โหระพา Sweet basil สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหาร ต้นโหระพาเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของโหระพา สรรพคุณขับลม ช่วยเจริญอาหาร ใบโหระพามีกลิ่นหอม โทษของโหระพามีอะไรบ้าง

โหระพา ต้นโหระพา ใบโหระพา สรรพคุณของโหระพา

ต้นโหระพา มีชื่อสามัญว่า Sweet basil ชื่อวิทยาศาสตร์ของโหระพา คือ Ocimum basilicum L. เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับกะเพรา มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียและแอฟริกา มีกลิ่นหอม นิยมนำมาประกอบอาหารและแต่งกลิ่นอาหาร

ลักษณะของต้นโหระพา

ต้นโหระพา พืชล้มลุก ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน ทวีปเอเชียและทวีปอาฟริกา สามารถขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ และ การเพาะเมล็ด ซึ่งรายละเอียดของต้นโพระพา มีรายละเอียด ดังนี้

  • รากและลำต้นของโหระพา รากมีรากแก้วและรากฝอย ลำต้นของโหระพามีความสูงประมาณ 60 เซ็นติเมตร ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม เนื้อไม้อ่อน สีม่วงแดง
  • ใบโหระพา มีใบลักษณะใบเดี่ยว ออกตามข้อกิ่ง ใบรูปไข่ปลายแหลม ผิวใบเรียบ สีเขียวเข้ม
  • ดอกของโหระพา ดอกจะออกเป็นช่อ ออกที่ปลายยอดของต้น ดอกออกเรียงเป็นชั้นๆ ดอกมีสีขาวอมแดงม่วง
  • เมล็ดของโหระพา เป็นเม็ดเล็กสีน้ำตาลเข้ม เมล็ดโหระพามีเมือกหุ้มเมล็ด หากนำมาแช่น้ำจะมีเมือกพองตัวคล้ายเมล็ดแมงลัก

ประโยชน์ของโหระพา

โหระพา คือ ต้นไม้ประเภทพืชล้มลุก ที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว การใช้ประโยชน์ของโหระพา ส่วนใหญ่จะเป็นการนำมารับประทานเป็นอาหาร ซึ่งสรรพคุณของโหระพา มีมากมายช่วยบำรุงร่างกาย รักษาโรคได้ นอกจากนั้นใบโหรพพาสามารถนำมาสักัดเอาน้ำมัน ซึ่งนำไปใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมและความงามหลายอย่าง โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • นำใบมากินเป็นอาหาร นิยมใส่ในอาหารให้มีกลิ่นหอม
  • นำใบโหระพามาสกัดทำน้ำมันหอมระเหย ให้กลิ่นหอม สามารถนามาเป็นสารตั้งต้นในการทำ อาหารในอุตสาหกรรมสำหรับแต่งกลิ่น
  • น้ำมันหอมระเหยจากโหระพา เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง เช่น น้ำหอม สบู่ เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนากการของต้นโหระพา

สำหรับการศึกษาคุณค่างทางอาหารของโหระพา นั้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบโหระพา ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 251 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 14.4 กรัม ไขมัน 4 กรัม คาร์โบไฮเดรต 61 กรัม แคลเซียม 2,113 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 46 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 42 มิลลิกรัม แมงกานีส 42.2 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 490 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 3,433 มิลลิกรัม โซเดียม 34 มิลลิกรัม สังกะสี 6 มิลลิกรัม วิตามินซี 22 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.2 มิลลิกรัม วิตามินเอ 9375 IU เบต้าแคโรทีน 452.2 ไมโครกรัม และ กากใยอาหาร 17.8 กรัม

นอกจากนั้นได้ศึกษาสารสำคัญจากใบโหระพา พบว่ามีสารสำคัญมากมาก แต่พบ Methyl chavicol มากถึงร้อยละ 90 และส่วนที่เหลือประกอบด้วย Pinene β-Pinene β-Bourbonene β-Elemene β-Cubebene β-Caryophyllene β-Copaene β-Acoradiene
Camphor Ocimene Eucalyptol Linalool Benzaldehyde Sabinene  Myrcene Cis-Hex-3-Enyl Acetate p-Cymene Limonene Eucalyptol  cis-Beta-Ocimene cis-Linalool Oxide trans-Linalool Oxide trans-Myroxide Neo-Allo-Ocimene Menth-2-en-1-ol Pinocarvone Terpinen-4-ol Endo Fenchyl Acetate Nerol Neral Geraniol Geranial Carvacrol
Bicycloelemene Exo-2-Hydroxycineole Acetate Cubebene Geranyl Acetate Methyl Eugenol Trans-Alpha-ergamotene
Cadina-3,5-Diene Epsilon-Muurolene Germacrene Bicylogermacrene

สรรพคุณต้นโหระพา

สำหรับการใช้ประโยชน์ของโหระพา ด้านการบำรุงร่างกาย และ การรักษาโรค นั้น มีการใช้ประโยชน์จาก ใบ ลำต้น เมล็ด และ น้ำมันหอมระเหย โดยรายละเอีนด ดังนี้

  • ใบและลำต้นของโหระพา มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สรรพคุณแก้เจ็บคอ ขับเสมหะ แก้ปวดฟัน ขับลม ขับเหงื่อ แก้ท้องอืด ช่วยย่อยอาหาร ช่วยเจริญอาหาร แก้หวัด ช่วยลดอาการอักเสบของแผล รักษาแผล ช่วยห้ามเลือด ช่วยให้ลดอาการปวด
  • เมล็ดของโหระพา สรรพคุณช่วยขับถ่าย ช่วยควบคุมน้ำหนัก รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลดการบีบตัวของลำไส้
  • น้ำมันหอมระเหยจากใบโหระพา สรรพคุณแก้ปวดเมื่อย ช่วยทำให้ผ่อนคลาย ลดอาการเหนื่อยล้า แก้อาการกระตุก แก้จมูกอักเสบ ลดอาการปวดจากแมลงกัดต่อย

โทษของโหระพา

สำหรับโหระพามีกลิ่นหอม ซึ่งสามารถสกัดน้ำมันหอมระเหยจากใบโหระพาได้ แต่น้ำมันหอมระเหยไม่ควรใช้กับสตรีมีครรภ์ เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้

โหระพา ( Sweet basil ) คือ พืชล้มลุก สมุนไพร ผักสวนครัว นิยมนำมาทำอาหาร ต้นโหระพาเป็นอย่างไร ประโยชน์ของโหระพา คุณค่าทางโภชนาการของโหระพา สรรพคุณของโหระพา เช่น ขับลม ช่วยเจริญอาหาร เป็นต้น ใบโหระพามีกลิ่นหอม โทษของโหระพามีอะไรบ้าง

ต้นเผือก Taro สมุนไพร คาร์โบไฮเดรตสูง ทดแทนข้าวได้ ต้นเผือกเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงร่างกาย แก้อักเสบ แก้ปวดเมื่อย โทษของเผือกเผือก ต้นเผือก ประโยชน์ของเผือก สรรพคุณของเผือก

เผือก มีชื่อสามัญว่า  Taro ชื่อวิทยาศาสตร์ของเผือก คือ Colocasia esculenta (L.) Schott จัดเป็นพืชตระกูลบอน ชื่อเรียกกอื่นๆของเปือก คือ โอ่วไน โอ่วถึง โทวจือ เป็นต้น สำหรับสายพันธ์ของต้นเผือกนั้นมีมากกว่า 200 สายพันธุ์

ต้นเผือก มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ ปัจจุบันมีการเพาะปลูกกันมากทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน อินเดีย แอฟริกา และในหมู่เกาะในอเมริกากลาง สำหรับ ประเภทของเผือก สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทเอดโด ( eddoe ) และ ประเภทแดชีน ( dasheen ) สำหรับ เผือกในเมืองไทย นิยมปลูกกัน 4 สายพันธ์ คือ เผือกหอม เผือกเหลือง เผือกไหหลำ และ เผือกตาแดง

เผือกในประเทศไทย

จากเนื้อหาข้างต้นที่กล่าวถึง สายพันธ์เผือก ในประเทศไทย มี 4 สายพันธ์ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เผือกหอม เป็นเผือกประเภทแดซีน ( dasheen type ) ลักษณะเด่น คือ ขนาดของหัวใหญ่ มีกลิ่นหอม หนัก ลำต้นมีขนาดใหญ่ ใบใหญ่  นิยมปลูกเพื่อรับประทาน และ เพื่อการค้า
  • เผือกเหลือง เป็นเผือกประเภทเอดโด ( eddone type ) ลักษณะเด่น คือ ขนาดหัวเล็ก เปลือกของหัวสีเหลือง ไม่นิยมนำมารับประทาน
  • เผือกตาแดง เป็นเผือกประเภทเอดโด ( eddone type ) ลักษณะเด่น คือ ปลายหัวจะมีสีแดง มีลูกเผือกจำนวนมาก ใบเล็ก สีแดง ไม่นิยมนำมารับประทาน
  • เผือกไหหลำ เป็นเผือกประเภทเอดโด ( eddoe type ) ลักษณะเด่น คือ ขนาดหัวเล็ก หัวเผือกเป็นทรงกระบอก เรียวยาว ไม่นิยมรับประทาน

คุณค่าทางโภชนาการของเผือก

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเผือก ซึ่งพบว่าเผือกมีสารอาหารต่างๆมากมาย โดยได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของหัวเผือกดิบ และ ใบเผือก โดยรายละเอียด ดังนี้

  • คุณค่าทางโภชนาการของหัวเผือกดิบ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 112 กิโลแคลอรี  มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 26.46 กรัม น้ำตาล 0.40 กรัม กากใยอาหาร 4.1 กรัม ไขมัน 0.20 กรัม โปรตีน 1.5 กรัม น้ำ 70.64 กรัม วิตามินA 76 หน่วยสากล วิตามินB1 0.095 มิลลิกรัม วิตามิน B2 0.025 มิลลิกรัม วิตามิน B3 0.600 มิลลิกรัม วิตามิน B5 0.303 มิลลิกรัม วิตามิน B6 0.283 มิลลิกรัม วิตามิน B9 22 ไมโครกรัม วิตามิน C 4.5 มิลลิกรัม วิตามินE 2.38 มิลลิกรัม วิตามินK 1.0 ไมโครกรัม แคลเซียม 43 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.55 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 33 มิลลิกรัม แมงกานีส 0.383 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 84 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 591 มิลลิกรัม โซเดียม 11 มิลลิกรัม สังกะสี 0.23 มิลลิกรัม ทองแดง 0.172 มิลลิกรัม และ ซีลีเนียม 0.7 ไมโครกรัม
  • คุณค่าทางโภชนาการของใบเผือกขนาด ต่อ 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 42 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.7 กรัม น้ำตาล 3 กรัม กากใยอาหาร 3.7 กรัม ไขมัน 0.74 กรัม โปรตีน 5 กรัม วิตามินเอ 241 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 2,895 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 1,932 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.209 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.456 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1.513 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.146 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 129 ไมโครกรัม วิตามินซี 52 มิลลิกรัม วิตามินอี 2.02 มิลลิกรัม วิคามินเค 108.6 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 107 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.25 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 45 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.714 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 60 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 648 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.41 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นเผือก

ต้นเผือก พืชล้มลุก มีอายุหลายปี มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน วิธีขยายพันธุ์เผือก สามารถขยายพันธ์ได้ 4 วิธี คือ การเพาะเมล็ด การขยายพันธุ์โดยใช้หน่อ การใช้หัวพันธุ์ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยลักษณะของต้นเผือก มีลักษณะ ดังนี้

  • หัวของเผือก มีลักษณะกลม สีน้ำตาล มีขนาดใหญ่ ขนาดและรูปร่างของหัวเผือแตกต่างกันตามพันธ์ของเผือก เผือกมีลำต้นสูงประมาณ 2 เมตร
  • ใบเผือก ใบเดี่ยว มีขนาดใหญ่ ลักษณะของใบ เป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบกลม ใบยาวถึง 1 เมตร
  • ดอกเผือก จะออกดอกเป็นช่อ เป็นออกเดี่ยว หรือ หลายๆช่อ ช่อดอกสั้นกว่ากาบ ดอกจะทยอยบานเรื่อย ๆ
  • ผลเผือก เป็นสีเขียว เปลือกบาง ไม่มีเมล็ด

ประโยชน์ของเผือก

สำหรับประโยชน์ของเผือก นั้น สามารถนำมาทำเป็นอาหาร บำรุงร่างกาย และ การรักษาโรค โดย ใบของเผือกสามารถรับประทานเป็นผัก ส่วนหัวของเผือกสามารถนำมาทานแทนข้าวได้ ส่วนประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคจะกล่าวในส่วนของเนื้อหาเรื่องสรรพคุณของเผือก

สรรพคุณของเผือก

เผือกนั้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรค ได้ ทั้งส่วนของ หัวเผือก ใบ และ ก้านใบ โดยลักษณะ ดังนี้

  • หัวเผือก สรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย เป็นยาลดไข้ ช่วยป้องกันฟันผุ บำรุงกระดูก ช่วยในการขับถ่าย แก้ท้องเสีย ช่วยบำรุงไต
  • ใบของเผือก สรรพคุณใช้ รักษาบาดแผล แก้ปวด ลดอาการอักเสบ รักษาโรคผิวหนัง แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • น้ำยางของเผือก สรรพคุณใช้ถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
  • กาบใบของเผือก สรรพคุณใช้ รักษาบาดแผล แก้พิษจากแมลงกัดต่อย แก้ปวด ลดอาการอักเสบ รักษาโรคผิวหนัง แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย

โทษของเผือก

สำหรับการบริโภคและการใช้ประโยชน์จาเผือก มีข้อควรระวังอยู่บ้าง คือ ต้นเผือกทั้งต้น มีผลึกแคลเซียมออกซาเลต ( Calcium oxalate ) มีฤทธิ์ทำให้คัน ไม่ควรรับประทานเผือกแบบดิบๆ ซึ่งการกินเผือกแบบดิบๆ อาจทำให้เกิดอาการแพ้ คันในช่องปาก ทำให้ลิ้นชา ได้

ต้นเผือก ( Taro ) คือ พืชล้มลุก สมุนไพร ใช้เป็นอาหาร บำรุงร่างกาย ต้นเผือกเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของเผือก ประโยชน์ของเผือก สรรพคุณของเผือก บำรุงร่างกาย แก้อักเสบ แก้ปวดเมื่อย โทษของเผือก เรื่องน่ารู้ทั้งหมดเกี่ยวกับเผือก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove