ดอกคำฝอย สมุนไพรจากต้นคำฝอย มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ลักษณะของต้นคำฝอย คุณค่าทางโภชนาการของดอกคำฝอย สรรคุณของคำฝอย เช่น บำรุงเลือด บำรุงหัวใจ โทษของคำฝอย มีอะไรบ้าง

คำฝอย ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของดอกคำฝอย

ต้นคำฝอย ( Safflower ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของคำฝอย คือ Carthamus tinetorius L. ต้นคำฝอยมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น ดอกคำ คำยอง คำยุง คำหยุม เป็นต้น ต้นคำฝอย มีถิ่นกำเนิดในแถบตะวันออกกลาง ปัจจุบันคำฝอยมีการปลูกอย่างแพร่หลายในประเทศอินเดีย แม็กซิโก เอธิโอเปีย และ สหรัฐอเมริกา ดอกคำฝอยจากประเทศอินเดียนำมาผลิตน้ำมันพืช ส่วนประเทศจีน นิยมนำดอกคำฝอยไปใช้ประโยชน์ทางการรักษาโรค

ดอกคำฝอยในประเทศไทย

ประเทศไทย แหล่งปลูกต้นคำฝอย อยู่ในภาคเหนือ ซึ่งแหล่งผลิตคำฝอยที่สำคัญ คือ อำเภอพร้าว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ดอกคำฝอยสามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น ใช้ทำสีผสมอาหาร ให้สีส้ม ทำชา นำมาผสมเนยแข็ง เป็นต้น

ลักษณะของต้นคำฝอย

ต้นคำฝอย เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น ทนต่อสะภาพอากาศแห้งแล้ง ซึ่งต้นคำฝอยเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ระดับความสูงต่ำกว่า 1,000 เมตร ชอบดินร่วนปนทราย ที่ระบายน้ำได้ดี ลักษณะของต้นคำฝอย มีดังนี้

  • ลำต้นคำฝอย ความสูงประมาณ 40 ถึง 130 เซนติเมตร ลักษณะลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านสาขามากมาย
  • ใบคำฝอย ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามกิ่ง ลักษณะของใบรี ปลายใยแหลม ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย
  • ดอกคำฝอย ลักษณะดอกเป็นช่อ ออกรวมกัยแออัดแน่นบริเวณปลายยอด กลีบดอกสีเหลือง และ จะเปลี่ยนเป็นสีส้ม มีกลีบดอกแข็งเป็นหนามรองรับช่อดอก
  • ผลคำฝอย เจริญเติบดตจากดอกคำฝอย ลักษณะของผลคล้ายรูปไข่ สีขาว ผลเป็นผลแห้ง ภายในผลเมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม ยาวรี เปลือกเมล็ดแข็ง สีขาว ขนาดเล็ก

คุณค่าทางโภชนาการของคำฝอย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากคำฝอย จะใช้ประโยชน์จากเมล็ดและดอก ซึ่งนักโภชนาการได้ทำการศึกษาประโยชน์ของเมล็ดและดอกของคำฝอย ในเมล็ดของคำฝอย มีน้ำมันมากถึงร้อยละ 35 มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย โปรตีนร้อยละ 17 กรดโอเลอิกร้อยละ 10 กรดลิโนเลอิก ร้อยละ 60

ดอกคำฝอย ขนาด 100 กรัม มีน้ำมันร้อยละ 0.83 และมีสารอาหารและสารเคมีสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีนร้อยละ 5 กากใยอาหารร้อยละ 10.4 ธาตุแคลเซียม 530 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 287 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 7.3 มิลลิกรัม สารคาร์ทามีดีน ( carthamidine ) ให้สีเหลือง และ สารคาร์ทามีน ( carthamine ) ให้สีแดง

น้ำมันจากดอกคำฝอย มีสารต่างๆ ประกอบด้วย กรดไขมันไลโนเลอิก กรดโอเลอิก กรดปาลมิติก กรดสเตียริก และ กรดไขมันชนิดอื่นๆ อีกหลายชนิด

สรรพคุณของคำฝอย

สำหรับคำฝอย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรค จาก ดอกคำฝอย ทั้งดอกสดและดอกแก่ เกสรดอกคำฝอย และ เมล็ดคำฝอย โดย สรรพคุณของคำฝอย มีรายละเอียด ดังนี้

  • เมล็ดของดอกคำฝอย สรรพคุณช่วยขับเสมหะ รักษาโรคผิวหนัง แก้อาการบวม แก้อาการอักเสบ
  • เกสรของดอกคำฝอย สรรพคุณช่วยขับประจำเดือน บำรุงโลหิต
  • ดอกคำฝอย สรรพคุณช่วยบำรุงโลหิต บำรุงระบบประสาท บำรุงหัวใจ ขับประจำเดือน ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด
  • ดอกคำฝอยแก่ นิยมนำมาชงเป็นชา นำกลีบดอกแห้งชงกับน้ำร้อนดื่ม สรรพคุณช่วยบำรุงระบบประสาท บำรุงโลหิต  บำรุงหัวใจ ขับประจำเดือน ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด

โทษของคำฝอย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากคำฝอย ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม โดยคำข้อแนะนำข้อควรระวัง ในการใช้ประโยชน์จากคำฝอย มีดังนี้

  • การรับประทานสมุนไพรจากดอกคำฝอยมากเกินไป อาจทำให้โลหิตจาง ทำให้อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เวียนศีรษะ
  • สำหรับสตรีมีครรภ์ ไม่ควรใช้สมุนไพรดอกคำฝอย เพราะ ดอกคำฝอยมีฤทธิ์ช่วยขับประจำเดือน หากรับประทานในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้แท้งลูกได้

ดอกคำฝอย สมุนไพรจากต้นคำฝอย มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ลักษณะของต้นคำฝอย คุณค่าทางโภชนาการของดอกคำฝอย สรรคุณของคำฝอย เช่น บำรุงเลือด บำรุงหัวใจ โทษของคำฝอย มีอะไรบ้าง

กระเทียม สมุนไพร นิยมทำเป็นเครื่องเทศ ใส่ในอาหาร ลักษณะของต้นกระเทียม เป็นอย่างไร สรรพคุณของกระเทียม คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม โทษของกระเทียม

กระเทียม สมุนไพร สรรพคุณของกระเทียม สมุนไพรไทย

ต้นกระเทียม ( Garlic ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเทียม คือ Allium sativum L. ชื่อเรียกอื่นๆของกระเทียม คือ  หอมเทียม (เหนือ) กระเทียมขาว (อุดรธานี) กระเทียมจีน (กทม) หอมขาว (อุดรธานี) ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หัวเทียม (ใต้) ซึง ปักทาง เสิง ฮวงซาง (จีน) เป็นต้น

กระเทียม เป็นพืชล้ม มีหัวอยู่ใต้ดิน มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว สามารถขยายพันธ์ โดยการแตกหน่อ และ เพาะเมล็ดพันธ์  หัวกระเทียม นิยมนำมาทำอาหาร กระเทียมมีกลิ่นฉุน ให้ความหอมในอาหาร และมีรสหวานหากนำมาต้ม การบริโภคกระเทียมก็เหมือนการกินยา

กระเทียมในประเทศไทย

หัวกระเทียม เป็นวัตถุดิบหลักในอาหารไทย กระเทียมจึงเป็นพืชเศรษฐกิจ สามารถหาซื้อได้ตามตลาดทั่วไป ในประเทศไทยแหล่งปลูกประเทียม คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ซึ่งกระเทียมคุณภาพดี กลิ่นฉุน คือ กระเทียมจากจังหวัดศรีสะเกษ

คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม

สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของหัวกระเทียมสด ขนาด 100 กรัม พบว่าหัวปกระเทียมขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน มากถึง 149 กิโลแคลอรี

โดย ในหัวกระเทียมขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 2.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 33.06 กรัม น้ำตาล 1 กรัม  ไขมัน 0.5 กรัม โปรตีน 6.36 กรัม  วิตามินบี 2 0.11 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.7 มิลลิกรัม วิตามินซี 31.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.596 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 3 ไมโครกรัม วิตามินบี 6 1.235 มิลลิกรัม  ธาตุแคลเซียม 181 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 153 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.672 มิลลิกรัม  ธาตุสังกะสี 1.16 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 401 มิลลิกรัม และ ธาตุซีลีเนียม 14.2 ไมโครกรัม

ลักษณะของต้นกระเทียม 

ต้นกระเที่ยม เป็นพืชล้มลุก หัวของกระเทียมอยู่ใต้ดิน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว หัวกระเทียม นิยมนำมาทำอาหาร ลักษณะของต้นกระเทียม มีดังนี้

  • รากและหัวของกระเทียม1 เป็นส่วนที่อยู่ใต้ดิน ลักษณะของหัวกลม ภายในเป็นลักษณะกลีบ เนื้อมีกลิ่นฉุน ลำต้นอยู่เหนือดินทรงกระบอกยาวเนื้อสีขาว มีกลิ่นฉุนเล็กน้อย
  • ใบกระเทียม เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับตรงจากลำต้น ใบกลม ใบยาวสีเขียว ผิวใบเรียบ และมีกลิ่นฉุนเล็กน้อย นิยมรับประทานเป็นผักสด
  • ดอกกระเทียม ลักษณะดอกเป็นช่อ ก้านดอกแทงออกมาจากหัวและลำต้น ก้านดอกทรงกลม ยาว ด้านในเป็นรูกลวง ดอกตูมรูปทรงคล้ายระฆัง
  • ผลและเมล็ดกระเทียม เจริญเติบโตรวมกัน เป็นกลุ่ม ด้านในมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก เมล็ดลักษณะกลม สีน้ำตาลอมดำ

สรรพคุณของกระเทียม

ต้นกระเทียม สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จากหัวกระเทียม สรรพคุณของกระเทียม มีรายละเอียด ดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิวหนัง ทำให้มีสุขภาพผิวดี
  • ช่วยการเจริญอาหาร ทำให้อยากกินอาหาร
  • บำรุงข้อต่อและกระดูกในร่างกาย
  • ช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้
  • ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันร่างกาย ป้องกันอาการไอ ลดอาการน้ำมูกไหล ป้องกันไข้หวัด ช่วยแก้อาการหอบหืด ช่วยรักษาโรคหลอดลม ช่วยขับเสมหะ
  • บำรุงเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด ลดน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว ช่วยละลายลิ่มเลือด ช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง
  • ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย
  • แก้อาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ
  • เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยควบคุมฮอร์โมนทั้งหญิงและชาย ช่วยทำให้มดลูกบีบตัว
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคไต
  • บำรุงหัวใจ ช่วยลดความดันโลหิต ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ
  • บำรุงเส้นผม ช่วยแก้ปัญหาผมบาง ยาวช้า รักษาเชื้อราตามหนังศีรษะและเล็บ
  • ช่วยขับพิษในเลือด ช่วยขับเหงื่อ
  • บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยระงับกลิ่นปาก
  • บำรุงทางเดินอาหาร ช่วยควบคุมโรคกระเพาะ ช่วยขับลม รักษาจุกเสียดแน่นท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • ช่วยขับพยาธิ เช่น พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย พยาธิเข็มหมุด พยาธิไส้เดือน เป็นต้น
  • ช่วยต้านฆ่าเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย
  • บรรเทาอาการปวดข้อและปวดเมื่อยตามร่างกาย

โทษของกระเทียม

สำหรับการบริโภคกระเทียม และ ใช้กระเทียมเป็นยารักษาโรค มีข้อควรระวังในใช้ประโยชน์จากกระเทียม โทษของกระเทียม มีดังนี้

  • การกินกระเทียมสด อาจทำให้ระคายเคืองช่องปาก เช่น แสบร้อนบริเวณปาก
  • หากกินกระเทียมมากเกินไป อาจทำให้มีกลิ่นปาก และ ทำให้กลิ่นตัวแรง
  • สำหรับเด็กอ่อน กระเทียมสดๆอาจทำให้ผิวของเด็กเกิดอาการแสบร้อนและระคายเคืองได้
  • ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ไม่ควรรับประทานกระเทียมสด เพราะ อาจทำให้ระคายเคืองระบบทางเดินอาหารได้
  • กลิ่นของกระเทียม หากสูดดมเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove