ลูกสมอไทย สมุนไพรไทย ราชาสมุนไพร ต้นสมอไทยเป็นอย่างไร สรรพคุณของสมอไทย ขับสารพิษ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ ขับพยาธิ บำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจ บำรุงเลือด โทษของสมอไทยลูกสมอไทย สมอไทย ราชาสมุนไพร สมุนไพรไทย

สมอไทย ( Chebulic Myrobalans ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของสมอไทย Terminalia chebula Retz. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของ สมอไทย เช่น หมากแน่ะ ม่าแน่ สมออัพยา ลูกสมอ เป็นต้น ต้นสมอไทย เป็นพืชท้องถิ่น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีสรรพคุณทางยาหลากหลาย โดยเฉพาะ การขับสารพิษในร่างกาย

ฉายา ราชาสมุนไพร คือ ฉายาของสมอไทย ด้วยสรรพคุณพิเศษช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย และ สามารถรักษาโรคได้หลายโรค ที่สำคัญยังมี วิตามินและแร่ธาตุ หลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินซี ธาตุแคลเซียม และ ธาตุฟอสฟอรัส ต้นสมอไทย คือ พืชท้องถิ่นในประเทศแถบเอเชียใต้ ผลสมอไทย ค่อนข้างกลมในผลมีเมล็ด สมอไทย สามารถนำมาทำยาได้หลายส่วน เช่น ใบ ดอก ผล เปลือกลำต้น เป็นต้น

ลักษณะของต้นสมอไทย

ต้นสมอไทย เป็นไม้พื้นเมือง ไม้ยืนต้นขนาดกลาง พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง หรือ ตามทุ่งหญ้า ที่สูงตั้งแต่ใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึง ประมาณ 1000 เมตร สามารถขยายพันธ์ โดยการเพาะเมล็ดพันธ์  มีระบบรากแก้วแข็งแรง ลักษณะของต้นสมอไทย เป็นอย่างไร

  • ลำต้นสมอไทย ลักษณะลำต้นตั้งตรง ไม้เนื้อแข็ง ความสูงประมาณ 20 เมตร ผิวของเปลือกลำต้นขรุขระ สีเทา เนื้อด้านในเปลือกสีเหลืองอ่อน มีน้ำยางสีแดง
  • ใบสมอไทย ลักษณะเป็นเดี่ยว สีเขียว ลักษณะรีปลายใบแหลม ใบเหนียวคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบเป็นมันเงา มีขนคล้ายไหม
  • ดอกสมอไทย ลักษณะดอกออกเป็นช่อ ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ กลีบดอกสีขาวอมเหลือง ดอกสมอไทยออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ดอกสมอไทยออกทุกเดือนเมษายนถึงมิถุนายน ของทุกปี
  • ผลสมอไทย เจริญเติบโตมาจากดอกสมอไทย ลักษณะของผลกลมรี ผลอ่อนมีสีเขียว เปลือกของผลลักษณะมัน แข็ง ผิวเกลี้ยง ผลแก่สีเขียวอมเหลือง หรือ น้ำตาลแดง ผลสมอไทย ออกประมาณเดือนกันยายนถึงธันวาคมของทุกปี
  • เมล็ดสมอไทย ลักษณะรียาว อยู่ในผลสมอไทย เมล็ดสมอไทยแข็ง ในหนึ่งผลมีหนึ่งเมล็ด

คุณค่าทางโภชนาการของสมอไทย

ผลสมอไทย มีสารเคมีหลากหลาย องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญของลูกสมอไทย มีสารเคมีน่าสนใจ ประกอบด้วย

  • กรดแกลลิก ( gallic acid ) เป็นกรดที่มีสรรพคุณช่วยต่อต้านออกซิเดชัน
  • สารกลุ่มฟิโนลิกส์ ( phenolics ) คืิอสารที่มีคุณสมบัติช่วยต่อต้านเซลล์การเจริญเติบโตของมะเร็ง ได้แก่ กรดเคบูโลนิก ( chebulonic acid )
  • สารคอริลาจิน ( corilagin ) คือสารที่มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาหารเจ็บปวด

นอกจากนี้ในลูกสมอไทย ยังมีสารอื่นๆน่าสนใจ เช่น terchebin glucogallin ellagic acid sennoside A chebulin catechol และ tannic acid

สรรพคุณของสมอไทย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากสมอไทย ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ผลสมอไทย เมล็ดสมอไทย ใบ และ เปลือกของลำต้น สรรพคุณของสมอไทย มีดังนี้

  • ผลและเมล็ดสมอไทย มีรสเปรี้ยวอมฝาด สรรพคุณช่วยการเจริญอาหาร ช่วยขับเสมหะ แก้เจ็บคอ แก้ไอ รักษาแผลในปาก แผลร้อนใน รักษาอาการท้องเสีย แก้ท้องอืด ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลม เป็นยาระบาย บรรเทาโรคหอบหืด ช่วยขับพยาธิ บำรุงตับ บำรุงผิวพรรณ ช่วยขัดผิว ลดรอยหมองคล้ำ รักษากระ รักษาฟ้า ทำให้ผิวพรรณดูสดใส ช่วยขับสารพิษ แก้อาการวิงเวียนศรีษะ ลดอาเจียน – ช่วยบำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แก้ปวดตามข้อ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยป้องกันโรคหัว ช่วยในการผ่อนคาย ลดอาการเครียด ทำให้นอนหลับง่าย ช่วยรักษาโรคฟันผุ ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ รักษาพิษแมลงสัตว์กัดต่อย
  • ใบสมอไทย สรรพคุณช่วยแก้ท้องเสีย รักษาผดผื่นคัน ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงสายตา ช่วยห้ามเลือด รักษาแผลสด แก้ท้องอืด ช่วยขับสารพิษ บำรุงไต
  • เปลือกลำต้นและแก่นไม้สมอไทย สรรพคุณแก้ท้องร่วง แก้ปวดท้อง ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคผิวหนัง รักษาโรคเชื้อราที่ผิวหนัง

โทษของสมอไทย

จากการการศึกษาทางพิษวิทยาสมอไทย มีการทำลองการใช้สมอไทย กับหนู ซึ่งผลการศึกษาพบความเป็นพิษจากสมอไทย อย่างชัดเจน แต่การใช้ประโยชน์จากสมอไทย ต้องใช้ประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ใช้มากเกินไป จะไม่ทำให้เกิดโทษ

ลูกสมอไทย สมุนไพรไทย สรรพคุณมหัศจรรย์ ราชาสมุนไพร ลักษณะของต้นสมอไทย สรรพคุณของสมอไทย เช่น ขับสารพิษ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ ขับพยาธิ บำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจ บำรุงเลือด โทษของสมอไทย มีอะไรบ้าง

แมงลัก นิยมนำมาบริโภคใบและเมล็ด ต้นแมงลักเป็นอย่างไร สรรพคุณของแมงลัก เช่น ช่วยควบคุมน้ำหนัก เป็นยาระบายอ่อนๆ คุณค่าทางโภชนาการและโทษของแมงลักมีอะไรบ้างแมงลัก เมล็ดแมงลัก ใบแมงลัก สมุนไพร

ต้นแมงลัก ( Hairy Basil ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของแมงลัก คือ Ocinum canum . Sim. ชื่อเรียกอื่นๆของแมงลัก เช่น มังลัก ขาวมังลัก ผักอี่ตู่ กอมก้อขาว เป็นต้น ใบแมงลัก มีกลิ่นหอม นิยมนำมาทำอาหาร ช่วยดับคาว และ เพิ่มความหอมของอาหารได้ดี เมนูอาหาร ที่นำใบแมงลักมาทำอาหาร เช่น แกงเลียง แกงหน่อไม้ เป็นต้น

แมงลักในประเทศไทย

สำหรับแมงลักในประเทศไทย จัดว่าเป็นพืชเศรษบกิจชนิดหนึ่ง มีการปลูกแมงลัก เพื่อผลิตใบสดและเมล็ดแมงลักในเชิงพาณิชย์ สามารถพบเห็นแมงลักได้ทั่วไปตามตลาด สายพันธุ์แมงลัก ที่นิยมปลูก คือ แมงลักสายพันธ์ศรแดง ที่มีลักษณะใบใหญ่ แหล่งปลูกต้นแมงลัก พบได้ทั่วไปทั่วประเทศ

ลักษณะของต้นแมงลัก

ต้นแมงลัก เป็นพืชล้มลุก  อายุสั้นไม่ถึง 1 ปี นิยมกินเป็นอาหาร ต้นแมงลัก สามารถขยายพันธ์ได้โดยการปักชำและการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นแมงลัก มีดังนี้

  • ลำต้นของแมงลัก เนื้อไม้ของต้นแมงลักอ่อน อวบน้ำ ความสูงประมาณ 50 เซ็นติเมตร ลักษณะลำต้นและกิ่งก้านค่อนข้างเป็นทรงเหลี่ยม เปลือกลำต้นสีเขียว มีระบบรากเป็นแก้วและรากฝอย รากของต้นแมงลักสามารถลึกได้ถึง 30 เซ็นติเมตร
  • ใบแมงลัก ลักษณะเป็นใบเดี่ยว สีเขียว ออกตามกิ่งของต้นแมงลัก ใบเป็นทรงรี ปลายใบแหลม โคนใบโค้งมน มีขนอ่อนปกคลุมทั่วใบ
  • ดอกแมงลัก ลักษณะของดอกออกเป็นช่อ ดอกออกเป็นกระจุก กลีบดอกสีเขียว
  • เมล็ดแมงลัก อยู่ภายในดอกแก่ของต้นแมงลัก เมล็ดแมงลักมีลักษณะรีแบน สีดำ สามารถนำมาขยายพันธ์ได้

คุณค่าทางโภชนาการของแมงลัก

ต้นแมงลัก นั้นนำมาใช้ประโยชน์บริโภคใบสดและเมล็ด โดยนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของแมงลัก มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเม็ดแมงลัก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 420 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 54 กรัม โปรตีน 15 กรัม ไขมัน 16 กรัม กากใยอาหาร 54 กรัม

คุณค่าทางโภชนาการของใบแมงลัก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 32 แคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย แคลเซียม 350 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 86 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.9 มิลลิกรัม วิตามินเอ 10,666 มิลลิกรัม ไทอามีน 0.30 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.14 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.0 มิลลิกรัม วิตามินซี 78 มิลลิกรัม กากใยอาหาร 2.6 กรัม คาร์โบไฮเดรต 11.1 กรัม ไขมัน 0.8 กรัม และ โปรตีน 2.9 กรัม

น้ำมันหอมระเหยจากแมงลัก

สำหรับน้ำมันหอมระเหยจากแมงลัก มีมากในใบแมงลัก ซึ่งน้ำมันหอมระเหยจากแมงลัก ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด มี 3 ชนิด ประกอบด้วย

  • น้ำมันหอมระเหยที่มี methyl cinnamate
  • น้ำมันหอมระเหยที่มี d-camphor
  • น้ำมันหอมระเหยที่มี polyuronide

สรรพคุณของแมงลัก

สำหรับการใช้ประโยชน์จากแมงลัก ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้นใช้ประโยชน์จาก ใบแมลงลัก และ เมล็ดแมงลัก โดยรายละเอียดของ สรรพคุณของแมงลัก มีดังนี้

  •  เมล็ดแมงลัก สรรพคุณยาระบายอ่อนๆ ทำให้อุจจาระอ่อนตัว ลดอาการท้องผูก ช่วยย่อยอาหาร ทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น เสริมการสร้างกระดูก ป้องกันโรคกระดูกเสื่อม ช่วยอาการของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยควบคุมน้ำหนัก ช่วยลดน้ำหนัก
  • ใบแมงลัก สรรพคุณช่วยบำรุงเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง บำรุงผิวพรรณ บำรุงสายตา ป้องกันโรคมะเร็ง แก้เจ็บคอ แก้ไอ ช่วยขับเสมหะ รักษาไข้หวัด แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ท้องผูก ป้องกันโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร ช่วยรักษากลากน้ำนม

โทษของเม็ดแมงลัก

สำหรับการรับประทานแมงลัก ต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม หากรับประทานเม็ดแมงลักมากเกินไป อาจทำให้เกิดโทษได้ โดย ข้อควรระวังในการรับประทานแมงลัก มีรายละเอียด ดังนี้

  • หากรับประทานเมล็ดแมงลักมากเกินไป จะทำให้รู้สึกแน่นท้อง ไม่สบายตัว
  • เม็ดแมงลัก ที่ยังไม่พองตัวอย่างเต็มที่ หากรับประทานเข้าไป เมล็ดแมงลักอาจดูดน้ำจากกระเพาะอาหาร จนเกิดเป็นก้อนภายในกระเพาะอาหาร ทำให้อุดตันในลำไส้ ทำให้ท้องผูก
  • เม็ดแมงลัก ไม่ครวรับประทานพร้อมกับยาอื่น ๆ เพราะ เมล็ดแมงลักอาจดูดสรรพคุณของยา เหล่านั้นได้

แมงลัก คือ พืชสมุนไพร ตระกูลเดียวกับโหระพาและกระเพรา นิยมนำมาบริโภคใบและเมล็ด ลักษณะของต้นแมงลักเป็นอย่างไร สรรพคุณของแมงลัก เช่น ช่วยควบคุมน้ำหนัก เป็นยาระบายอ่อนๆ คุณค่าทางโภชนาการและโทษของแมงลัก มีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove