โรคแอดดิสัน ต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนน้อย อาการอ่อนเพลีย ปวดท้อง ท้องเสีย มีภาวะขาดน้ำ เวียนหัว อยากกินของเค็ม กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อ เหงื่อออกมาก ผิวแห้ง

โรคแอดดิสัน โรคต่อมหมวกไต โรคฮอร์โมน โรคไม่ติดต่อ

โรคแอดดิสัน ภาษอังกฤษ เรียก Addison disease มีชื่อเรียกโรคนี้อื่นๆ เช่น Adrenocorti cal hypofunction, Chronic adrenocortical insufficiency, Chronic adrenal insuffi ciency, Primary adrenal insufficiency, Hypoadrenalism, Hypocortisolism โรคแอดดิสัน เป็น โรคเกี่ยวกับต่อมหมวกไต เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนได้น้อยกว่าปรกติ จนเกิดภาวะขาดฮอร์โมน ซึ่งต่อมหมวกไต จะสร้างฮอร์โมนชื่อ Glucocorticoid เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการใช้พลังงานของร่างกายทั้ง แป้ง น้ำตาล ไขมัน และโปรตีน กับฮอร์โมนชื่อ Aldosterone เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการทำงานของเกลือแร่ และการรักษาสมดุลของระดับน้ำเกลือแร่ รวมถึงควบคุมระดับความดันเลือด

โรคแอดดิสัน มีการรายงานเกี่ยวกับโรคนี้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2398 โดยนายแพทย์โทมัส แอดดิสัน เป็นแพทย์ชาวอังกฤษ ซึ่งโรคนี้ไม่ใช้โรคที่เกิดขึ้นบ่อย พบได้ 40 ในล้านเท่านั้น  แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย

เนื่องจากต่อมหมวกไตเป็นต่อมไร้ท่อ ที่ทำหน้าที่ควบคุมฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง การสร้างฮอร์โมนของต่อมหมวกไตจึงอยู่ภายใต้การควบคุมของต่อมใต้สมอง ส่วนไฮโปธาลามัส ซึ่งการที่ต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนลดลง ทำให้เกิดภาวะขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไตปฐมภูมิ ซี่งภาษาอังกฤษ เรียก Primary adrenal insufficiency การที่ฮอร์โมนต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนได้ลดลง มีหลายสาเหตุ เช่น เนื้องอก การใช้ยาสเตรียรอยด์  สมองส่วนไฮโปธาลามัสผิดปรกติ โรคแอดดิสันมีหลายสาเหตุ โดยสาเหตุของโรคแอดดิสันแบ่งเป็นระดับ มี 4 ระดับ ดังนี้

  • ภาวะขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไตในระดับปฐมภูมิ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ของสาเหตุการเกิดโรคแอดดิสัน คือ ร่างกายสร้างฮอร์โมนต่อมหมวกไต ไม่เพียงพอต่อความต้องการ จากการติดเชื้อโรคบางชนิด เช่น วัณโรค หรือภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด การเกิดเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต การเสียเลือดอย่างรุนแรง รวมถึงภาวะพันธุกรรมที่ส่งผลต่อการเจริญเติบดตของต่อมหมวกไตไม่ดี
  • ภาวะขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไตในระดับทุติยภูมิ ในระดับนี้เราพบว่าเกิดจากการใช้ยาในกลุ้มสเตียรอยด์ เป็นยาที่มีฤทธิ์กดประสาททำให้ความสามารถในการทำงานของต่อมหมวกไตลดลง นอกจากการใช้ยาบางชนิดแล้ว การเกิดเนื้องอกของต่อมหมวกไตก็เป็นสาเหตุของการเกิดโรคในระดับนี้
  • ภาวะขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไตในระดับตติยภูมิ ในระดับนี้พบว่าสาเหตุของโรคเกิดจากความผิดปรดติของสมองส่วนไฮโปธาลามัส อาทิเช่นการเกิดเนื้องอก หรือมะเร็งที่สมอง
  • ภาวะวิกฤตของต่อมหมวกไต สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะวิกฤตของต่อมหมวกไต คือการหยุดใช้ยากลุ้มสเตียรอยด์ทันที

นอกจากสาเหตุต่างๆ เหล่านี้ สาเหตุอื่นๆที่อาจทำให้เกิดโรคแอดดิสัน คือ ภาวะร่างกายขาดน้ำ ภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด การเกิดอุบัตติเหตุที่ต่อมหมวกไต การเกิดอุบัตติเหตุของสมอง เป็นต้น

อาการของโรคแอดดิสันเป็นอย่างไร

อาการของโรคแอดดิสัน เราสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ อาการที่เกิดจากระดับภาวะการขาดฮอร์โมน และอาการในระดับภาวะวิกฤตที่ต่อมหมวกไต โดยรายละเอียด ดังนี้

  • อาการของโรคแอดดิสันจากสาเหตุภาวะการขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไต จะมีอาการ คือ อ่อนเพลียมาก เบื่ออาหาร ผอม ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน มีภาวะขาดน้ำ วิงเวียนศีรษะเป็นลม กระหายอยากกินของเค็ม กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ เหงื่อออกมามาก ผิวหนังเหี่ยวและอารมณ์แปรปรวน
  • อาการของโรคแอดดิสันจากสาเหตุภาวะวิกฤติของต่อมหมวกไต จะมีอาการเหมือกับอาการแรก คือ อ่อนเพลียมาก เบื่ออาหาร ผอม ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน มีภาวะขาดน้ำ วิงเวียนศีรษะเป็นลม กระหายอยากกินของเค็ม กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ เหงื่อออกมามาก ผิวหนังเหี่ยวและอารมณ์แปรปรวน แต่มีระดับความรุนแรงที่มากกว่า ความดันโลหิตจะต่ำมาก อาจช็อกและเสียชีวิตได้

การรักษาโรคแอดดิสันสามารถทำอย่างไรได้บ้าง

แนวทางการรักษาโรคแอดอดสัน สามารทำได้โดยการให้ฮอร์โมนต่อมหมวกไต เพื่อปรับระดับฮอร์โมนให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ และรักษาโดยประคับประคองโรคแทรกซ้อนตามอาหาร เช่น ให้ยาแก้ท้องเสีย ให้ยาแก้คลื้นไส้ ให้ยาแก้ปวดท้อง รักษาระดับน้ำและเกลือแร่ในร่างกายให้สมดุลย์ แต่ถ้าหากสาเหตุเกิดจากเนื้องอก ก็จำเป็นต้องผ่าตัดนำเนื้องกส่วนนั้นๆออกไป เป็นต้น

โรคแอดดิสันมีผลข้างเคียงอย่างไร

ผลข้างเคียงที่เกิดจากโรคแอดดิสัน จะสามารถพบว่าการรับฮอร์โมนต่อมหมวกไต จะทำให้ต้องรับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยสามารถติดเชื้อได้ง่าย

ข้อควรปฏิบัติของผู้ป่วยโรคแอดดิสัน

ในการดูแลตนเองของผู้ป่วย แนะนำให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร็งครัด ทานยาตามคำสั่งแพทย์ เข้าพบหมอตามนัด รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ป้องกันความเสี่ยงของการติดเชื้อ โดยรักษาสุขอนามัย ให้สะอาดปลอดภัย

การป้องกันโรคแอดดิสัน

การป้องกันโรคต้องป้องกันสาเหตุของการเกิดโรคทั้งหมด รายละเอียดดังนี้

  • ไม่ซื้อยากินเอง โดยเฉพาะยากลุ่มสเตียรอยด์
  • หากมีโรคประจำตัวที่ต้องรักษาในกลุ่มสเตียรอยด์ ใช้ยาให้ถูกต้อง และพบแพทย์ตามนัดเสมอ
  • ไม่ซื้อยาแผนโบราณหรือยาสมุนไพรต่างๆ จำพวกยาลูกกร มาใช้เอง ควรใช้ยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น

อาการท้องเสีย ปวดท้อง เป็นอาการหนึ่งของโรคแอดดิสัน การบรรเทาอาการท้องเสียโดยใช้สมุนไพรเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยรักษาโรคตามอาการ ขอแนะนำสมุนไพรช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย มีดังนี้

หอมหัวใหญ่ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมุนไพร
หอมหัวใหญ่
สะระแหน่ มินต์ สมุนไพร พืชสวนครัว
สะระแหน่
ฝรั่ง สมุนไพร ผลไม้ ประโยชน์ของฝรั่ง
ฝรั่ง
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ประฌยชน์ของโด่ไม่รู้ล้ม
โด่ไม่รู้ล้ม
รางจืด สมุนไพร สมุนไพรไทย ไม้ยืนต้น
รางจืด
มังคุด ผลไม้ สมุนไพร ประโยชน์ของมังคุด
มังคุด
กล้วยน้ำว้า กล้วย สมุนไพร ประโยชน์ของกล้วย
กล้วยน้ำว้า
ทับทิม ผลไม้ สมุนไพร ประโยชน์ของทับทิม
ทับทิม
ต้นมะลิ ดอกมะลิ สมุนไพร สมุนไพรไทย
ต้นมะลิ
กระเทียม สมุนไพร สมุนไพรไทย เครื่องเทศ
กระเทียม
ลูกยอ ต้นยอ สมุนไพร สมุนไพรไทย
ยอ
มะพร้าว สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชยืนต้น
มะพร้าว

โรคแอดดิสัน ภาวะขาดฮอร์โมนต่อมหมวกไต เกิดจากการเสียเลือดมาก อาการของโรค คือ อ่อนเพลียมาก เบื่ออาหาร ผอม ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน มีภาวะขาดน้ำ วิงเวียนศีรษะเป็นลม กระหายอยากกินของเค็ม กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ เหงื่อออกมามาก ผิวหนังเหี่ยวและอารมณ์แปรปรวน

ไวรัสตับอักเสบบี ( Hepatitis B ) การติดเชื้อไวรัสHBVที่ตับ อาการของโรค มีไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดชายโครงด้านขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีผื่นไวรัสตับอักเสบ โรคติดเชื้อ โรคติดต่อ โรคตับ

โรคไวรัสตับอักเสบบี ( Hepatitis B ) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอักเสบบี ( HBV ) ที่ตับ ส่งผลให้เกิดโรค เช่น ตับวาย ตับแข็ง มะเร็งตับได้ อาการของโรค คือ มีไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดชายโครงด้านขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีผื่น ปวดตามข้อ

สาเหตุของโรคไวรัสตับอักเสบบี

หากพูดถึงโรคตับอักเสบ โรคนี้มีหลายชนิด เช่น โรคไวรัสตับอักเสบเอ โรคไวรัสตับอักเสบซี เป็นต้น ตับอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น การดื่มสุรา การเสพยาเสพติด การติดเชื้อไวรัส เป็นต้น โรคไวรัสตับอักเสบบี สามารถติดต่อได้หลายช่องทาง รายละเอียด ดังนี้

  1. การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ โดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย
  2. การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ
  3. การใช้เข็ม สักตามตัวและการเจาะหู ร่วมกันกับผู้ติดเชื้อ
  4. การใช้แปรงสีฟัน มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ ร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ
  5. ติดเชื้อจากแม่สู่ลูกขณะคลอด เราพบว่าลูกมีโอกาสติดเชื้อได้ถึงร้อยละ 90
  6. การสัมผัส เลือด น้ำคัดหลั่ง ของผู้ติดเชื้อ

อาการของโรคไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับอาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เราสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ ระยะฉับพลัน และ ระยะเรื้อรัง รายละเอียด ดังนี้

  • อาการของผู้ป่วยติดเชื้อไวรับตับอักเสบบี ระยะเฉียบพลัน พบว่า ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการภายใน 4 เดือน หลังจากได้รับเชื้อ โดยอาการจะมีไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดชายโครงด้านขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีผื่น ปวดตามข้อ มีโอกาสเกิดภาวะตับวายได้ แต่อาการจะดีขึ้นภายใน 4 สัปดาห์ หากสามารถควบคุมและกำจัดเชื้อไวรัสได้ แต่พบว่าร้อยละ 5 ของผู้ป่วยชนิดฉับพลัน จะเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี เรื้อรัง
  • อาการของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี ระยะเรื้อรัง เราสามารถแบ่งอาการของโรคนี้ได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ระยะพาหะ และระยะตับอักเสบเรื้อรัง
    • ระยะพาหะ ผู้ป่วยจะพบอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อให้อื่นได้
    • ระยะอักเสบเรื้อรัง ระยะนี้การทำงานของตับผิดปกติ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการให้เห็นอย่างชัดเจน แต่ในผู้ป่วยบางรายมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร

โรคไวรัสตับอักเสบบี สามารถตรวจสอบการติดเชื้อได้จากการ ตรวจเลือด และการตัดชิ้นเนื้อตับไปตรวจ

ไวรัสตับอักเสบบี โรคตับ โรคติดเชื้อ ติดเชื้อไวรัส

การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับการรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี สามารถใช้ยารักษา แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยของไวรัสบี ปัจจัยทางผู้ป่วย และระยะของโรค โดยในปัจจุบัน ยาที่ใช้รักษาไวรัสตับอักเสบบี มีทั้งชนิดฉีดและชนิดรับประทาน แนวทางการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ บี ยังเป็นการรักษาประคับประคองตามอาการ ไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะเพราะยาปฏิชีวนะฆ่าไวรัสไม่ได้ แต่ใช้ฆ่าแบคทีเรีย ซึ่งที่สำคัญ คือ พักการทำงานของตับ โดยการพักผ่อนให้มากๆ (ควรต้องหยุดงานอย่างน้อยประมาณ 3-4 สัปดาห์) นอกจากนั้น คือ

  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน(สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง ฟื้นตัวได้เร็ว ลดโอกาสติดเชื้อซ้ำซ้อน ลดการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น
  • ดื่มน้ำให้มากกว่าปกติ ไม่ควรต่ำกว่าวันละ 6-8 แก้ว(เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม)
  • กินอาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ ทุกวัน
  • งดบุหรี่ และ แอลกอฮอล์ เพราะสารพิษในบุหรี่และแอลกอฮอล์ทำลายเซลล์ตับโดยตรง
  • กินยาแต่ที่เฉพาะได้รับจากแพทย์ ไม่ซื้อยากินเอง เพราะเพิ่มโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยาต่อเซลล์ตับสูงขึ้น อาจส่งผลให้ตับอักเสบมากขึ้น

อนึ่ง ในการรักษาโรคในระยะเรื้อรัง ปัจจุบันมีตัวยาหลายชนิด ทั้งฉีด และกิน ใช้เพื่อชะลอการแบ่งตัวของไวรัส ส่วนจะเลือกใช้ยาตัวใด ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ในปัจจุบันสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกัน สำหรับคนที่มีคนในครอบครัวเป็นพาหะของไวรัสชนิดนี้ ให้ตรวจเลือดเพื่อให้ทราบถึงภาวะของเชื้อ

  • ฉีดวัคซีนป้องกัน โดยผู้ที่ควรฉีดวัคซีนมากที่สุดคือ เด็กแรกเกิด สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่โดยทั่วไปมีความจำเป็นน้อยในการฉีดวัคซีน เนื่องจากส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อแล้ว หากต้องการฉีดวัคซีนควรได้รับการตรวจเลือด ผู้ที่เคยติดเชื้อมาแล้วหรือมีภูมิต้านทานแล้วไม่ต้องฉีดวัคซีน
  • ผู้ที่อยู่ในครอบครัวที่เป็นพาหะ ควรตรวจเลือดเพื่อทราบถึงภาวะของการติดเชื้อก่อนการฉีดวัคซีน การฉีดวัคซีนต้องฉีดให้ครบชุดจำนวน 3 เข็ม หลังจากนั้นวัคซีนจะกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานขึ้นในร่างกาย

ข้อควรปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบี

  1. ควรขอรับคำแนะนำจากแพทย์ และระมัดระวังการแพร่เชื้อไปสู่คนใกล้ชิด
  2. ไม่ใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์
  3. ตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ
  4. เวลามีเพศสัมพันธ์ต้องสวมถุงยางอนามัย
  5. ไม่บริจาคเลือด
  6. งดการดื่มสุรา
  7. พักผ่อนให้เพียงพอ
  8. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  9. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  10. หากต้องรับการผ่าตัดหรือทำฟัน ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบว่ามีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove