ต้นกระจับ วัชพืชทางน้ำ สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการของกระจับ ประโยชน์และสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง แก้ปวดท้อง บำรุงผิว บำรุงกระดูก เป็นต้น โทษของกระจับเป็นอย่างไรบ้างต้นกระจับ กระจับ สรรพคุณของกระจับ สมุนไพร

ต้นกระจับ ชื่อสามัญ เรียก Water Chestnut  กระจัม มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Trapa bicornis Osbeck ชื่อเรียกอื่นๆของกระจับ เช่น กะจับ มาแง่ง พายับ เขาควาย สำหรับต่างประเทศที่ปลูกต้นกระจับมาก เช่น จีน ไต้หวัน และ อินเดีย เป็นต้น

ประเภทของต้นกระจับ

สำหรับการแบ่งประเภทของต้นกระจับ สามารถแบ่งประเทของกระจับได้ 2 ประเภท คือ กระจับสองเขา และ กระจับสี่เขา รายละเอียด ดังนี้

  • ต้นกระจับสองเขา ได้แก่ กระจับเขาแหลม และ กระจับเขาทู่
  • ต้นกระจับสี่เขา ได้แก่ กระจ่อม ( Jesuit Nut ) และ กระจับ ( Tinghara Nut )

ต้นกระจับในประเทศไทย

กระจับ พบมากในจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นลักษณะของวัชพืชน้ำ ประเทศไทยไม่นิยมปลูกกระจับเพื่อประโยชน์ทางอาหาร แต่พบว่ามีการนำกระจับมาปลูกเพื่อใช้เป็นไม้ประดับ สำหรับการปลูกต้นกระจับเพื่อรับประทานฝัก และ เพื่อจำหน่ายฝักกระจับ พบว่ามีการปลูกมากในทุกภาค เช่น ภาคกลาง ( ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี อุทัยธานี ) ภาคใต้ นครศรีธรรมราช

คุณค่าทางโภชนากการของกระจับ

สำหรับคุณค่าทางอาหารของกระจับ นักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของเนื้อฝักกระจับ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 117 แคลอรี่ มีความชื้น 70% มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 4.7 กรัม คาร์โบไฮเดรต 23.9 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม แคลเซียม 20 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 150 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.8 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.01 มิลลิกรัม และ ไนอาซีน 0.6 มิลลิกรัม

ต้นกระจับ

ต้นกระจับ นั้นเป็นพืชน้ำ เหมือนบัว ออกดอกในช่วงเดือนสิงหาคมถึงมีนาคมของทุกปี ขยายพันธ์โดยการแตกหน่อ ลักษณะของต้นกระจับ มีดังนี้

  • ลำต้นของกระจับ ลำต้นอยู่ใต้ดิน ลำต้นส่วนหนึ่งจะโผล่บนผิวน้ำ ลำต้นมีช่องอากาศ เลื้อยยาวเป็นปล้องๆ รากเป็นสีน้ำตาล รากจะแตกออกบริเวณข้อปล้องของลำต้น สามารถหยั่งลึกลงได้
  • ใบของกระจับ มี 2 ชนิด คือ ใบใต้น้ำ และ ใบเหนือผิวน้ำ ใบเหนือผิวน้ำ รูปทรงข้าวหลามตัด ฐานใบกว้าง ท้องใบ ก้านใบ และ เส้นใบ ใบเรียบ สีเขียวเข้ม เป็นมัน ส่วนใบใต้น้ำ ลักษณะคล้ายราก มีสีเขียว ลำใบเป็นฝอย เรียวยาว จะแตกออกบริเวณข้อของลำต้น
  • ดอกของกระจับ ดอกจะแทงออกบริเวณซอกใบเหนือน้ำออก ดอกเป็นดอกเดี่ยว มีขนาดเล็ก กลีบดอกมีสีขาว
  • ฝักของกระจับ มีลักษณะคล้ายหน้าควาย มีเขา 2 ข้าง เปลือกฝักแข็ง สีดำ เนื้อฝักมีสีขาว

ประโยชน์ของกระจับ

สำหรับประโยชน์ของกระจับมีมากมาย ซึ่งส่วนมากและการใช้ประโยชน์จากกระจับจะนิยมนำฝักกระจับ มารับประทานเนื้อของฝักกระจับ สามารถนำเอามาทำอาหารหวานและอาหารคาวได้มากมาย ส่วนฝักกระจับก็สามารถนำมาทำเชื้อเพลิงได้ ส่วนต้นกระจับหลายคนนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ เหมือนบัว ต้นกระจับนั้นสามารถใช้ประโยชน์ได้ นำมาทำยาแก้ปวดท้อง นอกจากนั้น ต้นกระจับที่เหลือจากการนำมาใช้ประโชยน์นั้นนิยมนำมาทำปุ๋ยหมัก ซึ่งสามารถวับน้ำได้ดี เหมาะแก่การปลูกพืช

สรรพคุณของกระจับ

การใช้ประโยชน์จากกระจับด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกายนั้น นิยมใช้ประโยชน์จาก ลำต้นหรือเง้า ใบกระจับ เนื้อฝักกระจับ และ เหลือกฝักกระจับ โดยสรรพคุณของกระจับ มีดังนี้

  • ลำต้นและเหง้าของกระจับ สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง และ บำรุงครรภ์
  • ใบของกระจับ สรรพคุณช่วยถอนพิษต่างๆได้
  • เนื้อฝักกระจับ สรรพคุณเป็นยาชูกำลัง ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงผิวพรรณ บำรุงกระดูก ช่วยเสริมสร้างการสร้างกระดูก
  • เปลือกฝักกระจับ สรรพคุณแก้อาการปวดท้อง แก้ท้องเสีย

โทษของกระจับ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระจับนั้น มีประโยชน์ แต่ก็มีโทษและข้อควรระวังอยู่บ้าง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ผลแก่ของกระจับ มีลักษณะแหลม และ มักจะอยู่ตามโคลนตม ซึ่งมองไม่เห็น หากไม่ใส่เครื่องป้องกันเท้าอาจเหยียบกระจับจนได้รับบาดเจ็บได้ หากเกิดการติดเชื้อโรคอาจเป็นเรื่องใหญ่มากกว่านี้อีกมาก
  • ต้นกระจับ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในน้ำโดยเฉพาะช่วงฤดูฝน ซึ่งหากปล่อยให้ต้นกระจับแพร่กระจายมากเกินไป อาจทำให้เกิดเป็นวัชพืชปกคลุมผิวน้ำ ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศได้
  • ต้นกรัจับหากปล่อยให้เจริญเติบโตโดยไม่ควบคุมปริมาณจะส่งผลต่อการจราจรทางน้ำได้

ต้นกระจับ วัชพืชทางน้ำ สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการของกระจับ ประโยชน์ของกระจับ สรรพคุณของกระจับ เช่น เป็นยาบำรุงกำลัง แก้ปวดท้อง บำรุงผิว บำรุงกระดูก เป็นต้น โทษของกระจับ มีอะไรบ้าง ทำความรู้จักกับ ต้นกะจับ อย่างละเอียด

ผักชี Coriander ผักสวนครัวนำมารับประทานเป็นอาหาร ต้นผักชีเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนากการ สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด ประโยชน์และโทษของผักชีมีอะไรบ้าง

ผักชี ผักสวนครัว สมุนไพร สรรพคุณของผักชี

ต้นผักชี มีชื่อสามัญว่า Coriander ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักชี คือ Coriandrum sativum L. ชื่อเรียกอื่นๆของผักชี เช่น ผักชีไทย ผักหอม ยำแย้ ผักหอมป้อม ผักหอมผอม ผักหอมน้อย เป็นต้น ต้นผักชี มีถิ่นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียน เป็นพืชล้มลุกที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว

ผักชีในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย ผักชี จัดเป็นพืชเศรษฐกิจ นิยมปลูกขาย และ ปลูกกินตามบ้านทั่วไป ซึ่งการปลูกผักชีในประเทศไทย มีพื้นที่ปลูกมาก ได้แก่ จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครปฐม และ กรุงเทพมหานคร ผักชีสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยมี สายพันธุ์ผักชีที่นิยมปลูก 2 สายพันธ์ คือ ผักชีพื้นเมือง และ ผักชีแอฟฟริกา โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ผักชีพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะเด่น คือ ต้นขนาดเล็ก ใบบาง เมล็ดเล็ก ออกดอกเร็ว อายุสั้น มีกลิ่นฉุนมาก
  • ผักชีพันธุ์อาฟริกา ลักษณะเด่น คือ ต้นมีขนาดใหญ่ ใบหนาและใหญ่ มีกลิ่นหอมเล็กน้อย และอายุยาวกว่าผักชีพันธุ์พื้นเมือง

ลักษณะของต้นผักชี

ต้นผักชี เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว มีถิ่นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียน ปัจจุบันนิยมปลูกและรับประทานทั่วไปในประเทศไทย สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ลักษณะของต้นผักชี มีดังนี้

  • ลำต้นของผักชี มีลักษณะตั้งตรง ภายในลำต้นกลวง มีกิ่งก้านเล็กๆ ผิวลำต้นเรีบย มีสีเขียว หรือ น้ำตาลอมแดง ลำต้นจะสูงประมาณ 15 นิ้ว
  • รากของผักชี มีรากแก้ว แต่ไม่ยาว มีรากฝอยจำนวนมาก
  • ใบของผักชี มีลักษณะเป็นใบเดียว เป็นแฉกๆ รูปพัด สีเขียว มีกลิ่นหอม
  • ดอกของผักชี ซึ่งดอกของผักชีจะออกเป็นช่อ ออกจากโคนลำต้น ตั้งตรงเหนือยอดต้น ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว
  • เม็ดผักชี มีลักษณะเป็นทรงกลม ออกมาจากดอกของผักชี ใช้เป็นส่วนในการขยายพันธ์ผักชี

คุณค่าทางโภชนาการของผักชี

สำหรับประโยชน์ด้านโภชนาการของผักชีนั้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผักชีสดๆ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานถึง 23 กิโลแคลอรี และ มีสารอาหารสำคัญต่างๆ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3.67 กรัม น้ำตาล 0.87 กรัม กากใยอาหาร 2.8 กรัม ไขมัน 0.52 กรัม โปรตีน 2.13 กรัม น้ำ 92.21 กรัม วิตามินเอ 337 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 3,930 ไมโครกรัม  ลูทีนและซีแซนทีน 865 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.067 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.162 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.114 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.57 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.149 มิลลิกรัม วิตามินบี9 62 ไมโครกรัม วิตามินซี 27 มิลลิกรัม วิตามินอี 2.5 มิลลิกรัม วิตามินเค 310 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 67 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.77 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 26 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.426 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 48 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 521 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 46 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.5 มิลลิกรัม

ประโยชน์ของผักชี 

ผักชี มีประโยชน์เป็นพืชที่ใช้ในการเป็นอาหารเป็นหลัก แต่นอกจากการนำมาทำอาหารแล้ว ผักชีสามารถนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหย ซึ่งได้จากการสกัดจากเมล็ดของผักชี สามารถนำมาเป็นสารในการผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เป็นต้น

สรรพคุณของผักชี

สำหรับประโยชน์ของผักชีด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนของต้นผักชี ตั้งแต่ รากผักชี ลำต้นผักชี ใบผักชี และ เมล็ดของผักชี โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ใบผักชี สรรพคุณบำรุงสายตา ช่วยเจริญอาหาร บำรุงร่างกาย แก้กระหายน้ำ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อ ป้องกันมะเร็ง ขับเหงื่อ แก้หวัด แก้ไอ ขับเสมหะ แก้สะอึก แก้คลื้นไส้อาเจียน แก้เวียนหัว ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลม  รักษาอาหารเป็นพิษ ช่วยแก้พิษตานซาง รักษาตับอักเสบ รักษาโรคหัด ต้านเชื้อรา ต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดอาการอักเสบ แก้ปวดข้อ
  • เมล็ดผักชี สรรพคุณช่วยบำรุงสายตา ช่วยให้เจริญอาหาร ขับเหงื่อ ขับเสมหะ แก้ปวดฟัน บำรุงกระเพาะอาหาร แก้ปวดท้อง แก้งท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยย่อยอาหาร รักษาริดสีดวงทวาร
  • รากผักชี สรรพคุรช่วยเจริญอาหาร ขับเหงื่อ ขับเสมหะ

โทษของผักชี

  • สำหรับคนที่มีิิอาการแพ้คื่นช่าย ยี่หร่า เทียนข้าวเปลือก เทียนสัตตบุษย์ กระเทียม หรือ หอมใหญ่ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักชี เนื่องจากเป็นพืชตระกูลเดียวกัน
  • การกินผักชีมากเกินไป เนื่องจากผักชีมีกลิ่นฉุน อาจทำให้มีกลิ่นตัวแรง
  • การกินผักชีมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการตาลาย หรือ ขี้หลงขี้ลืม เนื่องจากอาการมึนหัว
  • ผักชีมีโพแทสเซียมสูง การกินผักชีมากเกินไป ทำให้ไตทำงานหนัก สำหรับคนเป็นโรคไต ควรลดการกินผักชี

ผักชี ( Coriander ) คือ ผักสวนครัว พืชล้มลุก นิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร สมุนไพร ลักษณะของต้นผักชีเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนากการของผักชี สรรพคุณของผักชี เช่น ช่วยเจริญอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด เป็นต้น ประโยชน์ของผักชี และ โทษของผักชี เรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับผักชีทั้งหมด


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove