มะละกอ พืชท้องถิ่น นิยมนำผลมารับประทานเป็นอาหาร ลักษณะของต้นมะละกอเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะละกอ เช่น บำรุงระบบทางเดินอาหาร บำรุงสายตา เป็นยาระบาย โทษของมะละกอ

มะละกอ สมุนไพร ผลไม้

มะละกอ ภาษาอังกฤษ เรียก papaya ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะละกอ คือ Carica papaya L ชื่ออื่นของมะละกอ เช่น บักหุ่ง ก้วยลา แตงต้น มะก้วยเทศ มะเต๊ะ ลอกอ เป็นต้น สรรพคุณของมะละกอ ช่วยดูแลช่องปาก ดูแลเหงือกและฟัน ช่วยยาถ่ายพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย บำรุงสายตาและระบบประสาท ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน สารต้านอนุมูลอิสระ มะละกอเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดที่ทวีปอเมริกา ชาวต่างชาตินำเข้ามา ซึ่งปัจจุบันมะละกอเถือเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทยเลย มะละกอนิยมนำมาทำ ส้มตำ ( papaya salad )

ลักษณะของต้นมะละกอ

มะละกอ เป็นไม้เนื้ออ่อน ความสูงประมาณ 8 เมตร ลำต้นตั้งตรง ใบของมะละกอ ออกเป็นแฉก มีรอยเว้าเล็กๆเหมือนขนนก ดอกของมะละกอ มีสีเหลือง กลีบดอกจะบางและยาวประมาณ 2 เซ็นติเมตร ผลของมะละกอ มีลักษณะยาวกลม ผลดิบของมะละกอจะมีสีเขียว เมื่อผลแก่จะมีสีเหลือง มีรสหวาน เมล็ดของผลมะละกอจะสีดำ การขยายพันธุ์มะละกอสามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ประโยชน์ของมะละกอ

  1. มะละกอมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระอยู่หลายชนิด ซึ่งช่วยให้สุขภาพของคุณแข็งแรง
  2. ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใสอยู่เสมอ
  3. ช่วยในการชะลอวัย ลดเลือน และป้องกันการเกิดริ้วรอยต่าง ๆ
  4. ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงยิ่งขึ้น
  5. สามารถนำมาใช้เป็นทรีตเมนต์ทำหน้าให้หน้าใสได้อีกด้วย ด้วยการนำมะละกอสุกผสมกับน้ำผึ้งและนมสด แล้วนำมาปั่นให้เข้ากัน หลังจากนั้นนำมาทาผิวหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้วค่อยล้างออก
  6. ใช้นำมารับประทานเป็นผลไม้หรือของว่าง
  7. ใช้นำมาปรุงเป็นอาหาร เช่น แกงส้ม ส้มตำ เป็นต้น
  8. สามารถนำมะละกอไปใช้หมักให้เนื้อนุ่มได้อีกด้วย เพราะมีเอนไซม์ที่ชื่อว่า Papain ซึ่งเป็นส่วนประกอบของผงหมักสำเร็จรูปที่เราเห็นขายกันอยู่ตามท้องตลาดนั่นเอง
  9. นำมาแปรรูป การแปรรูปมะละกอ เช่น มะละกอแช่อิ่ม มะละกอแผ่น แยมมะละกอ มะละกอเชื่อม ซอสมะละกอ เยลลี่มะละกอ มะละกอแช่อิ่ม มะละกอสามรส มะละกอดอง มะละกอผง เป็นต้น

ประโยชน์ของมะละกอค่อนข้างมาก มีสรรพคุณเป็นทั้งยารักษาโรค โดยสรรพคุณมะละกอก็เช่น ใช้เป็นยาระบาย ยาขับปัสสาวะ ช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิด เป็นต้น และยังมีวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 ธาตุแคลเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก โปรตีน เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของมะละกอ

สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของมะละกอ ขนาด 100 กรัม สามารถให้พลังงาน 23 กิโลแคลอรี มีสารอาหารประกอบด้วย เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม เส้นใยอาหาร 1.3 กรัม วิตามิน ซี 34 มิลลิกรัม วิตามิน บี 2 0.2 มิลลิกรัม วิตามิน บี 1 0.5 มิลลิกรัม แคลเซี่ยม 13 มิลลิกรัมฟอสฟอรัส 13 มิลลิกรัม

 

สรรพคุณทางยาของมะละกอ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะละกอ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จาก ราก ผล และ ยางจากผลดิบ รายละเอียด มีดังนี้

  • ผลของมะละกอ ทั้งผลดิบและผลสุก นำมาต้มกิน สามารถช่วย ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมัน ขับน้ำเหลือง บำรุงน้ำนม ขับพยาธิ รักษาโรคริดสีดวงทวาร ผลมะละกอมี แคลเซี่ยม ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน  มีวิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดีและช่วยป้องกันเลือดอกตามไรฟัน มีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตาและระบบประสาท
  • ผลสุกของมะละกอ สามารถใช้เป็นยาระบาย ในอาการท้องผูกได้ดี
  • ยางจากผลดิบของมะละกอ สามารถใช้เป็นยาช่วยย่อย และฆ่าพยาธิ
  • รากของมะละกอ ใช้ขับปัสสาวะได้ดี

โทษของมะละกอ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะละกอในการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค มีข้อควรระวังการใช้ประโยชน์ ดังนี้

  • ไม่ควรรับประทานมะละกอสุกในปริมาณมาก ๆ หรือติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะ อาจจะทำให้ผิวของคุณเปลี่ยนเป็นสีเหลืองได้
  • ยางของมะละกอ มีฤทธ์เป็นพิษ สามารถนำมาหมักเนื้อเป็นเนื้อเปื่อยได้ ไม่ควรรับประทานยางมะละกอ แบบสดๆ โดยไม่ผ่านความร้อน

มะละกอ เป็นพืชที่มีประโยชน์หลากหลาก สามารถใช้ได้ทุกส่วน เป็นพืชที่คู่ควรในการอยู่ในครัวเรือนอย่างแท้จริง

กานพลู ( clove tree ) สมุนไพร สรรพคุณใช้บำรุงเหงือกและฟัน ดูแลช่องปาก แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม ลดกรดในกระเพาะอาหาร ขับของเสียออกจากร่างกาย ช่วยขับน้ำคาวปลา

กานพลู สมุนไพร สรรพคุณของกานพลู

ต้นกานพลู เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของหมู่เกาะโมลุกกะ น้ำไปปลูกในเขตร้อนทั่วโลก ในปะเทศไทยนำมาปลูกบ้างแต่ไม่แพร่หลาย ชอบขึ้นในดินร่วนซุย การระบายน้ำดี ความชื้นสูง ฝนตกชุก ขึ้นได้ดีบนพื้นที่ราบถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเล 800-900 เมตร กานพลู เป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ชอบความชื้นสูง พบได้ตามป่าดงดิบ ประเทศฟิลิปปินส์มีกานพลูเป็นพืชประจำท้องถิ่น กานพลู ภาษาอังกฤษ เรียก clove tree มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า SyZagium aromaticum ชื่ออื่นๆของกานพลู เช่น จันจี่ ดอกจัทร์

ลักษณะของต้นกานพลู

ต้นกานพลู เป็นพืช ชนิดไม้ยืนต้น ความสูง 9-12 เมตร อาจสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดเป็นรูปกรวยคว่ำ แตกกิ่งต่ำ ลำต้นตั้งตรง เปลือกเรียบ สีเทา ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก รูปรี หรือรูปไข่กลับแคบๆ กว้าง 8-11 ซม. ยาว 32-37 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนสอบแคบ ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบนเป็นมัน มีต่อมน้ำมันมาก เส้นแขนงใบข้างละ 15-20 เส้น ปลายเส้นโค้งจรดกับเส้นถัดไปก่อนถึงขอบใบ ก้านใบยาว 1-2.5 ซม. ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่น ออกที่ปลายยอด ยาวประมาณ 5 ซม. ก้านช่อดอกสั้นมาก แต่อาจยาวได้ถึง 1 ซม. ใบประดับรูปสามเหลี่ยม ยาว 2-3 มม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ โคนติดกันเป็นหลอดยาว 5-7 มม. เมื่อเป็นผลขยายออกเป็นรูปกรวยยาวประมาณ 1 ซม. ปลายแยกเป็นแฉกรูปไข่ ยาว 3-4 มม. กลีบดอก 4 กลีบ รูปขอบขนานหรือกลม ยาว 7-8 มม. มีต่อมมน้ำมันมาก ร่วงง่าย เกสรเพศผู้จำนวนมาก ร่วงง่าย ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 7 มม. ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 4 มม. ผล รูปไข่กลับกามรูปรี ยาว 2-2.5 ซม. แก่จัดสีแดง มี 1 เมล็ด

กานพลู เป็นพืช ชนิดไม้ยืนต้น ความสูงประมาณ 10-15 เมตร มีลำต้นตั้งตรง ใบของกานพลู เป็นใบเดียวเรียงตรงแตกกิ่งก้านสาขา ผิวมัน สีเขียว ดอกและผลของกานพลู ช่อดอกจะออกตามซอกใบ ดอกกานพลูจะมีน้ำมัน มีกลิ่นหอมและรสชาติเผ็ด ทรงกรวยยาว

คุณค่าทางโภชนาการของกานพลู

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกานพลู พบว่ามี แคลเซียม ฟอสฟอรัส ในปริมาณสูง ในดอกของการพลูสามารถสกัดน้ำมัน มีน้ำมันหอมระเหยประมาณ 20 % มีกรดแกลโลแทนนิค(gallotannic acid) ประมาณ 10% และสารโครมีนส์ (chromenes) สารคารีโอไฟลีน (caryophylline)  และกรดไตรเตอฟีน(triterpene acid) ในน้ำมันประกอบด้วย ยูยูจีนอลอะซีเตท (eugenolacetate) จีนอล (eugenol)  เป็นต้น

 

สรรพคุณของกานพลู

ประโยชน์ของกานพลู เราสามารถนำกานพลูมาใช้ประโยชน์ได้ทั้ง ดอก ใบ รายละเอียด ดังนี้

  • ดอกของกานพลู สามารถนำมาใช้แก้โรครำมะนาด แก้ปวดฟัน ช่วยละลายเสมหะ แก้หอบหืด บรรเทาเลือดออกตามไรฟัน แก้ปวดท้อง แก้โลหิตเป็นพิษ รักษาเหน็บชา ขับน้ำคาวปลา แก้ท้องอืด
  • ใบของกานพลู สามารถนำมารักษาแผลที่เกิดจากไฟไหม้ นำมาต้มเป็นน้ำใช้อาบแก้ผื่นคันได้ ใบของกานพลูมีรสชาติเย็นและจืด แก้ปวดมวน
  • น้ำมันกานพลู ดอกของกานพลูมีน้ำมันสามารถนำมาสกัดใช้เป็นยา ช่วยในการขับ บรรเทาการชักกระตุก แก้ปวดท้อง แก้ปวดฟัน มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคหลายชนิด ใช้เป็นยาไล่ยุง ตลอดจนนำมาแต่งกลิ่นอาหาร เป็นส่วนผสมของ เครื่องดื่ม ขนม สบู่ และยาสีฟัน
  • เปลือกต้นกานพลู  สามารถใช้ แก้ปวดท้อง แก้ลม คุมธาตุ
  • ผลของกานพลู ใช้เป็นเครื่องเทศ เป็นตัวช่วยให้มีกลิ่นหอม

วิธีใช้กานพลูรักษาอาการปวดฟัน สามารถทำได้โดย ใช้สำลีชุบน้ำมันกานพลู หยดในรูฟันที่มีอาการปวด หรือใช้ฟันที่ปวดคาบสำลีที่ชุบน้ำมันกานพลูไว้ ก็สามารถบรรเทาอาการปวดฟันได้ดี

วิธีใช้กานพลูมากำจัดกลิ่นปาก โดย ดอมดอกกานพลูประมาณ 1-2 นาที และบ้วนทิ้ง ก็สามารถลดกลิ่นปากได้

วิธีใช้กานพลู รักษาอาการท้องอืด สามารถทำได้โดย นำดอกกานพลูมาบด และต้มน้ำรับประทาน จะช่วยให้ถ่ายง่ายขึ้น และขับลมได้ด้วย


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove