ลูกใต้ใบ สมุนไพรรสขม สรรพคุณขับปัสสาวะ ช่วยขับประจำเดือน ลดความดันโลหิต ลดความเป็นพิษต่อตับ ลักษณะของต้นลูกใต้ใบเป็นอย่างไร โทษของลูกใต้ใบมีอะไรบ้าง

ลูกใต้ใบ

ลูกใต้ใบ ภาษาอังกฤษ เรียก Egg woman พืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อน ทวีปอเมริกา ทวีปแอฟริกา และทวีปเอเชีย ชื่อวิทยาศาสตร์ของลูกใต้ใบ คือ Phyllanthus amarus Schumach. & Thonn. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของลูกใต้ใบ เช่น หญ้าใต้ใบ ต้นใต้ใบ หญ้าลูกใต้ใบ หมากไข่หลัง ไฟเดือนห้า หญ้าใต้ใบขาว หน่วยใต้ใบ มะขามป้อมดิน จูเกี๋ยเช่า เป็นต้น

ลูกใต้ใบ พืชตระกูลเดียวกับมะขาป้อม พืชที่มีประโยชน์ทางสมุนไพร สรรพคุณรักษาโรคเบาหวาน ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ช่วยขับประจำเดือน ลดความดันโลหิต ลดความเป็นพิษต่อตับ

ชนิดของลูกใต้ใบ

สำหรับต้นลูกใต้ใย สามารถแบ่งชนิดได้ 4 ชนิด ประกอบด้วย

  • Phyllanthus amarus Schumach. & Thonn.
  • Phyllanthus debilis Klein ex Willd.
  • Phyllanthus urinaria L. (หญ้าใต้ใบ)
  • Phyllanthus virgatus G.Forst.

ในประเทศไทยมีการค้นพบลูกใต้ใบเพิ่มเติมอีก 3 ชนิด คือ ลูกใต้ใบดอกขาว ( Phyllanthus sp.1 ) ลูกใต้ใบตีนชี้ ( Phyllanthus sp.2 ) และ ลูกใต้ใบหัวหมด ( Phyllanthus sp.3 )

ลักษณะของต้นลูกใต้ใบ

ต้นลูกใต้ใบ เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น อายุเพียงปีเดียว ลักษณะของต้ยลูกใต้ใบ มีดังนี้

  • ลำต้นลูกใต้ใบ ลำต้นมีรสขมมาก ความสูงประมาณ 60 เซนติเมตร ลำต้นมีขน แตกกิ่งก้านสาขามากมาย
  • ใบลูกใต้ใบ เป็นใบเดี่ยว สีเขียว ใบแบบขนนกชั้นเดียว โคนใบมนแคบ ปลายใบมนกว้าง มีหูใบ สีขาวนวล
  • ดอกลูกใต้ใบ ดอกเป็นช่อ ขนาดเล็ก สีขาว ดอกออกบริเวณโคนของก้านใบ กลีบดอกเป็นรูปไข่ ขอบกลีบมีสีอ่อน
  • ผลลูกใต้ใบ ลักษณะกลมแบน ผลของผิวเรียบ สีเขียวอ่อน ผลจะเกาะติดที่ใต้โคนใบ

คุณค่าทางโภชนาการของลูกใต้ใบ

คุณค่าทางโภชนาการของลูกใต้ใบ มีสารอาการสำคัญ ประกอบด้วย ธาตุโซเดียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุอะลูมิเนียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุแคดเมียม และ สารหนู

สารเคมีที่พบในลูกใต้ใบ ประกอบด้วย สารแทนนิน ( Tannins ) ฟลาโวนอยด์ ( Flavonoids ) ลิกแนนส์ ( Lignans ) ไกลโคไซด์ ( Glycosides ) และ ซาโปนิน ( Saponin ) เป็นต้น

สรรพคุณลูกใต้ใบ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากลูกใต้ใบ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ราก ทั้งตน ใบ และ ผล สรรพคุณของลูกใต้ใบ มีดังนี้

  • รากลูกใต้ใบ สรรพคุณบำรุงร่างกาย ช่วยลดไข้ รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ แก้ท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว
  • ใบลูกใต้ใบ สรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงสายตา รักษาโรคตา ช่วยลดไข้ รักษามาลาเรีย แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ แก้อาการคัน รักษาแผลสด รักษาแผลฟกช้ำ
  • ทั้งต้นลูกใต้ใบ สรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยลดไข้ แก้ไอ แก้หืด แก้กระหายน้ำ  ช่วยขับเสมหะ รักษาดีซ่าน บำรุงสายตา แก้ท้องเสีย ป้องกันพยาธิในเด็ก ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว รักษาริดสีดวงทวาร ช่วยขับระดูขาว ชวยขับประจำเดือน รักษาไข้ทับระดู รักษากามโรค รักษาเริม รักษาฝี
  • ผลลูกใต้ใบ สรรพคุณช่วยลดไข้ แก้กระหายน้ำ รักษาพิษตาซาง บำรุงตับ แก้ปวดหลัง แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย

โทษของลูกใต้ใบ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากลูกใต้ใบ มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • ลูกใต้ใบมีสรรพคุณขับประจำเดือน สำหรับสตรีมีครรภ์ห้ามใช้ลูกใต้ใบ เพราะ อาจเป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์
  • สำหรับผู้ป่วยโรคตับ ก่อนใช้สมุนไพรลูกใต้ใบ ควรศึกษาให้ละเอียด เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ลูกใต้ใบ สมุนไพรรสขม สรรพคุณ โรคเบาหวาน ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ช่วยขับประจำเดือน ลดความดันโลหิต ลดความเป็นพิษต่อตับ ลักษณะของต้นลูกใต้ใบเป็นอย่างไร โทษของลูกใต้ใบ มีอะไรบ้าง

ผักไชยา Chaya คะน้าเม็กซิกัน สมุนไพร เรียกต้นผงชูรส ต้นไชยาเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของผักไชยา เช่น บำรุงเลือด บำรุงกระดูก โทษของผักไชยา มีอะไรบ้างคะน้าเม็กซิกัน ผักไชยา สมุนไพร ต้นผงชูรส

ต้นผักไชยา ( Chaya ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักไชยา คือ Cnidoscolus chayamansa เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับต้นยางพารา สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของผักไชยา เช่น ชายา มะละกอกินใบ คะน้าเม็กซิกัน ต้นผงชูรส ผักโขมต้น เป็นต้น ลำต้นผักไชยา นำมาตากแห้ง บดให้เป็นผง ใช้แทนผงชูรสได้ดี ใช้ผสมกับอาหาร ช่วยให้มีรสชาติกลมกล่อม ผักไชยา นิยมนำมารับประทานเป็นอาหารโดยใช้ส่วนของยอดอ่อนและใบ เมื่อเด็ดยอดอ่อนแล้วต้องนำมาปอกเปลือกออก ในเมืองไทยนิยมนำมาทำเมนู ผัดไชยาน้ำมันหอย ผักไชยาผัดไข่ ผัดราดหน้า ผัดซีอิ๊ว แกงส้ม ลวกจิ้มกับน้ำพริกก็ได้

ลักษณะของต้นผักไชยา

ต้นผักไชยา หรือ คะน้าเม็กซิกัน สามารถขยายพันธุ์ ได้โดยการตอนกิ่ง ปักชำ และ เพาะเมล็ดพันธ์ คะน้าเม็กซิโก เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่มีความชื้น ระบายน้ำได้ดี ชอบแสงแดด ระยะเวลาปลูก 60 วัน สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อนำมารับประทานได้

ต้นคะน้าเม็กซิโก เป็นไม้ยืนต้น ทรงพุ่ม ถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเขตร้อน ประเทศเม็กซิโก พบต้นคะน้าเม็กซิกัน การกระจายพันธุ์อยู่ในกัวเตมาลา และ ทวีปอเมริกากลาง ลักษณะของต้นไชยา มีดังนี้

  • ลำต้นไชยา ลักษณะอวบน้ำ ความสูงประมาณ 2 ถึง 6 เมตร เปลือกของลำต้นสีน้ำตาล ลำต้นมีน้ำยางสีขาว
  • ใบไชยา ลักษณะใบสีเขียวคล้ายใบมะละกอ ขอบเป็นแฉกๆ ใบหนึ่งมี 3 ถึง 4 แฉก
  • ดอกผักไชยา ออกดอกเป็นช่อ ดอกออกบริเวณปลายกิ่ง

ต้นไชยาเป็นไม้พุ่ม ชนิดหนึ่ง ลักษณะใบสีเขียวคล้ายใบมะละกอ เมื่อเด็ดออกมาจะมียางสีขาว ต้นโตง่าย สามารถสูงได้ถึง 6 เมตร รสชาติไม่ขม ไม่มีกลิ่นเหม็นเขียว ได้รับความนิยมนำมาปรุงเป็นอาหารในประเทศเม็กซิโก กัวเตมาลา และประเทศแถบอเมริกากลาง

คุณค่าทางโภชนาการของผักไชยา

สำหรับคะน้าเม็กซิโกหรือผักไชยา นำยมรับประทานก้านและยอด มีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบผักไชยาขนาด 100 กรัม ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอด้วย น้ำร้อยละ 85.3 คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 4.2 โปรตีนร้อยละ 5.7 ไขมันร้อยละ 0.4 กากใยอาหารร้อยละ 1.9 แคลเซียม 199.4 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 217.2 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 39 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 11.4 มิลลิกรัม วิตามินซี 164.7 มิลลิกรัม และ วิตามินเอ 0.085 มิลลิกรัม ผักไชยามีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าผักโขมมากถึง 2 เท่า

สรระคุณของผักไชยา

การนำผักไชยามาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย ใช้ประโยชน์จากก้านและใบ โดย สรรพคุณของผักไชยา มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงร่างกาย มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง
  • ช่วยบำรุงเลือด ทำให้เลือดหมุนเวียนดี ช่วยลดคอเลสเตอรอล เพิ่มธาตุเหล็กให้กับเลือด ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดการอักเสบในเส้นเลือด ช่วยบรรเทาโรคไขข้ออักเสบ
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยการย่อยอาหาร ช่วยบรรเทาริดสีดวงทวาร
  • บำรุงสายตา ช่วยในการมองเห็น บำรุงสายตา
  • บำรุงกระดูก เพิ่มแคลเซียมให้กระดูก รักษาโรคกระดูกพรุน
  • บำรุงสมอง ช่วยให้สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันอาการปวดหัว
  • บำรุงระบบทางเดินหายใจ รักษาโรคหอบหืด ป้องกันอาการไอ ลดการสะสมและลดการติดเชื้อในปอด ช่วยฆ่าเชื้อในปอด
  • ช่วยลดน้ำหนัก ปรับสมดุลของระบบการเผาผลาญ
  • บำรุงตับ ช่วยล้างพิษในตับ

โทษของผักไชยา

ต้นไชยามีพิษ เนื่องจาก มีสารกลูโคไซด์ เป็นสารที่อยู่ในผักไชยาดิบ การนำผักไชยามารับประทานต้องทำให้้สุกก่อน เพื่อทำลายฤทธิ์ของสารพิษ ให้นำไปต้ม หรือ ผัด อย่างน้อย 1 นาที และ  ห้ามต้มในภาชนะอะลูมิเนียม เพราะ อาจทำให้น้ำพิษ ทำให้ท้องร่วงได้

ผักไชยา ( Chaya ) หรือ คะน้าเม็กซิกัน สมุนไพร ต้นผงชูรส ลักษณะของผักไชยา เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของผักไชยา เช่น บำรุงเลือด บำรุงกระดูก โทษของผักไชยา มีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove