มะระ Bitter melon สมุนไพร ผลมะระมีรสขม นิยมนำมารับประทาน ลักษณะของต้นมระเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะระ  เช่น ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยเจริญอาหาร โทษของมะระ มีอะไรบ้าง

มะระ สมุนไพร พืชสวนครัว สรรพคุณของมะระ

ต้นมะระ ( Bitter melon ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะระ คือ Momordica charantia L. ชื่อเรียกอื่นๆของมะระ เช่น  ผักเหย ผักไห มะร้อยรู มะห่อย มะไห่ สุพะซู สุพะเด เป็นต้น มะระ เป็นพืชล้มลุก อายุเพียงปีเดียว ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน มีเถาเลื้อยยาวตามพื้นดินหรือตามต้นไม้ เป็นพืชตระกูลเดียวกับ ฟัก แตงกวาและบวบ สรรพคุณของมะระ บำรุงดวงตา บำรุงกระดูก แก้กระหายน้ำ รักษาเบาหวาน บำรุงเลือด ช่วยขับสารพิษ แก้หวัด ลดไข้ ขับเสมหะ เป็นยาระบายอ่อนๆ ขับพยาธิ รักษาผิวหนัง รักษาสิว บำรุงน้ำดี ช่วยสมานแผล ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม

มะระในประเทศไทย

สำหรับมะระในประเทศไทย นิยมปลูกมะระตามรั่วบ้าน เพื่อรับประทานผลมะระ และ ยอดอ่อนมะระเป็นอาหาร ในประเทศไทยมีปลูกมากในภาคเหนือ ซึ่งมะระ ที่พบเห็นได้ทั่วไปในประเทศไทย มีอยู่ 2 สายพันธ์ คือ มะระจีน และ มะระขี้นด รายละเอียดของมะระแต่ละสายพันธ์ มีดังนี้

  • มะระจีน ลักษณะพิเศษ คือ ผลขนาดใหญ่ สีเขียว ผิวขรุขระ เนื้อมาก นิยมนำมาทำอาหาร เช่น ต้มจืด ผัดมะระ เป็นต้น รวมถึงรับประทานเป็นผักสด
  • มะระขี้นก ลักษณะพิเศษ คือ ผลมีขนาดเล็ก รสขมมาก สามารถนำมารับประทานเป็นอาหารรวมถึงทานเป็นผักสดได้

ลักษณะของต้นมะระ

ต้นมะระ  เป็น ไม้เถา พืชตระกุลเดียวกับแตง พืชล้มลุกที่มีอายุเพียงปีเดียว การขยายพันธุ์ของมะระ จะขยายพันธ์โดยใช้เมล็ด ลักษณะของต้นมะระ มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นมะระ เป็นเถา ลำต้นเป็นเหลี่ยม สีเขียว มีขนเ และลำต้นจะสามารถเกาะตามต้นไม้หรือเสาได้โดยใช้รากเป็นตัวเกาะ
  • ใบมะระ ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ในเป็นแฉกเว้าลึก 5 แฉก โคนใบกลม ก้านใบยาว ใบสีเขียว มีขนสากๆ
  • ดอกมะระ ลักษณะดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกตามซอกใบ ลักษณะคล้ายรูประฆัง กลีบดอกสีเหลือง ก้านดอกยาว
  • ผลมะระ ลักษณะยาวรี ผิวเปลือกบาง ผิวผลมะระขรุขระเป็นร่อง มีเนื้อผลหนา ฉ่ำน้ำ ผลดิบมีสีเขียว ผลสุกจะมีสีแดง
  • เมล็ดมะระ ลักษณะเมล็ดแบนรี ปลายเมล็ดแหลมทั้งสองด้าน เมล็ดอยู่ภายในผลจำนวนมาก

คุณค่าทางโภชนาการของมะระ

สำหรับการรับประทานมะระ นิยมรับประทานผลสดของมะระเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาผลสดมะระจีน ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน มากถึง 17 กิโลแคลอรี และมีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 2.8 กรัม โปรตีน 1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 3.7 กรัม ไขมัน 0.17 กรัม วิตามินเอ 380 มิลลิกรัม วิตามินB1 0.04 มิลลิกรัม วิตามินB2 0.4 มิลลิกรัม วิตามินB3 0.4 มิลลิกรัม วิตามิน B5 0.212 มิลลิกรัม วิตามินB6 0.043 มิลลิกรัม วิตามินซี 84 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.8 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 19 มิลลิกรัม ธาตุทองแดง 0.034 ไมโครกรัม ธาตุเหล็ก 0.43 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 17 มิลลิกรัม แมงกานีส 0.089 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 31 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 296 ไมโครกรัม และ โซเดียม 5 มิลลิกรัม

ผลมะระจีน มีสารสำคัญหลายชนิด เช่น แคแรนทิน ( charantin ) โพลีเปปไทด์ พี ( p-insulin ) และ วิซิน ( vicine ) ซึ่งมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด

รสขมของมะระ มาจากสารเคมี ที่มีชื่อว่า Momodicine สารชนิดนี้ มีประโยชน์ช่วยกระตุ้นความรู้สึกทำให้อยากกินอาหาร ช่วยให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารทำงานได้มีประสิทธิภาพ เป็นยาระบายอย่างอ่อนๆ

สรรพคุณของมะระ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะระ เพื่อการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้น สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ได้จาก ผล เถา เมล็ด ราก ใบ ซึ่งนำเอาไปใช้ประโยชน์ สรรพคุณของมะระ มีดังนี้

  • รากของมะระ สารารถนำมาใช้ปรุงเป็นยาบำรุง ฝาดสมาน แก้ริดสีดวงทวาร และเป็นยาธาตุ รักษาโรคกระเพาะอาหารช่วยแก้อาการบิด
  • เถาของมะระ ช่วยดับพิษร้อนภายในร่างกาย  ช่วยแก้อาการบิด
  • เมล็ดของมะระ สามารถช่วยปรับสมดุลของธาตุในร่างกาย ช่วยขับพยาธิตัวกลม
  • ใบสดของมะระ มีรสขม นำมาลวก หรือต้มดื่ม สามารถใช้เป็นยาฟอกเลือด ยาระบาย ช่วยเจริญอาหาร ช่วยแก้กระหายน้ำ ช่วยบรรเทาอาการหวัด ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยลดอาการฟกช้ำ ช่วยแก้อาการผดผื่นคัน
  • ใบแห้งของมะระ นำมาบดให้ละเอียดกับน้ำกินเป็นยา ช่วยขับพยาธิ ขับลม และบำรุงธาตุ
  • ผลสดของมะระ นิยมนำมาทำอาหาร ให้รสขม นำมารับประทาน ช่วยรักษาโรคเบาหวาน บำรุงธาตุ มีเบต้าแคโรทีนช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยทำให้ดวงตาสดใส ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ขับเสมหะ เป็นยาระบายอ่อน มะระช่วยแก้ตับ ม้ามพิการ บำรุงน้ำดี  ผลของมะระนำมาคั้นเอาน้ำใช้อมแก้อาการปากเปื่อย
  • ผลแห้งของมะระ นำมาบดให้ละเอียด โรยบริเวณที่เป็นแผล ใช้ทาแก้คัน หิด และโรคผิวหนัง
  • ผลสุกของมะระ นำมาทาหน้ารักษาสิวได้

โทษของมะระ

หากไม่อยากกินมะระที่ขมมากนัก ควรเริ่มตั้งแต่การเลือกซื้อ คือเลือกผลที่มีสีเขียวอ่อน อวบ และมีลายห่าง ๆ เพราะจะขมน้อยกว่าผลที่มีสีเขียวเข้มและลายถี่ และก่อนนำมะระไปปรุงอาหาร ให้ผ่าแล้วเอาเมล็ดและไส้ในออกจนหมด จากนั้นหั่นแล้วนำไปแช่น้ำเกลือสักพัก จะช่วยให้มะระลดความขมลงได้

มะระ ( Bitter melon ) คือ สมุนไพร พืชสวนครัว ผลมะระมีรสขม นิยมนำมารับประทาน ลักษณะของต้นมระเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะระ  เช่น ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยเจริญอาหาร โทษของมะระ มีอะไรบ้าง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ชะอม Climbing Wattle สมุนไพร ต้นชะอมเป็นอย่างไร สรรพคุณของชะอม เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความร้อนในร่างกาย บำรุงเส้นผม แก้ท้องผูก แก้ปวดท้อง ช่วยขับลม

ชะอม สมุนไพร พืชพื้นบ้าน สรรพคุณของชะอม

ต้นชะอม ภาษาอังกฤษ เรียก Climbing Wattle มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Acacia pennata (L.) Willd ชื่ออื่นๆ ของชะอม เช่น ผักหละ อม ผักขา พูซูเด๊าะ โพซุยโดะ เป็นต้น ใบชะอม นิยมนำมาทำเป็นส่วนประกอบการทำอาหาร เช่น ไข่ทอดชะอม แกงส้มชะอมกุ้ง ชะอมชุบไข่  แกงส้มชะอมไข่ นำมาลวกเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของชะอม

จากการศึกษาชะอมของนักโภชนาการ พบว่า ชะอม มีคุณค่าทางอาหาร ประกอบด้วย ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินซี

คุณค่าทางโภชนาการของชะอม ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงานมากถึง 57 กิโลแคลอรี่ และ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย กากใยอาหาร 5.7 กรัม ฟอสฟอรัส 80 กรัม แคลเซียม 58 กรัม ธาตุเหล็ก 4.1 มิลลิกรัม วิตามินเอ 10066 IU (หน่วยสากล) วิตามินบี1 0.05มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.25 มิลลิกรัม วิตามินบี 31.5 มิลลิกรัม วิตามินบี 58 มิลลิกรัม

ลักษณะชองต้นชะอม

ต้นชะอม เป็นพืชชนิดไม้พุ่ม พบว่ามีถิ่นกำเนิดแถวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชะอมจะมีหนามที่ลำต้นและกิ่งก้าน ใบของชะอม มีสีเขียวขนาดเล็ก ก้านใบย่อยแตกออกจากแกนกลางใบ ใบอ่อนของชะอมจะมีกลิ่นฉุน ปลายของใบชะอมจะแหลมขอบใบเรียบ ส่วนดอกของชะอม มีขนาดเล็กและออกตามซอกใบมีสีขาวนวล ชะอมสามารถขยายพันธ์ได้ โดยการปักชำ การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง หรือการโน้มกิ่งลงดิน

  • ลำต้น ชะอมเป็นไม้พุ่มขนาดย่อมไม่สูงมาก แต่เคยมีพบการพบชะอมในป่า ลักษณะเป็นต้นไม้ใหญ่ วัดเส้นรอบวงของลำต้นได้ 1.2 เมตร กิ่งก้านของชะอมมีหนามแหลม
  •  ใบ ลักษณะ เป็นใบประกอบขนาดเล็ก มีก้านใบแยกเป็นใบอยู่  2 ทาง ลักษณะคล้ายใบกระถิน (แยกได้โดยการสังเกตุดีๆหรือดมกลิ่น)  ใบอ่อนมีกลิ่น ฉุนคล้ายกลิ่นลูกสะตอแต่ก็ไม่เหมือนซะทีเดียวนะครับ ใบเรียงแบบสลับใบย่อย ออกตรง ข้ามกัน ใบย่อรูปรี มีประมาณ 13-28 คู่ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ส่วนที่มักนำไปทานก็คือใบออ่นหรือยอกของชะอมนั่นเอง
  • ดอก ชะอมจะออกที่ซอกกิ่ง สีขาวหรือขาวนวล ดอกขนาดเล็กและเห็นชัด เฉพาะเกสรตัวผู้ที่เป็นฝอยๆ
  •  ผล เป็นฝัก มีขนาดเล็กกว่าฝักกระถิน

สรรพคุณของชะอม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากชะอม เพื่อการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ได้จาก ยอดชะอม และ รากชะอม สรรพคุณของชะอม มีดังนี้

  • ยอดชะอม จะมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยลดความร้อนในร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ
    ชะอม สรรพคุณช่วยในการขับถ่าย แก้โรคท้องผูก ช่วยบำรุงเส้นผม
  • รากชะอม จะมีสรรพคุณช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ลดการปวดท้อง และช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยบำรุงเส้นเอ็น ช่วยแก้อาการลิ้นอักเสบเป็นผื่นแดง

โทษของชะอม

ข้อควรระวังในการบริโภคชะอม โทษของชะอม เนื่องจาก ชะอมมีกรดยูริกสูง หากบริโภคมากเกินไปก็จะส่งผลเสียกับร่างกายได้ ดดยรายละเอียด ดังนี้

  1.  ชะอมจะทำให้น้ำนมแห้ง คุณแม่หลังคลอดไม่ควรรับประทาน
  2. การรับประทานชะอม ในช่วงฤดูฝน ชะอ อาจมีรสเปรี้ยว อาจทำให้ปวดท้องได้
  3. ชะอมมีกรดยูริก หากรับประทานมากๆ อาจทำให้เป็นโรคเกาต์ ทำให้ปวดกระดูก เป็นเกาต์ไม่ควรบริโภคชะอม 
  4. สำหรับคุณแม่ที่เพิ่งมีบุตรอ่อน ไม่ควรรับประทานผักชะอม เพราะจะทำให้น้ำนมแม่แห้งได้
  5. ผักชะอม สำหรับคุณแม่ลูกอ่อน จะแพ้กลิ่นของผักชนิดนี้อย่างมาก ดังนั้นควรอยู่ห่าง ๆ
  6. การรับประทานผักชะอมในหน้าฝน อาจจะมีรสเปรี้ยว กลิ่นฉุน บางครั้งอาจทำให้มีอาการปวดท้องได้ (ปกตินิยมรับประทานผักชะอมหน้าร้อน)
  7. กรดยูริกเป็นตัวการที่ทำให้เกิดข้ออักเสบในผู้ป่วยโรคเกาต์ ซึ่งเกิดมาจากสารพิวรีน (Purine) โดยผักชะอมนั้นก็มีสารพิวรีนในระดับปานกลางถึงระดับสูง ผู้ป่วยโรคเกาต์สามารถรับประทานได้ แต่ควรรับประทานในปริมาณที่จำกัด หากเป็นมากก็ไม่ควรรับประทาน เพราะจะทำให้ปวดกระดูกได้
  8. อาจพบเชื้อก่อโรคอย่างซาลโมเนลลา (Salmonella) ซึ่งเป็นเชื้อที่สามารถพบได้ทั่วไปในสภาพแวดล้อม เช่น ดิน น้ำ อากาศ เมื่อเรานำผักชะอมที่ปนเปื้อนสารชนิดนี้มาประกอบอาหารโดยไม่ล้างทำความสะอาดหลาย ๆ ครั้ง หรือไม่นำมาปรุงให้สุกก่อนรับประทาน อาจมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อชนิดนี้ได้ โดยผู้ที่ได้รับเชื้อชนิดอาจจะมีอาการท้องเสีย ปวดท้อง ถ่ายเหลวเป็นน้ำสีเขียว หรือถ่ายเป็นมูกมีเลือดปน มีไข้ เป็นต้น

วิธีการปลูกและการดูแล

ชะอม เป็นผักพื้นบ้าน ริมรั่ว เป็นพืชพื้นบ้าน ปลูกง่าย ชะอมไม่ชอบน้ำท่วมขัง ดังนั้นการปลูกชะอม ต้องยกร่องสวน และเว้นระยะห่างให้พอดี ต่อการเดินเก็บชะอม อย่าปลูกชิดกันเกินไปเนื่องจากชะอมมีหนาม ชะอม 1 ไร่ สามารถปลูกได้ถึง 2,000 ต้น การปลูกชะอมง่ายไม่ต้องรดน้ำบ่อย 2 ถึง 3 วัน ค่อยให้น้ำครั้งหนึ่งก็ได้

การขยายพันธุ์ชะอม

ชะอมสามารขยายพันธุ์ได้ โดยการปักช นำกิ่งของชะอมที่กลางอ่อนกลางแก่ มาปักในดิน ประมาร 1 สัปดาห์ ก็ติดดินแล้ว ประมาณ 30 วัน รากของชะอมออกก็สามารถเริ่มให้ปุ๋ย ได้ การปลูกและขยายพันธ์ชะอมง่ายมาก

ศัตรูพืชของชะอม

ศัตรูของชะอม จะเป็นพวกหนอนคืบและมดแดง ซึ่งในการปลูกแบบอินทรีย์ ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง เราสามารถใช้พวกน้ำหมักชีวภาพ โดยใช้พืชที่มีกลิ่นแรง มีน้ำมันหอมระเหยที่สัตว์ไม่ชอบ เช่น ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด เป็นส่วนผสมของน้ำหมัก เมื่อแมลงหรือหนอนได้กลิ่นก็จะหนีไปเอง แต่ชะอมเป็นพืชที่ศัตรูพืชน้อย ไม่ต้องกังวล

เทคนิคกระตุ้นยอดอ่อนชะอม

หากต้องการใช้ชะอมแตกยอดดีให้ใช้น้ำหมักชีวะภาพ ที่มีส่วนผสมของน้ำมะพร้าว จะช่วยให้ชะอมแตกยอดได้ดี

ชะอม ( Climbing Wattle ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของชะอม คือ Acacia pennata (L.) Willd สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของชะอม ป้องกันมะเร็ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความร้อนในร่างกาย ช่วยบำรุงเส้นผม ยาอายุวัฒนะ ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง และช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยบำรุงเส้นเอ็น ช่วยแก้อาการลิ้นอักเสบ

ชะอม ( Climbing Wattle ) สมุนไพร ผักสวนครัว ลักษณะของต้นชะอม สรรพคุณของชะอม เช่น ป้องกันมะเร็ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความร้อนในร่างกาย ช่วยบำรุงเส้นผม ยาอายุวัฒนะ ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง และช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยบำรุงเส้นเอ็น ช่วยแก้อาการลิ้นอักเสบ

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove