ผักไชยา Chaya คะน้าเม็กซิกัน สมุนไพร เรียกต้นผงชูรส ต้นไชยาเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของผักไชยา เช่น บำรุงเลือด บำรุงกระดูก โทษของผักไชยา มีอะไรบ้างคะน้าเม็กซิกัน ผักไชยา สมุนไพร ต้นผงชูรส

ต้นผักไชยา ( Chaya ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักไชยา คือ Cnidoscolus chayamansa เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับต้นยางพารา สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของผักไชยา เช่น ชายา มะละกอกินใบ คะน้าเม็กซิกัน ต้นผงชูรส ผักโขมต้น เป็นต้น ลำต้นผักไชยา นำมาตากแห้ง บดให้เป็นผง ใช้แทนผงชูรสได้ดี ใช้ผสมกับอาหาร ช่วยให้มีรสชาติกลมกล่อม ผักไชยา นิยมนำมารับประทานเป็นอาหารโดยใช้ส่วนของยอดอ่อนและใบ เมื่อเด็ดยอดอ่อนแล้วต้องนำมาปอกเปลือกออก ในเมืองไทยนิยมนำมาทำเมนู ผัดไชยาน้ำมันหอย ผักไชยาผัดไข่ ผัดราดหน้า ผัดซีอิ๊ว แกงส้ม ลวกจิ้มกับน้ำพริกก็ได้

ลักษณะของต้นผักไชยา

ต้นผักไชยา หรือ คะน้าเม็กซิกัน สามารถขยายพันธุ์ ได้โดยการตอนกิ่ง ปักชำ และ เพาะเมล็ดพันธ์ คะน้าเม็กซิโก เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่มีความชื้น ระบายน้ำได้ดี ชอบแสงแดด ระยะเวลาปลูก 60 วัน สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อนำมารับประทานได้

ต้นคะน้าเม็กซิโก เป็นไม้ยืนต้น ทรงพุ่ม ถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเขตร้อน ประเทศเม็กซิโก พบต้นคะน้าเม็กซิกัน การกระจายพันธุ์อยู่ในกัวเตมาลา และ ทวีปอเมริกากลาง ลักษณะของต้นไชยา มีดังนี้

  • ลำต้นไชยา ลักษณะอวบน้ำ ความสูงประมาณ 2 ถึง 6 เมตร เปลือกของลำต้นสีน้ำตาล ลำต้นมีน้ำยางสีขาว
  • ใบไชยา ลักษณะใบสีเขียวคล้ายใบมะละกอ ขอบเป็นแฉกๆ ใบหนึ่งมี 3 ถึง 4 แฉก
  • ดอกผักไชยา ออกดอกเป็นช่อ ดอกออกบริเวณปลายกิ่ง

ต้นไชยาเป็นไม้พุ่ม ชนิดหนึ่ง ลักษณะใบสีเขียวคล้ายใบมะละกอ เมื่อเด็ดออกมาจะมียางสีขาว ต้นโตง่าย สามารถสูงได้ถึง 6 เมตร รสชาติไม่ขม ไม่มีกลิ่นเหม็นเขียว ได้รับความนิยมนำมาปรุงเป็นอาหารในประเทศเม็กซิโก กัวเตมาลา และประเทศแถบอเมริกากลาง

คุณค่าทางโภชนาการของผักไชยา

สำหรับคะน้าเม็กซิโกหรือผักไชยา นำยมรับประทานก้านและยอด มีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบผักไชยาขนาด 100 กรัม ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอด้วย น้ำร้อยละ 85.3 คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 4.2 โปรตีนร้อยละ 5.7 ไขมันร้อยละ 0.4 กากใยอาหารร้อยละ 1.9 แคลเซียม 199.4 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 217.2 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 39 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 11.4 มิลลิกรัม วิตามินซี 164.7 มิลลิกรัม และ วิตามินเอ 0.085 มิลลิกรัม ผักไชยามีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าผักโขมมากถึง 2 เท่า

สรระคุณของผักไชยา

การนำผักไชยามาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย ใช้ประโยชน์จากก้านและใบ โดย สรรพคุณของผักไชยา มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงร่างกาย มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง
  • ช่วยบำรุงเลือด ทำให้เลือดหมุนเวียนดี ช่วยลดคอเลสเตอรอล เพิ่มธาตุเหล็กให้กับเลือด ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดการอักเสบในเส้นเลือด ช่วยบรรเทาโรคไขข้ออักเสบ
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยการย่อยอาหาร ช่วยบรรเทาริดสีดวงทวาร
  • บำรุงสายตา ช่วยในการมองเห็น บำรุงสายตา
  • บำรุงกระดูก เพิ่มแคลเซียมให้กระดูก รักษาโรคกระดูกพรุน
  • บำรุงสมอง ช่วยให้สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันอาการปวดหัว
  • บำรุงระบบทางเดินหายใจ รักษาโรคหอบหืด ป้องกันอาการไอ ลดการสะสมและลดการติดเชื้อในปอด ช่วยฆ่าเชื้อในปอด
  • ช่วยลดน้ำหนัก ปรับสมดุลของระบบการเผาผลาญ
  • บำรุงตับ ช่วยล้างพิษในตับ

โทษของผักไชยา

ต้นไชยามีพิษ เนื่องจาก มีสารกลูโคไซด์ เป็นสารที่อยู่ในผักไชยาดิบ การนำผักไชยามารับประทานต้องทำให้้สุกก่อน เพื่อทำลายฤทธิ์ของสารพิษ ให้นำไปต้ม หรือ ผัด อย่างน้อย 1 นาที และ  ห้ามต้มในภาชนะอะลูมิเนียม เพราะ อาจทำให้น้ำพิษ ทำให้ท้องร่วงได้

ผักไชยา ( Chaya ) หรือ คะน้าเม็กซิกัน สมุนไพร ต้นผงชูรส ลักษณะของผักไชยา เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของผักไชยา เช่น บำรุงเลือด บำรุงกระดูก โทษของผักไชยา มีอะไรบ้าง

กระเทียม สมุนไพร นิยมทำเป็นเครื่องเทศ ใส่ในอาหาร ลักษณะของต้นกระเทียม เป็นอย่างไร สรรพคุณของกระเทียม คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม โทษของกระเทียม

กระเทียม สมุนไพร สรรพคุณของกระเทียม สมุนไพรไทย

ต้นกระเทียม ( Garlic ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเทียม คือ Allium sativum L. ชื่อเรียกอื่นๆของกระเทียม คือ  หอมเทียม (เหนือ) กระเทียมขาว (อุดรธานี) กระเทียมจีน (กทม) หอมขาว (อุดรธานี) ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หัวเทียม (ใต้) ซึง ปักทาง เสิง ฮวงซาง (จีน) เป็นต้น

กระเทียม เป็นพืชล้ม มีหัวอยู่ใต้ดิน มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว สามารถขยายพันธ์ โดยการแตกหน่อ และ เพาะเมล็ดพันธ์  หัวกระเทียม นิยมนำมาทำอาหาร กระเทียมมีกลิ่นฉุน ให้ความหอมในอาหาร และมีรสหวานหากนำมาต้ม การบริโภคกระเทียมก็เหมือนการกินยา

กระเทียมในประเทศไทย

หัวกระเทียม เป็นวัตถุดิบหลักในอาหารไทย กระเทียมจึงเป็นพืชเศรษฐกิจ สามารถหาซื้อได้ตามตลาดทั่วไป ในประเทศไทยแหล่งปลูกประเทียม คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ซึ่งกระเทียมคุณภาพดี กลิ่นฉุน คือ กระเทียมจากจังหวัดศรีสะเกษ

คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม

สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของหัวกระเทียมสด ขนาด 100 กรัม พบว่าหัวปกระเทียมขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน มากถึง 149 กิโลแคลอรี

โดย ในหัวกระเทียมขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 2.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 33.06 กรัม น้ำตาล 1 กรัม  ไขมัน 0.5 กรัม โปรตีน 6.36 กรัม  วิตามินบี 2 0.11 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.7 มิลลิกรัม วิตามินซี 31.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.596 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 3 ไมโครกรัม วิตามินบี 6 1.235 มิลลิกรัม  ธาตุแคลเซียม 181 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 153 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.672 มิลลิกรัม  ธาตุสังกะสี 1.16 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 401 มิลลิกรัม และ ธาตุซีลีเนียม 14.2 ไมโครกรัม

ลักษณะของต้นกระเทียม 

ต้นกระเที่ยม เป็นพืชล้มลุก หัวของกระเทียมอยู่ใต้ดิน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว หัวกระเทียม นิยมนำมาทำอาหาร ลักษณะของต้นกระเทียม มีดังนี้

  • รากและหัวของกระเทียม1 เป็นส่วนที่อยู่ใต้ดิน ลักษณะของหัวกลม ภายในเป็นลักษณะกลีบ เนื้อมีกลิ่นฉุน ลำต้นอยู่เหนือดินทรงกระบอกยาวเนื้อสีขาว มีกลิ่นฉุนเล็กน้อย
  • ใบกระเทียม เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับตรงจากลำต้น ใบกลม ใบยาวสีเขียว ผิวใบเรียบ และมีกลิ่นฉุนเล็กน้อย นิยมรับประทานเป็นผักสด
  • ดอกกระเทียม ลักษณะดอกเป็นช่อ ก้านดอกแทงออกมาจากหัวและลำต้น ก้านดอกทรงกลม ยาว ด้านในเป็นรูกลวง ดอกตูมรูปทรงคล้ายระฆัง
  • ผลและเมล็ดกระเทียม เจริญเติบโตรวมกัน เป็นกลุ่ม ด้านในมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก เมล็ดลักษณะกลม สีน้ำตาลอมดำ

สรรพคุณของกระเทียม

ต้นกระเทียม สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จากหัวกระเทียม สรรพคุณของกระเทียม มีรายละเอียด ดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิวหนัง ทำให้มีสุขภาพผิวดี
  • ช่วยการเจริญอาหาร ทำให้อยากกินอาหาร
  • บำรุงข้อต่อและกระดูกในร่างกาย
  • ช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้
  • ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันร่างกาย ป้องกันอาการไอ ลดอาการน้ำมูกไหล ป้องกันไข้หวัด ช่วยแก้อาการหอบหืด ช่วยรักษาโรคหลอดลม ช่วยขับเสมหะ
  • บำรุงเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด ลดน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว ช่วยละลายลิ่มเลือด ช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง
  • ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย
  • แก้อาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ
  • เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยควบคุมฮอร์โมนทั้งหญิงและชาย ช่วยทำให้มดลูกบีบตัว
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคไต
  • บำรุงหัวใจ ช่วยลดความดันโลหิต ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ
  • บำรุงเส้นผม ช่วยแก้ปัญหาผมบาง ยาวช้า รักษาเชื้อราตามหนังศีรษะและเล็บ
  • ช่วยขับพิษในเลือด ช่วยขับเหงื่อ
  • บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยระงับกลิ่นปาก
  • บำรุงทางเดินอาหาร ช่วยควบคุมโรคกระเพาะ ช่วยขับลม รักษาจุกเสียดแน่นท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • ช่วยขับพยาธิ เช่น พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย พยาธิเข็มหมุด พยาธิไส้เดือน เป็นต้น
  • ช่วยต้านฆ่าเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย
  • บรรเทาอาการปวดข้อและปวดเมื่อยตามร่างกาย

โทษของกระเทียม

สำหรับการบริโภคกระเทียม และ ใช้กระเทียมเป็นยารักษาโรค มีข้อควรระวังในใช้ประโยชน์จากกระเทียม โทษของกระเทียม มีดังนี้

  • การกินกระเทียมสด อาจทำให้ระคายเคืองช่องปาก เช่น แสบร้อนบริเวณปาก
  • หากกินกระเทียมมากเกินไป อาจทำให้มีกลิ่นปาก และ ทำให้กลิ่นตัวแรง
  • สำหรับเด็กอ่อน กระเทียมสดๆอาจทำให้ผิวของเด็กเกิดอาการแสบร้อนและระคายเคืองได้
  • ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ไม่ควรรับประทานกระเทียมสด เพราะ อาจทำให้ระคายเคืองระบบทางเดินอาหารได้
  • กลิ่นของกระเทียม หากสูดดมเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove