แอสเปอร์จิลโลซิส เชื้อราจากสัตว์ปีก ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีไข้ ไอมีเสมหะ น้ำมูกเหม็น ปอดอักเสบ แนวทางการการรักษาโรคและการป้องกันทำอย่างไร

แอสเปอร์จิลโลซิส โรคติดเชื้อ โรคทางเดินหายใจ

แอสเปอร์จิลโลซิส ( Aspergillosis )  คือ โรคติดเชื้อจากเชื้อราแอสเปอร์จิลลัส ฟูมิกาตัส ( Aspergillus fumigatus ) ซึ่งคือสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่ต้องการออกซิเจนสูงมาก พบในบริเวณที่มีออกซิเจนมากเกือบทั้งหมดโดยทั่วไปเจริญเป็นเส้นใยราบนผิวของอาหารที่มีคาร์บอนมาก เช่น กลูโคส อะไมโลส Aspergillus พบปนเปื้อนในอาหารที่มีแป้ง เช่น ขนมปังและมันฝรั่งและเจริญบนต้นไม้ แอสเปอร์จิลโลซิส พบว่ามีการระบาดสู่คน ครั้งแรกปี พ ศ. 2390 ปัจจุบันโรคนี้มีอัตราการเกิดโรคสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการต่างๆที่ระบบทางเดินหายใจ

ประวัติความเป็นมาของแอสเปอร์จิลโลซิส

แอสเปอร์จิลโลซิส ( Aspergillosis ) เป็นโรคสัตว์ที่เกิดจากเชื้อรา โดยมีรายงานการแพร่ระบาดของโรคครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2358 ในปอดของนกตะขาบ ( Carvus glandarius ) และมีรายงานการพบเชื้อโรคในคนครั้งแรกในปี พ ศ. 2390 ต่อมาในปี พ.ศ. 2440 ก็มีรายงานการเกิดโรคนี้ในผู้ป่วยวัณโรค 6 ราย ซึ่งในปัจจุบันโรคนี้มีอัตราการเกิดโรคสูงขึ้นเรื่อยๆ

สาเหตุของการติดเชื้อแอสเปอร์จิลโลซิส

โรคแอสเปอร์จิลโลซิสเกิดจากการติดเชื้อราแอสเปอร์จิลลัส ฟูมิกาตัส ( Aspergillus fumigatus ) เป็นเชื้อโรคที่พบในสัตว์ปีก คือ นก เกิดการระบาดสู่คนผ่านการหายใจ  ซึ่งการระบาดของโรคจากสัตว์สู่คนนั้น เนื่องจากเชื้อโรคชนิดนี้เป็นเชื้อโรคที่ต้องการออกซิเจนสูง จึงทำให้ร่างกายของผู้ติดเชื้อเกิดภาวะขาดออกซิเจน จึงต้องการเครื่องช่วยหายใจเพื่อป้องกันภาวะการหายใจล้มเหลว

อาการของโรคแอสเปอร์จิลโลซิส 

สำหรับโรคแอสเปอร์จิลโลสิสนั้นจะแสดงอาการที่ระบบทางเดินหายใจ หายใจติดขัด ไอ และ มีเสมหะ ทำให้ปอดอักเสบ โดยลักษณะของอาการโรคนี้มี 3 ลักษณะ ประกอบด้วย การแพ้เชื้อรา แบบก้อนเชื้อรา แบบทำลายปอดเรื้อรัง และ แบบลุกลาม โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • อาการแบบแพ้เชื้อรา ( ABPA ) เป็นปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายต่อการยึดครองพื้นที่ในทางเดินหายใจของเชื้อ Aspergillus fumigatus มักเกิดในผู้ป่วยที่เป็นโรคทางเดินหายใจอยู่ก่อน เช่น โรคซิสติคไฟโบรสิส (cystic fibrosis) หรือผู้ป่วยโรคหอบหืด (asthma) อาการ คือ มีไข้ ไอ เสมหะเหนียวอุดหลอดลม เอ็กซเรย์พบฝ้าในปอด บางรายมีอาการไอเป็นเลือด บางคนมีอาการคัดจมูกเรื้อรัง น้ำมูกเป็นหนองปนเลือด มีกลิ่นเหม็น แบบไซนัสอักเสบเรื้อรัง ไม่ดีขึ้นแม้จะรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
  • อาการแบบก้อนเชื้อรา ( aspergilloma )  เป็นเชื้อราที่รวมตัวกันเป็นก้อนอยู่ภายในปอด มักเกิดในปอดที่มีโพรงของถุงลมอยู่ก่อน ก้อนของเชื้อราจะอยู่ภายในโพรงถุงลม กลิ้งไปมาได้ภายในโพรง ในระยะแรกจะไม่มีอาการ อาจตรวจพบโดยบังเอิญจากการเอ็กซเรย์ ต่อมาจึงจะมีอาการไอเป็นเลือด และมักออกมาเป็นจำนวนมากจนถึงขั้นเสียชีวิต
  • อาการแบบทำลายปอดเรื้อรัง ( chronic necrotizing pulmonary aspergillosis, CNPA ) มักพบในผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง ( COPD ) ที่ต้องพึ่งยาสเตอรอยด์ ผู้ป่วยที่ติดสุรา อาการคือมีไข้ ไอ หอบ เจ็บหน้าอก เป็นสัปดาห์ถึงเดือน เสมหะมีเลือดปนหนอง น้ำหนักลด เอ็กซเรย์พบมีปอดอักเสบหรือเป็นฝีในปอด แต่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะโดยทั่วไป
  • อาการแบบลุกลาม ( invasive aspergillosis ) มักพบในผู้ป่วยที่มีระดับเม็ดเลือดขาวในเลือดต่ำ เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะและต้องรับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยที่เป็นลูคีเมีย มะเร็งของต่อมน้ำเหลือง เชื้อแอสเปอร์จิลลัสจะลุกลามจากปอดเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้มีไข้สูง หนาวสั่น ไอเป็นเลือด หายใจเร็ว หอบ เขียว และเกิดการติดเชื้อของอวัยวะต่าง ๆ ได้ทั่วรางกาย ในรายที่เริ่มเป็นที่ไซนัส เมื่อเชื้อลุกลามจะมีการทำลายกระดูกบริเวณใบหน้า ทำให้เจ็บปวด มีเลือดออกจากจมูก

การรักษาโรคแอสเปอร์จิลโลซิส

สำหรับแนวทางการรักษาโรคแอสเปอร์จิลโลซิส สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ คือ Voriconazole , Posaconazole , Amphothericin B , Itraconazole และ Caspofungin แต่โรคแอสเปอร์จิลโลสิสหากเป็นแบบก้อนเชื้อราผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการของโรค แต่หากแสดงอาการจะเกิดอาการไอเป็นเลือด หากรักษาไม่ทันอาจทำให้เสียชีวิตได้

การป้องกันโรคแอสเปอร์จิลโลซิส

สำหรับแนวทางการป้องกันการเกิดโรคแอสเปอร์จิลโลซิส นั้นส่วนสำคัญคือ การลดปัจจัยเสี่ยงในการรับเชื้อโรค และหากจำเป็นต้องอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคต้องสวนเครื่องป้องกัน โดยแนวทางการป้องกันมีดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค
  • ใส่ผ้าปิดจมูกกันฝุ่นละอองเมื่อต้องอยู่ในพื้นที่เสี่ยงในการมีเชื้อโรค
  • หากมีประวัติการแพ้เชื้อราควรหลีกเลี้ยงการทำงานใกล้กับสัตว์ปีก
  • ควรงดทำงานในวันที่ร่างกายอ่อนแอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

วัณโรค Tuberculosis การติดเชื้อแบคทีเรีย ร้อยละ 80 ติดเชื้อที่ปอด อาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เบื่ออาหาร ต้องรับการรักษาอย่างถูกวิธี การป้องกันโรคทำอย่างไรวัณโรค โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ โรคทางเดินหายใจ

วัณโรคเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนบนโลกสูงสุด 10 อันดับแรก ข้อมูลจากสถิติขององค์กรอนามัยโรค เมื่อปี 2558 ซึ่งสถานการณ์วัณโรคในประเทศไทยไม่ใช่สาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยในลำดับต้นๆ ปัจจุบันวัณโรคเป็นโรคพบบ่อยในกลุ่มผู้ป่วยโรคเอดส์ เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่บกพร่องจะทำให้เชื้อวัณโรคสามารถติดได้ง่าย

สาเหตุของการเกิดวัณโรค

วัณโรคเกิดติดเชื้อแบคที่เรียไมโครแบคทีเรียมทูเบอร์คูโลซิส ( Mycobacterium tuberculosis ) เชื้อวัณโรคสามารถเกิดได้ในทุกอวัยวะของร่างกาย แต่ส่วนมากร้อยละ 80 ของผู้ป่วยวัณโรคพบจากการติดเชื้อที่ปอด และ การติดเชื้อที่ปอด สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆได้ เช่น เยื้อหุ้มปอด ต่อมน้ำเหลือง กระดูกสันหลัง ข้อต่อ ช่องท้อง ระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบสืบพันธุ์ ระบบประสาท เป็นต้น

กลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรค

  • ผู้อาศัยร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรค
  • ผู้ป่วยเบาหวาน
  • ผู้ติดเชื้อ HIV
  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้สูบบุหรี่

อาการของวัณโรค

สำหรับลักษณะการแสดงอาการของวัณโรค เราสามารถแบ่งอาการได้ 2 ลักษณะ คือ อาการของผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรค และ อาการของวัณโรคปอด โดยรายละเอียดของโรค มีดังนี้

  • อาการของผู้ป่วยวัณโรค จะมีอาการไข้สูง เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ครั่นเนื้อครั่นตัว เหงื่อออกกลางคืน เม็ดเลือดขาวจะต่ำลงในผู้ป่วยบางรายจะมีภาวะโลหิตจาง
  • อาการของวัณโรคปอด ลักษณะอาการไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ แต่หากไม่รักษา จะมีอาการอักเสบมมากขึ้น และเชื้อโรคจะเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อทำให้มีเสมหะ ไอเป็นเลือด

ระยะของวัณโรค

สำหรับอาการของวัณโรค สามารถแบ่งได้ 2 ระยะ คือ วัณโรคระยะแฝง และ วัณโรคระยะแสดงอาการ เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อวัณโรค เชื้อโรคนั้นจะพัฒนาตัวเองอย่างช้า ๆ ใช้เวลาหลายวัน โดยอาการในระยะทั้งสองมี ดังนี้

  • วัณโรคระยะแฝง ( Latent TB ) ในระยะนี้ เมื่อผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อโรค จะไม่แสดงอาการให้เห็น แต่หากเชื้อโรคถูกกระตุ้น ก็จะเกิดอาการ ทั้งนี้ผู้ป่วยสามารถตรวจหาเชื้อได้ หากพบว่ามีเชื้อวัณโรคแฝงในร่างกาย แพทย์จะทำการรักษาเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโรค และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคที่จะเข้าสู่ในระยะแสดงอาการ
  • วัณโรคระยะแสดงอาการ ( Active TB ) ในระยะนี้จะเกิดอาการต่าง ๆ ที่เห็นได้ชัดเจน เช่น ไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก หรือรู้สึกเจ็บเวลาหายใจ อ่อนเพลีย มีไข้สูง หนาวสั่น เหงื่อออกตอนกลางคืน น้ำหนักลด และเบื่ออาหาร

อาการของวัณโรคนั้น จะแสดงอาการที่ปอด แต่เชื้อโรคสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ เช่น ทำให้เกิด วัณโรคกระดูก วัณโรคเยื่อหุ้มสมอง เป็นต้น

การรักษาวัณโรค

สำหรับแนวทางการรักษาวัณโรคในปัจจุบัน มียารักษาโรคที่มีประสิทธิภาพสูงรักษาให้หายขาดได้ แต่มีโอกาสในการเกิดซ้ำได้ แนวทางการรักษาวัณโรค มีดังนี้

  1. รักษาด้วยการใช้ยารักษาโรค ซึ่งมียา 3 ชนิดที่สามารถใช้รักษาวัณโรคได้ แต่ผู้ป่วยต้องทานยาติดต่อกัน 1-2 ปี ตัวยานี้ คือ เสตรพโตไมซิน พาราแอมมิโนซาลิคไซเลทแอซิด และไอโซไนอาซิค
  2. การผ่าตัด ประสาทกระบังลม ให้ปอดได้พักผ่อน การผ่าตัดเป็นสาเหตุให้ปอดที่มีแผลหายเร็วขึ้น กระบังลมก็จะทำงานเป็นปกติอีกครั้ง
  3. การทำนิวโมโทแรกซ์ ( Pneumothorax ) คือ การฉีดอาการเข้าไปในช่องปอดที่อยู่ระหว่างปอดและผนังทรวงอก
  4. การตัดซี่โครงบางส่วนออก เพื่อทำให้ปอดที่ติดเชื้อวัณโรคแฟบลงอย่างถาวร
  5. การพักผ่อนให้มากและทานอาหารที่มีประโยชน์บำรุงร่างกาย เช่น อาหารประเภท นม ไข่ ผลไม้และผักต่างๆ อาหารสมุนไพร อาหารสุขภาพ

การป้องกันวัณโรค

แนวทางการป้องกันการเกิดวัณโรคที่สำคัญ ต้องป้องกันการรับเชื้อโรคจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ซึ่งแนวทางการป้องกันวัณโรค มีดังนี้

  1. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  2. รับการฉีดวัคซีน BCG เพื่อป้องกันการติดเชื้อวัณโรค ซึ่งเป็นวัคซีนสำหรับทารกแรกเกิด
  3. หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค เช่น การส่ำส่อนทางเพศ เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอดส์ เพราะจะทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายเสื่อมลง มีโอกาสที่จะป่วยเป็นวัณโรค จะได้รีบรักษาก่อนที่จะลุกลามมากขึ้น
  4. หากจำเป็นต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคให้สวมหน้ากากอนามัยป้องกันการติดเชื้อโรค

วัณโรค ( Tuberculosis ) โรคติดต่อจากเชื้อแบคทีเรีย ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยติดเชื้อที่ปอด อาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เบื่ออาหาร ต้องรับการรักษาอย่างถูกวิธี แนทางการรักษาและป้องกันโรค ทำอย่างไร

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove