ตับอ่อนอักเสบเกิดจากนิ่วในท่อน้ำดี พบบ่อยในคนดื่มสุรา การกินยาบางชนิด ภาวะไขมันในเลือดสูง และเนื้องอกในตับอ่อน ปวดท้องอย่างรุนแรง ไข้สูง หัวใจเต้นเร็ว

ตับอ่อนอักเสบ โรคระบบทางเดินอาหาร โรคไม่ติดต่อ

ตับอ่อน คือ อวัยวะหนึ่งในร่างกาย มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนเข้าสู่กระแสโลหิต เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด ตับอ่อนจะอยู่บริเวณตรงกลางท้องด้านบน หากตับอ่อนมีปัญหาร่างกายจะเกิดภาวะผิดปรกติเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารและระดับน้ำตาลในเลือด

ตับอ่อนอักเสบ ( Pancreatitis ) คือ ภาวะความผิดปรกติของเนื้อเยื่อตับอ่อน โดยลักษณะอาการอักเสบของตับอ่อนมีทั้งการอักเสบชนิดเฉียบพลันและ การอักเสบลักษณะเรื้อรัง ซึ่งโดยส่วนมากสาเหตุของโรคนี้หลักๆแล้วจะมานิ่วอุดตันที่น้ำดีจากการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป

ชนิดของตับอ่อนอักเสบ

ภาวะการอักเสบของตับอ่อน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ ตับอ่อนอักเสบชนิดเฉียบพลัน และ ตับอ่อนอักเสบชนิดเรื้อรัง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน ( Acute pancreatitis ) เกิดการอักเสบขึ้นกับเซลล์ของตับอ่อนอย่างเฉียบพลัน ผู้ป่วยบางรายอาจพบว่ามีอาการรุนแรง
  • ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง ( Chronic pancreatitis ) การอักเสบของตับอ่อนอย่างต่อเนื่องจนเกิดอาการเรื้อรัง โดยอาจจะเกิดขึ้นตามหลังการอักเสบเฉียบพลัน รักษาไม่หาย ซึ่งในการอักเสบเรื้อรังนี้เซลล์ของตับอ่อนจะค่อย ๆ ถูกทำลายจนไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่

สาเหตุของตับอ่อนอักเสบ

ภาวะตับอ่อนอักเสบเกิดจากนิ่วอุดตันที่ท่อน้ำดี เมื่อน้ำย่อยของตับอ่อนไม่สามารถไหลเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารทำให้เกิดการบวมของเนื้อเยื่อทำให้มีอาหารปวดท้อง นอกจากสาเหตุจากนิ่วอุดตันท่อน้ำดีนั้น มีสาเหตุจากการดื่มสุรา การกินยาบางชนิด ระดับไขมันในเลือดสูง อุบัติเหตุที่หน้าท้อง เนื้องอกในตับอ่อน รวมถึงการผ่าตัดที่ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงตับอ่อนน้อยลง

กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรคตับอ่อน

ปัจจัยเสี่ยง สำหรับการเกิดโรคตับอ่อนอักเสบ พบว่า ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับถุงน้ำดี นักดื่มสุรา คนสูบบุหรี่ การฝ่าตัด และคนทีมีไขมันในเลือดสูง มีความเสี่ยงในการเป็น โรคตับอ่อนอักเสบสูง

อาการของโรคตับอ่อนอักเสบ

ลักษณะอาการโรคตับอ่อนอักเสบ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้อง บริเวณลิ้นปี่และสามารถลามไปถึงด้านหลัง เจ็บเวลากดที่หน้าท้อง  ร่วมกับมีอาการคลื่นไส้อาเจียน มีไข้สูง เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว แต่ลักษณะอาการตับอ่อนอักเสบในแต่ละชนิดมีลัฏษณะอาการที่แตกต่างกัน โดยลักษณะอาการโรคตับอ่อนอักเสบชนิดต่างๆมีรายละเอียด ดังนี้

อาการตับอ่อนอักเสบชนิดเฉียบพลัน

  • ปวดท้องอย่างรุนแรงตรงกลางส่วนบน ปวดแบบตื้อๆและปวดแบบต่อเนื่องกันหลายวัน ปวดร้าวไปถึงหลัง กดหน้าท้องจะเจ็บ
  • ท้องอืด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย
  • มีไข้สูง
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • หายใจเร็ว
  • มีภาวะขาดน้ำ
  • มีอาการอักเสบของอวัยวะต่างๆ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ปอดอักเสบ หรือ ไตวาย เป็นต้น

อาการตับอ่อนอักเสบชนิดเรื้อรัง

  • ลักษณธอาการเบื้องต้น คือ ปวดท้องตรงกลางส่วนบน ไข้สูง
  • ท้องเสียแบบเรื้อรัง
  • อุจจาระเป็นไขมันและมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ท้องผูก
  • น้ำหนักตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง
  • ปัสสาวะมีสีเข้ม

การตรวจวินิจฉัยโรคตับอ่อนอักเสบ
สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคตับอ่อนอักเสบ ต้องทำการตรวจเลือดและทำอัลตราซาวน์ เพื่อวิเคราะห์ภายในร่างกาย

การรักษาโรคตับอ่อนอักเสบ 

สำหรับแนวทางการรักษาโรคตับอ่อนอักเสบให้ผู้ป่วยงดการดื่มน้ำและรับประทานอาหาร เพื่อให้กระเพาะอาหารทำงานน้อยลง และทดแทนสารอาหารด้วยการให้น้ำเกลือ ร่วมกับการให้ยาแก้ปวด และยาปฏิชีวนะ เพื่อรักษาภาวะติดเชื้อโรค และการหากพบว่าสาเหตุของโรคมาจากนิ่วอุดตันท่อนน้ำดี ต้องเข้ารับการผ่าตัดนิ่วออก และต้องทำการเฝ้าระวังอาการแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ภาวะโลหิตเป็นพิษ ภาวะไตวายและภาวะการขาดอาหาร

การป้องกันตับอ่อนอักเสบ

สำหรับแนวทางการป้องกันการเกิดโรคตับอ่อนอักเสบ สามารถทำได้โดยหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดนิ่วที่ตับอ่อน โดยแนวทางการป้องกันโรคมีดังนี้

  • งดการดื่มแอลกอฮอล์
  • งดการสูบบุหรี่
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ไม่ซื้อยารับประทานเอง ควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ก่อนที่จะรับประทานยาใดๆ
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้ดี เพื่อช่วยลดโอกาสการติดเชื้อต่าง ๆ

ถุงน้ำดีอักเสบ เกิดจากนิ่วอุดตันท่อน้ำดี ทำให้ปวดท้อง ปวดตามชายโครงด้านขวา เจ็บเวลาหายใจเข้าลึกๆ อาการลามไปถึงกล้ามเนื้อหน้าท้อง หากไม่รักษาต้องตัดถุงน้ำดีทิ้ง

ถุงน้ำดีอักเสบ โรคไม่ติดต่อ โรค

น้ำดี คือ น้ำที่สร้างจากตับเป็นน้ำที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และเก็บน้ำดีไว้ที่ถุงน้ำดี น้ำดีจะมีหน้าที่ย่อยไขมันและย่อยอาหาร เมื่อน้ำดีในร่างกายลดลงจะก็ทำให้เกิดนิ่วที่ถุงน้ำดี

ถุงน้ำดี ( Gallbladder ) คือ อวัยวะที่ช่องท้องลักษณะเป็นถุงเล็กๆ อยู่บริเวณท้องด้านขวาใกล้ตับ สามารถจุน้ำได้ประมาณ 35 – 50 มิลลิลิตร มีหน้าที่หลักในการสำรองน้ำดีที่สร้างจากตับ เพื่อใช้ในการย่อยอาหารและไขมัน

ถุงน้ำดีอักเสบ (Choleycystitis) คือ การเกิดอาการอักเสบของถุงน้ำดี ซึ่งสาเหตุของการเกิดอักเสบของถุงน้ำดีเกิดจากการอุดตันของท่อน้ำดี ทำให้ถุงน้ำดีบวม อักเสบ และเกิดอาการปวดได้ การอุดตันของน้ำดีมักมีสาเหตุมาจากนิ่วรวมไปถึงปัญหาเกี่ยวกับท่อน้ำดีอื่นๆ เช่น เนื้องอก เป็นต้น

ชนิดของนิ่วในท่อน้ำดี

ซึ่งนิ่วที่ท่อน้ำดีที่เราพบ นั้นพบว่ามีนิ่วอยู่ 2 ชนิด คือ นิ่วที่เกิดจากคอเรสเตอรัล cholesterol และ นิ่วที่เกิดจากเกลือ และนิ่วในถุงน้ำดีเหล่านี้สามารถหลุดและเข้าไปอุดทางเดินของน้ำดีได้ จนเป็นต้นเหตุทำให้เกิดอาการถุงน้ำดีอักเสบ เพราะบวมน้ำดีจนเนื้อเยื่ออักเสบ ทำให้เกิดอาการปวดท้อง อาการตัวเหลือง ตาเหลือง ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดถุงน้ำดีอักเสบ

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี ผู้ป่วยเกือบทั้งหมดของโรคถุงน้ำดีอักเสบ จะเกิดจากนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีและถุงน้ำดีอักเสบ โดยปัจจัยของการเกิดถุงน้ำดีอักเสบ ประกอบด้วย

  • เพศหญิง
  • การคุมกำเนิด
  • พันธุกรรม
  • เชื้อชาติ
  • ผู้สูงอายุ
  • อาหาร
  • ภาวะอ้วน
  • การลดน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็ว
  • การกินยาลดไขมันในเลือดบางชนิด
  • คอเลสเตอรอลในน้ำดีสูงขึ้น
  • การอักเสบเรื้อรังของถุงน้ำดี
  • โรคเบาหวาน
  • ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกเรื้อรัง

สาเหตุของโรคถุงน้ำดีอักเสบ

ถุงน้ำดีอักเสบ ( Cholecystitis ) เกิดจากนิ่วในถุงน้ำดี นิ่วไปอุดตันทางเดินของน้ำดี และผนังของถุงน้ำดีหนาตัว โรคถุงน้ำดีอักเสบเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ สาเหตุจากนิ่วในถุงน้ำดี และสาเหตุที่ไม่ใช่มาจากนิ่วในถุงน้ำดี

  • สาเหตุจากนิ่วในถุงน้ำดี เป็นกรณีที่พบได้สูงประมาณ 90-95% อาจเกิดเนื่องจากก้อนนิ่วที่ไปอุดตันท่อน้ำดีจนส่งผลให้น้ำดีไหลออกจากถุงน้ำดีเข้าสู่ลำไส้ไม่ได้ ทำให้ถุงน้ำดีมีแรงดันเพิ่มขึ้นและมีการยืดขยายตัวมากขึ้นจนไปกดเบียดหลอดเลือดต่าง ๆ ที่หล่อเลี้ยงถุงน้ำดี ทำให้เยื่อบุผนังของถุงน้ำดีขาดเลือด เป็นผลให้เกิดการบาดเจ็บและเกิดการอักเสบขึ้นตามมา หรืออาจเกิดจากการระคายเคืองของสารเคมีบางชนิดอันเป็นผลมาจากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นภายในถุงน้ำดี หรือเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้ออีโคไล ( E.coli ) เชื้อเคล็บซิลลา ( Klebsiella ) เชื้อสแตฟีโลค็อกคัส (Staphylococcus), เชื้อสเตรปโตค็อกคัส  ( Streptococcus ) เป็นต้น ทั้งนี้ ถ้าขาดเลือดมากขึ้นจะส่งผลทำให้เนื้อเยื่อถุงน้ำดีเน่าตายหรือเกิดการแตกทะลุของถุงน้ำดี ก่อให้การเกิดติดเชื้อรุนแรงในช่องท้องได้ด้วย
  • สาเหตุที่ไม่ใช่มาจากนิ่วในถุงน้ำดี เป็นกรณีที่พบได้เพียงส่วนน้อยประมาณ 5-10% โดยอาจเกิดจากถุงน้ำดีติดเชื้อแบคทีเรีย เกิดจากเนื้องอกของถุงน้ำดีหรือของท่อน้ำดี เกิดจากท่อน้ำดีตีบตันจากสาเหตุต่าง ๆ ที่ไม่ใช่จากนิ่ว เช่น โรคไทฟอยด์ ถุงน้ำดีได้รับอุบัติเหตุและเกิดการฉีกขาด นอกจากนี้ ยังอาจพบได้ในผู้ป่วยหลังผ่าตัด มีบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีการทำลายของเนื้อเยื่อจำนวนมาก ภาวะโลหิตเป็นพิษ หรือเจ็บป่วยหนัก เป็นต้น

อาการของโรคถุงน้ำดีอักเสบ

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้อง ปวดตามชายโครงด้านขวาและปวดร้าวไปถึงสะบักข้างขวา เวลาหายใจเข้าลึกๆ จะปวดมากขึ้น หลังจากนั้นอาการปวดท้องจะลามไปที่กล้ามเนื้อหน้าท้อง เมื่อกดจะเจ็บ มีไข้สูง คลื่นไส้ และอาเจียน ปัสสาวะเหลือง ตัวเหลือง สามารถสรุปเป็นข้อๆได้ดังนี้

  • ปวดท้องบริเวณด้านขวา ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเสียด ปวดบีบ หรือ ปวดแบบตุบๆ อาการปวดท้องจะปวดร้าวไปที่หลังหรือบริเวณใต้สะบักด้านขวา และ อาการปวดแย่ลงเมื่อหายใจลึก ๆ
  • ปวดท้องหลังรับประทานอาหาร
  • ระบมที่ท้องด้านขวา เมื่อกดท้องจะปวดมาก
  • อุจจาระออกสีเทาคล้ายดินโคลน
  • ท้องอืด
  • มีไข้สูง
  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • เหงื่อออก
  • เบื่ออาหาร
  • ผิวและตาขาวมีสีเหลือง

การรักษาโรคถุงน้ำดีอักเสบ

แนวทางการรักษาโรคถุงน้ำดีอักเสบ ผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดทันที เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่สามารถทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ เช่น อาการเนื้อเยื่อตาย (Gangrene) ถุงน้ำดีทะลุ ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น การผ่าตัดถุงน้ำดีอักเสบมีเทคนิคในการผ่าตัดที่แตกต่างกัน เช่น การผ่าตัดแบบส่องกล้อง และ การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง ซึ่งอยู่ในดุลย์พินิจของแพทย์ในการรักษา

ป้องกันโรคถุงน้ำดีอักเสบ

สำหรับแนวทางการป้องกันภาวะถุงน้ำดีอักเสบนั้น ไม่สามารถป้องกันได้อย่างเด็ดขาด แต่สามารถลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ทำให้เกิดนิ่วอุดตันท่อน้ำดีได้ โดยแนวทางการป้องกันโรคมีดังนี้

  • จำกัดการกินอาหารที่มีไขมันสูง
  • ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกิดโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน
  • ลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน และ โรคความดันโลหิตสูง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในปริมาณที่เหมาะสม
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรไทยน่ารู้

สมุนไพร หมายถึง พืช สัตว์หรือแร่ธาตุที่ใช้เป็นยารักษาโรคหรือเสริมสุขภาพ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพืชโดยใช้ส่วนต่างๆของพืช เช่น ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เป็นต้น นำมาแปรสภาพ เพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ทั้ง รับประทานสด การนำมาพอก การต้ม เป็นต้น
กัญชา สรรพคุณของกัญชา สมุนไพร น้ำมันกัญชา
กัญชา
ตะขบ สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตะขบ
ตะขบ
ลูกใต้ใบ สมุนไพร สรรพคุณของลูกใต้ใบ สมุนไพรรสขม
ลูกใต้ใบ
หญ้าหวาน สตีเวีย สมุนไพร สมุนไพรให้ความหวาน
หญ้าหวาน
โรคต่างๆและการรักษาโรค
โรค ( Disease ) หมายถึง ความผิดปรกติของระบบการทำงานของร่างกาย รวมถึงความผิดปกติของระบบอวัยวะและเนื้อเยื่อของร่างกาย ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคมีหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม การทำงานผิดปรกติของอวัยวะ เรามาทำความรู้จักกับโรคต่างๆ
แก้วหูทะลุ โรคหูคอจมูก การรักษาแก้วหูทะลุ โรคหู
แก้วหูทะลุ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ โรคพยาธิ โรคไม่ติดต่อ โรคติดเชื้อ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ
ข้อหลุด ข้อเคลื่อน โรคข้อและกระดูก ข้อหลุดรักษาอย่างไร
ข้อหลุด
เหงือกร่น รักษาเหงือกร่น โรคในช่องปาก โรคเหงือกและฟัน
เหงือกร่น