ยอ พืชพื้นบ้าน สรรพคุณมากมาย นิยมใช้ประโยชน์จากลูกยอ ใบยอ ต้นยอเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของยอ เช่น ช่วยขับประจำเดือน ช่วยขับลม โทษของยอ มีอะไรบ้างต้นยอ ลูกยอ สมุนไพร สรรพคุณของยอ

ต้นยอ ชื่อภาษาอังกฤษ คือ Indian Mulberry ชื่อวิทยาศาสตร์ของยอ คือ Molinda Critiforia Linn คุณค่าทางโภชานการของยอ และ สรรพคุณของยอ ประกอบด้วย ขับประจำเดือน ดูแลช่องปากเหงือกและฟัน ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม ยาระบาย รักษาริดสีดวงทวาร ลดไข้ แก้อาจียน แก้ท้องผูก แก้ปวดข้อ(โรคเก๊าท์) บำรุงหัวใจ บำรุงสายตา รักษาแผลเรื้อรัง แก้วัณโรค บำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร แก้เสียงแหบ แก้ร้อนใน

ต้นยอ มีชื่อภาษาอังกฤษ ว่า Great Morinda,Indian Mulberry ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Molinda Critiforia Linn ชื่อเรียกอื่นๆ ของยอ เช่น ยอแย่ใหญ่ ตาเสือ มะตาเสือ ยอบ้าน เป็นต้น ลูกยอ คือ สมุนไพรไทยชนิดหนึ่ง มีชื่อเรียก พื้นบ้านว่า ยอบ้าน มะตาเสือ แยใหญ่ ลูกยอถูกเรียกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น

คุณค่าทางโภชนาการของยอ

คุณค่าทางโภชนาการของลูกยอ มีการศึกษาผลลูกยอสด ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 5.8 กรัม ไขมัน
1.2 กรัม ความชื้น 9.3 กรัม เถ้า 10.3 กรัม กากใยอาหาร 36 กรัม และ คาร์โบไฮเดรต 71 กรัม ลูกยอ ยังมี วิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลากชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี 3 ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม กรดไขมัน ลิกนิน พอลิแซ็กคาไรด์ ฟลาโอนอยด์ อีริดอยด์ สโครโปเลติน แอลคาลอยด์ เป็นต้น

ลักษณะของต้นยอ

ต้นยอ เป็นต้นไม้ยืนต้น ลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 8 เมตร เป็นต้นไม้ที่ไม่ผลัดใบ ใบหนาใหญ่สีเขียว มีดอกสีขาว ผลของต้นยก หรือ ลูกยอ จะเป็นวงรี มีตาเป็นปุ่มๆ ลูกสีเขียว และเมื่อสุกจะเปลี่ยยนเป็นสีขาวนวล

สรรพคุณทางยาของยอ

สามารถนำมาใช้ได้ ทั้งผลดิบ ผลสุก ใบ และราก

  • ลูกยอสุก เรานำมาใช้ช่วยขับลมในลำไส้
  • ใบของต้นยอ เรานำมาบำรุงสายตา บำรุงหัวใจ แก้ปวดตามข้อ(โรคเกาท์) แก้ท้องร่วง แก้เหงือกบวม คั้นเอาน้ำจากใบยอ มาทาแผล ช่วยรักษาแผลเรื้อรัง นำใบมาเป็นส่วนผสมยารักษาวัณโรค
  • ราก เรานำมาใช้เป็น ยาระบาย ช่วยแก้ท้องผูก
  • ผลดิบ สามารถนำมาช่วยขับลม บำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับประจำเดือน แก้คลื่นไส้ แก้อาเจียน แก้อาการเหงือกเปื่อย แก้เสียงแหบ และสามารถช่วยแก้ร้อนใน

โทษของลูกยอ

ลูกยอสุกสรรพคุณช่วยย่อยอาหาร และ ขับลม แต่สำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานผลยอ เพราะ จะมีผลโดยตรงต่อระบบการหมุนเวียนของเลือดในครรภ์ และอาจทำให้แท้งบุตรได้

วิธีนำลูกยอมาใช้รักษาอาการอาเจียน สามารถทำได้โดย นำผลดิบยอ มาเผาไฟอ่อนๆ ให้ผิวของผลยอดำจากนั้นนำเนื้อของผลยอที่ถูกเผาไฟจนสุกมา สังเกตุว่าต้องให้เนื้อเป็นสีเหลือง จากนั้นนำไปต้มทานเป็นน้ำลูกยอ

วิธีการนำยอมารักษาอาการท้องผูก นำรากยอขนาดเส้นผ่านศูยน์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร นำมาบดและต้มน้ำประมาณ 2 แก้ว ต้มประมาฯ 15 นาที ดื่มก่อนนอน 1 แก้ว จะช่วยให้ระบายได้ดีในตอนเช้า ช่วยรักษาอาการท้องผูก รักษาริดสีดวงทวาร ได้

วิธีนำยอมาใช้เป็นยาลดไข้ นำเปลือกของยอมาต้มน้ำประมาณ 15 นาที และนำไปดื่มประมาณวันละ 4 แก้ว จะช่วยลดไข้ได้ดี
ผลของลูกยอ เราสามารถนำมาทำเป็นน้ำหวาน น้ำลูกยอ ได้ ซึ่งรสชาติก็อร่อย เต็มไปด้วยสรรพคุณทางสมุนไพรมากมาบ

ลูกยอจัดเป็นยาสมุนไพรที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในเรื่องการช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน และถูกบรรจุอยู่ในยาสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน โดยลูกยอสุกเป็นยาชั้นเลิศในการช่วยขับลมและช่วยย่อยอาหาร

ยอ พืชพื้นบ้าน สรรพคุณมากมาย นิยมใช้ประโยชน์จากลูกยอ ใบยอ ลักษณะของต้นยอ เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของยอ เช่น ช่วยขับประจำเดือน ช่วยขับลม โทษของยอ มีอะไรบ้าง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ผักชี Coriander ผักสวนครัวนำมารับประทานเป็นอาหาร ต้นผักชีเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนากการ สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด ประโยชน์และโทษของผักชีมีอะไรบ้าง

ผักชี ผักสวนครัว สมุนไพร สรรพคุณของผักชี

ต้นผักชี มีชื่อสามัญว่า Coriander ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักชี คือ Coriandrum sativum L. ชื่อเรียกอื่นๆของผักชี เช่น ผักชีไทย ผักหอม ยำแย้ ผักหอมป้อม ผักหอมผอม ผักหอมน้อย เป็นต้น ต้นผักชี มีถิ่นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียน เป็นพืชล้มลุกที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว

ผักชีในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย ผักชี จัดเป็นพืชเศรษฐกิจ นิยมปลูกขาย และ ปลูกกินตามบ้านทั่วไป ซึ่งการปลูกผักชีในประเทศไทย มีพื้นที่ปลูกมาก ได้แก่ จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครปฐม และ กรุงเทพมหานคร ผักชีสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยมี สายพันธุ์ผักชีที่นิยมปลูก 2 สายพันธ์ คือ ผักชีพื้นเมือง และ ผักชีแอฟฟริกา โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ผักชีพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะเด่น คือ ต้นขนาดเล็ก ใบบาง เมล็ดเล็ก ออกดอกเร็ว อายุสั้น มีกลิ่นฉุนมาก
  • ผักชีพันธุ์อาฟริกา ลักษณะเด่น คือ ต้นมีขนาดใหญ่ ใบหนาและใหญ่ มีกลิ่นหอมเล็กน้อย และอายุยาวกว่าผักชีพันธุ์พื้นเมือง

ลักษณะของต้นผักชี

ต้นผักชี เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว มีถิ่นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียน ปัจจุบันนิยมปลูกและรับประทานทั่วไปในประเทศไทย สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ลักษณะของต้นผักชี มีดังนี้

  • ลำต้นของผักชี มีลักษณะตั้งตรง ภายในลำต้นกลวง มีกิ่งก้านเล็กๆ ผิวลำต้นเรีบย มีสีเขียว หรือ น้ำตาลอมแดง ลำต้นจะสูงประมาณ 15 นิ้ว
  • รากของผักชี มีรากแก้ว แต่ไม่ยาว มีรากฝอยจำนวนมาก
  • ใบของผักชี มีลักษณะเป็นใบเดียว เป็นแฉกๆ รูปพัด สีเขียว มีกลิ่นหอม
  • ดอกของผักชี ซึ่งดอกของผักชีจะออกเป็นช่อ ออกจากโคนลำต้น ตั้งตรงเหนือยอดต้น ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว
  • เม็ดผักชี มีลักษณะเป็นทรงกลม ออกมาจากดอกของผักชี ใช้เป็นส่วนในการขยายพันธ์ผักชี

คุณค่าทางโภชนาการของผักชี

สำหรับประโยชน์ด้านโภชนาการของผักชีนั้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผักชีสดๆ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานถึง 23 กิโลแคลอรี และ มีสารอาหารสำคัญต่างๆ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3.67 กรัม น้ำตาล 0.87 กรัม กากใยอาหาร 2.8 กรัม ไขมัน 0.52 กรัม โปรตีน 2.13 กรัม น้ำ 92.21 กรัม วิตามินเอ 337 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 3,930 ไมโครกรัม  ลูทีนและซีแซนทีน 865 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.067 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.162 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.114 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.57 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.149 มิลลิกรัม วิตามินบี9 62 ไมโครกรัม วิตามินซี 27 มิลลิกรัม วิตามินอี 2.5 มิลลิกรัม วิตามินเค 310 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 67 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.77 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 26 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.426 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 48 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 521 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 46 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.5 มิลลิกรัม

ประโยชน์ของผักชี 

ผักชี มีประโยชน์เป็นพืชที่ใช้ในการเป็นอาหารเป็นหลัก แต่นอกจากการนำมาทำอาหารแล้ว ผักชีสามารถนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหย ซึ่งได้จากการสกัดจากเมล็ดของผักชี สามารถนำมาเป็นสารในการผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เป็นต้น

สรรพคุณของผักชี

สำหรับประโยชน์ของผักชีด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนของต้นผักชี ตั้งแต่ รากผักชี ลำต้นผักชี ใบผักชี และ เมล็ดของผักชี โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ใบผักชี สรรพคุณบำรุงสายตา ช่วยเจริญอาหาร บำรุงร่างกาย แก้กระหายน้ำ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อ ป้องกันมะเร็ง ขับเหงื่อ แก้หวัด แก้ไอ ขับเสมหะ แก้สะอึก แก้คลื้นไส้อาเจียน แก้เวียนหัว ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลม  รักษาอาหารเป็นพิษ ช่วยแก้พิษตานซาง รักษาตับอักเสบ รักษาโรคหัด ต้านเชื้อรา ต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดอาการอักเสบ แก้ปวดข้อ
  • เมล็ดผักชี สรรพคุณช่วยบำรุงสายตา ช่วยให้เจริญอาหาร ขับเหงื่อ ขับเสมหะ แก้ปวดฟัน บำรุงกระเพาะอาหาร แก้ปวดท้อง แก้งท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยย่อยอาหาร รักษาริดสีดวงทวาร
  • รากผักชี สรรพคุรช่วยเจริญอาหาร ขับเหงื่อ ขับเสมหะ

โทษของผักชี

  • สำหรับคนที่มีิิอาการแพ้คื่นช่าย ยี่หร่า เทียนข้าวเปลือก เทียนสัตตบุษย์ กระเทียม หรือ หอมใหญ่ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักชี เนื่องจากเป็นพืชตระกูลเดียวกัน
  • การกินผักชีมากเกินไป เนื่องจากผักชีมีกลิ่นฉุน อาจทำให้มีกลิ่นตัวแรง
  • การกินผักชีมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการตาลาย หรือ ขี้หลงขี้ลืม เนื่องจากอาการมึนหัว
  • ผักชีมีโพแทสเซียมสูง การกินผักชีมากเกินไป ทำให้ไตทำงานหนัก สำหรับคนเป็นโรคไต ควรลดการกินผักชี

ผักชี ( Coriander ) คือ ผักสวนครัว พืชล้มลุก นิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร สมุนไพร ลักษณะของต้นผักชีเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนากการของผักชี สรรพคุณของผักชี เช่น ช่วยเจริญอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด เป็นต้น ประโยชน์ของผักชี และ โทษของผักชี เรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับผักชีทั้งหมด


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove