แก้วหูทะลุ ภาวะอักเสบของเยื่อแก้วหู ทำให้เกิดอาการปวดหู มีน้ำไหลออกจากหู มึนหัว อาเจียน สามารถในการฟังลดลง แนวทางการรักษาต้องพักผ่อนร่างกาย ลดการใช้หู

แก้วหูทะลุ โรคหู

แก้วหูทะลุ ภาษาอังกฤษเรียก perforated eardrum คือ ภาวะแก้วหูเกิดรูทะลุ ซึ่งสาเหตุเกิดจากหลายปัจจัย เช่น การติดเชื้อที่หูชั้นกลาง อุบัติเหตุ หรือ ถูกกระแทกอย่างรุนแรงที่หู การฟังเสียงดังมาก การรับการผ่าตัด สิ่งต่างๆเหล่านี้ส่งผลต่อแก้วหู และ ส่งผลกระทบต่อการฟัง อาการที่สำคัญ คือ หูอื้อ หูตึง ความสามารถการได้ยินลดลง มีอาการปวดหูหรือมีเลือดออกจากหู

สาเหตุของแก้วหูทะลุ

สำหรับสาเหตุของแก้วหูทะลุ เกิดจากการถูกกระทบกระเทือนที่แก้วหู เช่น การแคะหู การมีสิ่งแปลกปลอมเข้าหู การได้รับบาดเจ็บที่หู การได้ยินเสียงที่ดังมาก เป็นต้น ส่งผลให้แก้วหูเกิดรู ส่งผลต่อความสามารถการได้ยินเสียงลดลง

อาการของแก้วหูทะลุ

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคแก้วหูทะลุ จะแสดงอาการและความรุนแรงต่างกัน ตามความรุนแรงของการฉีกขาดของแก้วหู อาการของแก้วหูทะลุ สามารถแสดงอาการ ดังนี้

  • มีอาการปวดหู และ เจ็บหู แบบกระทันหัน
  • มีน้ำไหลออกจากรูหู ลักษณะเป็นน้ำใสๆ หรือ หนอง หรือ เลือด
  • มีอาการหูอื้อ ความสามารถในการได้ยินลดลง
  • มีอาการเหมือนมีลมออกจากรูหู
  • มีอาการมึนหัว คลื่นไส้และอาเจียน

การรักษาโรคแก้วหูทะลุ

สำหรับการรักษาโรคแก้วทะลุ แนวทางการรักษา คือ การพักผ่อน ลดการทำงานของหู และ อาการของโรคจะสามารถรักษาตัวเองให้หายภายใน 90 วัน ซึ่งระหว่างนั้นรักษาตามอาการของโรค เช่น กินยาแก้ปวด เพื่อลดอาการปวดหู ซึ่งสำหรับแนวทางการดูแลตนเองเมื่อมีอาการแก้วหูทะลุ มีดังนี้

  • งดการว่ายน้ำหรือขับรถ
  • งดการออกกำลังกายที่ต้องโดนกระแทก
  • ก่อนอาบน้ำ ให้ใช้สำลีอุดรูหูป้องกันน้ำเข้ารูหู
  • ไม่ควรใช้ยาที่เกี่ยวข้องกับหู โดยไม่ได้รับการอณุญาติจากแพทย์
  • ปกป้องหูไม่ให้สัมผัสอากาศเย็น
  • หลีกเลี่ยงการสั่งน้ำมูก

แนวทางเหล่านี้เป็นการดูแลตนเองให้แก้วหูฟื้นฟูตนเองจากอาการแก้วหูเป็นร แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ต้องใช้การรักษาด้วย การปลูกเยื่อแก้วหู หรือ การผ่าตัดแปะแก้วหู รายละเอียด ดังนี้

  • การปลูกเยื่อแก้วหู ( Eardrum Patch ) เป็นการรักษาโดยใช้สารเคมีจี้ไปที่ขอบของรอยฉีกขาดบนแก้วหู เพื่อกระตุ้นให้เนื้อเยื่อแก้วหูงอกขึ้นมาใหม่ วิธีนี้ต้องทำซ้ำหลายครั้งจนกว่ารูที่แก้วหูจะปิดสนิท
  • การผ่าตัดปะแก้วหู ( Tympanoplasty ) เป็นการรักษาในกรณีที่แก้วหูมีรอยฉีกขนาดใหญ่ หรือ แผลเกิดจากการติดเชื้อ เป็นการผ่าตัดนำเนื้อเยื่อของผู้ป่วยที่มีความใกล้เคียงกับเนื้อเยื่อของแก้วหู มาปิดรูแก้วหูที่ทะลุ

การป้องกันโรคแก้วหูทะลุ

แนวทางการป้องกันการเกิดโรคแก้วหูทะลุ คือ การหลีกเลี่ยการกระทำทุกอย่างที่ประทบต่อหูโดยไม่จำเป็น เช่น การไม่เอาตัวเองไปอยู่ในที่ที่มีเสียงดังมาก ไม่เสี่ยงต่อการกระแทกอย่างรุนแรง ไม่นำสิ่งแปลกปลอมสอดเข้าไปในหูโดยไม่จำเป็น หากเกิดอาการผิดปรกติเกี่ยวกับหูให้พบแพทย์เพื่อรักษาอย่างถูกวิธี

แก้วหูทะลุ ภาวะการอักเสบของเยื่อแก้วหู ทำให้เกิดอาการปวดหู ความสามารถในการฟังลดลง สาเหตุของแก้วหูทะลู คืออะไร อาการของโรค และ การรักษาแก้วหูทะลุ การป้องกันแก้วหูทะลุ ทำอย่างไร

แคนดิไดอะซิส ภาวะการติดเชื้อราแคนดิดาเป็นยีสต์ที่พบทั่วไป ติดเชื้อที่ช่องปาก คอหอย หลอดอาหาร และ กระเพาะอาหาร กลุ่มเสี่ยงที่ติดโรค อาการของโรค และ การรักษาโรค

โรคแคนดิไดอะซิส โรคติดเชื้อ ติดเชื้อราที่ช่องปาก โรคติดต่อ

เชื้อชนิดนี้พบได้ตามเยื่อเมือกในอวัยวะต่างๆ เช่น ช่องปาก คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร อวัยวะเพศหญิง ยีสต์กลุ่มนี้จะไม่ทำให้เกิดโรค แต่ความอับชื้นทำให้ ยีสต์ชนิดนี้มีความรุนแรงจนก่อให้เกิดเป็นโรค โรคแคนดิไดอะซิสพบได้บ่อยเกิดได้ทั่วโลก พบในทุกเพศ ทุกวัย และ พบทารกแรกเกิด และ ผู้สูงอายุ มากที่สุด จากรายงานของโรคพบว่า ร้อยละ 90 ของผู้ติดเชื้อมักติดเชื้อที่คอหอย

สาเหตุของการติดเชื้อแคนดิไดอะซิส

โรคแคนดิไดอะซิสเกิดจากติดเชื้อราช่ือแคนดิดา เป็นเชื้อราที่อยู่ในร่างกายมนุษย์ แต่เชื้อราเกิดการเจริญเติบโตรวดผิดปกติ จนเกิดภาวะภูมิคุ้มกันต้านทานโรคผิดปกติ โดยมักเกิดกับอวัยวะที่มีความชื้นสูง เช่น ช่องคลอด ช่องปาก โรคนี้สามารถแพร่จากคนสู่คน จากการสัมผัสเชื้อโรค และ เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคแคนดิไดอะซิส

สำหรับโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคแคนดิไดอะซิส ได้แก่ กลุ่มคนต่างๆเหล่านี้

  • ผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิต้านทานโรคต่ำ เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคเอดส์ เด็กทารก ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ เป็นต้น
  • กลุ่มคนที่มีอวัยวะเพศอับชื้น
  • กลุ่มคนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่สุขอนามัยไม่ดี
  • กลุ่มคนที่ใช้ยาบางประเภทอย่างต่อเนื่อง เช่น ยาปฏิชีวนะ และ ยากลุ่มCorticosteroid
  • กลุ่มคนใส่ฟันปลอม

อาการของโรคแคนดิไดอะซิส

สำหรับอาการของโรคแคนดิไดอะซิส สามารถแบ่งอาการของโรค 3 ลักษณะ คือ การติดเชื้อเฉพาะที่ การติดเชื้อในกระแสเลือด และ การติดเชื้อจากการใช้ยาปฏิชีวนะ โดยรายละเอียดของโรคแคนดิไดอะซิส มีดังนี้

  • อาการติดเชื้อเฉพาะที่ จะติดเชื้อบริเวณอวัยวะที่มีเยื่อเมือก เช่น ช่องปาก คอหอย หลอดอาหาร ช่องคลอด อวัยวะเพศ โดยอาการของโรคจะแสดงอาการ คือ เกิดเนื้อเยื้อสีขาวข้น ผิวเรียบ เป็นมันเหมือนไขนม รอบๆของเนื้อเยื่อ จะมีลักษณะ แดง เจ็บ แสบ และ คัน  ซึ่งอาการอื่นๆที่พบ คือ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย อาการมักไม่รุนแรง รักษาให้หายได้
  • อาการติดเชื้อในกระแสเลือด เกิดเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลืือด ซึ่งภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดมีความรุนแรง อันตรายทำให้เสียชีวิตได้ โดยพบว่ามีการติดเชื้อ ที่หัวใจ สมอง ตับ ไต ร่วมด้วย อาการตอดเชื้อในกระแสเลือด ผู้ป่วยจะแสดงอาการ คือ มีไข้สูง  อ่อนเพลีย อวัยวะต่างๆอักเสบ ปวดตัว อาการเหล่านี้มักพบคนที่มีภูมิคุ้มต้านทานโรคต่ำ
  • อาการติดเชื้อจากการใช้ยาปฏิชีวนะ การใช้ยาปฏิชีวนะ ส่งผลเสียต่อร่างกาย ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตผิดปรกติจนเกิดโรค อาการนี้ขึ้นกับภูมิต้านทานโรคของแต่ละบุคคล

การรักษาโรคแคนดิไดอะซิส

สำหรับแนวทางการรักษาโรคแคนดิไดอะซิส คือ การรักษาที่สาเหตุของการเกิดโรค เช่น การใช้ยาต้านเชื้อรา การหยุดการใช้ยาปฏิชีวนะ รวมถึงการประคับประครองอาการของโรค โดยรายละเอียด ดังนี้

  • การใช้ยาต้านเชื้อรา ซึ่งขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และ อาจเป็นการใช้ยาทาเฉพาะที่ ยากิน หรือ ยาฉีด
  • สำหรับสาเหตุของโรคจากการใช้ยาปฏิชีวนะ ให้ทำการหยุดการใช้ยาที่เป็นสาเหตุของโรค
  • การรักษาโรคด้วยการประคับประคองตามอาการ เช่น การใช้ยาแก้ปวด เพื่อลดอาการปวดจากอวัยวะอักเสบ

การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคแคนดิไดอะซิส

สำหรับผู้ป่วนโรคแคนดิไดอะซิส ควรมีแนวทางการดูแลตนเอง ดังต่อไปนี้

  • ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • ควรรักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้อยู่ในสภาพที่ดี
  • ไม่ควรอยู่ในสถานที่เสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อโรค

การป้องกันการติดเชื้อโรคแคนดิไดอะซิส

สำหรับการป้องกันโรคแคนดิไดอะซิส มีแนวทางการปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้

  • ออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
  • รักษาความสะอาดของอวัยวะที่มีโอกาสติดเชื้อ เช่น อวัยวะเพศ ช่องปาก
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน
  • ไม่ซื้อยาปฏิชีวนะ หรือ ยาสเตียรอยด์ เพื่อใช้เอง

โรคแคนดิไดอะซิส ( Candidiasis ) ภาวะการติดเชื้อแคนดิดา เป็นยีสต์ที่พบได้ทั่วไป ติดเชื้อที่ช่องปาก คอหอย หลอดอาหาร และ กระเพาะอาหาร กลุ่มเสี่ยงที่ติดโรค อาการของโรค และ การรักษาโรค


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove