โรคหัดเยอรมัน โรคเหือด โรคหัดสามวัน เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหัดเยอรมัน ทำให้เกิดผื่นแดงตามร่างกาย เกิดได้กับทุกคน ไม่ใช่โรคร้ายแรง การรักษาและป้องกันทำอย่างไรโรคหัดเยอรมัน โรคเหือด โรคหัดสามวัน โรคติดต่อ

โรคหัดเยอรมัน เป็นโรคที่มีอาการคล้ายโรคหัด ซึ่งการแสดงอาการของโรคนั้น แสดงให้เห็นที่ผิวหนัง เกิดอาการผื่น มีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต สำหรับประเทศไทย เรียกโรคนี้ว่า โรคเหือด หรือ โรคหัดสามวัน

สาเหตุของการเกิดโรคหัดเยอรมัน

โรคหัดเยอรมัน เกิดจากร่างกายติดเชื้อไวรัสรูเบลลา ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำมูก หรือ น้ำลายของคนที่มีเชื้อไวรัสรูเบลลา และ เกิดการแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่น โดยผ่านการไอ การจาม และ การสูดอากาศที่มีเชื้อโรคอยู่ หากเกิดการติดเชื้อกับหญิงที่ตั้งครรภ์อยู่สามารถติดเชื้อสู่ทารกผ่านทางกระแสเลือดได้

กลไกการเกิดโรคหัดเยอรมัน คือ เมื่อเกิดการหายใจรับเชื้อโรคไวรัสหัดเยอรมันเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ เชื้อกระจายเข้าสู่กระแสเลือดและเข้าสู่ระบบน้ำเหลือง ต่อมน้ำเหลือง ตับ และ ม้าม สุดท้านเชื้อโรคจะกระจายเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ระบบการทำงานต่าง ๆของร่างกายผิดปรกติ

ระยะของการเกิดโรค

สำหรับระยะของการเกิดโรค มี 2 ระยะ คือ ระยะการฟักตัวของโรค และ ระยะติดต่อ ซึ่งทั้งสองระยะนี้ จะหายภายใน 2-3 สัปดาห์ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ระยะการฟักตัวของโรค ระยะนี้ประมาณ 14 – 23 วัน แต่โดยเฉลี่ยและ ระยะนี้จะใช้เวลาประมาณ 16 – 18 วัน หลังจากนั้นเช้ือโรคจะแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ โดยไม่มีอาการผื่นขึ้นตามร่างกาย
  • ระยะติดต่อ ระยะนี้จะเกิดขึ้น 5 วันก่อนร่างกายเกิดผื่น ช่วง 7 วันก่อนมีผื่น และ 7 วันหลังผื่นหาย คืิอ ระยะที่สามารถแพรกระจายเชื้อโรคสู่ผู้อื่นได้ โรคนี้มักระบาดในโรงเรียน โรงงาน สถานที่ทำงาน และ เกิดมากในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน

อาการของโรคหัดเยอรมัน

สำหรับโรคหัดเยอรมัน นั้นจะแสดงอาการในระยะแรก เหมือนอาการติดเชื้อไวรัสธรรมดา หลังจากได้รับเชื้อโรคแล้ว จะแสดงอาการดังต่อไปนี้

  • มีไข้ ประมาณ 37 องศาเซลเซียส
  • มีอาการบวมที่คอ ท้ายทอย และ หลังหู เกิดจากอาการต่อมน้ำเหลืองโต
  • มีผื่นแดง และ ตุ่มนูน ขึ้นที่ใบหน้า และ ลามไปตามผิวหนังส่วนต่างๆ เช่น แขน ขา และกระจายตามตัว บางรายอาจมีอาการคันตามผิวหนัง
  • มีอาการปวดหัว
  • เบื่ออาหาร
  • มีอาการตาแดง จากสาเหตุเยื่อบุตาอักเสบ
  • คัดจมูกและมีน้ำมูก
  • มีอาการบวม และ ปวดตามข้อกระดูก

อาการของโรคจะมีประมาณ 2 – 3 วัน ยกเว้นอาการต่อมน้ำเหลืองโต ซึ่งมีอาการนี้ใช้เวลานานหลายสัปดาห์จึงหาก โรคนี้เป็นภาวะโรคที่อันตรายสำหรับสตรีมีครรภ์

โรคหัดเยอรมันโดยกำเนิด ( Congenital Rubella Syndrome )

โรคหัดเยอรมันโดยกำเนิด คือ ภาวะการเกิดโรคหัดเยอรมัน ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหัดเยอรมันระหว่างการตั้งครรภ์ ทารกที่ติดเชื้อหัดเยอรมัน จะมีอาการพิการของร่างกาย เช่น พัฒนาการช้า สติปัญญาบกพร่อง หูหนวก เกิดต้อกระจก โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ก ารทำงานของตับ ม้ามและไขกระดูกมีปัญหา ขนาดศีรษะเล็กและสมองไม่พัฒนา

วิธีรักษาโรคหัดเยอรมัน

การรักษาโรคหัดเยอรมัน โดยทั่วไปที่ไม่ได้เกิดกับสตรีมีครรภ์ การรักษาโรคแพทย์จะรักษาโดยการประคับประคองอาการของโรคตามอาการของโรค เช่น การให้ยาลดไข้ การให้ยาทาแก้ผดผื่นคัน การให้ยาต้านการอักเสบ เป็นต้น

การรักษาหัดเยอรมันสำหรับสตรีมีครรภ์ สำหรับสตรีตั้งครรภ์ในระยะ 3 เดือนแรก แพทย์จะแนะนำให้ยุติการตั้งครรภ์ ส่วนสตรีที่มีอายุครรภ์เกิน 7 เดือนทารกมักจะปลอดภัย ส่วนสตรีที่มีอายุครรภ์ต่ำกว่า 6 เดือน ทารกมักมีโอกาสพิการ ซึ่งในกรณีนี้แพทย์มักตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ แต่สำหรับในบางรายที่ไม่ยอมยุติการตั้งครรภ์ แพทย์จะฉีดอิมมูนโกลบูลินให้ผู้ป่วย ป้องกันการติดเชื้อสู่ทารกและช่วยลดความรุนแรงของโรคกับทารกได้

วิธีป้องกันการเกิดโรคหัดเยอรมัน

การป้องกันการเกิดโรคหัดเยอรมัน ในปัจจุบันสามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน โดยวัคซีนจะกำหนดให้ฉีดเข็มแรก สำหรับ เด็กอายุ 9 – 12 เดือน และ ฉีดเข็มที่ 2 เมื่ออายุได้ 4 – 6 ปี ซึ่งจะสร้างภูมิต้านทานโรคคางทูมได้ตลอดชีวิต

ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคหัดเยอรมัน

สำหรับผู้ป่วยโรคหัดเยอร์มัน มีข้อควรปฏิบัตตน ดังต่อไปนี้

  • ผู้ป่วยโรคหัดเยอรมันระยะติดต่อ ควรหลีกเลี่ยงการเข้าสังคม อาการอยู่ในพื้นที่ที่มีผู้คนแออัด
  • ไม่ควรเข้าใกล้ผู้ป่วยโรคอื่นๆ เพราะอาจทำให้เกิดการติดต่อสู่ผู้อื่นได้ง่าย และ อาจจะรุนแรงมาก
  • อุปกรณ์ต่างๆ เช่น แก้วน้ำ จาน ชาม ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว โทรศัพท์ ของเล่น เครื่องใช้ต่าง ๆ ต้องแยกอุปกรณ์ไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น

โรคหัดเยอรมัน โรคเหือด โรคหัดสามวัน คือ โรคติดต่อ ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหัดเยอรมัน ทำให้เกิดผื่นแดงตามร่างกาย สามารถเกิดได้กับทุกคน โรคนี้ไม่ร้ายแรง สาเหตุของโรค อาการของโรค การรักษาโรค และ การป้องกันการเกิดโรค

ปากแห้ง ภาวะริมฝีปากแห้งขาดความชุ่มชื้น เกิดจากภาวะขาดน้ำ น้ำลายน้อย ต่อมน้ำลายไม่ผลิตน้ำลาย อาการมีแผลที่ริมฝีปาก เจ็บริมฝีปาก การรักษาและป้องกันโรคทำอย่างไร

ปากแห้ง ริมฝีปากแห้ง โรคเกี่ยวกับปาก โรคไม่ติดต่อ

สาเหตุของปากแห้ง

ปากแห้ง เป็นผลจากภาวะการขาดความชุ่มชื้นของริมฝีปาก จากสาเหตุต่างๆ เช่น ภาวะการขาดน้ำ ต่อมน้ำลายไม่ผลิตน้ำลาย ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของภาวะปากแห้ง สำหรับปัจจัยที่ทำให้ต่อมน้ำลายไม่ผลิตน้ำลาย เกิดจากสาเหตุต่างๆดังต่อไปนี้

  • ภาวะขาดน้ำ การดื่มน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือ อยู่ในภาวะที่ทำให้ร่างกายเสียน้ำจำนวนมาก เช่น เสียเหงื่อ ท้องเสีย เสียเลือด มีไข้ อาการเหล่านี้ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ และ ส่งผลต่อริมฝีปากแห้ง
  • การใช้ยา การใช้ยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิต ยาแก้แพ้ ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้ปวด ยาลดน้ำมูก ยาเหล่านี้ส่งผลต่ออาการปากแห้งได้
  • ผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็ง ด้วยการทำเคมีบำบัด ซึ่งอาจเกิดขึ้นในระหว่างการรักษา ผู้ป่วยที่ได้รับการฉายแสงบริเวณศีรษะและคอ อาจเกิดความผิดปรกติของต่อมน้ำลายได้
  • ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดบริเวณศรีษะ หรือ ลำคอ ซึ่งอากเกิดความเสียหายที่เส้นประสาทจนทำให้เกิดภาวะปากแห้งได้ ซึ่งอาการนี้สามารถเกิดจากการได้รับบาดเจ็บที่ศรีษะหรือลำคอด้วย เช่นกัน
  • การใช้สารเสพติด รวมถึง การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ อาจทำให้เกิดความเสียหายของปากและอวัยวะภายในปาก ทำให้ปากแห้งอย่างรุนแรงได้
  • ความเสื่อมของร่างกายตามวัย สำหรับผู้สูงอายุมักมีภาวะปากแห้ง ด้วยปัจจัยต่างๆ จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย การเจ็บป่วย หรือ การขาดสารอาหารบางชนิด

อาการของภาวะปากแห้ง

สำหรับผู้ป่วยภาวะริมฝีปากแห้ง มักมีภาวะการขาดน้ำร่วม โดยอาการจพแสดงออกที่ริมฝีปาก ให้เห็นอย่างเด่นชัด และ ภาวะปากแห้งเป็นสัญญาณของโรคต่างๆ ที่จะตามมาด้วย อาการของโรคปากแห้ง มีปัจจัยที่จะเกิดร่วม หรือ เป็นสาเหตุของโรคต่างๆที่แสดงอาการ ดังนี้

  • รู้สึกคอแห้ง เจ็บคอ กระหายน้ำ
  • รุ้สึกปากแห้ง และน้ำลายเหนียว
  • มีแผลในปาก หรือ มีรอยแตกที่ริมฝีปาก
  • มีอาการลิ้นแห้ง แสบลิ้น และ มีอาการลิ้นแดง
  • มีอาการเสียงแหบ
  • มีกลิ่นปาก
  • ภายในจมูกแห้ง แสบจมูกเวลาหายใจ

การรักษาปากแห้ง

สำหรับแนวทางการรักษาริมฝีปากแห้ง สามารถรักษาได้โดย การดูแลสุขภาพ รักษาความอบอุ่นของร่างกาย และ ดื่มน้ำให้เพียงพอ โดยแนวทางการรักษาริมฝีปากแห้ง มีดังนี้

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย วันละ 8 – 10 แก้วต่อวัน
  • อมลูกอม หรือ เคี้ยวหมากฝรั่ง เพื่อช่วยกระตุ้นให้ต่อมน้ำลายทำงานมากขึ้น
  • อมน้ำแข็ง เป็นการเพิ่มน้ำในปาก เพิ่มความชุ่มชื่นภายในปาก
  • ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปาก หรือ ทาวาสลีนช่วยรักษาความชุ่มชื้นของริมฝีปาก
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มผสมคาเฟอีน
  • เลิกสูบบุหรี่

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากปากแห้ง

สำหรับอาการปากแห้ง เป็นการเตือนว่าร่างกายเกิดความผิดปรกติ โดยภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากอาการปากแห้ง เช่น ฟันผุ โรคเหงือกอักเสบ แผลในปาก ปากอักเสบ เป็นต้น

การป้องกันภาวะริมฝีปากแห้ง

สามารถป้องกันและบรรเทาอาการปากแห้ง ได้โดยมีแนวทางการปฏิบัติ ดังนี้

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
  • รักษาความอบอุ่นของร่างกาย
  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่เกิดการระคายเคืองต่อปาก เช่น อาหารเผ็ดหรือเค็มจัด
  • กระตุ้นการทำงานของต่อมน้ำลาย ด้วยการอมลูกอมหรือเคี้ยวหมากฝรั่ง
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มสุรา กาแฟ
  • ไม่สูบบุหรี่

ปากแห้ง คือ ภาวะริมฝีปากแห้ง ขาดความชุ่มชื้น เกิดจากภาวะขาดน้ำ น้ำลายน้อย ต่อมน้ำลายไม่ผลิตน้ำลาย เพื่อรักษาความชุ่มชื้นในปากอย่างปกติ ส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพ และ ทำให้เกิดการติดเชื้อ แผลที่ริมฝีปาก อาการของปากแห้ง การรักษาปากแห้งทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove