ย่านาง ( Bamboo grass ) จ้อยนาง เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว ยาดนาง ใบย่านางมีฤทธิ์เย็น สรรพคุณปรับสมดุลย์ร่างกาย บำรุงร่างกาย ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดความดันย่านาง ใบย่านาง สมุนไพร สรรพคุณใบย่านาง

ต้นย่านาง ( Bamboo grass ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของย่านาง คือ Tiliacora triandra ( Colebr. ) Diels สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของย่านาง เช่น  จ้อยนาง เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว ยาดนาง เป็นต้น ใบย่านาง มีฤทธิ์เย็น เหมาะสำหรับปรับสมดุลร่างกาย สรรพคุณปรับสมดุลย์ร่างกาย บำรุงร่างกาย ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดความดัน

ต้นย่านาง สามารถพบได้ตามแหล่งธรรมชาติทั่วไป ในพื้นที่อากาศชุ่มชื้น ป่าผลัดใบ ป่าดงดิบ และ ป่าโปร่ง ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต้นย่านางสามารถขยายันธ์ได้ง่าย โดยใช้หัวใต้ดิน การปักชำยอด หรือ การเพาะเมล็ด

ลักษณะของต้นย่านาง

ต้นย่านาง เป็นไม้เลื้อย เป็นเถา ซึงลักษณะของต้นย่างนาง มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นของย่านาง เป็นเถาเกี่ยวพันกับไม้อื่น มีลักษณะกลมเล็ก เหนียว มีสีเขียว และ เถาแก่มีสีเขียวเข้ม ผิวค่อนข้างเรียบ
  • รากของย่านาง เป็นมีหัวอยู่ใต้ดิน มีขนาดใหญ่
  • ใบของย่านาง เป็นใบเดี่ยว ออกติดกับลำต้นแบบสลับ ใบเหมือนรูปไข่ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ สีเขียว ใบเป็นมัน
  • ดอกของย่านาง ดอกออกเป็นช่อ ดอกออกตามซอกใบ และ ซอกโคนก้าน ขนาดเล็ก สีเหลือง ออกดอกช่วงเดือนเมษายน
  • ผลของย่านาง มีลักษณะกลมรี เล็ก สีเขียว ผลแก่เป็นสีเหลืองอมแดง มีเมล็ดลักษณะแข็ง รูปเกือกม้า

คุณค่าทางโภชนาการของต้นย่านาง

สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของย่านาง นักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบย่านางขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 95 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 7.9 กรัม แคลเซียม 155 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 7.0 มิลลิกรัม วิตามินเอ 30625 IU วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.36 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.4 มิลลิกรัม วิตามินซี 141 มิลลิกรัม โปรตีน 15.5 เปอร์เซนต์ ฟอสฟอรัส 0.24 เปอร์เซนต์ โพแทสเซียม 1.29 เปอร์เซนต์ แคลเซียม 1.42 เปอร์เซนต์ และ แทนนิน 0.21 เปอร์เซนต์

ประโยชน์ของใบย่านาง

สำหรับประโยชน์ของต้นย่านาง นั้น เป็นพืชที่ให้ออกซิเจน เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีมลพิษสุง หากปลูกต้นย่านางจะช่วยเพิ่มออกซิเจน และ สร้างความร่มเย็นให้กับพื้นที่ได้ดี นอกจากนั้นประโยชน์หลักๆของย่านาง นิยมการนำใบย่านางมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร สำหรับการบริโภค และ นำมาทำน้ำใบย่านาง ใบย่านางช่วยชะลอการเกิดผมหงอก ทำให้ผมดำ จึงมีการสร้างผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น แคปซูลใบย่านาง สบู่ใบย่านาง แชมพูใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพร เป็นต้น เพื่อรักษาอาการผมหงอก ใบย่านางสามารถช่วยต้านพิษกรดยูริกที่มีในหน่อไม้ได้ จึงเห็นใบย่านางมักเป็นส่วนประกอบของอาหารที่มีหน่อไม้ เช่น แกงหน่อไม้ ซุบหน่อไม้ แกงอ่อม แกงเห็ด แกงเลียง เป็นต้น

สรรพคุณของย่านาง

สำหรับการใช้ประโยชน์ของย่านางนั้น สามารถใช้ประโยชน์ได้ ทั้ง ราก และ ใบ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • รากของย่านาง มีรสขม สรรพคุณแก้ไข้ รักษาไข้ทับระดู แก้พิษเมา บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ แก้ปวดท้อง รักษาอีสุกอีใส รักษามาลาเรีย ขับพิษ
  • ใบของยางนาง มีรสขมจืด สรรพคุณแก้ไข้ เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยชะลอวัย เพิ่มภูมิต้านทานโรค บำรุงกำลัง ลดความอ้วน ปรับสมดุลย์ร่างกาย ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็ง ช่วยลดความดัน บำรุงหัวใจ บำรุงตับ บำรุงไต ช่วยรักษาอัมพฤกษ์ ช่วยรักษาอาการชักเกร็ง บำรุงผิว แก้เวียนหัว ช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ รักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยแก้ปวดตามกล้ามเนื้อ รักษาเหงือกอักเสบ ช่วยให้นอนหลับสบาย ช่วยบำรุงสายตา แก้เสมหะเหนียว รักษาไซนัสอักเสบ ช่วยลดการนอนกรน รักษาโรคหอบหืด รักษาโรคตับอักเสบ รักษาอาการท้องเสีย ช่วยแก้อาการท้องผูก รักษาโรคกระเพาะอาหาร รักษาลำไส้อักเสบ ช่วยรักษาปัสสาวะขัด ช่วยรักษามดลูกโต แก้ปวดมดลูก รักษาโรคต่อมลูกหมากโต รักษาอาการตกขาว ช่วยป้องกันโรคเกาต์ ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย

โทษของย่างนาง

  • น้ำใบย่างนาง มีกลิ่นแรง กินยาก สำหรับคนที่ไม่ชินกับการกินน้ำใบย่างนาง อาจทำให้อาเจียน หรือ เกิดอาการแพ้ได้
  • การดื่มน้ำย่านาง ควรดื่มก่อนกินอาหาร หรือ ดื่มตอนท้องว่าง ควรดื่มในปริมาณที่พอดี ไม่มากเกินไป
  • ผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย ไม่ควรดื่มน้ำใบย่านาง เพราะ สารอาหาร เช่น วิตามินเอ ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม ที่มีใบย่านางจะทำให้เกิดการคั่ง ส่งผลต่อความสามารถในการทำงานของไต
  • การกินอาหารเสริมที่ได้จากใบย่านาง เช่น แคปซูลใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพรใบย่างนาง อาจมีสารเคมีเจือปน หากขั้นตอนการผลิตไม่ได้มาตราฐาน เพื่อความปลอดภัย ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้จะดีที่สุด

ต้นย่านาง ( Bamboo grass ) ชื่อเรียกอื่นๆ เช่น  จ้อยนาง เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว ยาดนาง เป็นต้น ใบย่านาง มีฤทธิ์เย็น เหมาะสำหรับปรับสมดุลร่างกาย สรรพคุณปรับสมดุลย์ร่างกาย บำรุงร่างกาย ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดความดัน

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.   Take care of yourself first with good information. The content on this website is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick or feel unwell You should consult a doctor. to receive proper treatment For more information, please see our Terms and Conditions of Use.

ต้นกระจับ วัชพืชทางน้ำ สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการของกระจับ ประโยชน์และสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง แก้ปวดท้อง บำรุงผิว บำรุงกระดูก เป็นต้น โทษของกระจับเป็นอย่างไรบ้างต้นกระจับ กระจับ สรรพคุณของกระจับ สมุนไพร

ต้นกระจับ ชื่อสามัญ เรียก Water Chestnut  กระจัม มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Trapa bicornis Osbeck ชื่อเรียกอื่นๆของกระจับ เช่น กะจับ มาแง่ง พายับ เขาควาย สำหรับต่างประเทศที่ปลูกต้นกระจับมาก เช่น จีน ไต้หวัน และ อินเดีย เป็นต้น

ประเภทของต้นกระจับ

สำหรับการแบ่งประเภทของต้นกระจับ สามารถแบ่งประเทของกระจับได้ 2 ประเภท คือ กระจับสองเขา และ กระจับสี่เขา รายละเอียด ดังนี้

  • ต้นกระจับสองเขา ได้แก่ กระจับเขาแหลม และ กระจับเขาทู่
  • ต้นกระจับสี่เขา ได้แก่ กระจ่อม ( Jesuit Nut ) และ กระจับ ( Tinghara Nut )

ต้นกระจับในประเทศไทย

กระจับ พบมากในจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นลักษณะของวัชพืชน้ำ ประเทศไทยไม่นิยมปลูกกระจับเพื่อประโยชน์ทางอาหาร แต่พบว่ามีการนำกระจับมาปลูกเพื่อใช้เป็นไม้ประดับ สำหรับการปลูกต้นกระจับเพื่อรับประทานฝัก และ เพื่อจำหน่ายฝักกระจับ พบว่ามีการปลูกมากในทุกภาค เช่น ภาคกลาง ( ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี อุทัยธานี ) ภาคใต้ นครศรีธรรมราช

คุณค่าทางโภชนากการของกระจับ

สำหรับคุณค่าทางอาหารของกระจับ นักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของเนื้อฝักกระจับ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 117 แคลอรี่ มีความชื้น 70% มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 4.7 กรัม คาร์โบไฮเดรต 23.9 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม แคลเซียม 20 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 150 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.8 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.01 มิลลิกรัม และ ไนอาซีน 0.6 มิลลิกรัม

ต้นกระจับ

ต้นกระจับ นั้นเป็นพืชน้ำ เหมือนบัว ออกดอกในช่วงเดือนสิงหาคมถึงมีนาคมของทุกปี ขยายพันธ์โดยการแตกหน่อ ลักษณะของต้นกระจับ มีดังนี้

  • ลำต้นของกระจับ ลำต้นอยู่ใต้ดิน ลำต้นส่วนหนึ่งจะโผล่บนผิวน้ำ ลำต้นมีช่องอากาศ เลื้อยยาวเป็นปล้องๆ รากเป็นสีน้ำตาล รากจะแตกออกบริเวณข้อปล้องของลำต้น สามารถหยั่งลึกลงได้
  • ใบของกระจับ มี 2 ชนิด คือ ใบใต้น้ำ และ ใบเหนือผิวน้ำ ใบเหนือผิวน้ำ รูปทรงข้าวหลามตัด ฐานใบกว้าง ท้องใบ ก้านใบ และ เส้นใบ ใบเรียบ สีเขียวเข้ม เป็นมัน ส่วนใบใต้น้ำ ลักษณะคล้ายราก มีสีเขียว ลำใบเป็นฝอย เรียวยาว จะแตกออกบริเวณข้อของลำต้น
  • ดอกของกระจับ ดอกจะแทงออกบริเวณซอกใบเหนือน้ำออก ดอกเป็นดอกเดี่ยว มีขนาดเล็ก กลีบดอกมีสีขาว
  • ฝักของกระจับ มีลักษณะคล้ายหน้าควาย มีเขา 2 ข้าง เปลือกฝักแข็ง สีดำ เนื้อฝักมีสีขาว

ประโยชน์ของกระจับ

สำหรับประโยชน์ของกระจับมีมากมาย ซึ่งส่วนมากและการใช้ประโยชน์จากกระจับจะนิยมนำฝักกระจับ มารับประทานเนื้อของฝักกระจับ สามารถนำเอามาทำอาหารหวานและอาหารคาวได้มากมาย ส่วนฝักกระจับก็สามารถนำมาทำเชื้อเพลิงได้ ส่วนต้นกระจับหลายคนนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ เหมือนบัว ต้นกระจับนั้นสามารถใช้ประโยชน์ได้ นำมาทำยาแก้ปวดท้อง นอกจากนั้น ต้นกระจับที่เหลือจากการนำมาใช้ประโชยน์นั้นนิยมนำมาทำปุ๋ยหมัก ซึ่งสามารถวับน้ำได้ดี เหมาะแก่การปลูกพืช

สรรพคุณของกระจับ

การใช้ประโยชน์จากกระจับด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกายนั้น นิยมใช้ประโยชน์จาก ลำต้นหรือเง้า ใบกระจับ เนื้อฝักกระจับ และ เหลือกฝักกระจับ โดยสรรพคุณของกระจับ มีดังนี้

  • ลำต้นและเหง้าของกระจับ สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง และ บำรุงครรภ์
  • ใบของกระจับ สรรพคุณช่วยถอนพิษต่างๆได้
  • เนื้อฝักกระจับ สรรพคุณเป็นยาชูกำลัง ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงผิวพรรณ บำรุงกระดูก ช่วยเสริมสร้างการสร้างกระดูก
  • เปลือกฝักกระจับ สรรพคุณแก้อาการปวดท้อง แก้ท้องเสีย

โทษของกระจับ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระจับนั้น มีประโยชน์ แต่ก็มีโทษและข้อควรระวังอยู่บ้าง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ผลแก่ของกระจับ มีลักษณะแหลม และ มักจะอยู่ตามโคลนตม ซึ่งมองไม่เห็น หากไม่ใส่เครื่องป้องกันเท้าอาจเหยียบกระจับจนได้รับบาดเจ็บได้ หากเกิดการติดเชื้อโรคอาจเป็นเรื่องใหญ่มากกว่านี้อีกมาก
  • ต้นกระจับ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในน้ำโดยเฉพาะช่วงฤดูฝน ซึ่งหากปล่อยให้ต้นกระจับแพร่กระจายมากเกินไป อาจทำให้เกิดเป็นวัชพืชปกคลุมผิวน้ำ ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศได้
  • ต้นกรัจับหากปล่อยให้เจริญเติบโตโดยไม่ควบคุมปริมาณจะส่งผลต่อการจราจรทางน้ำได้

ต้นกระจับ วัชพืชทางน้ำ สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการของกระจับ ประโยชน์ของกระจับ สรรพคุณของกระจับ เช่น เป็นยาบำรุงกำลัง แก้ปวดท้อง บำรุงผิว บำรุงกระดูก เป็นต้น โทษของกระจับ มีอะไรบ้าง ทำความรู้จักกับ ต้นกะจับ อย่างละเอียด


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove