ตังกุย สมุนไพร ตำรับยาไทย เรียก โกฐเชียง สรรพคุณกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ช่วยให้มีลูก เครื่องยาจีน รากตังกุยนำมาทำยา ต้นตังกุุยเป็นอย่างไร โทษของตังกุยเป็นอย่างไร

โกฐเชียง สรรพคุณของตังกุย ตังกุย สมุนไพร

ต้นตังกุย เป็นพืชชนิดสีน้ำตาล เนื้อเหนียว มีรอยแตกหักสีขาว รากเปลือกหนา เนื้อรากสีขาว กลิ่นหอม รสหวานและขม เล็กน้อย นำมาทำยาขับระดู รักษาโรคของสตรี กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ และ ทำให้ลูกดก ต้นตังกุย ( Dong quai ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของตังกุย คือ Angelica sinensis (Oliv.) Diels สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของตังกุย เช่น โสมตังกุย โกฐเชียง เป็นต้น

ลักษณะของต้นตังกุย

ต้นตังกุย เป็นพืชล้มลุก ที่มีถื่นกำเนิดในประเทศจีน เป็นพืชที่ยายุยืนยาว มีกลิ่นเฉพาะตัวพบแพร่หลายในพื้นที่ป่าดิบในเขตเขาสูง นอกจากนี้ยังพบในประเทศญี่ปุ่น และ ประเทศเกาหลี

  • รากตังกุย ลักษณะอวบ เป็นทรงกระบอก อยู่ใต้ดิน มีรากแขนงหลายราก ผิวด้านนอกของรากสีน้ำตาลอมเหลือง ส่วนเนื้อสีเหลืองและมีรูพรุน แกนเป็นสีขาว มีกลิ่นหอมแรง รสหวานอมขม
  • ลำต้นตังกุย ความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นตั้งตรง เปลือกลำต้นหนา มีร่องเล็กน้อย มีเหง้าหรือรากอยู่ใต้ดิน
  • ใบตังกุย ลักษณะเป็นใบเดี่ยว มีหยักลึก รูปทรงไข่ ใบมีก้านเห็นได้ชัดเจน ใบหยักเหมือนฟันเลื่อย โคนแผ่เป็นครีบแคบๆ ใบสีเขียวอมม่วง
  • ดอกตังกุย ลักษณะเป็นช่อ ออกช่อตามยอดของลำต้น และ ง่ามใบ ดอกเป็นสีขาวหรือสีแดงอมม่วง ดอกตังกุยออกดอกช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม ของทุกปี
  • ผลตังกุย ลักษณะของผลเป็นผลแห้ง ขนาดประมาณ 4 มิลลิเมตร ดอกด้านข้างมีปีกบางๆ และมีท่อน้ำมันตามร่อง ผลของตังกุยให้ผลประมาณเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน ของทุกปี

สรรพคุณของตังกุย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากตังกุย ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จากตังกุย ส่วนราก ซึ่ง สรรพคุณของตังกุย มีรายละเอียด ดังนี้

  • บำรุงหัวใจ ตับ และ ม้าม ช่วยกระตุ้นการทำงานของหัวใจ
  • บำรุงเลือด เป็นยาบำรุงเลือด ฟอกเลือด รักษาโรคโลหิตจาง รักษาภาวะเลือดพร่อง ทำให้เลือดไหลเวียนสะดวก และช่วยสลายเลือดคั่ง
  • บำรุงผิวพรรณ ช่วยเพิ่มความเปล่งปลั่งของผิว ทำให้ผิวมีน้ำมีนวล
  • บำรุงร่างกาย บรรเทาอาการปวดเมื่อย
  • บำรุงสมอง บำรุงตับ แก้ปวดหัว แก้เวียนหัว ช่วยเรื่องความจำ ไม่ให้หลงลืมง่าย
  • แก้ไข้ แก้หวัด แก้ไอ แก้หอบหืด แก้ปวดท้อง แก้ปวดข้อ
  • ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยในการขับถ่าย แก้ท้องผูก แก้บิด แก้อาการถ่ายเป็นเลือด
  • แก้ปวดประจำเดือน ลดอาการปวดท้องจากประจำเดือน ช่วยควบคุมรอบเดือนให้ปกติ แก้อาการประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • สำหรับสตรีหลังคลอด ทำให้ช่องคลอดแห้ง ช่วยเสริมฤทธิ์ของฮอร์โมนเพศหญิง ช่วยกระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก ช่วยขับน้ำคาวปลา ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ แก้อาการตกเลือด
  • เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ
  • รักษาแผล รักษาแผลฟกช้ำ แผลฝีหนอง และ แผลเน่าเปื่อย

โทษของตังกุย

การใช้ประโยชน์จากตังกุย มีข้อควรระวัง โดยห้ามใช้กับสตรีมีครรภ์ และ ผู้ป่วยที่มีระบบขับถ่ายไม่ดี ท้องเสียบ่อย ร้อนใน หรือ มีประวัติการอาเจียนเป็นเลือด

ตังกุย สมุนไพร ตำรับยาไทย เรียก โกฐเชียง สรรพคุณเด่นกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ช่วยให้มีลูก เครื่องยาจีน ใช้ รากตังกุยแห้ง นำมาทำยา ลักษณะของต้นตังกุุยเป็นอย่างไร สรรพคุณของตังกุบ โทษของตังกุย

ถั่วเขียว พืชเศรษฐกิจ ถั่วงอกทำมาจากถั่วเขียว ต้นถั่วเขียวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณบำรุงสายตา ลดความดัน ช่วยเจริญอาหาร โทษของถั่วเขียวมีอะไรบ้าง

ถั่วเขียว ถั่วงอก ธัญพืช สมุนไพร

ต้นถั่วเขียว ( Green bean ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของถั่วเขียว คือ Vigna radiata (L.) R.Wilczek สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของถั่วเขียว เช่น ถั่วจิม ถั่วมุม ถั่วเขียว ถั่วทอง เป็นต้น สำหรับต้นถั่วเขียว มีประวัติการบริโภคมากกว่า 4,000 ปี ที่แคว้นมัธยประเทศ ในประเทศอินเดีย ซึ่งถั่วเขียวเป็นพืชที่ปลูกกันอย่างแพร่หลาย ในประเทศไทย พม่า ศรีลังกา ปากีสถาน อิหร่าน และ จีน เนื่องจากเมล็ดถั่วเขียว สามารถเก็บได้นาน เมล็ดนิยมนำมาทำอาหาร เมนูอาหารที่มีถั่วเขียวเป็นส่วนประกอบ เช่น เต้าส่วน ถั่วทอง ขนมข้าวเกรียบอ่อน เป็นต้น และ นำมาเพาะเป็น ถั่วงอก ได้

ลักษณะของต้นถั่วเขียว

ต้นถั่วเขียวเป็นพืชล้มลุก อายุเพียงแค่หนึ่งปี สามารถปลูกได้ตลอดปี ใช้น้ำน้อย ทนแล้งได้ดี สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นถั่วเขียว มีดังนี้

  • ลำต้นถั่วเขียว ลักษณะเป็นพุ่มตั้งตรง ความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นแตกแขนง ลำต้นลักษณะค่อนข้างเป็นเหลี่ยม ลำต้นมีขนอ่อนๆปกคลุมทั่วลำต้น
  • ใบถั่วเขียว ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ขึ้นแบบสลับอยู่บนลำต้น ใบมีสีเขียว ลักษณะคล้ายรูปไข่ ปลายใบแหลม ใบมีขนปกคลุม
  • ดอกถั่วเขียว ลักษณะดอกออกเป็นช่อ กลีบดอกสีขาว สีม่วง และ สีเหลือง ก้านช่อดอกยาวประมาณ 20 เซนติเมตร
  • ฝักถั่วเขียว ลักษณะยาวกลม ความยาวของฝักประมาณ 15 เซนติเมตร ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่สีน้ำตาลอ่อน ภายในฝักจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 10-15 เมล็ด
  • เมล็ดถั่วเขียว อยู่ภายในฝักถั่วเขียว ลักษณะของเมล็ดกลมรี มีสีเขียว เนื้อในเป็นสีเหลือง เมล็ดผิวเรียบ แข็ง

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว

สำหรับการบริโภถั่วเขียว นิยมนำมาบริโภคทั้งเมล็ดถั่วเขียวดิบ และ เมล็ดถั่วเขียวสุก นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดถั่วเขียวดิบ ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 347 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 62.62 กรัม น้ำ 9.05 กรัม น้ำตาล 6.6 กรัม กากใยอาหาร 16.3 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 23.86 กรัม วิตามินบี1 0.621 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.233 มิลลิกรัม วิตามินบี3 2.251 มิลลิกรัม วิตามินบี5 1.91 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.382 มิลลิกรัม วิตามินบี9 625 ไมโครกรัม วิตามินซี 4.8 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.51 มิลลิกรัม วิตามินเค 9 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 132 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 6.74 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 189 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.035 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 367 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,246 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 2.68 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดถั่วเขียวต้ม ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 105 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 19.15 กรัม น้ำ 72.66 กรัม น้ำตาล 2 กรัม กากใยอาหาร 7.6 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 7.02 กรัม วิตามินบี1 0.164 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.061 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.577 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.41 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.067 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 159 ไมโครกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.15 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.7 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.4 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 48 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.298 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 99 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 266 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.84 มิลลิกรัม

สรรพคุณของถั่วเขียว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากถั่วเขียว ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นิยมใช้การบริโภคเมล็ดถั่วเขียว โดยสรรพคุณของถั่วเขียว มีดังนี้

  • บำรุงร่างกาย ช่วยเสริมสร้างกล้าม บำรุงกำลัง และ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค
  • ป้องกันมะเร็ง มีสารต้านเอนไซม์โปรตีเอสสูง
  • ช่วยเจริญอาหาร แก้ปัญหาการไม่อยากกินข้าว และ แก้เบื่ออาหาร
  • บำรุงเลือด ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยไขมันและคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ช่วยควบคุมน้ำหนัก ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน
  • บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • ช่วยลดไข้ ช่วยขับร้อนในร่างกาย แก้ร้อนใน
  • แก้กระหายน้ำ
  • ช่วยถอนพิษในร่างกาย ช่วยแก้อาการอาเจียนจากการดื่มเหล้า ช่วยขับของเหลวในร่างกาย ขับปัสสาวะ
  • บำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยกระตุ้นประสาท ช่วยให้สมองทำงานฉับไว
  • บำรุงสายตา รักษาตาอักเสบ แก้อาการตาพร่า
  • ช่วยขับถ่าย ป้องกันอาการท้องผูก
  • รักษาแผลฝี

โทษของถั่วเขียว

สำหรับการบริโภคถั่วเขียว ข้อควรระวังในการรับประทาน ดังนี้

  • การกินถั่วเขียวทำให้ท้องอืด สำหรับคนที่มีอาการท้องอืดง่าย ไม่ควรรับประทานถั่วเขียว
  • สำหรับผู้ป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ไม่ควรรับประทานถั่วเขียว เพราะ อาจทำให้อุจจาระบ่อย หรือ ท้องเดิน
  • การกินถั่วเขียวมากเกินไป ทำให้อ้วนได้ อาจทำให้ร่างกายได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป
  • ถั่วเขียว มีสารพิวรีน ( Purine ) กระตุ้นให้เกิดข้อกระดูกอักเสบ ผู้ป่วยโรคเกาต์ ไม่ควรรับประทาน

ถั่วเขียว ธัญพืช พืชเศรษฐกิจ ถั่วงอก ทำมาจากถั่วเขียว ลักษณะของต้นถั่วเขียว เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว สรรพคุณของถั่วเขียว เช่น ช่วยถอนพิษ บำรุงสายตา ลดความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร โทษของถั่วเขียว มีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove