พริกไทย สมุนไพร เมล็ดพริกไทยให้รสเผ็ดร้อน ต้นพริกไทยเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของพริกไทย สรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ โทษของพริกไทย มีอะไรบ้างพริกไทย สมุนไพร สรรพคุณของสมุนไพร สมุนไพรไทย

พริกไทย ภาษาอังกฤษ เรียก Pepper ชื่อวิทยาศาสตร์ของพริกไทย Piper nigrum L. ลักษณะของต้นพริกไทย สายพันธุ์พริกไทย  ประโยชน์ของพริกไทย สรรพคุณของพริกไทย ขับปัสสาวะ ขับสารพิษ ช่วยควบคุมน้ำหนัก ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม บำรุงกระดูก บำรุงฟัน บำรุงสายตา  ยาอายุวัฒนะ ต้านมะเร็ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ขัยเสมหะ ใช้กำจัดเชื้อจุลินทรีย์

ต้นพริกไทย ภาษาอังกฤษ เรียก Pepper มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Piper nigrum Linn พริกไทย มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น พริกน้อย พริก พริกไทยดำ พริกไทยล่อน  พริกขี้นก ชื่อเรียกจะแตกต่างกันออกไปตาม ท้องถิ่น เป็นพืชประจำถิ่นในประเทศอินเดีย และยังเป็น พืชเศรษฐกิจในเขตร้อน ประเทศที่ผลิตพริกไทย จำนวนมาก เช่น เวียตนาม อินโดนีเซีย บราซิล และอินเดีย พริกไทย

พริกไทย นิยมนำมาทำเป็นเครื่องปรุงอาหาร เพิ่มรสชาติ พริกไทยมีสรรพคุณ ช่วยขับปัสสาวะ ขับสารพิษในร่างกาย ช่วยควบคุมน้ำหนัก ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม บำรุงกระดูก บำรุงฟัน บำรุงสายตา  ยาอายุวัฒนะ ต้านมะเร็ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ขับเสมหะ  ใช้กำจัดเชื้อจุลินทรีย์ พริกไทยมีแคลเซียมสูง โดยเฉพาะพริกไทยอ่อน ช่วยในการบำรุงกระดูก บำรุงฟัน ป้องกันโรคกระดูกพรุนได้  พริกไทย มี ฟอสฟอรัสและวิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอกการเสื่อมสภาพของเซลล์ ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง มีเบต้าแคโรทีน ช่วยในการมองเห็น

ลักษณะของต้นพริกไทย

ต้นพริกไทย สามารถปลูกได้ในเขตร้อน หรือในเขตอบอุ่น โดยปกติแล้วสามารถปลูกได้โดยการเพาะเมล็ด หรือ การปักชำ จัดพืชตระกูลไม้เลื้อย ลักษณะของต้นพริกไทยเป็นอย่างไร

  • ลำต้นพริกไทย พริกไทยเจริญในแนวดิ่ง ความสูงประมาณ 500 เซ็นติเมตร ลำต้นจะสร้างรากพิเศษสั้นๆบริเวณข้อเพื่อยึดเกาะสิ่งรอบข้าง ช่วยในการพยุงลำต้น ลำต้นเป็นข้อๆ รากของต้นพริกไทยจะเกิดบริเวณข้อตามลำต้นเป็นรากเล็กๆ
  • ใบพริกไทย ใบจะมีสีเขียว ใหญ่เหมือนใบโพ ใบเดี่ยว รูปรี เรียงสลับ โคนใบและปลายใบแหลม ใบสีเขียวเข้ม
  • ดอกพริกไทย พริกไทยจะดอกเล็กจะออกช่อเป็นพวงตามข้อ ดอกสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน
  • เมล็ดของพริกไทย มีลักษณะกลมเป็นพวง  ลำต้นแตกแขนงออกเป็นพุ่ม ผลทรงกลมแบบเมล็ด ผลอ่อนมีสีเขียวผลสุกมีสีแดง

สรรพคุณของต้นพริกไทย

พริกไทยสามารถนำมาทำสมุนไพร ได้หลายส่วน ประกอบด้วย ดอก เมล็ด ใบ เถา ราก

  • ดอกของพริกไทย มีสรรพคุณช่วยลดความดันตา แก้อาการตาแดงจากความดันโลหิตสูง
  • เมล็ดของพริกไทย มีสรรพคุณช่วยย่อยอาหาร ขับสารพิษในร่างกาย ขับเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ท้องอืด ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ แก้ระดูขาว
  • ใบของพริกไทย มีสรรพคุณ แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง
  • เถาของพริกไทย ใช้ขับเสมหะ แก้ท้องร่วง และท้องเดิน
  • รากของพริกไทย ใช้ขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง ลดอาการวิงเวียน ช่วยย่อยอาหาร ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ
  • น้ำมันหอมระเหยจากพริกไทย สามารถใช้รักษาหวัด ทำให้หายใจสะดวก

พริกไทยยังมีสรรพคุณในการกำจัดเชื้อจุลินทรีย์หลายชนิด และนิยมนำมาถนอมอาหาร เช่น ทำไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ

โทษของพริกไทย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากพริกไทย หากใช้อย่างไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดโทษต่อร่างกายได้ เนื่องจากคุณสมบัติของพริกไทย คือ มีฤทธ์ร้อน รสเผ็ด การรับประทานพริกไทยมีข้อควรระวัง ดังนี้

  • สำหรับผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร โรคเกี่ยวกับกระเพาะและลำไส้ ควรลดการกินพริกไทย เพื่อให้ระบบลำไส้ลดการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร
  • การรับประทานพริกไทยมากเกินไป ทำให้เกิดอาการอักเสบได้ เช่น ตาอักเสบ คออักเสบ เป็นแผลในปาก และ ฟันอักเสบเป็นหนอง เป็นต้น

พริกไทย พืชพื้นบ้าน สมุนไพร นิยมรับประทานเมล็ดพริกไทย ลักษณะของต้นพริกไทยเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของพริกไทย สรรพคุณของพริกไทย เช่น ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ โทษของพริกไทย มีอะไรบ้าง

ยอ สมุนไพรไทย ต้นยอเป็นอย่างไร สรรพคุณของลูกยอ เช่น แก้อาเจียน ช่วยขับลม ช่วยย่อยอาหาร คุณค่าทางโภชนาการของลูกยอ ลูกยอเป็นอันตรายกับคนท้อง ทำให้แท้งลูกได้

ลูกยอ สรรพคุณของลูกยอ สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นยอ ภาษาอังกฤษ เรียก Great morinda , Tahitian noni , Indian mulberry , Beach mulberry ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นยอ คือ Morinda citrifolia L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของต้นยอ เช่น แย่ใหญ่ ตาเสือ มะตาเสือ ยอบ้าน เป็นต้น ต้นยอ เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศแถบโพลีนีเซียตอนใต้ ( Polynesia ) ซึ่งพบได้ทั่วไป ผลยอมีรสชาติเผ็ดร้อนและมีกลิ่นแรง

ลูกยอ มีสารอาหารต่างๆหลากหลาย อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ผลลูกยอมีสารอาหารประกอบไปด้วย คาร์โบไฮเดรต กากใยอาหาร วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี3 ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม กรดไขมัน ลิกนิน พอลิแซ็กคาไรด์ ฟลาโอนอยด์ อีริดอยด์ สโครโปเลติน แอลคาลอยด์ เป็นต้น ซึ่งในทางการแพทย์แผนไทย นิยมใช้ในการรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน ช่วยขับลม และ ช่วยย่อยอาหาร แต่เป็นอันตรายสำหรับสตรีมีครรภ์ อาจทำให้แท้งลูกได้

สายพันธุ์ต้นยอ

สำหรับต้นยอ สามารถแบ่งได้ เป็น 3 สายพันธุ์ ประกอบด้วย citrifolia  , bracteata และ cultivar potteri  รายละเอียด ดังนี้

  • citrifolia พบได้บริเวณหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ฮาวาย ตาฮิติ เป็นต้นสายพันธุ์นี้ลักษณะของผลมีหลายขนาด
  • bracteata พบมากในทวีปเอเชียและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งลักษณะของลูกยอสายพันธุ์นี้มีผลขนาดเล็ก
  • cultivar potteri พบทั่วไปตามหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งสายพันธุ์นี้มีใบเป็นสีเขียวและสีขาว

ลักษณะของต้นยอ

ต้นยอ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลักษณะของผลยอ มีเอกลักษณ์และลักษณะที่ไม่เหมือนใคร ลักษณะของต้นยอ มีดังนี้

  • ลำต้นยอ ความสูงของต้นยอประมาณ 5 เมตร เปลือกของลำต้นบางติดกับเนื้อไม้ เปลือกของลำต้นสีเหลืองนวล หยาบและสากเล็กน้อย
  • ใบยอ ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ซึ่งใบจะแทงออกตรงข้ามกันตามกิ่ง ใบเป็นทรงรี ใบอ่อนมีสีเขียวสด ใบแก่สีเขียวเข้ม ปลายใบแหลม ผิวใบเป็นมัน ลักษณะเป็นคลื่น
  • ดอกยอ ลักษณะดอกเป็นช่อเดี่ยว กลีบดอกสีขาว ลักษณะเป็นหลอด ดอกยอจะแทงออกตามง่ามใบ ผิวดอกด้านนอกเรียบ ส่วนผิวดอกด้านในมีขน
  • ผลยอ ลักษณะกลมรี มีตุ่มทั่วผล ผลอ่อนมีสีเขียวสด ผลแก่เป็นสีเหลืองอมเขียว ภายในลูกยอมีเมล็ดมีจำนวนมาก ซึ่งลักษณะของเมล็ดยอ ลักษณะแบน สีน้ำตาลเข้ม

คุณค่าทางโภชนาการของยอ

สำหรับสารอาหารต่างๆที่มีประโยชน์ของยอ ใช้ประโยชน์จากลูกยอและใบยอ ลูกยอสุก สามารถรับประทานได้ กินกับเกลือ หรือ กะปิ สามารนำมาคั้นน้ำลูกยอ ใช้ดื่มเป็นยาลดความดันโลหิต ส่วนใบอ่อนยอ สามารถรับประทานเป็นผักสด โดยใบอ่อนยอนำมาลวกกินกับน้ำพริก ต้มแกงจืด ทำแกงอ่อม เป็นต้น ลูกยอ มีสารเคมีหลายชนิด เช่น ลิกนัน โพลีแซคคาไรด์ ฟลาโอนอยด์ อีริดอยด์ กรดไขมัน สโคโปเลติน และ อัลคาลอยด์ เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของใบยออ่อน ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 11.1 กรัม โปรตีน 3.8 กรัม ไขมัน 0.8 กรัม กากใยอาหาร 1.9 กรัม แคลเซียม 350 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 86 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.9 มิลลิกรัม วิตามินเอ 9,164 หน่วยสากล วิตามินบี1 0.3 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.14มิลลิกรัม และ วิตามินซี 78 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของผลยอดิบ ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 7.5 กรัม โปรตีน 0.5 กรัม กากใยอาหาร 1.1 กรัม แคลเซียม 39 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 17 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.4 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.06 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.04มิลลิกรัม และ วิตามินซี 208 มิลลิกรัม

สรรพคุณของยอ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากยอ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ใบยอ ผลยอ รากยอ และ น้ำมันสกัดจากเมล็ดยอ สรรพคุณของยอ มีดังนี้

  • ผลยอ สรรพคุณช่วยชะลอวัย ช่วยบำรุงผิวพรรณ บำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ ช่วยลดความดัน ช่วยขยายหลอดเลือด รักษาวัณโรค ช่วยขับสารพิษในร่างกาย ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ข่วยผ่อนคลาย บำรุงธาตุไฟ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี บำรุงสมอง รักษาสิวแก้เวียนหัว รักษาแผลในปาก แก้เจ็บคอ แก้ปวดฟัน แก้คลื่นไส้อาเจียน ช่วยขับเสมหะ ช่วยขับลม แก้ท้องอืด แก้ท้องร่วง ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับประจำเดือน รักษาแผล
  • น้ำลูกยอ สรรพคุณช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ ช่วยขยายหลอดเลือด ช่วยลดความดัน
  • ใบยอ สรรพคุณช่วยรักษาเบาหวาน ช่วยลดความดัน รักษาวัณโรค แก้กระษัย แก้เบื่ออาหาร บำรุงสายตา รักษาโรคมาลาเรีย แก้ปวดหัว รักษาแผล แก้ปวดตามข้อกระดูก กำจัดเหา
  • ลำต้นยอ สรรพคุณช่วยลดความดัน รักษาโรคดีซ่าน
  • รากยอ สรรพคุณแก้กระษัย รักษาแผลอักเสบ
  • น้ำมันสกัดจากเมล็ดยอ สรรพคุณลดอาการอักเสบ ช่วยป้องกันแมลง รักษาสิว กำจัดเหา

โทษของยอ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากยอ ต้องใช้อย่างถูกวิธีและใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งเมล็ดยอ มีความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ ลูกยอ สรรพคุณช่วยขับประจำเดือน สำหรับสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน อาจทำให้เสียเลือด และ แท้งลูกได้

ยอ สมุนไพรไทย ลักษณะของต้นยอเป็นอย่างไร สรรพคุณของลูกยอ เช่น แก้อาเจียน ช่วยขับลม ช่วยย่อยอาหาร คุณค่าทางโภชนาการของลูกยอ โทษของลูกยอ เป็นอันตรายกับคนท้อง ทำให้แท้งลูกได้


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove