ชะอม สมุนไพร พืชสวนครัว นำยนรับประทานใบชะอมเป็นอาหาร สรรพคุณของชะอม เช่น แก้ท้องอืด ช่วยขับลม บำรุงสายตา บำรุงโลหิต เป็นยาระบาย ช่วยลดไข้

ชะอม สมุนไพร

ชะอม ภาษาอังกฤษ เรียก Acacia pennata ชื่อทางวิทยาศาสตร์ชะอม คือ Acacia Pennata (L.) Willd.Subsp.InsuavisNielsen ชื่ออื่นๆของชะอม เช่น ผักหละ ผักลำ ผ้าห้า ผักป่า ผักแก่ ผักขา เป็นต้น ต้นชะอม เป็นพืชที่สังคมไทยรู้จักเป็นอย่างดี ยอดอ่อนชะอมนิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร ในแต่ละบ้านของครัวเรือนไทย มักปลูกชะอมริมรั้วบ้าน อาหารไทยที่มีชะอมเป็นส่วนประกอบ เมนูชะอม เช่น ไข่ทอดชะอม แกงส้มชะอม ชะอมลวกจิ้มกับน้ำพริก เป็นต้น

ต้นชะอม เป็นพืชยืนต้นขนาดเล็ก ใบแก่และใบอ่อนสามารถนำมาทำสมุนไพรได้ ลำต้นชะอมมีหนาม ใบเล็กและมีกลิ่นฉุน คล้ายใบกระถิน ใบอ่อนของชะอมมีกลิ่นฉุน ปลายใบแหลม ดอกของชะอม มีสีขาว ดอกขนาดเล็ก ผลของชะอมเป็นฝัก

ลักษณะของต้นชะอม

ต้นชะอม เป็นไม้พุ่มขนาดย่อม มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ สามารถขยายพันธ์โดยการปักชำ ลักษณะของต้นชะอม มีดังนี้

  • ลำต้นและกิ่งก้านของชะอม จะมีหนามแหลม
  • ใบของชะอม ส่วนลักษณะของใบชะอมเป็นใบประกอบสีเขียวขนาดเล็ก มีก้านใบย่อยแตกออกจากแกนกลางใบ มีลักษณะคล้ายกับใบส้มป่อยหรือใบกระถิน ใบอ่อนจะมีกลิ่นฉุน ใบย่อยมีขนาดเล็กออกตรงข้ามกัน คล้ายรูปรีประมาณ 13-28 คู่ ปลายใบแหลมขอบใบเรียบ ใบย่อยจะหุบในเวลาเย็น และแผ่ออกเพื่อรับแสงในช่วงกลางวัน
  • ดอกชะอม มีขนาดเล็กออกตามซอกใบ มีสีขาวถึงขาวนวล

คุณค่าทางโภชนาการของชะอม

ชะอมนิยมบริโภคใบชะอมเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของใบชะอม ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 57 กิโลแคลอรี่ ซึ่งมีสารอาหารสำคุญประกอบด้วย กากใยอาหาร 5 กรัม แคลแซียม 58 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 80 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4 มิลลิกรัม วิตามินเอ 0.05 มิลลิกรัม วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.25 มิลลิกรัม ในอาซิน 1 มิลลิกรัม วิตามินซี 58 มิลลิกรัม

สรรพคุณของชะอม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากชะอมในการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ใบ และ ราก สรรพคุณของชะอม มีดังนี้

  • ใบชะอม สามารถช่วยลดความร้อนในร่างกายได้ ใช้ลดไข้  บำรุงเลือด บำรุงกระดูก บำรุงสายตา
  • รากชะอม ช่วยแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ลดกรดในกระเพาะอาหาร จุกเสียดแน่นท้อง และช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร

โทษของชะอม

สำหรับการรับประทานหรือการใช้ชะอมในการบำรุงร่างกาย และ รักษาโรค มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • สำหรับคุณแม่ที่เพิ่งมีบุตรอ่อน ไม่ควรรับประทานผักชะอม เพราะจะทำให้น้ำนมแม่แห้งได้
  • ชะอม ต้องนำมาลวกก่อน หากรับประทานแบบสดๆอาจทำให้มีอาการปวดท้องได้
  • ชะอมมีกรดยูริกสูง เป็นสาเหตุของการเกิดข้ออักเสบ โรคเกาต์ ผู้ป่วยโรคเกาต์สามารถรับประทานได้ แต่ควรรับประทานในปริมาณที่จำกัด

ชะอม Climbing Wattle สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหาร ต้นชะอมเป็นอย่างไร สรรพคุณของชะอม มีสารต้านอนุมูลอิสระ บำรุงเส้นผม ช่วยการขับถ่าย แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลมชะอม สมุนไพร สรรพุคณของชะอม

ต้นชะอม ภาษาอังกฤษ เรียก Climbing Wattle ชื่อวิทยาศาสตร์ของชะอม คือ Acacia pennata (L.) Willd สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของชะอม เช่น ผักหละ อม ผักขา พูซูเด๊าะ โพซุยโดะ เป็นต้น ชะอมเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อนแถบเอเชยตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งยอดอ่อนชะอม นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน มีเมนูอาหารหลายเมนูที่มีส่วนประกอบของชะอม เช่น ไข่ทอดชะอม แกงส้มชะอมกุ้ง ชะอมชุบไข่  แกงส้มชะอมไข่ รวมถึงนำยอดอ่อนชะอมมาลวกเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก เป็นต้น

ชะอม เป็นผักพื้นบ้าน ริมรั่ว เป็นพืชพื้นบ้าน ปลูกง่าย ชะอมไม่ชอบน้ำท่วมขัง ดังนั้นการปลูกชะอม ต้องยกร่องสวน และเว้นระยะห่างให้พอดี ต่อการเดินเก็บชะอม อย่าปลูกชิดกันเกินไปเนื่องจากชะอมมีหนาม ชะอม 1 ไร่ สามารถปลูกได้ถึง 2,000 ต้น การปลูกชะอมง่ายไม่ต้องรดน้ำบ่อย 2 ถึง 3 วัน ค่อยให้น้ำครั้งหนึ่งก็ได้

ลักษณะชองต้นชะอม

ต้นชะอม ไม้พุ่มขนาดไม่ใหญ่ สามารถขยายพันธ์ได้โดยการปักชำ การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และการโน้มกิ่งลงดิน สามารถเจริญเติบดตได้ในทุกสภาพดิน ลักษณะของต้นชะอม มีดังนี้

  • ลำต้นชะอม ลักษณะเป็นไม้พุ่ม ลำต้นกลม กิ่งก้านของชะอมมีหนามแหลม
  • ใบชะอม ลักษณะ เป็นใบประกอบขนาดเล็กคล้ายใบกระถิน ใบอ่อนมีกลิ่นฉุน ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม
  • ดอกชะอม ออกดอกเป็นช่อ ดอกออกตามซอกกิ่ง ดอกสีขาว ขนาดเล็ก
  • ผลชะอม ลักษณะเป็นฝักยาว แต่ฝักชะอมจะมีขนาดเล็กกว่าฝักกระถิน

คุณค่าทางโภชนาการของชะอม

สำหรับการบริโภคชะอมเป็นอาหาร นิยมรับประทานใบชะอมเป็นอาหาร ซึ่งเป็นใบส่วนยอดอ่อน นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบชะอม ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงานมากถึง 57 กิโลแคลอรี่ และ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย กากใยอาหาร 5.7 กรัม ฟอสฟอรัส 80 กรัม แคลเซียม 58 กรัม ธาตุเหล็ก 4.1 มิลลิกรัม วิตามินเอ 10066 IU (หน่วยสากล) วิตามินบี1 0.05มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.25 มิลลิกรัม วิตามินบี 31.5 มิลลิกรัม วิตามินบี 58 มิลลิกรัม

สรรพคุณของชะอม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากชะอมด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถนำมาใช้ประโยชน์จาก ยอดอ่อนชะอม(ใบชะอม) และ รากชะอม ซึ่งสรรพคุณของชะอม มีดังนี้

  • รากชะอม สรรพคุณแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ลดการปวดท้อง และช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยบำรุงเส้นเอ็น ช่วยแก้อาการลิ้นอักเสบเป็นผื่นแดง
  • ยอดอ่อนชะอม สรรพคุณมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย ป้องกันมะเร็ง ช่วยลดความร้อนในร่างกาย ลดไข้ เป็นยาอายุวัฒนะ
    ชะอม ช่วยในการขับถ่าย แก้โรคท้องผูก และ ช่วยบำรุงเส้นผม

โทษของชะอม

สำหรับการรับประทานชะอมถึงจะมีสรรพคุณในการรักษาโรคต่างๆมากมาย แต่เนื่องจากชะอมเองมีกรดยูริกสูง หากบริโภคมากเกินไปก็จะส่งผลเสียกับร่างกายได้ ข้อควรระวังในการบริโภคชะอม มีดังนี้

  1. ชะอมจะทำให้น้ำนมแห้ง คุณแม่หลังคลอดไม่ควรรับประทานชะอม
  2. การรับประทานชะอมในช่วงฤดูฝน ชะอมจะมีรสเปรี้ยวทำให้ปวดท้อง
  3. ผู้ป่วยโรคเก๊าฑ์ไม่ควรรับประทานชะอมเป็นอาหาร เนื่องจากมีกรดยูริกสูง
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรไทยน่ารู้

สมุนไพร หมายถึง พืช สัตว์หรือแร่ธาตุที่ใช้เป็นยารักษาโรคหรือเสริมสุขภาพ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพืชโดยใช้ส่วนต่างๆของพืช เช่น ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เป็นต้น นำมาแปรสภาพ เพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ทั้ง รับประทานสด การนำมาพอก การต้ม เป็นต้น
กัญชา สรรพคุณของกัญชา สมุนไพร น้ำมันกัญชา
กัญชา
ตะขบ สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตะขบ
ตะขบ
ลูกใต้ใบ สมุนไพร สรรพคุณของลูกใต้ใบ สมุนไพรรสขม
ลูกใต้ใบ
หญ้าหวาน สตีเวีย สมุนไพร สมุนไพรให้ความหวาน
หญ้าหวาน
โรคต่างๆและการรักษาโรค
โรค ( Disease ) หมายถึง ความผิดปรกติของระบบการทำงานของร่างกาย รวมถึงความผิดปกติของระบบอวัยวะและเนื้อเยื่อของร่างกาย ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคมีหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม การทำงานผิดปรกติของอวัยวะ เรามาทำความรู้จักกับโรคต่างๆ
แก้วหูทะลุ โรคหูคอจมูก การรักษาแก้วหูทะลุ โรคหู
แก้วหูทะลุ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ โรคพยาธิ โรคไม่ติดต่อ โรคติดเชื้อ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ
ข้อหลุด ข้อเคลื่อน โรคข้อและกระดูก ข้อหลุดรักษาอย่างไร
ข้อหลุด
เหงือกร่น รักษาเหงือกร่น โรคในช่องปาก โรคเหงือกและฟัน
เหงือกร่น