มะเร็งหลอดอาหาร เนื้อร้ายที่หลอดอาหาร ส่งผลให้เกิดอาการกลืนอาหารลำบาก เจ็บเวลากลืนอาหาร เสมหะมีเลือด อาเจียนมีเลือด มักเกิดจากการกินที่ไม่เหมาะสมและสูบบุหรี่
มะเร็งหลอดอาหาร โรคมะเร็งหลอดอาหาร โรคมะเร็ง โรคไม่ติดต่อ

โรคมะเร็งหลอดอาหาร ภาษาอังกฤษ เรียก Esophageal cancer เป็นเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นกับหลอดอาหาร มะเร็งหลอดอาหาร เป็นมะเร็งที่พบมากในอันดับ 7 ของผู้ป่วยมะเร็งทั้งโลก ซึ่งมะเร็งหลอดอาหารพบมกในประเทศกำลังพัฒนา เราจะมาศึกษา เรื่องของมะเร็งหลอดอาหาร ความรู้เรื่องมะเร็งหลอดอาหาร ว่า สาเหตุของมะเร็งหลอดอาหาร อาการของมะเร็งหลอดอาหาร การรักษามะเร็งหลอดอาหารทำอย่างไร การดูแลและป้องกันการเกิดมะเร็งหลอดอาหาร

มะเร็งหลอดอาหาร คือ โรคเนื้อร้ายที่เกิดภายในหลอดอาหาร ซึ่งเนื้อร้ายมีการสร้างเซลล์ที่ผิดปรกติ และเกิดการแพร่กระจายสู่ ระบบน้ำเหลือง และ กระแสโลหิต ส่งผลให้เนื้อร้ายกระจายไปสู่อวัยวะอื่นๆของร่างกาย

สาเหตุของโรคมะเร็งหลอดอาหาร

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร นั้นเกิดจากปัจจัยการบริโภค พฤติกรรมส่วนบุคคลที่ส่งผลกระทบต่อหลอดอาหาร ซึ่งเราสามารถสรุปผปัจจัยของสาเหตุการเกิดมะเร็งหลอดอาหาร ได้ดังนี้

  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • การเสพสิ่งเสพติด เช่น สุรา การสูบบุหรี่ เป็นต้น
  • การขาดสารอาหารบางชนิดอย่างต่อเนื่อง เช่น อาหารที่มีสารไนโตรโซ อาหารที่มีสารกันบูด อาหารปิ้งย่าง
  • อาการแทรกซ้อนของโรคกรดไหลย้อน ซึ่งทำให้หลอดอาหารเกิดการอักเสบ จนเกิดเนื้อร้ายของหลอดอาหาร
  • การติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิที่หลอดอาหาร
  • การอักเสบของเยื่อบุหลอดอาหาร ซึ่งสาเหตุของกานอักเสบมีหลายสาเหตุ เช่น การกลืนสารพิษที่มีฤทธ์เป็นกรด โรคเรื้อรังที่หลอดอาหาร เป็นต้น

ระยะของโรคมะเร็งหลอดอาหาร

โรคมะเร็งหลอดอาหาร นั้น มีทั้งหมด 4 ระยะ  ซึ่งโรคมะเร็งระยะต่างๆ มีรายละเอียด ดังนี้

  • มะเร็งหลอดอาหาร ระยะที่ 1 ในระยะนี้ก้อนมะเร็งที่หลอดอาหารมีขนาดเล็ก และเนื้อร้ายยังอยู่เฉพาะภายในหลอดอาหาร
  • มะเร็งหลอดอาหาร ระยะที่ 2 ในระยะนี้ก้อนมะเร็งจะลุกลามไปถึงเนื้อเยื่อชั้นนอกของหลอดอาหาร เกิดการลามเข้าต่อมน้ำเหลือง
  • มะเร็งหลอดอาหาร ระยะที่ 3 ในระยะนี้ก้อนมะเร็งลุกลามจากเนื้อเยื้อด้านนอกของหลอดอาการ สู่อวัยวะที่อยู่ใกล้กับหลอดอาหาร เช่น ต่อมน้ำเหลือง
  • มะเร็งหลอดอาหาร ระยะที่ 4 ในระยะสุดท้ายเนื้อร้ายลามไปสู่อวัยวะอื่นๆ ที่ห่างจากหลอดอาหารมากขึ้น เช่น ช่องท้อง ไหปลาร้า คอ กระแสเลือด ปอด กระดูก ตับ และผิวหนัง เป็นระยะสุดท้ายที่รักษาไม่ได้แล้ว

อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งหลอดอาหาร

สำหรับ โรคมะเร็งหลอดอาหาร นั้น ผู้ป่วยในระยะแรกมักจะไม่มีอาการให้เห็น เมื่อถึงระยะของการเกิดโรค ผู้ป่วยจะมีอาการ กลืนอาหารลำบาก รู้สึกเหมือนมีอะไรติดเวลากลืนอาหาร มีอาการเจ็บเวลากลืนอาหาร นานๆไปจะสำลักเวลากลืน เสมหะมีเลือดปน และอาเจียนเป็นเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย ผอม และน้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว เสียงแหบ ต่อมน้ำเหลืองโต และมีโอกาสมะเร็งลามไปยังอวัยวะอื่นๆ

การตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคมะเร็งหลอดอาหาร

การวินิจฉัย โรคมะเร็งหลอดอาหาร นั้น เริ่มจากการสอบประวัติของผู้ป่วย ตรวจร่างกายตรวจเลือด เพื่อดูความปรกติในการทำงานของตับ ไตและระดับเกลือแร่ในร่างกาย ตรวจต่อมน้ำเหลืองที่ไหปลาร้า จากนั้นเอกซเรย์ การส่องกล้องตรวจหลอดอาหาร และตัดชิ้นเนื้อหลอดอาหารไปตรวจ

การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งหลอดอาหาร

การรักษาโรคมะเร็งหลอดอาหาร นั้น มีวิธีการรักษาอยู่ 3 วิธี คือ การผ่าตัด การฉายรังสีและการทำเคมีบำบัด ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้กำหนดวิธีการรักษา ว่าจะใช้วิธีการรักษาอย่างไร ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัย คือ ระยะของโรค ตำแหน่งของเนื้อร้ายและตัวผู้ป่วยเองว่ามีความพร้อมอย่างไร การรักษาวิธีต่างๆมีรายละเอียด ดังนี้

  • การรักษามะเร็งหลอดอาหาร ด้วยการผ่าตัด การผ่าตัดใช้รักษาโรคมะเร็งหลอดอาหารในระยะเริ่มต้นๆ การผ่าตัดเนื้อร้ายออก เพื่อป้องกันการลุกลามของเนื้อร้ายและช่วยในเรื่องการกลืนอาหาร
  • การรักษามะเร็งหลอดอาหาร โดยการฉายรังสี เป็นการควบคุมเนื้อร้ายไม่ให้ลุกลาม การรักษาวิธีนี้จะรักษาร่วมกับการทำเคมีบำบัด
  • การรักษามะเร็งหลอดอาหาร ด้วยการใช้ยาเคมีบำบัด เป็นการให้ยารักษาตรงที่มะเร็งหลอดอาหาร การให้ยาเคมีบำบัดจะมีวัตถุประสงค์ในการรักษา เช่นเดียวกับการฉายรังสีรักษา คือ ป้องกันการแพร่กระจายของเนื้อร้าย

การป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร

โรคมะเร็งหลอดอาหาร เราไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน การป้องกันการเกิดโรคที่ดีที่สุด คือ การลดโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค โดยแนวทางปฏิบัติตน มีดังนี้

  • เลิกสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งหลอดอาหารและเป็นปัญหาต่อสุขภาพ
  • เลิกดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปเพิ่มความเสี่ยงเกิดมะเร็งหลอดอาหารได้
  • ควบคุมน้ำหนัก และ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ร่างกายที่ไม่อ้วนลดโอกาสเสี่ยงการเกิดดรคต่างๆได้
  • รักษาโรคต่างๆที่เกิดกับหลอดอาหาร การเกิดโรคที่หลอดอาหาร เพิ่มโอกาสเสี่ยงความผิดปรกติของเซลล์ร่างกายโดยเฉพาะหลอดอาหาร

สมุนไพร ที่มีเบต้าแคโรทีนสูง มีสารต้านอนุมูลอิสระ สมุนไพรช่วยป้องกันมะเร็ง ได้ วันนี้เรารวมรวม สมุนไพรช่วยป้องกันการเกิดมะเร็ง มาให้เพื่อนเพื่อเป็นข้อมูล

ชะมวง สมุนไพร สรรพคุณของชะมวง ประโยชน์ของชะมวงชะมวง
บุก สมุนไพร สรรพคุณของบุก ประโยชน์ของบุกบุก
งาดำ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมุนไพรงาดำ
ผักบุ้ง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของผักบุ้งผักบุ้ง

โรคมะเร็งหลอดอาหาร นั้น สาเหตุสำคัญ จากพฤติกรรม การดำรงค์ชีวิต ที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ดังนั้น การใส่ใจสุขภาพ อย่าทำร้ายร่างกายมากนัก จะช่วยให้ ร่างกายแข็งแรง ไม่ต้องไปหา สมุนไพร มากิน เพื่อรักษามะเร็งเลย

โรคมะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งหลอดอาหาร คือ โรคเนื้อร้ายที่เกิดภายในหลอดอาหาร ซึ่งเนื้อร้ายมีการสร้างเซลล์ที่ผิดปรกติ เกิดการแพร่กระจายสู่ ระบบน้ำเหลือง กระแสโลหิต และกระจายไปสู่อวัยวะอื่นๆของร่างกาย ส่งผลให้เกิดอาการ กลืนอาหารลำบาก เจ็บเวลากลืนอาหาร เสมหะมีเลือด อาเจียนมีเลือด กลุ่มเสี่ยงเป็นมะเร็งหลอดอาหาร สาเหตุ อาการ การรักษา การดูแล การป้องกัน

 

กรดไหลย้อน น้ำย่อยไหลย้อนเข้าสู่หลอดอาหาร ทำให้หลอดอาหารอักเสบ จุกเสียด แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก กลืนลำบาก เจ็บคอเวลากลืนอาหาร คลื่นไส้ เรอ กรดไหลย้อนรักษาอย่างไรโรคกรดไหลย้อน โรคระบบทางเดินอาหาร โรคระบบทางเดินหายใจ โรคไม่ติดต่อ

กรดไหลย้อน โรคในระบบทางเดินอาหาร ที่ใครๆคุ้นหู วันนี้เรามาเล่า เรื่องเกี่ยวกับโรคกรดไหลย้อน ให้ฟังกันว่า เป็นอย่างไร สาเหตุของโรค อาการโรคกรดไหลย้อน การรักษาโรคกรดไหลย้อน ทำอย่างไร โรคของคนรุ่นใหม่ อธิบายถึงอาการของกรดไหลย้อน วิธีการดูแลรักษาตัวเองให้ปลอดภัยจากโรคกรดไหลย้อน  การดูแลและรักษาผู้ที่มีภาวะกรดไหลย้อนหากมีอาการแสบร้อนกลางอกและมีน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขม กลืนลำบาก หายใจไม่อิ่ม ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน

โรคกรดไหลย้อน ภาษาอังกฤษ เรียก Gastro Esphageal Reflux เรียกย่อๆ ว่า GERD โรคนี้ เรียก ว่า โรคการไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมาหลอดอาหาร  โรคกรดไหลย้อน หมายถึง ภาวะของน้ำย่อยที่มีฤทธ์เป็นกรดที่อยู่ในกระเพาะอาหาร ไหลย้อนเข้าสู่หลอดอาหาร เมื่อกรดเข้าสู่หลอดอาหารจะทำให้เกิดอาการอักเสบ

โดยปรกติแล้วหลอดอาหารจะมีการบีบตัวเพื่อไล่อาหารลงด้านล่างและมีหูรูด ที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้น้ำย่อยไหลย้อนกลับมา เมื่อหูรูดประสิทธิภาพการทำงานน้อยลง ทำให้กรดไหลย้อนกลับเข้าสู่หลอดอาหาร โรคกรดไหลย้อนนี้ สามารถพบได้กับคนทุก ช่วงอายุ ทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งจากสถิติพบว่า มีคนเป็นโรคนี้ร้อยละ 20 และสามารถพบว่าผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคนี้ คือ คนอ้วนและคนสูบบุหรี่ โรคกรดไหลย้อนสามารถส่งผลเสียต่อ กล่องเสียง ลำคอ และปอดได้ ในกรณีที่มีอาการเรื้อรังมีโอกาสเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ โรคกรดไหลย้อน สามารถแบ่งระดับของโรคได้ 3 ระยะ คือ ระยะแรก ระยะที่สองและระยะที่สาม รายละเอียด ดังนี้

  1. โรคกรดไหลย้อน ระยะแรก เรียก Gastro Esophageal Reflux เรียกย่อว่า GER ในระยะนี้ ผู้ป่วยเป็นๆหายๆ อาการไม่รุนแรง ไม่มีผลต่อสุขภาพ
  2. โรคกรดไหลย้อน ระยะที่สอง เรียก Gastro Esophageal Reflux Disease เรียกย่อว่า GERD ในระยะนี้ ผู้ป่วยจะมีอาการมากขึ้น โดยเฉพาะอาการที่หลอดอาหาร
  3. โรคกรดไหลย้อน ระยะที่สาม เรียก Laryngo Pharyngeal Reflux เรียกย่อว่า LPR ในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมาก จนถึงกล่องเสียงและหลอดลม

สาเหตุของการเกิดโรคกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อน เป็น ความผิดปรกติของระบบทางเดินอาหาร ในส่วน หูรูดของหลอดอาหาร ที่อยู่ระหว่างรอยต่อระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร ซึ่ง สาเหตุหลักของการเกิดโรคกรดไหลย้อน เกิดจากปัจจัยต่างๆ ประกอบด้วย

  • นอนหลังจากกินอาหารไม่ถึง 4 ชั่วโมง เนื่องจากการย่อยยังไม่เสร็จ เมื่อนอนก็เกิดการย้อยกลับของอาหารเข้าสู่หลอดอาหาร
  • เกิดจากกระเพาะอาหารส่วนต้น ยื่นเข้าไปกะบังลม
  • การสูบบุหรี่
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์
  • การดื่มน้ำอัดลม
  • การรับประทานอาหารทอด ของมัน หรืออาหารรสเปรี้ยวหรือเผ็ดจัด

อาการของผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน

อาการของผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน จะมีอาการ เสียงแหบ ซึ่งเป็นอาการแหบที่มากกว่าปกติ แต่ผู้ป่วยไม่ได้เป็นโรคเกี่ยวกับหลอดอาหาร มีอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณหน้าอก เนื่องจากกรดเข้าไปทำให้หลอดอาหารอักเสบ มีอาการจุกเสียด และแน่นหน้าอก หายใจไม่ออกเวลานอน กลืนอาหารลำบาก เจ็บคอเวลากลืนอาหาร คลื่นไส้ มีอาการเรอ ซึ่งการเรอนั้นจะมีกลิ่นเปรี้ยวและรสขม

การรักษาโรคกรดไหลย้อน
การรักษาโรคกรดไหลย้อนนั้น สามารถทำการรักษาโดยการใช้ยารักษา การผ่าตัดและการปรับพฤติกรรมส่วนตัว โดยรายละเอียดดังนี้

  1. การรักษาโรคกรดไหย้อนโดยใช้ยา ซึ่งวิธีนี้จะได้ผลดีที่สุด เมื่อเกิดอาการอักเสบที่ของหลอดอาหาร ดดยใช้ยาลดกรด ใช้สำหรับผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง การใช้ยานั้นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
  2. การรักษาโรคกรดไหลย้อนโดยการผ่าตัด เป็นการผ่าตัดผูกหูรูดกระเพาะอาหาร เพื่อป้องกันอาการกรดไหลย้อน วิธีนี้จะใช้รักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
  3. การรักษาโดยการปรับพฤติกรรม เป็นวิธีการรักษาที่ยั่งยืนที่สุด ซึ่งพฤติกรรมใดๆที่มีส่วนทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อนให้เลิกกระทำทั้งหมด เช่น การทานอาหารมากเกินไป การนอนหลังจากรับประทานอาหารเลย การกินอาหารที่มีรสจัด การปรับท่านอน เลิกสูบบุหรี่ และดื่มสุรา เป็นต้น

วิธีบรรเทาอาการโรคกรดไหลย้อน

  • ลดความอ้วน เนื่องจากไขมันในช่องท้องและไขมันรอบพุง มีส่วนเพิ่มแรงดันในช่องท้อง ทำให้กรดไหลย้อนได้ง่าย
  • ลดเครียด เนื่องจาก ความเครียดจะทำให้เกิดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหามากขึ้นได้
  • เลิกบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่สามารถเพิ่มการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารได้
  • ไม่สวมเสื้อผ้าที่รัดเกินไป การใส่เสื้อผ้ารัดมากจะช่วยให้การบีบรัดตัวของดันของกระเพาะอาหารมากขึ้น
  • ระวังเรื่องท้องผูก การถ่ายอุจจาระในขณะเกิดภาวะท้องผูกจะเพิ่มแรงดันในกระเพาอาหาร
  • ระวังเรื่องการไอ เนื่องจากการไปจะทำให้ช่องท้องเกรงเพิ่มแรงดันที่ช่องท้อง
  • ไม่รับประทานอาหารอิ่มเกิน เนื่องจาก อาหาร น้ำ และลมในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้นมาก
  • รับประทานอาหารในมิ้อค่ำ ให้น้อยลง
  • ไม่ยกของหนัก การยกของหนักทำให้เกิดการเกร็งที่ลำตัว เพิ่มการบีบรัดของกระเพาอาหาร
  • ลดการดื่มน้ำอัดลม
  • ปรับท่านอนให้หัวสูงขึ้นลำตัวลาดลง ช่วยลดการไหลย้อนของกรดในกระเพาะอาหาร

ข้อปฏิบัติต่างๆเหล่านี้ สามารถช่วยให้บรรเทาการเกิดโรคกรดไหลย้อนได้ ซึ่งจากรายละเอียดที่กล่าวมา ปัญหาของโรคกรดไหลย้อนเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เมื่อเกิดอาการผิดปรกติแล้วก็ต้องดูแลตัวเองให้หายจากโรคกรดไหลย้อน ซึ่งการรักษานั้น ต้องใช้เวลานาน ค่อยเป็นค่อยไป

โรคกรดไหลย้อน ภาวะน้ำย่อยไหลย้อนเข้าสู่หลอดอาหาร ทำให้หลอดอาหารอักเสบ จุกเสียด แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก กลืนลำบาก เจ็บคอเวลากลืนอาหาร คลื่นไส้ เรอ กรดไหลย้อน โรคระบบทางเดินอาหาร สาเหตุของโรค อาการโรคกรดไหลย้อน การรักษาและดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคกรดไหลย้อน


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove