ฟักข้าว Baby Jackfruit เบต้าเคโรทีนสูง ลักษณะของต้นฟักข้าว คุณค่าทางโภชนาการของฟักข้าว สรรพคุณใช้ถอนพิษ แก้ปวดหลัง ลดน้ำตาลในเลือด โทษของฟักข้าว

ฟักข้าว สมุนไพร สรรพคุณของฟักข้าว

ฟักข้าว ภาษาอังกฤษ เรียก Baby Jackfruit มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Momordica cochinchinensis (Lour) Spreng. ฟักข้าวมีชื่ออื่นๆ เช่น มะข้าว ขี้กาเครือ พุกู้ต๊ะ ผักข้าว เป็นต้น ต้นฟักข้าว มีถิ่นกำเนิดในประเทศพม่า ไทย จีน ลาว เขมร บังกลาเทศ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และมาเลเซีย

ประโยชน์ของฟักข้าว มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยในการชะลอวัย ป้องกันการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ปัญหาผิวแห้งกร้าน ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด ซึ่งฟักข้าวมีเบตาแคโรทีนสูงกว่าแครอท 10 เท่า และมีไลโคปีนมากกว่ามะเขือเทศ 12 เท่า ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ป้องกันโรคเกี่ยวกับดวงตา โรคต้อกระจก ประสาทตาเสื่อม ตาบอดตอนกลางคืน ช่วยป้องกันโรคหัวใจ หลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด ช่วยป้องกันและช่วยยับยั้งการเกิดลิ่มเลือดในเส้นเลือด ช่วยป้องกันเส้นเลือดในสมองแตก ซึ่งเป็นสาเหตุของการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ฟักข้าวมีโปรตีนที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อเอดส์ (HIV) และยังช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย ซึ่งได้ทำการจดสิทธิบัตรในประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ฟักข้าวมีฤทธิ์ในการต่อต้านมะเร็ง ไวรัส ช่วยยับยั้งระดับน้ำตาลในเลือด และยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีน ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารและมะเร็งปอด

งานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮานอยพบว่า น้ำมันจากเยื่อหุ้มเมล็ดของฟักข้าวมีประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งตับ ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ ช่วยในการขับเสมหะ ใช้กลั้วคอช่วยลดอาการเจ็บคอหรืออาการอักเสบที่ลำคอ ฟักข้าวเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในระยะพักฟื้นหรือผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ มีโรคประจำตัวหรือร่างกายอ่อนแอ รากฟักข้าวใช้แช่น้ำสระผม ช่วยทำให้ผมดกดำขึ้น แก้ปัญหาผมร่วง แก้อาการคันหนังศีรษะ รังแค และช่วยฆ่าเหาได้อีกด้วย

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ ได้ทำการศึกษาร่วมกันในเรื่องของการนำน้ำมันเยื่อหุ้มเมล็ดของฟักข้าวมาพัฒนาเป็นเครื่องสำอางสูตรลดเลือนริ้วรอย ซึ่งก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จนได้รับรางวัล “IFSCC Host Society Award 2011” จากงานประชุมสมาพันธ์นักเคมีเครื่องสำอางนานาชาติ ผลอ่อนฟักข้าวใช้ทำเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็นนำไปต้มหรือนึ่งจิ้มกินกับน้ำพริก หรือนำไปใส่แกงต่าง ๆ เช่น แกงส้มลูกฟักข้าว เป็นต้น ยอดฟักข้าวอ่อนใช้ทำเป็นอาหารก็อร่อย (กลิ่นจะคล้าย ๆ กับยอดหรือใบมะระ) เมนูฟักข้าว เช่น แกงเลียง แกงส้ม ผัดไฟแดง คั่วแค ใช้ลวกหรือต้มกินกับน้ำพริก ฯลฯ ฟักข้าวสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายอย่าง เช่น น้ำฟักข้าว ฟักข้าวแคปซูล เป็นต้น

ลักษณะของต้นฟักข้าว

ต้นฟักข้าว เป็นพืชล้มลุก เป็นพืชชนิดเถาไม้เลื้อย สามารถขยายพันธ์ได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ด การปักชำ การทาบกิ่ง การตอนกิ่ง ลักษณะของต้นฟักข้าว มีดังนี้

  • ลำต้นฟักข้าวลักษณะคล้ายกับต้นตำลึง ลำต้นกลม อ่อนอวบน้ำ ผิวขลุขละ สีเขียว
  • ใบของฟักข้าวเป็นใบเดี่ยว รูปร่างคล้ายกับหัวใจ ทรงรี ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก
  • ดอกของฟักข้าวจะออกตรงข้อต่อตามซอกใบ ลักษณะของดอกฟักข้าวเหมือนกับดอกตำลึงเลย มีกลีบดอกสีขาว ดอกของฟักข้าวจะมีสีเหลือง
  • ผลของฟักข้าวจะคล้ายรูปไข่เปลือกมีหนามเล็กๆ ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกสีส้ม
  • เมล็ดของฟักข้าว จะอยู่ในผลของฟักข้าวเหมือนเมล็ดแตง

คุณค่าทางโภชนาการของฟักข้าว

นักโภชนาการ ได้ศึกษา ฟักข้าว พบว่า ในผลอ่อนของผักข้าวขนาด 100 กรัม มีกากใยอาหาร 1 กรัม น้ำตาล 1.8 กรัม โปรตีน 0.98 กรัม มีวิตามินซี 0.04 มิลลิกรัม บีต้าแคโรทีน 91 มิลลิกรัม แคลเซียม 0.34 มิลลิกรัม ในฟักข้าวจะมีบีตาแคโรทีนมากกว่าแครอตถึง 10 เท่าตัว มีไลโคพีนมากกว่ามะเขือเทศถึง 12 เท่าตัว

สรรพคุณของฟักข้าว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากฟักข้าว ด้านกรบำรุงร่างกายและการรักษาโรค เราสามารถนำฟักข้าวมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ ใบ ราก ผล เมล็ด รายละเอียด ดังนี้

  • ใบของฟักข้าว เรานำมาใช้ ช่วยลดน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานได้ ช่วยแก้ไข้ตัวร้อนได้ ใช้รักษาริดสีดวง แก้อาการปวดหลังได้ แก้กระดูกเดาะ ช่วยถอนพิษอักเสบ รักษาฝี รักษาหูด
  • รากของฟักข้าว เรานำมาใช้ ดื่มช่วยถอนพิษ ช่วยขับเสมหะ ช่วยลดไข้ แก้ปวดตามข้อ
  • ผลอ่อนของฟักข้าว ใช้ลดน้ำตาลในเลือด ใช้รักษาโรคเบาหวาน
  • เมล็ดของฟักข้าว ใช้ในการ รักษาฝีในปอด รักษาท่อน้ำดีอุดตัน ช่วยขับปัสสาวะ รักษาอาการอักเสบ รักษาอาการบวม รักษากลากเกลื้อน รักษาโรคผิวหนัง

โทษของฟักข้าว

สำหรับผลฟักข้าวสามารถรับประทานได้ แต่เมล็ดดิบของฟักข้าวมีความเป็นพิษ การรับประทานเมล็ดของฟักข้าวอาจทำให้เกิดอาการแพ้ มึนเมา อาเจียน เป็นอันตรายได้

หอมใหญ่ หอมหัวใหญ่ สมุนไพร ผักสวนครัว นิยมนำมาทำอาหาร ลักษณะของต้นหอมใหญ่ คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณบำรุงเลือด บำรุงหัวใจ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ โทษของหอมหัวใหญ่

หอมหัวใหญ่ สมุนไพร สรรพคุณหอมหัวใหญ๋

หอมหัวใหญ่ ( Onion ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของหอมใหญ่ คือ Allium cepa L. ต้นหอมใหญ่ มีถิ่นกำเนิดและมีเขตการกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชียกลาง บ้างก็บอกว่ามีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ และสำหรับแหล่งผลิตที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา และประเทศอินเดีย โดยจัดเป็นพืชล้มลุก

พืชมหัสจรรย์ ทำอาหารก็อร่อย สรรพคุณของหอมใหญ่ ช่วยรักษาเบาหวาน รักษาโรคหัวใจได้ ลดน้ำตาลในเลือด ช่วยละลายลิ่มเลือด บำรุงระบบโลหิตได้ดี ช่วยขับลม แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ป้องกันมะเร็งได้ ขับสารพิษในร่างกาย ช่วยผ่อนคลาย แก้การนอนไม่หลับ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดความดับโลหิต ช่วยขับเสมหะ ในหอมหัวใหญ่พบว่ามีวิตามินซีสูง และสารอื่น ๆ เช่น สารเคอร์ซีทิน สามารถช่วยต่อต้านสารอนุมูลอิสระในร่างกาย ป้องกันโรคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

ลักษณะของต้นหอมหัวใหญ่

ต้นหอมหัวใหญ่ เป็นพืชล้มลุก สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ ลักษณะของต้นหอมหัวใหญ่ มีดังนี้

  • ต้นหอมใหญ่ มีความสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร มีหัวอยู่ใต้ดินคล้ายหัวหอม ลักษณะกลมป้อม มีเปลือกนอกบาง ๆ สีม่วงแดงหุ้มอยู่ แต่เมื่อแห้งแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
  • ใบหอมใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุก 3-4 ใบ ลักษณะเป็นรูปดาบ มีความกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร เส้นใบจีบตามยาวลักษณะคล้ายพัด
  • ดอกหอมใหญ่ ออกดอกเป็นช่อ แทงขึ้นมาจากลำต้นใต้ดิน กลีบดอกมีสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของหอมหัวใหญ่

สำหรับการบริโภคหอมหัวใหญ่นิยมรับประทานหัวหอมใหญ่ ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของหัวหอมใหญ่ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 40 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 9.34 กรัม น้ำตาล 4.24 กรัม กากใยอาหาร 1.7 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม โปรตีน 1.1 กรัม น้ำ 89.11 กรัม วิตามินบี 1 0.046 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.027 มิลลิกรัม
วิตามินบี 3 0.116 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.123 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.12 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 19 ไมโครกรัม วิตามินซี 7.4 มิลลิกรัม
ธาตุแคลเซียม 23 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.21 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.129 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 29 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 146 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.17 มิลลิกรัม และ ธาตุฟลูออไรด์ 1.1 ไมโครกรัม

สรรพคุณของหอมหัวใหญ่

คุณประโยชน์ของหอมหัวใหญ่ เราได้รวบรวมมาให้เป็นความรู้ ดังนี้

การรับประทาน หัวหอมใหญ่ สามารป้องกันการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ เพราะ ว่า หอมหัวใหญ่ มีสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถช่วยแก้การนอนไม่หลับได้ ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยกำจัดสารตะกั่วและโลหะหนักที่ปนเปื้อนมากับอาหาร ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงของอัมพาต ช่วยรักษาโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด ช่วยในการขยายหลอดเลือด ช่วยทำให้เลือดไม่ไปอุดตันในหลอดหลอด ช่วยในการสลายลิ่มเลือดปกป้องหลอดเลือดเลี้ยงสมองเกิดการอุดตัน ลดความอ้วน ช่วยลดคอเลสเตอรอล ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดความดันโลหิต แก้ความดันโลหิตสูง ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยรักษาไข้หวัด แก้หวัดคัดจมูก และช่วยลดน้ำมูก ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ หอมหืด คุณช่วยขับเสมหะได้ ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยแก้ท้องร่วง ช่วยขับพยาธิ ช่วยในการขับปัสสาวะ ช่วยแก้ลมพิษ ลดอาการปวดอักเสบ ช่วยฆ่าเชื้อโรค ช่วยรักษาผิวหนังที่ถูกน้ำร้อนลวกได้

วิธีปลูกหอมหัวใหญ่

สามารถปลูกได้จากการเพาะต้นกล้า โดยหว่านเมล็ดพันธุ์ให้ทั่วแปลงกล้า รดน้ำให้ทั่ว หลังจากที่เมล็ดงอกประมาณ 10-15 วัน ใช้หญ้าแห้งคลุมดินอย่าให้แปลงชื้น หรือร้อนเกินไป เมื่อกล้าอายุได้ 45 วัน ก็ย้ายเพื่อลงแปลงปลูก จัดเป็นแถว ห่างกัน 10 – 15 เซ็นติเมตร หมั่นพรวนดิน และกำจัดวัชพืช หลังจากย้ายกล้าลงแปลงปลูกประมาณ 90-100 วัน ก็ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว

โทษของหอมหัวใหญ่

สำหรับการรับประทานหอมหัวใหญ่ มีข้อควรระวังในการรับประทานหอมหัวใหญ่ ดังนี้

  • แม้ว่าสรรพคุณหัวหอมใหญ่จะมีอยู่มากมาย แต่เนื่องจากหอมใหญ่เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์อุ่นและมีรสเผ็ด การนำมาใช้ในแต่ละบุคคล ควรคำนึงถึงสภาพร่างกายและโรคของผู้ป่วยด้วย ซึ่งฤทธิ์ดังกล่าวสามารถช่วยขับความเย็น ทำให้หยางทะลุทะลวงไปยังส่วนต่าง ๆ ช่วยกำจัดพิษและปัจจัยที่กระทบจากภายนอกเนื่องจากความเย็นได้ดี แต่ไม่มีฤทธิ์ในการบำรุงหยางในร่างกาย เมื่อใช้ไปนาน ๆ อาจจะทำให้ร่างกายเสียพลังได้ง่าย เช่น ในกรณีผู้ป่วยหอบหืดที่มีพลังอ่อนแออยู่แล้ว แทนที่จะมีอาการหอบดีขึ้น แต่กลับจะทำให้อาการหอบหืดกำเริบมากขึ้นกว่าเดิม เป็นต้น ดังนั้นจึงควรรู้ถึงข้อดีและข้อเสียเพื่อนำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมด้วย จึงจะเกิดประโยชน์ต่อร่างกายอย่างสูงสุด
  • การรับประทานหัวหอมใหญ่ในปริมาณมากหรือรับประทานติดต่อกันนานเกินไป อาจจะทำลายจิตประสาท ทำให้จิตฟุ้งซ่าน ลืมง่าย ความจำเสื่อม มีอาการตามัว พลังและเลือดถูกทำลาย ทำให้เส้นเลือดไหลเวียนได้ไม่ดี ทำให้โรคต่าง ๆ ที่เป็นอยู่หายช้าและเรื้อรัง และยังไปทำลายสมรรถภาพทางเพศ
  • เมื่อคุณมีอาการปวดศีรษะเนื่องจากความเครียดหรือจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ มีคำแนะนำว่าไม่ควรจะรับประทานหัวหอมใหญ่
  • อย่างไรก็ตามไม่ควรรับประทานหัวหอมใหญ่สดในขณะที่ท้องว่าง เพราะอาจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง ทำให้เยื่อบุในกระเพาะเกิดการอักเสบได้
  • สำหรับผู้ที่ถูกสัตว์มีพิษมีเขี้ยวกัด ไม่ควรรับประทานหอมใหญ่ เพราะการรับประทานหัวหอมใหญ่จะทำให้มีอาการรุนแรงขึ้น ทำให้พิษแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว
  • สิ่งที่คุณควรรู้อีกเรื่องนั้นก็คือ หอมใหญ่เป็นหนึ่งในอาหารที่มีกลิ่นแรงและทำให้เกิดกลิ่นปาก
  • สำหรับผู้ที่มีกลิ่นตัวแรงอยู่แล้ว การรับประทานหัวหอมใหญ่มากเกินไปอาจจะทำให้มีกลิ่นตัวแรงยิ่งขึ้น
  • ว่ากันว่าในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ไม่ควรรับประทานหอมหัวใหญ่ เพราะจะทำให้อาการหอบหืดรุนแรงมากขึ้น

ต้นหอมหัวใหญ่ ภาษาอังกฤษ เรียก Onion เป็นพืชชนิดหัว (bulb) สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิดที่มีการระบายน้ำและอากาศดี เจริญได้ดี หอมหัวใหญ่ปลูกได้ในช่วงฤดูหนาว หอมหัวใหญ่มีชื่อ วิทยาศาสตร์ ว่า Allium cepa L. หอมใหญ่ หอมหัวใหญ่ สมุนไพร ผักสวนครัว นิยมนำหัวหอมใหญ่มาทำอาหาร ลักษณะของต้นหอมใหญ่เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของหอมใหญ่ สรรพคุณของหอมหัวใหญ่ เช่น บำรุงเลือด บำรุงหัวใจ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ โทษของหอมหัวใหญ่มีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove