นแผลที่อวัยวะเพศ ไม่เจ็บแต่ขอบแผลจะนูน จะมีอาการต่อมน้ำเหลืองโต แต่กดแล้วไม่เจ็บ ตำแหน่งที่พบแผลบ่อย คือ อวัยวะเพศชาย อัณฑะ ทวารหนัก ช่องคลอด และ ริมฝีปาก แผลจะหายไปเองได้ แต่เชื้อโรคจะยังอยู่ในกระแสเลือด ผู้ป่วยต้องตรวจเลือด
  • อาการในระยะที่ 2(Secondary Syphilis) ภายใน 6 เดือน ผู้ป่วยจะมีอาการต่อมน้ำเหลืองโต ปวดตามข้อ จากสาเหตุข้ออักเสบ มีผื่นสีแดงน้ำตาล ตาม มือ เท้าแต่ไม่คัน มีหูดในบริเวณที่อับชื้นของร่างกาย ผื่นสีเทาจะขึ้นบริเวณปาก คอ และปากมดลูก มีอาการผมร่วง มีไข้ คั้นเนื้อคั้นตัว อาการเหล่านี้จะเป็นๆหายๆ
  • อาการในระยะที่ 3 (Latent Stage) ระยะนี้ผู้ป่วยจะไม่มีอาการของโรคให้เห็น ระยะนี้ผู้ป่วยจะทราบว่าเป็นโรคด้วยการตรวจเลือดเท่านั้น อาการของโรคเหมือนระยะที่สอง
  • อาการในระยะที่ 4 (Late Stage) เชื้อโรคจะเข้าไปทำลายอวัยวะต่างๆของร่างกาย เช่น หัวใจ หลอดเลือด สมอง อาจทำให้ตาบอด และกระดูกหักง่าย ในระยะนี้เป็นระยะที่ไม่มีทางรักษาแล้ว

การตรวจว่าเราติดเชื้อซิฟิลิสหรือไม่ เราสามารถทำได้โดย เอาหนองจากแผลไปตรวจเชื้อ หรือการตรวจเลือด

การรักษาโรคซิฟิลิส

สามารถรักษาได้โดยการให้ยา Penicillin และต้องเข้ารับการตรวจเลือดตามระยะที่หมอกำหนด

  • สำหรับซิฟิลิสในระยะที่ 1 และ 2 แพทย์จะฉีดเบนซาทีนเพนิซิลลิน (Benzathine penicillin) ให้ในขนาด 2.4 ล้านยูนิตเข้ากล้ามเนื้อเพียงครั้งเดียว (สำหรับระยะที่ 2 อาจฉีดซ้ำอีกครั้งในอีก 1 สัปดาห์ต่อมา) แต่ถ้าผู้ป่วยแพ้ยานี้ แพทย์อาจให้รับประทานยาเตตราไซคลีน (Tetracycline) ครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง หรือดอกซีไซคลีน (Doxycycline) ครั้งละ 100 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง นาน 15 วัน แต่ถ้ารับประทานยาเตตราไซคลีนไม่ได้ แพทย์จะให้รับประทานยาอิริโทรมัยซิน (Erythromycin) ในขนาดเดียวกันแทน นาน 15 วัน
  • สำหรับซิฟิลิสในระยะแฝง (เป็นมานานมากกว่า 2 ปี ตั้งแต่เริ่มเป็นแผลริมแข็ง) หรือแผลซิฟิลิสเรื้อรัง หรือซิฟิลิสเข้าระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular syphilis) แพทย์จะฉีดเบนซาทีนเพนิซิลลิน (Benzathine penicillin) ให้ครั้งละ 2.4 ล้านยูนิตเข้ากล้ามเนื้อ เป็นจำนวน 3 ครั้ง โดยฉีดห่างกันทุก 1 สัปดาห์ แต่ถ้าผู้ป่วยแพ้ยานี้ แพทย์จะให้รับประทานยาเตตราไซคลีน (Tetracycline), ดอกซีไซคลีน (Doxycycline) หรืออิริโทรมัยซิน (Erythromycin) ในขนาดดังกล่าวข้างต้นแทน นาน 30 วัน
  • ในรายที่เป็นซิฟิลิสเข้าระบบประสาท (Neurosyphilis) แพทย์จะให้การรักษาโดยการฉีดเพนิซิลลินจี (Penicillin G) ให้ในขนาด 2-4 ล้านยูนิต เข้าหลอดเลือดดำ ทุก 4 ชั่วโมง นาน 14 วัน แต่ถ้าผู้ป่วยแพ้ยานี้ แพทย์จะให้รับประทานยาดอกซีไซคลีน (Doxycycline) แทน โดยให้รับประทานครั้งละ 300 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง นาน 30 วัน
  • สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคซิฟิลิส แพทย์จะให้การรักษาตามระยะของโรคเหมือนผู้ป่วยทั่วไป ถ้าผู้ป่วยแพ้ยาเพนิซิลลิน แพทย์จะให้รับประทานยาอิริโทรมัยซิน (Erythromycin) แทน โดยให้รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง นาน 30 วัน
  • สำหรับซิฟิลิสแต่กำเนิด แพทย์จะให้การรักษาโดยการฉีดเพนิซิลลินจี (Penicillin G) ให้ในขนาดวันละ 50,000 ยูนิต/กิโลกรัม โดยแบ่งให้วันละ 2 ครั้ง นาน 10 วัน

การป้องกันโรคซิฟิลิส

สำหรับการป้องกันโรคซิฟิลิส สามารถทำได้โดย การรักษาสุขอนามัย ป้องกันไม่ให้แผลตามร่างกายติดเชื้อ และใช้ถุงยางอนามัยป้องกันการติดเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์ วิธีที่ดีที่สุดคือการไม่มีเพศสัมพันธ์ หรือมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนเพียงคนเดียว และทราบผลเลือดของคู่นอนด้วยว่าปกติ ไม่ติดเชื้อ

  • คู่นอนควรจะต้องแจ้งถึงสถานะการติดเชื้อเอชไอวีหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ รวมทั้งซิฟิลิส เพื่อจะได้ป้องกันการติดเชื้อ
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และใช้สารเสพติด เพราะจะทำให้ขาดสติและเพิ่มการมีเพศสัมพันธ์แบบเสี่ยงได้
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรคซิฟิลิส
  • หลีกเลี่ยงการเที่ยวหรือการสำส่อนทางเพศ และถ้าจะหลับนอนกับคนที่สงสัยว่าเป็นโรค ควรป้องกันการติดเชื้อโดยสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ซึ่งจะช่วยป้องกันได้เกือบ 100%
  • แผลของอวัยวะเพศ เช่น ซิฟิลิส เกิดได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ทั้งที่ถุงยางครอบถึงหรือไม่ถึงได้ การใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซิฟิสได้
  • การใช้ถุงยางอนามัยที่มีสารฆ่าเชื้ออสุจิ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Nonoxynol-9 นั้นไม่ได้ผลดีไปกว่าถุงยางที่ไม่มีสารชนิดนี้ในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จึงไม่แนะนำให้ใช้ถุงยางอนามัยที่มีสารชนิดนี้เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมทั้งซิฟิลิสไม่สามารถป้องกันได้ด้วยการล้างอวัยวะเพศ การปัสสาวะ หรือสวนล้างช่องคลอดทันทีหลังการมีเพศสัมพันธ์
  • ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศและร่างกายอยู่เสมอ รักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้ดีโดยการปฏิบัติตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและช่วยลดโอกาสการติดเชื้อต่าง ๆ
  • ไปพบแพทย์เสมอเมื่อมีอาการดังกล่าว อย่ารักษาด้วยตัวเอง หรือไปพบแพทย์เมื่อมีความกังวลในอาการหรือสงสัยว่าตนเองอาจติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งรวมถึงซิฟิลิส

โรคซิฟิลิส ( Syphilis ) ติดเชื้อแบคทีเรียที่ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ปาก เยื่อบุตา แผลตามร่างกาย ส่งผลให้เกิดอาการต่อมน้ำเหลืองโต ปวดตามข้อ ผื่นแดง มีตุ่มแดงๆเป็นแผลที่อวัยวะเพศ เมื่อเชื้อโรคจะเข้าสู่กระแสเลือด สามารถทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนมากมาย โรคซิฟิลิส มี 4 ระยะ คือ Primary Secondary Latent และ Tertiary


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove