ชะอม Climbing Wattle สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหาร ต้นชะอมเป็นอย่างไร สรรพคุณของชะอม มีสารต้านอนุมูลอิสระ บำรุงเส้นผม ช่วยการขับถ่าย แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลมชะอม สมุนไพร สรรพุคณของชะอม

ต้นชะอม ภาษาอังกฤษ เรียก Climbing Wattle ชื่อวิทยาศาสตร์ของชะอม คือ Acacia pennata (L.) Willd สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของชะอม เช่น ผักหละ อม ผักขา พูซูเด๊าะ โพซุยโดะ เป็นต้น ชะอมเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อนแถบเอเชยตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งยอดอ่อนชะอม นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน มีเมนูอาหารหลายเมนูที่มีส่วนประกอบของชะอม เช่น ไข่ทอดชะอม แกงส้มชะอมกุ้ง ชะอมชุบไข่  แกงส้มชะอมไข่ รวมถึงนำยอดอ่อนชะอมมาลวกเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก เป็นต้น

ชะอม เป็นผักพื้นบ้าน ริมรั่ว เป็นพืชพื้นบ้าน ปลูกง่าย ชะอมไม่ชอบน้ำท่วมขัง ดังนั้นการปลูกชะอม ต้องยกร่องสวน และเว้นระยะห่างให้พอดี ต่อการเดินเก็บชะอม อย่าปลูกชิดกันเกินไปเนื่องจากชะอมมีหนาม ชะอม 1 ไร่ สามารถปลูกได้ถึง 2,000 ต้น การปลูกชะอมง่ายไม่ต้องรดน้ำบ่อย 2 ถึง 3 วัน ค่อยให้น้ำครั้งหนึ่งก็ได้

ลักษณะชองต้นชะอม

ต้นชะอม ไม้พุ่มขนาดไม่ใหญ่ สามารถขยายพันธ์ได้โดยการปักชำ การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และการโน้มกิ่งลงดิน สามารถเจริญเติบดตได้ในทุกสภาพดิน ลักษณะของต้นชะอม มีดังนี้

  • ลำต้นชะอม ลักษณะเป็นไม้พุ่ม ลำต้นกลม กิ่งก้านของชะอมมีหนามแหลม
  • ใบชะอม ลักษณะ เป็นใบประกอบขนาดเล็กคล้ายใบกระถิน ใบอ่อนมีกลิ่นฉุน ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม
  • ดอกชะอม ออกดอกเป็นช่อ ดอกออกตามซอกกิ่ง ดอกสีขาว ขนาดเล็ก
  • ผลชะอม ลักษณะเป็นฝักยาว แต่ฝักชะอมจะมีขนาดเล็กกว่าฝักกระถิน

คุณค่าทางโภชนาการของชะอม

สำหรับการบริโภคชะอมเป็นอาหาร นิยมรับประทานใบชะอมเป็นอาหาร ซึ่งเป็นใบส่วนยอดอ่อน นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบชะอม ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงานมากถึง 57 กิโลแคลอรี่ และ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย กากใยอาหาร 5.7 กรัม ฟอสฟอรัส 80 กรัม แคลเซียม 58 กรัม ธาตุเหล็ก 4.1 มิลลิกรัม วิตามินเอ 10066 IU (หน่วยสากล) วิตามินบี1 0.05มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.25 มิลลิกรัม วิตามินบี 31.5 มิลลิกรัม วิตามินบี 58 มิลลิกรัม

สรรพคุณของชะอม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากชะอมด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถนำมาใช้ประโยชน์จาก ยอดอ่อนชะอม(ใบชะอม) และ รากชะอม ซึ่งสรรพคุณของชะอม มีดังนี้

  • รากชะอม สรรพคุณแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ลดการปวดท้อง และช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยบำรุงเส้นเอ็น ช่วยแก้อาการลิ้นอักเสบเป็นผื่นแดง
  • ยอดอ่อนชะอม สรรพคุณมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย ป้องกันมะเร็ง ช่วยลดความร้อนในร่างกาย ลดไข้ เป็นยาอายุวัฒนะ
    ชะอม ช่วยในการขับถ่าย แก้โรคท้องผูก และ ช่วยบำรุงเส้นผม

โทษของชะอม

สำหรับการรับประทานชะอมถึงจะมีสรรพคุณในการรักษาโรคต่างๆมากมาย แต่เนื่องจากชะอมเองมีกรดยูริกสูง หากบริโภคมากเกินไปก็จะส่งผลเสียกับร่างกายได้ ข้อควรระวังในการบริโภคชะอม มีดังนี้

  1. ชะอมจะทำให้น้ำนมแห้ง คุณแม่หลังคลอดไม่ควรรับประทานชะอม
  2. การรับประทานชะอมในช่วงฤดูฝน ชะอมจะมีรสเปรี้ยวทำให้ปวดท้อง
  3. ผู้ป่วยโรคเก๊าฑ์ไม่ควรรับประทานชะอมเป็นอาหาร เนื่องจากมีกรดยูริกสูง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

กระทือ พืชท้องถิ่น สมุนไพรไม้ประดับ นำมารับประทานได้ สรรพคุณของกระทือ ช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับเสมหะ บำรุงน้ำนม ขับน้ำคาวปลา โทษของกระทือเป็นอย่างไร

กระทือ สมุนไพร พืชท้องถิ่น สรรพคุณของกระทือ

ต้นกระทือ( Shampoo Ginger ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระทือ คือ ingiber zerumbet Smith. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกระทือ เช่น หัวทือ กระทือป่า แฮวดำ กะแวน เฮียงแดง เป็นต้น กระทือ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ต่อมาภายหลังได้แพร่กระจายมายังทวีปเอเชียรวมถึงประเทศไทย จัดเป็นสมุนไพรท้องถิ่น พืชตระกูลขิงและข่า สามารถนำมาทำเป็นไม้ประดับได้ สามารถนำมารับประทานเหง้าของกระทือได้ สรรพคุณของกระทือ เช่น แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้อ่อนเพลีย ช่วยเจริญอาหาร ขับประจำเดือน ขับเสมหะ บำรุงน้ำนม

ประโยชน์ของกระทือ

ส่วนใหญ่แล้วนิยมปลูกกระทือเป็นไม้ประดับ  แต่สามารถรับประทานกระทือเป็นอาหารได้ โดยหน่ออ่อน ใช้รับประทานสดหรือลวกจิ้มกับน้ำพริก ส่วนใบกระทือนำมาใช้ห่อข้าว ห่อของ ห่อปิ้งอาหาร ลำต้นนำมาทำเป็นเชือกรัดของได้ และที่สำคัญน้ำมันหอมระเหยจากดอกกระทือ มีประโยชน์ใช้ฆ่าตัวอ่อนของแมลงและลูกน้ำ สามารถลดการวางไข่ของด้วงถั่วเขียวได้

ลักษณะของต้นกระทือ

ต้นกระทือ เป็นพืชล้มลุก อายุข้ามปี ลักษณะคล้ายต้นขิง ต้นข่า มีหัว หรือ เหง้าอยู่ใต้ดิน สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ในที่ที่มีความชื้นพอสมควร และ มีแสงแดดส่องตลอดวัน พบขึ้นมากทางภาคใต้ ตามป่าดงดิบ ริมลำธารหรือชายป่า ลักษณะของต้นกระทือ มีดังนี้

  • ลำต้นกระทือ ลำต้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ลำต้นเหนือดิน และ ลำต้นใต้ดิน โดยลำต้นเหนือดิน เป็นไม้เนื้ออ่อน มีแกนเป็นเส้นใยในแนวตั้งตรง มีลำต้นสูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะกลม ส่วนลำต้นใต้ดิน เรียกว่า เหง้า หรือ หัว ลักษณะกลมมีรากแขนงแทงลึกลงดิน เหง้าอ่อนมีกาบหุ้มหน่อสีม่วง เนื้อเหง้ามีสีขาว
  • ใบกระทือ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน ใบสีเขียวเข้ม ลักษณะของใบคล้ายรูปหอกแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบและแผ่นใบเรียบ ด้านล่างของใบมักมีขนนุ่ม ใบกว้างประมาณ 5-7.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร ที่ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น
  • ดอกกระทือ ออกดอกเป็นช่อแทงออกมาจากเหง้าขึ้นมา (รูปแรกด้านบนสุด) ลักษณะของช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก มีกลีบดอกสีขาวนวลออกเหลือง (รูปที่ 1 ด้านล่าง) มีใบประดับขนาดใหญ่สีเขียวแกมแดงเรียงซ้อนกันหนาแน่นและเป็นระเบียบ (รูปที่ 2 ด้านล่าง) โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ดอกจะบานไม่พร้อมกัน
  • ผลกระทือ ผลมีลักษณะเป็นเมล็ดสีดำ ผลค่อนข้างกลม ผลแห้งแตก ติดอยู่ในประดับ และมีเนื้อสีขาวบางหุ้มเมล็ดอยู่

การปลูกกระทือ

ต้นกระทือ ปลูกง่าย สามารถขึ้นได้ตามธรรมชาติ การขยายพันธุ์ใช้การแตกหน่อ การปลูกกระทือนั้นนิยมขุดเหง้าจากเหง้าแม่ แล้วนำปลูกลงแปลง ซึ่งดินที่เหมาะสำหรับการปลูกกระทือ ควรเป็น ดินเหนียวปนทราย หรือ ดินร่วนปนทราย ควรปลูกใกล้กับบริเวณที่มีความชื้นตลอด เช่น ข้างบริเวณล้างจาน หรือ หลังห้องน้ำ เป็นต้น

สรรพคุณของกระทือ

การนำเอากระทือ มาใช้ประโยชน์ทางการรักษาโรคนั้น สามารถนำมาใช้เป็นสมุนไพร ได้ทั้ง ลำต้น ดอก ใบ และเหง้า โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • เหง้ากระทือ สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร กระตุ้นการหลั่งน้ำย่อย บำรุงร่างกาย แก้ร้อนใน บำรุงน้ำนม ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำนม แก้โรคบิด ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ รักษาแผลฝี
  • รากกระทือ สรรพคุณช่วยลดไข้ ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ ช่วยขับปัสสาวะ และ แก้อาการเคล็ดขัดยอก
  • ลำต้นกระทือ สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดไข้ และ บรรเทาอาการไอ
  • ใบกระทือ สรรพคุณช่วยขับลม ช่วยประจำเดือน ช่วยขับน้ำคาวปลา
  • ดอกกระทือ สรรพคุณช่วยลดไช้ ช่วยขับลม และ บำรุงร่างกาย

โทษของกระทือ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระทือ เนื้อจากกระทือมีรสเผ็ดร้อน จึงไม่ควรรับประทานในปริมาณมากเกินไป เนื่องจากอาจทำให้คลื่นไส้และอาเจียนได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove