หอมใหญ่ หอมหัวใหญ่ สมุนไพร ผักสวนครัว นิยมนำมาทำอาหาร ลักษณะของต้นหอมใหญ่ คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณบำรุงเลือด บำรุงหัวใจ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ โทษของหอมหัวใหญ่

หอมหัวใหญ่ สมุนไพร สรรพคุณหอมหัวใหญ๋

หอมหัวใหญ่ ( Onion ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของหอมใหญ่ คือ Allium cepa L. ต้นหอมใหญ่ มีถิ่นกำเนิดและมีเขตการกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชียกลาง บ้างก็บอกว่ามีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ และสำหรับแหล่งผลิตที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา และประเทศอินเดีย โดยจัดเป็นพืชล้มลุก

พืชมหัสจรรย์ ทำอาหารก็อร่อย สรรพคุณของหอมใหญ่ ช่วยรักษาเบาหวาน รักษาโรคหัวใจได้ ลดน้ำตาลในเลือด ช่วยละลายลิ่มเลือด บำรุงระบบโลหิตได้ดี ช่วยขับลม แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ป้องกันมะเร็งได้ ขับสารพิษในร่างกาย ช่วยผ่อนคลาย แก้การนอนไม่หลับ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดความดับโลหิต ช่วยขับเสมหะ ในหอมหัวใหญ่พบว่ามีวิตามินซีสูง และสารอื่น ๆ เช่น สารเคอร์ซีทิน สามารถช่วยต่อต้านสารอนุมูลอิสระในร่างกาย ป้องกันโรคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

ลักษณะของต้นหอมหัวใหญ่

ต้นหอมหัวใหญ่ เป็นพืชล้มลุก สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ ลักษณะของต้นหอมหัวใหญ่ มีดังนี้

  • ต้นหอมใหญ่ มีความสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร มีหัวอยู่ใต้ดินคล้ายหัวหอม ลักษณะกลมป้อม มีเปลือกนอกบาง ๆ สีม่วงแดงหุ้มอยู่ แต่เมื่อแห้งแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
  • ใบหอมใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุก 3-4 ใบ ลักษณะเป็นรูปดาบ มีความกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร เส้นใบจีบตามยาวลักษณะคล้ายพัด
  • ดอกหอมใหญ่ ออกดอกเป็นช่อ แทงขึ้นมาจากลำต้นใต้ดิน กลีบดอกมีสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของหอมหัวใหญ่

สำหรับการบริโภคหอมหัวใหญ่นิยมรับประทานหัวหอมใหญ่ ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของหัวหอมใหญ่ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 40 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 9.34 กรัม น้ำตาล 4.24 กรัม กากใยอาหาร 1.7 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม โปรตีน 1.1 กรัม น้ำ 89.11 กรัม วิตามินบี 1 0.046 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.027 มิลลิกรัม
วิตามินบี 3 0.116 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.123 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.12 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 19 ไมโครกรัม วิตามินซี 7.4 มิลลิกรัม
ธาตุแคลเซียม 23 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.21 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.129 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 29 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 146 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.17 มิลลิกรัม และ ธาตุฟลูออไรด์ 1.1 ไมโครกรัม

สรรพคุณของหอมหัวใหญ่

คุณประโยชน์ของหอมหัวใหญ่ เราได้รวบรวมมาให้เป็นความรู้ ดังนี้

การรับประทาน หัวหอมใหญ่ สามารป้องกันการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ เพราะ ว่า หอมหัวใหญ่ มีสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถช่วยแก้การนอนไม่หลับได้ ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยกำจัดสารตะกั่วและโลหะหนักที่ปนเปื้อนมากับอาหาร ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงของอัมพาต ช่วยรักษาโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด ช่วยในการขยายหลอดเลือด ช่วยทำให้เลือดไม่ไปอุดตันในหลอดหลอด ช่วยในการสลายลิ่มเลือดปกป้องหลอดเลือดเลี้ยงสมองเกิดการอุดตัน ลดความอ้วน ช่วยลดคอเลสเตอรอล ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดความดันโลหิต แก้ความดันโลหิตสูง ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยรักษาไข้หวัด แก้หวัดคัดจมูก และช่วยลดน้ำมูก ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ หอมหืด คุณช่วยขับเสมหะได้ ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยแก้ท้องร่วง ช่วยขับพยาธิ ช่วยในการขับปัสสาวะ ช่วยแก้ลมพิษ ลดอาการปวดอักเสบ ช่วยฆ่าเชื้อโรค ช่วยรักษาผิวหนังที่ถูกน้ำร้อนลวกได้

วิธีปลูกหอมหัวใหญ่

สามารถปลูกได้จากการเพาะต้นกล้า โดยหว่านเมล็ดพันธุ์ให้ทั่วแปลงกล้า รดน้ำให้ทั่ว หลังจากที่เมล็ดงอกประมาณ 10-15 วัน ใช้หญ้าแห้งคลุมดินอย่าให้แปลงชื้น หรือร้อนเกินไป เมื่อกล้าอายุได้ 45 วัน ก็ย้ายเพื่อลงแปลงปลูก จัดเป็นแถว ห่างกัน 10 – 15 เซ็นติเมตร หมั่นพรวนดิน และกำจัดวัชพืช หลังจากย้ายกล้าลงแปลงปลูกประมาณ 90-100 วัน ก็ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว

โทษของหอมหัวใหญ่

สำหรับการรับประทานหอมหัวใหญ่ มีข้อควรระวังในการรับประทานหอมหัวใหญ่ ดังนี้

  • แม้ว่าสรรพคุณหัวหอมใหญ่จะมีอยู่มากมาย แต่เนื่องจากหอมใหญ่เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์อุ่นและมีรสเผ็ด การนำมาใช้ในแต่ละบุคคล ควรคำนึงถึงสภาพร่างกายและโรคของผู้ป่วยด้วย ซึ่งฤทธิ์ดังกล่าวสามารถช่วยขับความเย็น ทำให้หยางทะลุทะลวงไปยังส่วนต่าง ๆ ช่วยกำจัดพิษและปัจจัยที่กระทบจากภายนอกเนื่องจากความเย็นได้ดี แต่ไม่มีฤทธิ์ในการบำรุงหยางในร่างกาย เมื่อใช้ไปนาน ๆ อาจจะทำให้ร่างกายเสียพลังได้ง่าย เช่น ในกรณีผู้ป่วยหอบหืดที่มีพลังอ่อนแออยู่แล้ว แทนที่จะมีอาการหอบดีขึ้น แต่กลับจะทำให้อาการหอบหืดกำเริบมากขึ้นกว่าเดิม เป็นต้น ดังนั้นจึงควรรู้ถึงข้อดีและข้อเสียเพื่อนำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมด้วย จึงจะเกิดประโยชน์ต่อร่างกายอย่างสูงสุด
  • การรับประทานหัวหอมใหญ่ในปริมาณมากหรือรับประทานติดต่อกันนานเกินไป อาจจะทำลายจิตประสาท ทำให้จิตฟุ้งซ่าน ลืมง่าย ความจำเสื่อม มีอาการตามัว พลังและเลือดถูกทำลาย ทำให้เส้นเลือดไหลเวียนได้ไม่ดี ทำให้โรคต่าง ๆ ที่เป็นอยู่หายช้าและเรื้อรัง และยังไปทำลายสมรรถภาพทางเพศ
  • เมื่อคุณมีอาการปวดศีรษะเนื่องจากความเครียดหรือจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ มีคำแนะนำว่าไม่ควรจะรับประทานหัวหอมใหญ่
  • อย่างไรก็ตามไม่ควรรับประทานหัวหอมใหญ่สดในขณะที่ท้องว่าง เพราะอาจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง ทำให้เยื่อบุในกระเพาะเกิดการอักเสบได้
  • สำหรับผู้ที่ถูกสัตว์มีพิษมีเขี้ยวกัด ไม่ควรรับประทานหอมใหญ่ เพราะการรับประทานหัวหอมใหญ่จะทำให้มีอาการรุนแรงขึ้น ทำให้พิษแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว
  • สิ่งที่คุณควรรู้อีกเรื่องนั้นก็คือ หอมใหญ่เป็นหนึ่งในอาหารที่มีกลิ่นแรงและทำให้เกิดกลิ่นปาก
  • สำหรับผู้ที่มีกลิ่นตัวแรงอยู่แล้ว การรับประทานหัวหอมใหญ่มากเกินไปอาจจะทำให้มีกลิ่นตัวแรงยิ่งขึ้น
  • ว่ากันว่าในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ไม่ควรรับประทานหอมหัวใหญ่ เพราะจะทำให้อาการหอบหืดรุนแรงมากขึ้น

ต้นหอมหัวใหญ่ ภาษาอังกฤษ เรียก Onion เป็นพืชชนิดหัว (bulb) สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิดที่มีการระบายน้ำและอากาศดี เจริญได้ดี หอมหัวใหญ่ปลูกได้ในช่วงฤดูหนาว หอมหัวใหญ่มีชื่อ วิทยาศาสตร์ ว่า Allium cepa L. หอมใหญ่ หอมหัวใหญ่ สมุนไพร ผักสวนครัว นิยมนำหัวหอมใหญ่มาทำอาหาร ลักษณะของต้นหอมใหญ่เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของหอมใหญ่ สรรพคุณของหอมหัวใหญ่ เช่น บำรุงเลือด บำรุงหัวใจ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ โทษของหอมหัวใหญ่มีอะไรบ้าง

ตำลึง ( Lvy Gourd, Coccinia ) สมุนไพร นิยมปลูกริมรั้วบ้าน ประโยชน์และสรรพคุณช่วยขับลม บำรุงสายตา บำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันมะเร็ง ลดน้ำตาลในเลือด ลดไข้ รักษาแผล

ตำลึง ผักสวนครัว สมุนไพร

ต้นตำลึง ภาษาอังกฤษ เรียก Lvy Gourd, Coccinia มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Cocconia grandis (L.) Voigt ชื่ออื่น ๆ ของผักตำลึง เช่น ผักแคบ แคเด๊าะ สี่บาท ผักตำนินตำลึงนิยมนำมาทำอาหาร

ลักษณะของต้นตำลึง

ตำลึง เป็นไม้เลื้อย ลำต้นจะเกาะตามหลัก เช่น แนวรั้วบ้าน ต้นไม้ เถาของตำลึงจะมีสีเขียว ใบของตำลึงเป็นใบเดี่ยว สลับกันไปมาตามเถา โคนของใบมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจ ดอกของตำลึง จะมีลักษณะเป็นดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ มีสีขาว ผลของตำลึง เหมือนแตงกวาแต่มีขนาดเล็กกว่า ผลสีเขียวมีลายสีขาว พอสุกจะกลายเป็นสีแดง

  • ต้นตำลึง เป็นไม้เถาเลื้อยขึ้นตามหลักเสา ตามรั้วบ้านหรือพันต้นไม้อื่น อายุยืนยาวหลายปี มีมือเกาะยึดออกตรงข้ามใบ ลำต้นเล็กยาว เมื่ออายุมากลำต้นหรือเถาจะใหญ่และแข็งแรงมากขึ้น
  • ใบตำลึง เป็นใบเดี่ยว สีเขียว รูปสามเหลี่ยม กว้าง 5 ซม. ยาว 6-7 ซม. สลับข้างกัน ตำลึงตัวผู้ใบหยักเว้าลึก 3-5 หยัก ต่างจากใบของต้นตำลึงตัวเมียที่เป็นรูปสามเหลี่ยม อยู่แยกต้นออกจากกัน
  • ดอกตำลึง สีขาวปลายกลีบ 5 แฉก ข้างในมีเกสรสีเหลืองอ่อน มองคล้ายรูประฆัง
  • ผลตำลึง เป็นรูปไข่คล้ายผลแตงกวาแต่เล็กกว่ามาก กว้าง 1 -2 ซม. ยาว 3-4 ซม. เมื่ออ่อนจะมีสีเขียวมีลายขาว ผลสุกเต็มที่สีแดงสด ภายในมีเมล็ดมากมาย ส่วนตำลึงตัวผู้มีแต่ดอกแต่ไม่มีผล

คุณค่าทางโภชนาการของตำลึง

การศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบและยอดอ่อนตำลึงขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 35 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน กากใยอาหาร 1 กรัม เบตาแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม  ธาตุฟอสฟอรัส และ ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม

นักโภชนาการได้ทำการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของตำลึง ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย วิตามินบี1 0.17 มิลลิกรัม โปรตีน 3.3 กรัม แคลเซียม 126 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 699.88 ไมโครกรัม  ไนอาซีน 1.2 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม  และใยอาหาร 2.2 กรัม

สรรพคุณของตำลึง

เราสามารถนำตำลึงมาใช้ได้ทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็น ใบ ดอก เมล็ด ราก เถา รายละเอียดการใช้ประโยชน์ของตำลึงมีดังนี้

  • ใบของตำลึง เป็นยาลดวามร้อนในร่างกาย นำมาบดเป็นยาพอกผิวหนัง แก้ผื่นคันจากหมามุ้ย ต้นตำแย แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้แมลงสัตว์กัดต่อย รักษาผื่นคันที่เกิดจาก หมามุ่ย ตำแย  นำมารับประทาน แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้จุกเฉียด
  • ดอกของตำลึง นำมาใช้รักษาอาการคันผิวหนัง
  • เมล็ดของตำลึง นำมาผสมกับน้ำมันมะพร้าว ใช้ทาแก้หิด
  • รากของตำลึง นำมาใช้ ลดไข้ แก้อาเจียน ลดความอ้วน แก้ฝี แก้ปวดบวม แก้พิษร้อนใน แก้พิษแมลงป่องหรือตะขาบข่อย
  • เถาของตำลึง นำมาชงกับน้ำดื่มแก้อาการวิงเวียนศรีษะ  นำมาบดใช้พอกผิวหนังแก้โรคผิวหนัง เถาของตำลึงมีสรรพคุณ ลดระดับน้ำตาลในเลือด

นำตำลึงทั้งต้น มาใช้ทั้ง ราก ใบและเถา นิยมนำมาเป็นยารักษาแก้โรคผิวหนัง ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้หลอดลมอักเสบ กำจัดกลิ่นตัว

โทษของตำลึง

สำหรับการบริโภคตำลึงเป็นอาหารไม่พบประวัติการเป็นอันตรายจากการบริโภคตำลึงเป็นอาหาร หรือ การนำมารักษาโรค แต่ตำลึงมีฤทธิ์เป็นยาเย็น เมื่อทาน้ำตำลึงที่ผิวหนังแล้วไม่รู้สึกเย็นแปลว่าไม่ถูกโรค ให้หยุดใช้ทันที การทาน้ำตำลึงไม่ควรถูแรงจนเกินไปในบริเวณที่เป็นผิวบอบบาง เพราะจะทำให้เกิดอาการอักเสบเพิ่มมากขึ้น

ตำลึง ( Lvy Gourd, Coccinia ) คือ สมุนไพร พืชล้มลุก นิยมปลูกริมรั้วบ้าน ประโยชน์และสรรพคุณของตำลึง ช่วยแก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงสายตา รักษาหลอดลมอักเสบ รักษาเบาหวาน แก้แมงสัตว์กัดต่อย ช่วยบำรุงกระดูก บำรุงฟัน ป้องกันมะเร็ง ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงเลือด ใช้ลดไข้ รักษาแผล รักษาหิด


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove