ลูกสมอไทย สมุนไพรไทย ราชาสมุนไพร ต้นสมอไทยเป็นอย่างไร สรรพคุณของสมอไทย ขับสารพิษ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ ขับพยาธิ บำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจ บำรุงเลือด โทษของสมอไทยลูกสมอไทย สมอไทย ราชาสมุนไพร สมุนไพรไทย

สมอไทย ( Chebulic Myrobalans ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของสมอไทย Terminalia chebula Retz. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของ สมอไทย เช่น หมากแน่ะ ม่าแน่ สมออัพยา ลูกสมอ เป็นต้น ต้นสมอไทย เป็นพืชท้องถิ่น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีสรรพคุณทางยาหลากหลาย โดยเฉพาะ การขับสารพิษในร่างกาย

ฉายา ราชาสมุนไพร คือ ฉายาของสมอไทย ด้วยสรรพคุณพิเศษช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย และ สามารถรักษาโรคได้หลายโรค ที่สำคัญยังมี วิตามินและแร่ธาตุ หลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินซี ธาตุแคลเซียม และ ธาตุฟอสฟอรัส ต้นสมอไทย คือ พืชท้องถิ่นในประเทศแถบเอเชียใต้ ผลสมอไทย ค่อนข้างกลมในผลมีเมล็ด สมอไทย สามารถนำมาทำยาได้หลายส่วน เช่น ใบ ดอก ผล เปลือกลำต้น เป็นต้น

ลักษณะของต้นสมอไทย

ต้นสมอไทย เป็นไม้พื้นเมือง ไม้ยืนต้นขนาดกลาง พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง หรือ ตามทุ่งหญ้า ที่สูงตั้งแต่ใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึง ประมาณ 1000 เมตร สามารถขยายพันธ์ โดยการเพาะเมล็ดพันธ์  มีระบบรากแก้วแข็งแรง ลักษณะของต้นสมอไทย เป็นอย่างไร

  • ลำต้นสมอไทย ลักษณะลำต้นตั้งตรง ไม้เนื้อแข็ง ความสูงประมาณ 20 เมตร ผิวของเปลือกลำต้นขรุขระ สีเทา เนื้อด้านในเปลือกสีเหลืองอ่อน มีน้ำยางสีแดง
  • ใบสมอไทย ลักษณะเป็นเดี่ยว สีเขียว ลักษณะรีปลายใบแหลม ใบเหนียวคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบเป็นมันเงา มีขนคล้ายไหม
  • ดอกสมอไทย ลักษณะดอกออกเป็นช่อ ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ กลีบดอกสีขาวอมเหลือง ดอกสมอไทยออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ดอกสมอไทยออกทุกเดือนเมษายนถึงมิถุนายน ของทุกปี
  • ผลสมอไทย เจริญเติบโตมาจากดอกสมอไทย ลักษณะของผลกลมรี ผลอ่อนมีสีเขียว เปลือกของผลลักษณะมัน แข็ง ผิวเกลี้ยง ผลแก่สีเขียวอมเหลือง หรือ น้ำตาลแดง ผลสมอไทย ออกประมาณเดือนกันยายนถึงธันวาคมของทุกปี
  • เมล็ดสมอไทย ลักษณะรียาว อยู่ในผลสมอไทย เมล็ดสมอไทยแข็ง ในหนึ่งผลมีหนึ่งเมล็ด

คุณค่าทางโภชนาการของสมอไทย

ผลสมอไทย มีสารเคมีหลากหลาย องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญของลูกสมอไทย มีสารเคมีน่าสนใจ ประกอบด้วย

  • กรดแกลลิก ( gallic acid ) เป็นกรดที่มีสรรพคุณช่วยต่อต้านออกซิเดชัน
  • สารกลุ่มฟิโนลิกส์ ( phenolics ) คืิอสารที่มีคุณสมบัติช่วยต่อต้านเซลล์การเจริญเติบโตของมะเร็ง ได้แก่ กรดเคบูโลนิก ( chebulonic acid )
  • สารคอริลาจิน ( corilagin ) คือสารที่มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาหารเจ็บปวด

นอกจากนี้ในลูกสมอไทย ยังมีสารอื่นๆน่าสนใจ เช่น terchebin glucogallin ellagic acid sennoside A chebulin catechol และ tannic acid

สรรพคุณของสมอไทย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากสมอไทย ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ผลสมอไทย เมล็ดสมอไทย ใบ และ เปลือกของลำต้น สรรพคุณของสมอไทย มีดังนี้

  • ผลและเมล็ดสมอไทย มีรสเปรี้ยวอมฝาด สรรพคุณช่วยการเจริญอาหาร ช่วยขับเสมหะ แก้เจ็บคอ แก้ไอ รักษาแผลในปาก แผลร้อนใน รักษาอาการท้องเสีย แก้ท้องอืด ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลม เป็นยาระบาย บรรเทาโรคหอบหืด ช่วยขับพยาธิ บำรุงตับ บำรุงผิวพรรณ ช่วยขัดผิว ลดรอยหมองคล้ำ รักษากระ รักษาฟ้า ทำให้ผิวพรรณดูสดใส ช่วยขับสารพิษ แก้อาการวิงเวียนศรีษะ ลดอาเจียน – ช่วยบำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แก้ปวดตามข้อ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยป้องกันโรคหัว ช่วยในการผ่อนคาย ลดอาการเครียด ทำให้นอนหลับง่าย ช่วยรักษาโรคฟันผุ ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ รักษาพิษแมลงสัตว์กัดต่อย
  • ใบสมอไทย สรรพคุณช่วยแก้ท้องเสีย รักษาผดผื่นคัน ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงสายตา ช่วยห้ามเลือด รักษาแผลสด แก้ท้องอืด ช่วยขับสารพิษ บำรุงไต
  • เปลือกลำต้นและแก่นไม้สมอไทย สรรพคุณแก้ท้องร่วง แก้ปวดท้อง ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคผิวหนัง รักษาโรคเชื้อราที่ผิวหนัง

โทษของสมอไทย

จากการการศึกษาทางพิษวิทยาสมอไทย มีการทำลองการใช้สมอไทย กับหนู ซึ่งผลการศึกษาพบความเป็นพิษจากสมอไทย อย่างชัดเจน แต่การใช้ประโยชน์จากสมอไทย ต้องใช้ประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ใช้มากเกินไป จะไม่ทำให้เกิดโทษ

ลูกสมอไทย สมุนไพรไทย สรรพคุณมหัศจรรย์ ราชาสมุนไพร ลักษณะของต้นสมอไทย สรรพคุณของสมอไทย เช่น ขับสารพิษ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ ขับพยาธิ บำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจ บำรุงเลือด โทษของสมอไทย มีอะไรบ้าง

ท้าวยายม่อม นิยมนำหัวของท้าวยายม่อมมาทำแป้ง เรียก แป้งท้าวยายม่อม ต้นท้าวยายม่อมเป็นอย่างไร สรรพคุณบำรุงหัวใจ เจริญอาหาร ขับเสมหะ โทษของท้าวยายม่อมเป็นอย่างไรท้าวยายม่อม แป้งท้าวยายม่อม สมุนไพร สรรพคุณของท้าวยายม่อม

ต้นเท้ายายม่อม ( East Indian arrow root ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นท้าวยายม่อม คือ Tacca leontopetaloides (L.) Kuntze[1] ชื่อเรียกอื่นๆของเท้ายายม่อม คือ บุกรอ สิงโตดำ นางนวล ไม้เท้าฤาษี ว่านพญาหอกหลอก เป็นต้น ท้าวยายม่อม จัดอยู่ในพืชตระกูลกลอย

เท้ายายม่อม เป็นพืชไม่มีลำต้น กลุ่มไม้ล้มลุก อายุยืนยาว มีหัวอยู่ใต้ดิน ถิ่นกำเนิดของท้าวยายม่อมมาจากประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกา โอเชียเนีย และ ประเทศหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิก หัวของท้าวยายม่อม ไม่สามารถนำมารับประทานผลแบบสดๆได้ หัวของท้าวยายม่อม เป็นส่วนที่นำมาทำ แป้งท้าวยายม่อม

ลักษณะของต้นเท้ายายม่อม

ต้นท้าวยายม่อม สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีร่มเงา ชอบดินร่วนปนทราย ดินเหนียวปนทราย สามารถขยายพันธุ์ด้วย การเพาะด้วยเมล็ดพันธ์ และ การแยกหน่อ ลักษณะของต้นท้าวยายม่อม มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นของท้าวยายม่อม ไม่มี โดยจะมีหัวอยู่ใต้ดิน หัวท้าวยายม่อมเป็นแหล่งสะสมอาหาร ลักษณะกลม แบนรี ผิวด้านนอกของหัวท้าวยายม่อมบาง มีสีน้ำตาล เนื้อในเป็นสีขาว
  • ใบท้าวยายม่อม ลักษณะเป็นใบเดี่ยว มีสีเขียว เรียงสลับออกจากก้านใบ ใบมีขนาดใหญ่ ใบเว้าลึกคล้ายรูปฝ่ามือ ปลายใบเป็นแฉกๆ ก้านใบสูงประมาณ 1 เมตร
  • ดอกท้าวยายม่อม ลักษณะดอกออกเป็นช่อ โดยแทงช่อสูงออกมาจากหัวท้าวยายม่อม ก้านดอกมีสีม่วง กลีบดอกสีเขียวอมเหลือง ดอกท้าวในช่วงประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม ของทุกปี
  • ผลท้าวยายม่อม ลักษณะกลมรี ปลายแหลม ผลสดมีสีเขียว ภาวในมีเมล็ดจำนวนมาก

คุณค่าทางโภชนาการของท้าวยายม่อม

ต้นท้าวยายม่อม นั้นนิยมใช้ประโยชน์นำหัวท้าวยายม่อม มาทำแป้ง และ นำมาทำอาหารต่างๆ นักโภชนาการได้ศึกษาหัวท้าวยายม่อม พบ่วา

คุณค่าทางโภชนาการหัวเท้ายายม่อมสด ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 0.05 กรัม ไขมัน 0.02 กรัม คาร์โบไฮเดรต 99.32 กรัม กากใยอาหาร 0.52 กรัม

หัวของท้าวยายม่อม มีสารสำคัญที่ให้รสขม ประกอบด้วย

  • β – sitosterol
  • Cerylic alcohol
  • Taccalin
  • Alkaloids
  • Steroidal sapogenins
  • Sapogenins

สรรพคุณเท้ายายม่อม

ต้นท้าวยายม่อม สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย ได้หลายส่วน ประกอบด้วย หัวท้าวยายม่อม รากท้าวยายม่อม โดยรายละเอียด ดังนี้

  • หัวท้าวยายม่อม สรรพคุณให้พลังงาน ช่วยบำรุงร่างกาย แก้อ่อนเพลีย ช่วยเจริญอาหาร บำรุงหัวใจ แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย รักษาแผลฝี ช่วยห้ามเลือด แก้ผื่นคัน
  • รากท้าวยายม่อม สรรพคุณช่วยลดไข้ แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยขับเสมหะ

โทษของท้าวยายม่อม

หัวท้าวยายม่อม สดมีรสขม ไม่สามารถนำมารับประทานแบบสดๆได้ ต้องนำมาล้าง ตากแห้ง เพื่อให้พิษของหัวออกก่อน นำมาใช้ประโยชน์

ท้าวยายม่อม คือ พืชท้องถิ่น นิยมนำหัวของท้าวยายม่อม มาทำแป้ง เรียก แป้งท้าวยายม่อม ลักษณะของต้นท้าวยายม่อม เป็นอย่างไร สรรพคุณของท้าวยายม่อม เช่น บำรุงหัวใจ ช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ โทษของท้าวยายม่อม เป็นอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove