มะนาว น้ำจากผลมะนาวมีรสเปรี้ยว สมุนไพรรสเปรี้ยว ต้นมะนาวเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะนาว เช่น เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงเลือด โทษของมะนาวมีอะไรบ้าง

มะนาว ชนิดของมะนาว ประโยชน์มะนาว สรรพคุณมะนาว

มะนาว ( Lime ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะนาว คือ Citrus aurantiifolia (Christm) สมุนไพร คู่ครัวไทย มีรสเปรี้ยว นิยมนำมาปรุงรส สรรพคุณของมะนาว ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ช่วยแก้อาเจียน ช่วยรักษาสมดุลโรคความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร แก้โรคตาแดง แก้ไข้ บำรุงเลือด รักษาโรคเลือดออกตามไรฟันได้ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้ไอ ช่วยบรรเทาอาการเสียบแหบแห้ง บำรุงเหงือก ช่วยรักษาท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้อาการท้องร่วง ช่วยการขับพยาธิไส้เดือน เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยรักษาโรคกระเพาะ แก้อาการบิด ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคนิ่ว ช่วยบำรุงโลหิต รักษาโรคผิวหนัง ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

ต้นมะนาว ภาษาอังกฤษ เรียก Lime มะนาวมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Citrus aurantiifolia (Christm) ชื่ออื่นๆของมะนาว เช่น ส้มมะนาว โกรยชะม้า ปะนอเกล มะนอเกละ มะเน้าด์เล ปะโหน่งกลยาน ลีมานีปีห์ หมากฟ้า เป็นต้น มะนาวที่นิยมปลูกในเมืองไทย มี 4 พันธุ์ ประกอบด้วย มะนาวไข่ มะนาวแป้น มะนาวแป้นรำไพ และมะนาวหนัง มะนาวถือเป็นผลไม้ ที่มีกรดอินทรีย์หลายชนิด ประกอบด้วยกรดซิตริก กรดมาลิค และไวตามินซี นอกจากนี้แล้ว น้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้จากผิวมะนาว มีวิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียมและฟอสฟอรัสอีกด้วย

คุณค่าทางโภชนาการของมะนาว

จากการศึกษามะนาวขนาด 100 กรัม พบว่า ข้อมูลทางโภชนาการของมะนาว ต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 30 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 10.5 กรัม น้ำตาล 1.7 กรัม กากใยอาหาร 2.8 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.7 กรัม วิตามินบี 1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.02 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.217 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.046 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 8 ไมโครกรัม วิตามินซี 29.1 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 33 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 6 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 102 มิลลิกรัม และธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะนาว

สรรพคุณของมะนาว ประกอบด้วย เราได้รวบรวมประโยชน์ทางสมุนไพรของมะนาว ดังนี้ ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ช่วยแก้อาเจียน ช่วยรักษาสมดุลโรคความดันโลหิต ช่วยในการเจริญอาหาร แก้โรคตาแดง แก้ไข้ บำรุงเลือด รักษาโรคเลือดออกตามไรฟันได้ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้ไอ ช่วยบรรเทาอาการเสียบแหบแห้ง บำรุงเหงือก ช่วยรักษาท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้อาการท้องร่วง ช่วยการขับพยาธิไส้เดือน เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยรักษาโรคกระเพาะ แก้อาการบิด ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคนิ่ว ช่วยบำรุงโลหิต รักษาโรคผิวหนัง ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

การนำมะนาวมาใช้ประโยชน์ทางความงาม ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส ช่วยบำรุงตา น้ำมันหอมระเหยที่ให้กลิ่นหอมสดชื่น (Aromatherapy) ช่วยเร่งการผลัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพออกไป ช่วยผิวบริเวณเหล่านี้มีความนุ่มนวลเพิ่มมากขึ้น ช่วยรักษาสิวของคุณให้ลดน้อยลงได้ แก้ปัญหาผิวแตก แก้ปัญหาส้นเท้าแตก

ประโยชน์ด้านอื่นของมะนาว

  • ป้องกันภัยจากงูและสัตว์เลื้อยคลาน ด้วยการใช้เปลือกวางไว้บริเวณใกล้ที่นอน ๆ สัตว์เหล่านี้ก็จะไม่มารบกวนเพราะได้กลิ่นมะนาว
  • แก้พิษจากการโดนงูกัด
  • ถ้าก้างปลาติดคอ ให้นำน้ำมะนาว 1 ลูก เติมเกลือ ใส่น้ำตาลเล็กน้อย แล้วกลืนลงไปให้ตรงกับบริเวณที่ก้างติดคอ อมไว้สักครู่แล้วค่อย ๆ กลืน ก้างปลาจะอ่อนตัวลงแล้วหลุดลงไปในกระเพาะ
  • แก้เล็บขบ ส้นเท้าแตก ขาลาย
  • ลบรอยเปื้อนหมึก หรือรอยเตารีด บนเสื้อผ้าได้

เมื่อพูดถึงมะนาวนั้นหลายหลายคนก็คงจะนึกถึงรสชาติความเปรี้ยวจี๊ดอีกทั้งยังนึกถึงความเป็นผลไม้รสเปรี้ยวพี่อยู่คู่กับครัวคนไทยมาแต่ช้านาน โดยส่วนใหญ่แล้วมะนาวมักจะถูกนำมาเป็นเครื่องปรุงรถสำหรับการทำอาหารประเภทยำเป็นหลัก ซึ่งรสชาติความเปรี้ยวจี๊ดของมะนาวนั้นมีสรรพคุณที่ดีมากมายนั่นเอง รสชาติเปรี้ยวจี๊ดของมะนาวนั้นอุดมไปด้วยวิตามินซีจากธรรมชาติที่สูงมากโดยวิตามินซีนั้นเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระอีกทั้งยังช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะเห็นได้ว่าหากมีอาการเจ็บป่วยหรืออาการไม่สบายต่างๆนั้นคนโบร่ำโบราณก็จะใช้มะนาวมาช่วยเพื่อบรรเทาอาการนั่นเอง

สรรพคุณของมะนาว นั้นมีมากมายหลากหลายอย่างซึ่งส่วนใหญ่แล้วนั้นจะช่วยในเรื่องของการบรรเทาอาการปวดศีรษะช่วยลดอาการอาเจียนเป็นลมวิงเวียนศีรษะหรือแม่กระทั่งแก้เมาเหล้าได้เป็นอย่างดีอีกด้วย และยังรวมไปถึงมะนาวนั้นยังมีคุณสมบัติในการช่วยแก้ไอได้เป็นอย่างดีซึ่งหากมีอาการไอแล้วก็สามารถใช้มะนาวผสมกับน้ำผึ้งแล้วก็เกลือนิดหน่อยใช้จิบบ่อยๆจะช่วยลดอาการระคายเคืองคออีกทั้งยังช่วยสามารถให้ชุมคอได้เป็นอย่างดีอีกด้วย อีกครั้งมะนาวนั้นยังมีการนำมาใช้เพื่อการบำรุงผิวและเพื่อความสวยความงามได้เป็นอย่างดีอีกด้วยโดยในน้ำมะนาวนั้นจะมีกรดซิตริกสูง ซึ่งกรดซิตริกนี้จะช่วยกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพได้เป็นอย่างดี จึงเห็นได้ว่าจะมีผู้คนนำน้ำมะนาวนั้นมาผสมกับดินสอพองเพื่อพอกหน้าเป็นประจำจะช่วยลดเลือนรอยแผลเป็นอีกทั้งยังช่วยลดรอยสิวและลดอาการสิวได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นแล้วมะนาวยังสามารถนำมาใช้ประกอบการหุงข้าวทำให้ข้าวนั้นขาวและอร่อยมากยิ่งขึ้นโดยการนำน้ำมะนาวเพียงแค่สองถึงสามช้อนชาใส่ลงไประหว่างหุงข้าวนั่นเอง อีกทั้งหากต้องการให้ไข่เจียวมีความฟูและนิ่มขึ้นก็สามารถใช้น้ำมะนาวเพียงสี่ถึงห้าหยดผสมลงไปในไข่พี่เตรียมจะเจียวก็สามารถทำให้ไข่นั้นนุ่มและฟูน่ากินเป็นอย่างมาก

นอกจากนั้นแล้วในเปลือกของผิวมะนาวยังมีน้ำมันหอมระเหยหลากหลายชนิดที่ให้กลิ่นหอมสดชื่นโดยกลิ่นหอมสดชื่นนั้นจะช่วยในการลดอาการวิงเวียนศีรษะและลดอาการปวดศีรษะ อีกทั้งรวมไปถึงสามารถทำให้ร่างกายเกิดความสงบและมีสมาธิในการทำงานหรือทำกิจกรรมต่างๆได้เป็นอย่างดีมากขึ้นด้วยเช่นกัน ในปัจจุบันนี้มีการแปรรูปมะนาวเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆมากมายทั้งผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหารอีกทั้งยังรวมไปถึงขนมและของกินเล่นต่างๆมากมายด้วยซึ่งถือได้ว่าเป็นการต่อยอดผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นน้ำมะนาวสำเร็จรูปมะนาวผงและรวมไปถึงมะนาวดองอีกด้วย จึงนับได้ว่ามะนาวนั้นเป็นสมุนไพรใกล้ตัวที่มีสรรพคุณมากมายหลากหลายอีกทั้งยังสามารถนำมาทำเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหารต่างๆเพื่อสร้างรสชาติอร่อยถูกปากกับคนไทยได้เป็นอย่างดี

ตำลึง ( Lvy Gourd, Coccinia ) สมุนไพร นิยมปลูกริมรั้วบ้าน ประโยชน์และสรรพคุณช่วยขับลม บำรุงสายตา บำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันมะเร็ง ลดน้ำตาลในเลือด ลดไข้ รักษาแผล

ตำลึง ผักสวนครัว สมุนไพร

ต้นตำลึง ภาษาอังกฤษ เรียก Lvy Gourd, Coccinia มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Cocconia grandis (L.) Voigt ชื่ออื่น ๆ ของผักตำลึง เช่น ผักแคบ แคเด๊าะ สี่บาท ผักตำนินตำลึงนิยมนำมาทำอาหาร

ลักษณะของต้นตำลึง

ตำลึง เป็นไม้เลื้อย ลำต้นจะเกาะตามหลัก เช่น แนวรั้วบ้าน ต้นไม้ เถาของตำลึงจะมีสีเขียว ใบของตำลึงเป็นใบเดี่ยว สลับกันไปมาตามเถา โคนของใบมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจ ดอกของตำลึง จะมีลักษณะเป็นดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ มีสีขาว ผลของตำลึง เหมือนแตงกวาแต่มีขนาดเล็กกว่า ผลสีเขียวมีลายสีขาว พอสุกจะกลายเป็นสีแดง

  • ต้นตำลึง เป็นไม้เถาเลื้อยขึ้นตามหลักเสา ตามรั้วบ้านหรือพันต้นไม้อื่น อายุยืนยาวหลายปี มีมือเกาะยึดออกตรงข้ามใบ ลำต้นเล็กยาว เมื่ออายุมากลำต้นหรือเถาจะใหญ่และแข็งแรงมากขึ้น
  • ใบตำลึง เป็นใบเดี่ยว สีเขียว รูปสามเหลี่ยม กว้าง 5 ซม. ยาว 6-7 ซม. สลับข้างกัน ตำลึงตัวผู้ใบหยักเว้าลึก 3-5 หยัก ต่างจากใบของต้นตำลึงตัวเมียที่เป็นรูปสามเหลี่ยม อยู่แยกต้นออกจากกัน
  • ดอกตำลึง สีขาวปลายกลีบ 5 แฉก ข้างในมีเกสรสีเหลืองอ่อน มองคล้ายรูประฆัง
  • ผลตำลึง เป็นรูปไข่คล้ายผลแตงกวาแต่เล็กกว่ามาก กว้าง 1 -2 ซม. ยาว 3-4 ซม. เมื่ออ่อนจะมีสีเขียวมีลายขาว ผลสุกเต็มที่สีแดงสด ภายในมีเมล็ดมากมาย ส่วนตำลึงตัวผู้มีแต่ดอกแต่ไม่มีผล

คุณค่าทางโภชนาการของตำลึง

การศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบและยอดอ่อนตำลึงขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 35 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน กากใยอาหาร 1 กรัม เบตาแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม  ธาตุฟอสฟอรัส และ ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม

นักโภชนาการได้ทำการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของตำลึง ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย วิตามินบี1 0.17 มิลลิกรัม โปรตีน 3.3 กรัม แคลเซียม 126 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 699.88 ไมโครกรัม  ไนอาซีน 1.2 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม  และใยอาหาร 2.2 กรัม

สรรพคุณของตำลึง

เราสามารถนำตำลึงมาใช้ได้ทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็น ใบ ดอก เมล็ด ราก เถา รายละเอียดการใช้ประโยชน์ของตำลึงมีดังนี้

  • ใบของตำลึง เป็นยาลดวามร้อนในร่างกาย นำมาบดเป็นยาพอกผิวหนัง แก้ผื่นคันจากหมามุ้ย ต้นตำแย แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้แมลงสัตว์กัดต่อย รักษาผื่นคันที่เกิดจาก หมามุ่ย ตำแย  นำมารับประทาน แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้จุกเฉียด
  • ดอกของตำลึง นำมาใช้รักษาอาการคันผิวหนัง
  • เมล็ดของตำลึง นำมาผสมกับน้ำมันมะพร้าว ใช้ทาแก้หิด
  • รากของตำลึง นำมาใช้ ลดไข้ แก้อาเจียน ลดความอ้วน แก้ฝี แก้ปวดบวม แก้พิษร้อนใน แก้พิษแมลงป่องหรือตะขาบข่อย
  • เถาของตำลึง นำมาชงกับน้ำดื่มแก้อาการวิงเวียนศรีษะ  นำมาบดใช้พอกผิวหนังแก้โรคผิวหนัง เถาของตำลึงมีสรรพคุณ ลดระดับน้ำตาลในเลือด

นำตำลึงทั้งต้น มาใช้ทั้ง ราก ใบและเถา นิยมนำมาเป็นยารักษาแก้โรคผิวหนัง ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้หลอดลมอักเสบ กำจัดกลิ่นตัว

โทษของตำลึง

สำหรับการบริโภคตำลึงเป็นอาหารไม่พบประวัติการเป็นอันตรายจากการบริโภคตำลึงเป็นอาหาร หรือ การนำมารักษาโรค แต่ตำลึงมีฤทธิ์เป็นยาเย็น เมื่อทาน้ำตำลึงที่ผิวหนังแล้วไม่รู้สึกเย็นแปลว่าไม่ถูกโรค ให้หยุดใช้ทันที การทาน้ำตำลึงไม่ควรถูแรงจนเกินไปในบริเวณที่เป็นผิวบอบบาง เพราะจะทำให้เกิดอาการอักเสบเพิ่มมากขึ้น

ตำลึง ( Lvy Gourd, Coccinia ) คือ สมุนไพร พืชล้มลุก นิยมปลูกริมรั้วบ้าน ประโยชน์และสรรพคุณของตำลึง ช่วยแก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงสายตา รักษาหลอดลมอักเสบ รักษาเบาหวาน แก้แมงสัตว์กัดต่อย ช่วยบำรุงกระดูก บำรุงฟัน ป้องกันมะเร็ง ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงเลือด ใช้ลดไข้ รักษาแผล รักษาหิด


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove