ผักไชยา Chaya คะน้าเม็กซิกัน สมุนไพร เรียกต้นผงชูรส ต้นไชยาเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของผักไชยา เช่น บำรุงเลือด บำรุงกระดูก โทษของผักไชยา มีอะไรบ้างคะน้าเม็กซิกัน ผักไชยา สมุนไพร ต้นผงชูรส

ต้นผักไชยา ( Chaya ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักไชยา คือ Cnidoscolus chayamansa เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับต้นยางพารา สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของผักไชยา เช่น ชายา มะละกอกินใบ คะน้าเม็กซิกัน ต้นผงชูรส ผักโขมต้น เป็นต้น ลำต้นผักไชยา นำมาตากแห้ง บดให้เป็นผง ใช้แทนผงชูรสได้ดี ใช้ผสมกับอาหาร ช่วยให้มีรสชาติกลมกล่อม ผักไชยา นิยมนำมารับประทานเป็นอาหารโดยใช้ส่วนของยอดอ่อนและใบ เมื่อเด็ดยอดอ่อนแล้วต้องนำมาปอกเปลือกออก ในเมืองไทยนิยมนำมาทำเมนู ผัดไชยาน้ำมันหอย ผักไชยาผัดไข่ ผัดราดหน้า ผัดซีอิ๊ว แกงส้ม ลวกจิ้มกับน้ำพริกก็ได้

ลักษณะของต้นผักไชยา

ต้นผักไชยา หรือ คะน้าเม็กซิกัน สามารถขยายพันธุ์ ได้โดยการตอนกิ่ง ปักชำ และ เพาะเมล็ดพันธ์ คะน้าเม็กซิโก เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่มีความชื้น ระบายน้ำได้ดี ชอบแสงแดด ระยะเวลาปลูก 60 วัน สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อนำมารับประทานได้

ต้นคะน้าเม็กซิโก เป็นไม้ยืนต้น ทรงพุ่ม ถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเขตร้อน ประเทศเม็กซิโก พบต้นคะน้าเม็กซิกัน การกระจายพันธุ์อยู่ในกัวเตมาลา และ ทวีปอเมริกากลาง ลักษณะของต้นไชยา มีดังนี้

  • ลำต้นไชยา ลักษณะอวบน้ำ ความสูงประมาณ 2 ถึง 6 เมตร เปลือกของลำต้นสีน้ำตาล ลำต้นมีน้ำยางสีขาว
  • ใบไชยา ลักษณะใบสีเขียวคล้ายใบมะละกอ ขอบเป็นแฉกๆ ใบหนึ่งมี 3 ถึง 4 แฉก
  • ดอกผักไชยา ออกดอกเป็นช่อ ดอกออกบริเวณปลายกิ่ง

ต้นไชยาเป็นไม้พุ่ม ชนิดหนึ่ง ลักษณะใบสีเขียวคล้ายใบมะละกอ เมื่อเด็ดออกมาจะมียางสีขาว ต้นโตง่าย สามารถสูงได้ถึง 6 เมตร รสชาติไม่ขม ไม่มีกลิ่นเหม็นเขียว ได้รับความนิยมนำมาปรุงเป็นอาหารในประเทศเม็กซิโก กัวเตมาลา และประเทศแถบอเมริกากลาง

คุณค่าทางโภชนาการของผักไชยา

สำหรับคะน้าเม็กซิโกหรือผักไชยา นำยมรับประทานก้านและยอด มีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบผักไชยาขนาด 100 กรัม ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอด้วย น้ำร้อยละ 85.3 คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 4.2 โปรตีนร้อยละ 5.7 ไขมันร้อยละ 0.4 กากใยอาหารร้อยละ 1.9 แคลเซียม 199.4 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 217.2 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 39 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 11.4 มิลลิกรัม วิตามินซี 164.7 มิลลิกรัม และ วิตามินเอ 0.085 มิลลิกรัม ผักไชยามีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าผักโขมมากถึง 2 เท่า

สรระคุณของผักไชยา

การนำผักไชยามาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย ใช้ประโยชน์จากก้านและใบ โดย สรรพคุณของผักไชยา มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงร่างกาย มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง
  • ช่วยบำรุงเลือด ทำให้เลือดหมุนเวียนดี ช่วยลดคอเลสเตอรอล เพิ่มธาตุเหล็กให้กับเลือด ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดการอักเสบในเส้นเลือด ช่วยบรรเทาโรคไขข้ออักเสบ
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยการย่อยอาหาร ช่วยบรรเทาริดสีดวงทวาร
  • บำรุงสายตา ช่วยในการมองเห็น บำรุงสายตา
  • บำรุงกระดูก เพิ่มแคลเซียมให้กระดูก รักษาโรคกระดูกพรุน
  • บำรุงสมอง ช่วยให้สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันอาการปวดหัว
  • บำรุงระบบทางเดินหายใจ รักษาโรคหอบหืด ป้องกันอาการไอ ลดการสะสมและลดการติดเชื้อในปอด ช่วยฆ่าเชื้อในปอด
  • ช่วยลดน้ำหนัก ปรับสมดุลของระบบการเผาผลาญ
  • บำรุงตับ ช่วยล้างพิษในตับ

โทษของผักไชยา

ต้นไชยามีพิษ เนื่องจาก มีสารกลูโคไซด์ เป็นสารที่อยู่ในผักไชยาดิบ การนำผักไชยามารับประทานต้องทำให้้สุกก่อน เพื่อทำลายฤทธิ์ของสารพิษ ให้นำไปต้ม หรือ ผัด อย่างน้อย 1 นาที และ  ห้ามต้มในภาชนะอะลูมิเนียม เพราะ อาจทำให้น้ำพิษ ทำให้ท้องร่วงได้

ผักไชยา ( Chaya ) หรือ คะน้าเม็กซิกัน สมุนไพร ต้นผงชูรส ลักษณะของผักไชยา เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของผักไชยา เช่น บำรุงเลือด บำรุงกระดูก โทษของผักไชยา มีอะไรบ้าง

แคนา หรือ แคป่า สมุนไพร ไม้มงคล นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ดอกแคนำมารับประทานเป็นผักสดได้ ต้นแคนาเป็นอย่างไร สรรพคุณขับเสมหะ ขับประจำเดือน ช่วยเจริญอาหาร โทษของแคนาแคนา แคป่า สมุนไพร สรรพคุณของแคนา

ต้นแคนา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dolichandrone serrulata Wall. ex DC. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของแคนา เช่น ภาคเหนือ เรียก แคขาว แคเค็ตถวา แคแน แคฝอย แคฝา แคภูฮ่อ แคแหนแห้ ภาคอีสาน เรียก แคทราย ภาคตะวันออก เรียก แคยาว แคอาว ภาคใต้ เรียก แคยอดดำ เป็นต้น

ต้นแคนา พบกระจายอยู่ทั่วไปประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลาว พม่า เวียดนาม และไทย สำหรับประเทศไทยสามารถพบได้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และ ภาคกลาง และพบได้บ่อยตามทุ่งนาทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ประโยชน์ของแคนา

สำหรับต้นแคนา นำมาใช้ประโยชน์ทั้งการรักษาโรค อาหาร สร้างอาคารบ้านเรือน อาหารสัตว์ หรือ ปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับ ไม้มงคลในบ้าน ดอกแคนา นำมาทำอาหาร เช่น แกงส้ม หรือ ลวกกินกับน้ำพริก ต้นแคนา เหมาะสำหรับปลูกให้ร่มเงาและเป็นไม้ประดับมงคล ดอกแคนาเป็นอาหารเสริมที่ดีสำหรับเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย เนื้อไม้ของต้นแคนา นำมาสร้างอาคารบ้านเรือนได้ เช่น ทำเป็นเสา ไม้กระดาน ทำฝาบ้าน เป็นต้น

ลักษณะของต้นแคนา

ต้นแคนา เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยการเพาะเมล็ดพันธ์ และ การปักชำ สามารถพบต้นแคนา ตามป่า ทุ่งนา ป่าเบญจพรรณ ลักษณะของต้นแคนา มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นแคนา ความสูงประมาณ 20 เมตร ลำต้นเปลาตรง แตกกิ่งต่ำ เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอ่อน ผิวลำต้นเรียบ
  • ใบแคนา ลักษณะเป็นใบประกอบ สีเขียว ใบรี ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยว ขอบใบหยัก
  • ดอกแคนา ลักษณะดอกแคนาเป็นช่อ ดอกมีขนาดใหญ่ คล้ายรูปแตร ดอกสีขาว ดอกออกตามปลายกิ่ง ดอกแคนามีกลิ่นหอม  ดอกแคนาจะบานตอนกลางคืน ดอกแคนาดอกช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน ของทุกปี
  • ผลแคนา ลักษณะเป็นฝัก เจริญเติบโตจากดอกแค ลักษณะฝักแบน ฝักโค้งและบิดเป็นเกลียว ภายในฝักมีเมล็ด เมล็ดรูปสี่เหลี่ยม

สรรพคุณของแคนา

สำหรับการใช้ประโยชน์จากแคนา หรือ แคป่า ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ส่วนต่างๆ คือ ดอก เมล็ด ราก เปลือก และ ใบ โดย สรรพคุณของแคนา มีดังนี้

  • ดอกของแคนา รสหวาน มีฤทธิ์เย็น สรรพคุณขับเสมหะ ขับประจำเดือน ขับเลือด ช่วยเจริญอาหาร ขับลม
  • ใบของแคนา มีฤทธิ์เย็น สรรพคุณรักษาแผล รักษาแผลในช่องปาก
  • เมล็ดของแคนา รสหวาน มีฤทธิ์เย็น สรรพคุณแก้อาการปวดเมื่อย แก้อาการโรคชัก
  • รากของแคนา รสหวาน มีฤทธิ์เย็น สรรพคุณขับแก้เสมหะ ขับลม บำรุงโลหิต
  • เปลือกของแคนา รสหวาน มีฤทธิ์เย็น สรรพคุณแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับเลือดสำหรับสตรีหลังคลอด

โทษของแคนา

สำหรับโทษของแคนา มีข้อควรระวังในการใ้ชประโยชน์จากแคนา ดังนี้

  • ดอกแคนา สรรพคุณเป็นยาขับเลือด ขับประจำเดือน สำหรับสตรมีครรภ์ หากใช้ดอกแคนาอาจทำให้เลือดออก ตกเลือด เป็นอันตรายต่อบุตรในครรภ์

แคนา หรือ แคป่า พืชท้องถิ่น ผักป่า สมุนไพร ไม้มงคล นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ดอกแคนำมารับประทานเป็นผักสด ลักษณะของต้นแคนา เป็นอย่างไร สรรพคุณของแคนา เช่น ขับเสมหะ ขับประจำเดือน ช่วยเจริญอาหาร ขับลม โทษของแคนา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove