กรดไหลย้อน น้ำย่อยไหลย้อนเข้าสู่หลอดอาหาร ทำให้หลอดอาหารอักเสบ จุกเสียด แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก กลืนลำบาก เจ็บคอเวลากลืนอาหาร คลื่นไส้ เรอ กรดไหลย้อนรักษาอย่างไรโรคกรดไหลย้อน โรคระบบทางเดินอาหาร โรคระบบทางเดินหายใจ โรคไม่ติดต่อ

กรดไหลย้อน โรคในระบบทางเดินอาหาร ที่ใครๆคุ้นหู วันนี้เรามาเล่า เรื่องเกี่ยวกับโรคกรดไหลย้อน ให้ฟังกันว่า เป็นอย่างไร สาเหตุของโรค อาการโรคกรดไหลย้อน การรักษาโรคกรดไหลย้อน ทำอย่างไร โรคของคนรุ่นใหม่ อธิบายถึงอาการของกรดไหลย้อน วิธีการดูแลรักษาตัวเองให้ปลอดภัยจากโรคกรดไหลย้อน  การดูแลและรักษาผู้ที่มีภาวะกรดไหลย้อนหากมีอาการแสบร้อนกลางอกและมีน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขม กลืนลำบาก หายใจไม่อิ่ม ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน

โรคกรดไหลย้อน ภาษาอังกฤษ เรียก Gastro Esphageal Reflux เรียกย่อๆ ว่า GERD โรคนี้ เรียก ว่า โรคการไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมาหลอดอาหาร  โรคกรดไหลย้อน หมายถึง ภาวะของน้ำย่อยที่มีฤทธ์เป็นกรดที่อยู่ในกระเพาะอาหาร ไหลย้อนเข้าสู่หลอดอาหาร เมื่อกรดเข้าสู่หลอดอาหารจะทำให้เกิดอาการอักเสบ

โดยปรกติแล้วหลอดอาหารจะมีการบีบตัวเพื่อไล่อาหารลงด้านล่างและมีหูรูด ที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้น้ำย่อยไหลย้อนกลับมา เมื่อหูรูดประสิทธิภาพการทำงานน้อยลง ทำให้กรดไหลย้อนกลับเข้าสู่หลอดอาหาร โรคกรดไหลย้อนนี้ สามารถพบได้กับคนทุก ช่วงอายุ ทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งจากสถิติพบว่า มีคนเป็นโรคนี้ร้อยละ 20 และสามารถพบว่าผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคนี้ คือ คนอ้วนและคนสูบบุหรี่ โรคกรดไหลย้อนสามารถส่งผลเสียต่อ กล่องเสียง ลำคอ และปอดได้ ในกรณีที่มีอาการเรื้อรังมีโอกาสเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ โรคกรดไหลย้อน สามารถแบ่งระดับของโรคได้ 3 ระยะ คือ ระยะแรก ระยะที่สองและระยะที่สาม รายละเอียด ดังนี้

  1. โรคกรดไหลย้อน ระยะแรก เรียก Gastro Esophageal Reflux เรียกย่อว่า GER ในระยะนี้ ผู้ป่วยเป็นๆหายๆ อาการไม่รุนแรง ไม่มีผลต่อสุขภาพ
  2. โรคกรดไหลย้อน ระยะที่สอง เรียก Gastro Esophageal Reflux Disease เรียกย่อว่า GERD ในระยะนี้ ผู้ป่วยจะมีอาการมากขึ้น โดยเฉพาะอาการที่หลอดอาหาร
  3. โรคกรดไหลย้อน ระยะที่สาม เรียก Laryngo Pharyngeal Reflux เรียกย่อว่า LPR ในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมาก จนถึงกล่องเสียงและหลอดลม

สาเหตุของการเกิดโรคกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อน เป็น ความผิดปรกติของระบบทางเดินอาหาร ในส่วน หูรูดของหลอดอาหาร ที่อยู่ระหว่างรอยต่อระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร ซึ่ง สาเหตุหลักของการเกิดโรคกรดไหลย้อน เกิดจากปัจจัยต่างๆ ประกอบด้วย

  • นอนหลังจากกินอาหารไม่ถึง 4 ชั่วโมง เนื่องจากการย่อยยังไม่เสร็จ เมื่อนอนก็เกิดการย้อยกลับของอาหารเข้าสู่หลอดอาหาร
  • เกิดจากกระเพาะอาหารส่วนต้น ยื่นเข้าไปกะบังลม
  • การสูบบุหรี่
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์
  • การดื่มน้ำอัดลม
  • การรับประทานอาหารทอด ของมัน หรืออาหารรสเปรี้ยวหรือเผ็ดจัด

อาการของผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน

อาการของผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน จะมีอาการ เสียงแหบ ซึ่งเป็นอาการแหบที่มากกว่าปกติ แต่ผู้ป่วยไม่ได้เป็นโรคเกี่ยวกับหลอดอาหาร มีอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณหน้าอก เนื่องจากกรดเข้าไปทำให้หลอดอาหารอักเสบ มีอาการจุกเสียด และแน่นหน้าอก หายใจไม่ออกเวลานอน กลืนอาหารลำบาก เจ็บคอเวลากลืนอาหาร คลื่นไส้ มีอาการเรอ ซึ่งการเรอนั้นจะมีกลิ่นเปรี้ยวและรสขม

การรักษาโรคกรดไหลย้อน
การรักษาโรคกรดไหลย้อนนั้น สามารถทำการรักษาโดยการใช้ยารักษา การผ่าตัดและการปรับพฤติกรรมส่วนตัว โดยรายละเอียดดังนี้

  1. การรักษาโรคกรดไหย้อนโดยใช้ยา ซึ่งวิธีนี้จะได้ผลดีที่สุด เมื่อเกิดอาการอักเสบที่ของหลอดอาหาร ดดยใช้ยาลดกรด ใช้สำหรับผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง การใช้ยานั้นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
  2. การรักษาโรคกรดไหลย้อนโดยการผ่าตัด เป็นการผ่าตัดผูกหูรูดกระเพาะอาหาร เพื่อป้องกันอาการกรดไหลย้อน วิธีนี้จะใช้รักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
  3. การรักษาโดยการปรับพฤติกรรม เป็นวิธีการรักษาที่ยั่งยืนที่สุด ซึ่งพฤติกรรมใดๆที่มีส่วนทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อนให้เลิกกระทำทั้งหมด เช่น การทานอาหารมากเกินไป การนอนหลังจากรับประทานอาหารเลย การกินอาหารที่มีรสจัด การปรับท่านอน เลิกสูบบุหรี่ และดื่มสุรา เป็นต้น

วิธีบรรเทาอาการโรคกรดไหลย้อน

  • ลดความอ้วน เนื่องจากไขมันในช่องท้องและไขมันรอบพุง มีส่วนเพิ่มแรงดันในช่องท้อง ทำให้กรดไหลย้อนได้ง่าย
  • ลดเครียด เนื่องจาก ความเครียดจะทำให้เกิดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหามากขึ้นได้
  • เลิกบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่สามารถเพิ่มการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารได้
  • ไม่สวมเสื้อผ้าที่รัดเกินไป การใส่เสื้อผ้ารัดมากจะช่วยให้การบีบรัดตัวของดันของกระเพาะอาหารมากขึ้น
  • ระวังเรื่องท้องผูก การถ่ายอุจจาระในขณะเกิดภาวะท้องผูกจะเพิ่มแรงดันในกระเพาอาหาร
  • ระวังเรื่องการไอ เนื่องจากการไปจะทำให้ช่องท้องเกรงเพิ่มแรงดันที่ช่องท้อง
  • ไม่รับประทานอาหารอิ่มเกิน เนื่องจาก อาหาร น้ำ และลมในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้นมาก
  • รับประทานอาหารในมิ้อค่ำ ให้น้อยลง
  • ไม่ยกของหนัก การยกของหนักทำให้เกิดการเกร็งที่ลำตัว เพิ่มการบีบรัดของกระเพาอาหาร
  • ลดการดื่มน้ำอัดลม
  • ปรับท่านอนให้หัวสูงขึ้นลำตัวลาดลง ช่วยลดการไหลย้อนของกรดในกระเพาะอาหาร

ข้อปฏิบัติต่างๆเหล่านี้ สามารถช่วยให้บรรเทาการเกิดโรคกรดไหลย้อนได้ ซึ่งจากรายละเอียดที่กล่าวมา ปัญหาของโรคกรดไหลย้อนเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เมื่อเกิดอาการผิดปรกติแล้วก็ต้องดูแลตัวเองให้หายจากโรคกรดไหลย้อน ซึ่งการรักษานั้น ต้องใช้เวลานาน ค่อยเป็นค่อยไป

โรคกรดไหลย้อน ภาวะน้ำย่อยไหลย้อนเข้าสู่หลอดอาหาร ทำให้หลอดอาหารอักเสบ จุกเสียด แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก กลืนลำบาก เจ็บคอเวลากลืนอาหาร คลื่นไส้ เรอ กรดไหลย้อน โรคระบบทางเดินอาหาร สาเหตุของโรค อาการโรคกรดไหลย้อน การรักษาและดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคกรดไหลย้อน

อะคาเลเซีย ความผิดปรกติของหลอดอาหาร ไม่สามารถส่งอาหารลงสู่กระเพาะอาหารได้ ทำให้ ร่างกายไม่ได้รับสารอาหาร ไปเลี้ยงร่างกาย ผอม ซูบ สามารถรักษาได้ ด้วยการผ่าตัดโรคอะคาเลเซีย โรคระบบทางเดินอาหาร กินข้าวไม่ได้ โรคไม่ติดต่อ

โรคอะคาเลเซีย ภาษาอังกฤษ เรียก Achalasia เป็น ลักษณะของการอาเจียน ทุกครั้งที่ร่างกายกินอาหาร ที่ไม่ใช่ของเหลว ซึ่ง ผู้ป่วยโรคนี้ จะมี อาการผอม เนื่องจาก การดำรงค์ชีพ โดย การดื่มน้ำ และ นม เป็นหลัก อาการของโรคอะคาเลเซีย นั้น สามารถรักษาให้หายได้ด้วย การผ่าตัด โดย โรค นี้เกิดขึ้นเมื่อ หลอดอาหาร สูญเสียความสามารถในการส่งต่ออาหาร ทำให้ ไม่สามารถส่งอาหารไปสู่กระเพาะอาหาร ได้ เมื่อ อาหารติดอยู่ในหลอดอาหาร ก็จะถูกขับออกมา

สาเหตุของโรคอะคาเลเซีย

โรคอะคาเลเซีย ( Achalasia ) เป็น ความผิดปกติของกล้ามเนื้อ ของ หลอดอาหาร ความผิดปกติ ของ การบีบตัวของหลอดอาหาร เชื่อว่าเกิดจาก การเสื่อมสลายของชั้นเส้นประสาท Auerbach ซึ่ง สาเหตุยังไม่ทราบ แน่ชัด ว่า เกิดจากหลายสาเหตุ อะไร แต่สามารถสรุป สาเหตุของโรค ได้ ดังนี้

  • ความบกพร่องของเส้นประสาท ของ ช่องท้อง และ หลอดอาหาร
  • เกิดจาก การติดเชื้อ จาก ภาวะแทรกซ้อน จาก ติดเชื้อของเส้นประสาท
  • การขาดวิตามินบี
  • เกิดจาก การติดเชื้อวัณโรค เป็น อาการแทรกซ้อน อาการหนึ่งของ การติดเชื้อวัณโรค
  • ความเครียด อย่างรุนแรง ทำให้ ระบบประสาทบาดเจ็บ และ หยุดชะงัก
  • โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร โรคมะเร็งปอด
  • เกิด โรคทางพยาธิวิทยา เป็น ระบบโรคลูปัส

โดยหลักๆ สาเหตุของโรคอะคาเลเซีย คือ ความผิดปรกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ของ หลอดอาหาร ซึ่ง ความผิดปรกติ นั้น สาเหตุจากความปกพร่อง ของตัวหลอดอาหารเอง หรือ เกิด โรคแทรกซ้อน อื่นๆที่กระทบกระเทือนต่อ ระบบการทำงาน ของ ระบบทางเดินอาหาร โดยรวม

อาการของโรคอะคาเลเซีย

สามารถสังเกตุได้จาก กลืนอาหารลำบาก อาเจียน อาหารออกมา เป็นระยะๆ มี อาการไออย่างต่อเนื่อง ไม่สามารถกินอาหาร ได้ สามารถรับประทานอาหารที่เป็นของเหลวได้ ซึ่ง ผู้ป่วย จะมี อาการผอม น้ำหนักลดลง

การรักษาโรคอะคาเลเซีย

การรักษาโรคอะคาเลเซีย นั้นจะต้องทำ การรักษา โดยการเข้ารับการผ่าตัด ซึ่งโรคนี้เป็น โรคทางพยาธิวิทยา ที่มีความรุนแรงของโรคมาก ไม่สามารถปล่อยไว้ให้เห็นอาการ โดยผู้ป่วยอาจตายจาก อาการขาดสารอาหาร และ ติดเชื้อโรค จากการที่ ร่างกายอ่อนแอ ได้

โรคอะคาเลเซีย เป็น ความผิดปรกติของระบบกลืนอาหาร ซึ่ง สาเหตุหนึ่งของ ปัญหาระบบทางเดินอาหารผิดปรกติ คือ ความเคลียด การผ่อนคลาย การพักผ่อนให้เพียงพอ สามารถช่วยให้ลดการเกิด โรคอะคาเลเซียได้ เราจึงขอเสนอสมุนไพรช่วยผ่อนคลาย สมุนไพรช่วยให้หลับสบาย มีดังนี้

พวงชมพู สมุนไพร สรรพคุณของพวงชมพู ประโยชน์ของพวงชมพูพวงชมพู
เดือย ลูกเดือย สมุนไพร ประโยชน์ของเดือยลูกเดือย
ดีปลี สมุนไพร สรรพคุณของดีปลี ประโยชน์ของดีปลีดีปลี
มะกรูด ใบมะกรูด สมุนไพร สรรพคุณของมะกรูดมะกรูด

ปัญหาใหญ่ ที่ทำให้ ร่างกายทำงานผิดปรกติ นั้น คือ ความเครียด โรคอะคาเลเซีย ก็เป็นอีก หนึ่งโรค ที่ไม่ใช้ โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ แต่อย่างใด ความเครียด นี้เหละ คือ สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ร่างกายทำงานผิดปรกติ การหมั่นหากิจกรรมที่ผ่อนคลาย การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เป็นการป้องกัน โรค ได้ดีที่สุด


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove