ขิง Ginger สมุนไพร ความต้องการของตลาดสูง นิยมนำขิงมาทำอาหาร สรรพคุณของขิง เช่น ช่วยขับเหงื่อ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร โทษของขิงมีอะไรบ้าง

ขิง สมุนไพร พืชสวนครัว สรรพคุณของขิง

ต้นขิง ภาษาอังกฤษ เรียก Ginger เป็นพืชที่พบได้ในทั่วทุกภาคของประเทศไทย ขิงมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า zingiber offcinale Roscoe ชื่ออื่นๆของขิง เช่น ขิงแครง ขิงเขา ขิงบ้าน ขิงป่า ขิงดอกเดียว ขิงแดง ขิงแกลง ขิงเผือก เป็นต้น ขิงไม่ได้เป็นเพียง สมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อการปรับสมดุลร่างกาย เท่านั้น แต่ยัง ช่วยแก้ปวดท้อง วิงเวียนศีรษะได้ด้วย

เหง้าขิง มีความต้องการของตลาดสูงมาก นิยมนำมาทำเป็นวัตถุดิบประกอบอาหาร ใช้ในอุตสาหกรรมความงาม อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป ถือเป็นยาจากธรรมชาติ ที่ให้ทั้งประโยชน์ และ บรรเทาเยียวยาอาการต่างๆได้ เรามักนิยมใช้ ขิงแก่ เพราะ ยิ่งแก่จะยิ่งให้ความเผ็ดร้อน จึงมี สรรพคุณทางยา ที่มากกว่า ขิงอ่อน และยัง มีใยอาหาร มากขึ้นตามไปด้วย แต่เนื่องจาก ขิงมีรสเผ็ด มี คุณสมบัติอุ่น จึงไม่เหมาะกับผู้ที่มีความร้อนภายในร่างกายอยู่แล้ว เช่น ผู้ที่เหงื่อออกมาก เหงื่อออกเวลากลางคืน ตาแดง หรือ มีไฟในตัวมากกว่าปกติ แต่ถ้าจะรับประทาน ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ

ลักษณะของต้นขิง

ต้นขิง พืชล้มลุก มีเหง้าลักษณะคล้ายมือ เปลือกเหง้าจะมีสีเหลืองอ่อน ขิงเป็นพืชชนิดเดียวกันกับ ข่า ขมิ้น ซึ่งขิงมีรสเผ็ดและกลิ่นหอม แต่ผลยิ่งแก่จะมีรสเผ็ดร้อนมากขึ้น ลักษณะของต้นขิง มีดังนี้

  • เหง้าขิง อยู่ใต้ดินเป็นข้อๆ เนื้อในสีขาว หรือเหลืองอ่อน ปลายสุดของข้อจะเป็นที่แทงยอด หรือลำต้นเทียม ลำต้นสูงพ้นพื้นดินขึ้นมา 50-100 เซนติเมตร  มีกาบ หรือโคนใบหุ้ม
  • ใบขิง เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันเป็นสองแถว ใบรูปหอก ปลายใบสอบเรียวแหลม โคนใบสอบแคบ และจะเป็นกาบหุ้มลำต้นเทียม
  • ดอกชิง ลักษณะเป็นช่อทรงกระบอก แทงขึ้นมาจากเหง้า กลีบดอกสีเหลืองอมเขียว อุ้มน้ำ และหลุดร่วงไว โคนกลีบดอกม้วนห่อ ส่วนปลายกลีบผายกว้างออก ใบประดับสีเขียว มีแต้มแดงตรงโคน ดอกเกสรผู้มี 6 อัน ผลแห้ง แข็ง มี 3 พู

คุณค่าทางโภชนาการของขิง

สำหรับการรับประทานขิงเป็นอาหารนิยมใช้เหง้าขิง ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเหง้าขิง ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 25 กิโลแคลอรี่ และมี สารอาหารสำคัญที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ประกอบด้วย โปรตีน 0.4 กรัม คาร์โบไฮเดรท 4.4 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม กากใยอาหาร 0.8 กรัม ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม แคลเซียม 18 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม เบต้า-คาโรทีน 10 ไมโครกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม ไธอะมีน 0.02 มิลลิกรัม ไนอะซีน 1 มิลลิกรัม และไลโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม

สารสำคัญในขิงมี Gingerol  Shogaol และ Diarylheptanoids  มีสรรพคุณต้านการอาเจียน และ ช่วยขับลม น้ำมันหอมระเหยของขิง มี Menthol  Cineole มีสรรพคุณลดอาการจุกเสียด แน่นท้อง

สรรพคุณของขิง

การใช้ประโยชน์จากขิง ในด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย นิยมนำ เหง้าขิง หรือ หัวขิง มาใช้ประโยชน์โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เหง้าขิง รสหวานเผ็ดร้อน ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน แก้หอบไอ ขับเสมหะ แก้บิด และยังเป็นสารสำคัญในน้ำมันหอมระเหย จะออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ใช้เหง้าแก่ทุบหรือบดเป็นผง ชงน้ำดื่ม แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ เหง้าสด ตำคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำมะนาว เติมเกลือเล็กน้อย จิบแก้ไอ ขับเสมหะ
  • ต้นขิง รสเผ็ดร้อน ขับลมให้ผายเรอ แก้จุกเสียด แก้ท้องร่วง
  • ใบขิง รสเผ็ดร้อน บำรุงกำเดา แก้ฟกช้ำ แก้นิ่ว แก้ขัดปัสสาวะ แก้โรคตา ฆ่าพยาธิ
  • ดอกขิง รสเผ็ดร้อน แก้โรคประสาทซึ่งทำให้ใจขุ่นมัว ช่วยย่อยอาหาร แก้ขัดปัสสาวะ
  • รากขิง รสหวานเผ็ดร้อนขม แก้แน่น เจริญอาหาร แก้ลม แก้เสมหะ แก้บิด
  • ผลขิง รสหวานเผ็ด บำรุงน้ำนม แก้ไข้ แก้คอแห้ง เจ็บคอ แก้ตาฟาง เป็นยาอายุวัฒนะ
  • แก่นขิง ฝนทำยาแก้คัน

โทษของขิง

เนื่องจากขิง เป็น สมุนไพร ซึ่ง สรรพคุณของขิง คือ มีฤทธ์ร้อน ทำให้ร่างกายอบอ่อน ไม่ควรกินสุรา หรือ เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ ร่วมกับขิง และ ในคนที่ป่วย หรือ มีอุณหภูมิร่างกายสูง การกินขิงอาจทำให้ร่างกายร้อนขึ้น

  • เนื่องจากขิงมีรสเผ็ด มีคุณสมบัติอุ่น จึงไม่เหมาะกับผู้ที่มีความร้อนภายในร่างกายอยู่แล้ว เช่นผู้ที่เหงื่อออกมาก เหงื่อออกเวลากลางคืน ตาแดง หรือมีไฟในตัวมากกว่าปกติ แต่ถ้าจะรับประทานควรระมัดระวังเป็นพิเศษ
  • ขิงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนสำหรับสตรีมีครรภ์
  • ขิง ทำให้เกิดแผลร้อนในภายในปากได้ สามารถเยื่อบุภายในช่องปากเกิดการอักเสบจนร้อนในได้
  • ขิง มีสพพรคุณช่วยยับยั้งการแข็งตัวของเลือด หากมีอาการเลือดออกผิดปกติ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานขิง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

มะระ ( Bitter melon ) พืชรสขม สรรพคุณหลากหลาย สมุนไพรในครัวเรือน ลักษณะของต้นมะระเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะระ  เช่น ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลม โทษของมะระ มีอะไรบ้าง

มะระ สมุนไพร สรรพคุณของมะระ พืชสวนครัว

ต้นมะระ ภาษาอังกฤษ เรียก Bitter melon ซึ่งชื่อวิทยาศาสตร์ของมะระ คือ Momordica charantia L. และ ชื่อเรียกอื่นๆของต้นมะระแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น เช่น  ผักเหย ผักไห มะร้อยรู มะห่อย มะไห่ สุพะซู สุพะเด เป็นต้น

มะระขึ้นชื่อในเรื่องของความขม ความขมของมะระมาจากสาร Momodicine ซึ่งสารชนิดนี้ มีประโยชน์ช่วยกระตุ้นความรู้สึกอยากกินอาหาร ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย และเป็นยาระบายอ่อนๆ แต่การรับประทานมะระไม่ควรรับประทานมะระสุก เนื่องจากอาจทำให้อาเจียนได้ มะระอยู่คู่กับสังคมและครัวเรือนของท้องถิ่นไทยมาอย่างช้านาน เป็นพืชตระกูลเดียวกับ ฟัก แตงกวาและบวบ นิยมนำผลดิบมารับประทานเป็นอาหาร หลากหลาย เช่น แกงจืดมะระหมูสับ ทานเป็นผักสดกับน้ำพริก เป็นต้น

มะระในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย มะระเป็นพืชท้องถิ่นทั่วไป นิยมปลูกตามรั่วบ้าน นำมาประกอบอาหาร โดยนิยมรับประทาน ผลมะระ และ ยอดอ่อนมะระ มะระปลูกมากในภาคเหนือ แต่ก็สามารถพบได้ทั่วไปในทุกภูมิภาคของประเทศไทย ซึ่งมะระที่นิยมปลูกในประเทศไทย มีอยู่ 2 สายพันธ์ คือ มะระขี้นก และ มะระจีน รายละเอียดของมะระแต่ละสายพันธ์ มีดังนี้

  • มะระขี้นก ผลขนาดเล็ก ให้รสชาติขมมาก นิยมนำมารับประทานผลมะระขี้นกเป็นผักสด
  • มะระจีน ผลขนาดใหญ่ สีเขียว ผิวเรียบเป็นมันลักษณะผิวเป็นร่องไม่เรียบ ให้เนื้อผลมาก นิยมนำมาทำอาหารหลากหลายเมนูอาหาร เช่น ต้มจืด ผัดมะระ รวมถึงรับประทานผลเป็นผักสด

ลักษณะของต้นมะระ

ต้นมะระ เป็นพืชล้มลุก ลักษณะเป็นเถาไม้เลื้อย ตระกูลเดียวกับแตงกวา อายุของมะระเพียงหนึ่งปี สามารถขยายพันธุ์ โดยการเพาระเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นมะระมีดังนี้

  • ลำต้นของมะระ ลักษณะเป็นเถา ลำต้นกลม สีเขียว มีขนอ่อนๆ ลำต้นมะระจะเกาะตามหลัก ต้นไม้หรือเสา โดยมีรากออกมาตามข้อของลำต้นช่วยในการเกาะจับหลัก
  • ใบของมะระ เป็นใบเดี่ยว สีเขียว ลักษณะใบหยาบมีขนอร่อยๆ ใบเป็นแฉกเว้าลึก 5 แฉก โคนใบกลม ก้านใบยาว
  • ดอกของมะระ ออกดอกเป็นช่อ ลักษณะดอกเดี่ยวออกดอกตามซอกใบ กลีบดอกเป็นสีเหลือง รูปทรงดอกคล้ายรูประฆัง
  • ผลของมะระ ลักษณะยาวรี ผิวเปลือกบาง เรียบ ลักษณะผลเป็นผิวขลุกขละ เป็นหลุมเป็นร่องยาว ผลมีเนื้อหนา ฉ่ำน้ำ ผลดิบมีสีเขียว ส่วนผลสุกจะมีสีแดง
  • เมล็ดมะระ อยู่ในผลมะระ มีเม็ดจพนวนมากในผลมะระ ลักษณะเมล็ดจะแบนรี ปลายเมล็ดแหลมทั้งสองด้าน

คุณค่าทางโภชนาการของมะระ

มะระมีสารฟีนอลหลายชนิด เช่น กรดแกลลิก ( Gallic Acid ) กรดคาเฟอิก ( Caffeic Acid ) และคาเทชิน ( Catechin ) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันจุดด่างดำตามผิวหนังได้

ผลมะระจีน มีสารสำคัญหลายชนิด เช่น แคแรนทิน ( charantin ) โพลีเปปไทด์ พี ( p-insulin ) และ วิซิน ( vicine ) ซึ่งมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด

รสขมของมะระ มาจากสารเคมี ที่มีชื่อว่า Momodicine สารชนิดนี้ มีประโยชน์ช่วยกระตุ้นความรู้สึกทำให้อยากกินอาหาร ช่วยให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารทำงานได้มีประสิทธิภาพ เป็นยาระบายอย่างอ่อนๆ

สำหรับมะระ นิยมรับประทานมะระส่วนของผลสด ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลมะระ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน มากถึง 17 กิโลแคลอรี และมีสารอาหารสำคัญมากมายหลากหลาย ประกอบด้วย กากใยอาหาร 2.8 กรัม โปรตีน 1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 3.7 กรัม ไขมัน 0.17 กรัม วิตามินเอ 380 มิลลิกรัม วิตามินB1 0.04 มิลลิกรัม วิตามินB2 0.4 มิลลิกรัม วิตามินB3 0.4 มิลลิกรัม วิตามิน B5 0.212 มิลลิกรัม วิตามินB6 0.043 มิลลิกรัม วิตามินซี 84 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.8 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 19 มิลลิกรัม ธาตุทองแดง 0.034 ไมโครกรัม ธาตุเหล็ก 0.43 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 17 มิลลิกรัม แมงกานีส 0.089 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 31 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 296 ไมโครกรัม และ โซเดียม 5 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะระ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะระ ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ผลมะระ เถามระร เมล็ดมะระ รากมะระ ใบมะระ สรรพคุณของมะระ มีดังนี้

  • รากของมะระ สรรพคุณช่วยบำรุงร่างการ ช่วยสมานแผล แก้ริดสีดวงทวาร รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ แก้อาการปวดท้อง
  • เถาของมะระ สรรพคุณช่วยทำให้ร่างกายเย็น ลดความร้อนในร่างกาย แก้ปวดท้อง
  • เมล็ดของมะระ สรรพคุณช่วยขับพยาธิตัวกลม ช่วยปรับสมดุลของธาตุในร่างกาย
  • ใบสดของมะระ สรรพคุณช่วยห้ามเลือด บำรุงเลือด เป็นยาระบายอ่อน ช่วยเจริญอาหาร แก้กระหายน้ำ ช่วยรักษาหวัด รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลดอาการฟกช้ำ แก้ผดผื่นคัน
  • ใบแห้งของมะระ สรรพคุณช่วยขับพยาธิ ช่วยขับลม
  • ผลสดของมะระ สรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ป้องกันมะเร็ง บำรุงสายตา บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยขับเสมหะ เป็นยาระบายอ่อน บำรุงน้ำดี  แก้ปากเปื่อย
  • ผลแห้งของมะระ สรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง รักษาแผล แก้คัน
  • ผลสุกของมะระ สรรพคุณช่วยรักษาสิว

โทษของมะระ

สำหรับการรับประทานมะระเป็นอาหาร ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย แต่การรับประทานหรือใช้มะระเป็นยารักษาโรค มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้

  • ผลสุกมะระ มีสารซาโปนิน ( Saponin ) มีความเป็นพิษต่อร่างกาย ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นพิษต่อร่างกาย
  • มะระมีสรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่รับประทานยาลดน้ำตาลในเลือด ร่วมกับรับประทานผลมะระอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้ร่างกายเกิดภาวะร่างกายขาดน้ำตาล ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย
  • สตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทานมะระ เนื่องสารเคมีในผลหรือเมล็ด อาจทำให้มีเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งอาจทำให้แท้งได้

การเลือกซื้อมะระ

การเลือกซื้อมะระที่ให้ความขมไม่มาก ควรเลือกผลที่มีสีเขียวอ่อน อวบ และมีลายห่าง ๆ เพราะ จะขมน้อยกว่าผลที่มีสีเขียวเข้มและลายถี่ และก่อนนำมะระไปปรุงอาหาร ให้ผ่าแล้วเอาเมล็ดและไส้ในออกจนหมด จากนั้นหั่นแล้วนำไปแช่น้ำเกลือสักพัก จะช่วยให้มะระลดความขมลงได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove