หมามุ่ย หมามุ้ย ( Cowitch ) สมุนไพร พืชตระกูลถั่ว คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงประสาท รักษาพากินสัน ข้อควรระวังและโทษของหมามุ้ยมีอะไรบ้างหมามุ่ย หมามุ้ย สมุนไพร เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

หมามุ่ย หรือ หมามุ้ย ภาษาอังกฤษ เรียก Cowitch ชื่อวิทยาศาสตร์ของหมามุ้ย คือ  Mucuna pruriens (L.) DC. สมุนไพร พืชตระกูลถั่ว ชื่อเรียกอื่นๆของหมามุ้ย คือ บะเหยือง หม่าเหยือง ตำแย โพล่ยู กลออือแซ เป็นต้น

ต้นหมามุ้ย มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน พบในทวีปแอฟริกา และ ทวีปเอเชีย เช่น ประเทศไทย อินเดีย จีน พม่า ลาว กัมพูชา เป็นต้น สำหรับสายพันธ์หมามุ้ย มีหลายสายพันธ์ ที่รู้จักกันดี เป็น หมามุ้ยไทย และ หมามุ้ยอินเดีย

ความแตกต่างของหมามุ่ยไทยและหมามุ้ยอินเดีย

แตกต่างกับอย่างชัดเจน ที่ลักษณะรูปร่าง หมามุ้ยไทย หากสัมผัสโดย จะรู้สึกคันมาก แต่ หมามุ้ยอินเดีย ความคันจะน้อย ส่วนเรื่องของสรรพคุณทางสมุนไพร สรรพคุณของหมามุ้ยอินเดีย มีสูงกว่า หมามุ้ยไทย หมามุ้ยอินเดีย มีการนำมาศึกษาและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย เช่น แคปซูลหมาหมุ่ย เป็นต้น

หมามุ่ย สมุนไพร ชนิดพืชเถา มีขนปกคลุมมากมาย ซึ่ง ขนของหมามุ่ย มีสารเคมีที่เป็นพิษ ชื่อ สารเซโรโทนิน ( Serotonin ) หากสัมผัสผิวกายของมนุษย์จะทำให้รู้สึกคัน เมล็ดหมามุ่ย มีสารเคมี ชื่อ สารแอลโดปา ( L-Dopa ) สารเคมีนี้มีประโยชน์ต่อระบบสืบพันธุ์ และ ระบบประสาท ช่วยรักษาโรคพาร์กินสัน ได้ด้วย ซึ่งมีการนำเอาเมล็ดของหมามุ้ยมาสกัดเป็นยา แต่เมล็ดหมามุ้ยไม่สามารถกินสดๆได้

ลักษณะของต้นหมามุ่ย

หมามุ้ย เป็น พืชล้มลุก ชนิดไม้เถา จัดเป็น สมุนไพรตระกลูถั่ว ลักษณะของต้นหมามุ่ย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นของหมามุ่ย เป็นลักษณะเครือ มีความยาว 3 ถึง 10 เมตร มีสีน้ำตาล
  • ใบของหมามุ่ย รูปร่างคล้ายรูปไข่ โคนใบกลม ตัวใบบาง และ มีขนปกคลุมทั้งสองด้านของใบ
  • ดอกของหมามุ่ย ดอกมีกลิ่นฉุน สีม่วงอมดำ ดอกออกเป็นช่อ ออกดอกตามง่ามของใบ กลีบดอกเหมือนถ้วย มีสีน้ำตาล มีขนปกคลุม
  • ฝักของหมามุ่ย คือ ผลของหมามุ่ย ลักษณะเป็นฝัก ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร มีขนอ่อนๆปกคลุม
  • ฝักแก่ของหมามุ่ย ขนของฝักแก่ของหมามุ่ยเป็นพืชที่มีพิษ เมื่อผิวหนังของคนสัมผัสกับขนพิษ จะทำให้ผิวหนังบวมแดง คันและ ปวดแสบปวดร้อน
  • เมล็ดของหมามุ่ย อยู่ในฝักแก่ของหมามุ่ย มี 4 – 7  เมล็ด ต่อ หนึ่งฝัก เมล็ดมีสีน้ำตาลเข้ม หรือ สีดำ

คุณค่าทางโภชนาการของหมามุ่ย

นักวิทยาศาสตร์ ได้ศึกษาสารอาหารและสารสำคัญในเมล็ดหมามุ่ย พบว่า มี กรดอะมิโนที่จำเป็น ถึง 18 ชนิด และ แร่ธาตุ 8 ชนิด ได้แก่ แคลเซียม ทองแดง ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม โซเดียม และ สังกะสี คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดหมามุ่ย พบว่า มี โปรตีน 29.14% ไขมัน 5.05% และ กากใยอาหาร 8.68 %

สรรพคุณของหมามุ่ย

หมามุ้ย มีประโยชน์ทางการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย มากมาย สามารถใช้ประโยชน์จากหมามุ้ย ทั้ง เมล็ด ราก และ ใบ โดยรายละเอียดของ สรรพคุณของหมามุ้ย ดังนี้

  • ใบของหมามุ้ย ใช้เป็นยาพอกรักษาแผล
  • เมล็ดของหมามุ่ย ใช้เป็น ยาบำรุงกำลัง ทำให้ร่างกายสดชื่น ช่วยทำให้นอนหลับสบาย เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ กระตุ้นการผลิตอสุจิ ช่วยเพิ่มคุณภาพของน้ำอสุจิ ช่วยให้มีลูก ช่วยกระตุ้นความต้องการทางเพศ ช่วยให้อวัยวะเพศแข็งตัว ช่วยชะลอการหลั่ง ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเพศ ช่วยให้หน้าอกเต่งตึง ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ช่วยกระชับช่องคลอด ช่วยรักษาโรคพาร์กินสัน ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย
  • รากของหมามุ้ย ช่วยแก้ไอ แก้อาการคัน  ใช้ถอดพิษ

ข้อควรระวังในการบริโภคหมามุ่ย

  • การเก็บรักษาหมามุ้ย ให้เก็บฝักแก่ โดยฉีดน้ำให้เปียกก่อน และสวมถุงมือป้องกัน เก็บฝักหมามุ่ย เมื่อได้ ให้นำ เมล็ดหมามุ่ย มาคั่วไฟ และ ล้างน้ำ
  • การใช้ประโยชน์จากเมล็ดของหมามุ่ย ต้องนำเมล็ดหมามุ่ยไปคั่วให้สุกก่อน หากไม่นำมาทำให้สุก จะเป็นพิษ ทำให้ประสาทหลอน
  • การกินหมามุ้ย ต้องกินในปริมาณที่เหมาะสม ต้องไม่กินให้มากเกินไป เพราะจะเป็นพิษ
  • หมามุ่ยไม่ควรรับประทาน ใน เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และ ผู้ป่วยทางจิตเวช
  • ขนจากฝักหมามุ่ย มีพิษ ทำให้เกิดอาการคัน ระคายเคือง ทำให้ เป็นผื่นแดง ปวด และ บวม
  • คนที่มีอาหารแพ้พืชตระกูลถั่ว ห้ามกินหมามุ่ย

หมามุ่ย หมามุ้ย ( Cowitch ) สมุนไพร พืชตระกูลถั่ว คุณค่าทางโภชนาการของหมามุ้ย สรรพคุณของเมล็ดหมามุ้ย เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงระบบประสาท รักษาโรคพากินสัน ข้อควรระวังในการบริโภคหมามุ้ย โทษของหมามุ้ย

อบเชย เปลือกอบเชยมีกลิ่นหอมนำมาทำเครื่องเทศ อบเชย มี 5 ชนิด อบเชยเทศ อบเชยจีน อบเชยญวน อบเชยชวา อบเชยไทย สรรพคุณลดความดัน ลดน้ำตาลในเลือด ต้านเชื้อโรคต่างๆอบเชย สมุนไพร สมุนไพรในครัว ต้นอบเชย

อบเชย สมุนไพรเครื่องเทศ กลิ่นหอม อบเชยมีฤทธิ์ลดความดัน ลดน้ำตาลและไขมันในเลือด ลดการหดเกร็งของหลอดลม ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และ กระเพาะอาหาร มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา แก้ปวดและช่วยทำให้แผลหายเร็ว อบเชยจะใช้เปลือกไม้ชั้นในที่แห้งแล้วนำมาใช้ประโยชน์

ต้นอบเชย นิยมใช้ทำเครื่องแกง เช่น พริกแกงกะหรี่ หรือใช้ร่วมกับโป๊ยกั้ก นำมาต้มน้ำแกง เช่น พะโล้และเนื้อตุ๋น หรือใส่อบเชยในของหวาน บดละเอียดโรยหน้ากาแฟใส่นม เป็นต้น อบเชย ภาษาอังกฤษ เรียก Cinnamon ชื่อวิทยาศาสตร์ของอบเชย คือ Cinnamomum spp. ชื่อเรียกอื่นๆของอบเชย เช่น บอกคอก พญาปราบ สะวง ฝักดาบ สุรามิด กระแจกโมง โมงหอม กระเจียด เจียดกระทังหัน อบเชยต้น มหาปราบ เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของอบเชย

สำหรับอบเชยชนิดผงขนาด 10 กรัม ให้พลังงานถึง 24.7 แคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย ไขมัน 0.12 กรัม คาร์โบไฮเดรท 8.06 กรัม และ โปรตีน 0.4 กรัม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของอบเชย

อบเชย คือ เครื่องยาหรือเครื่องเทศ ได้จากเปลือกของอบเชย ลอกเปลือกชั้นในออกจากแก่นลำต้น และใช้มีดกรีดตามยาวของกิ่ง จากนั้นนำไปตากแดดประมาณ 5 วัน เปลือกของอบเชยจะเป็นสีน้ำตาลอ่อนเหมือนสีสนิม มีรสสุขุม เผ็ด หวานเล็กน้อย และมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สำหรับอบเชย มีหลายชนิด แต่ที่นิยมใช้กัน มี 5 ชนิด คือ อบเชยเทศ อบเชยจีน อบเชยญวน อบเชยชวาและอบเชยไทย

ชนิดของอบเชย

สำหรับ ต้นอบเชย นั้นมีอยู่หลายชนิด โดยแต่ละชนิดก็มีคุณภาพที่แตกต่างกัน อบเชยญวนจะมีคุณภาพสูงสุด รองลงมา คือ อบเชยจีน และ อบเชยเทศ แต่อบเชยแต่ละชนิดจะมีสรรพคุณทางยาที่ใกล้เคียงกัน สามารถนำมาใช้แทนกันได้ เราจะแนะนำอบเชย 5 ชนิด คือ อบเชยเทศ อบเชยจีน อบเชยญวน อบเชยชวา และ อบเชยไทย โดยรายละเอียด ดังนี้

  • อบเชยเทศ หรือ อบเชยลังกา อบเชยชนิดนี้มาจากประเทศอินเดียและศรีลังกา มีราคาแพงที่สุด จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เปลือกลำต้นเป็นสีเทาและหนา กิ่งขนานกับพื้นและตั้งชันขึ้น ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันตามลำต้น ใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ ใบหนา ผิวใบเรียบมัน สีเขียวเข้ม  ดอกอบเชยออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง มีขนาดเล็ก สีเหลือง มีกลิ่นหอม ผลเป็นสีดำ คล้ายรูปไข่ ผิวเปลือกเรียบ
  • อบเชยจีน ขนาดของลำต้นใหญ่กว่าอบเชยเทศ เปลือกหนาหยาบกว่า และ มีสีเข้มกว่าอบเชยเทศ รสชาติจะอ่อนที่สุดในบรรดาอบเชยทุกชนิด นิยมนำมาทำเป็นยาสมุนไพร
  • อบเชยญวน กลิ่นจะหอมไม่เท่ากับอบเชยเทศ มีรสหวานแต่ไม่ค่อยหอม ปลูกได้ดีมากในประเทศไทย และ ประเทศไทยส่งออกอบเชยชนิดนี้เป็นหลัก
  • อบเชยชวา มีกลิ่นหอมแต่น้อยกว่าอบเชยเทศ แต่เป็นอบเชยที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน
  • อบเชยไทย เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลของจังหวัดระนอง

สรรพคุณของอบเชย

สำหรับประโยชน์ของอบเชย สามารถใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่ เนื้อไม้ เปลือก ใบ ราก เมล็ด โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เปลือกอบเชย สรรพคุณ คือ เป็นยาบำรุงร่างกาย ทำให้เลือดหมุนเวียนดี แก้ปวดศีรษะ แก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยชูกำลัง ยาบำรุงกำลัง บำรุงตำ บำรุงไต บำรุงม้าม บำรุงหัวใจ  ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร ช่วยย่อยสลายไขมัน ช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือด ช่วยต้านมะเร็ง เป็นยาแก้ไข้หวัด ไข้สันนิบาต แก้อาการหวัด แก้อาการไอ แก้คลื่นไส้อาเจียน ช่วยขับลม แก้ท้องเสีย  ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร เป็นยาถ่าย ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน ช่วยขับน้ำคาวปลา  แก้ปวดประจำเดือน แก้ตับอักเสบ  ช่วยแก้อาการปวด แก้ปวดหลัง
  • ใบอบเชย สรรพคุณ คือ แก้ไข้สำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยขับลม เป็นยาฆ่าเชื้อ ยาทาแผลถอนพิษของยางน่อง เป็นยาพอกแก้อาการปวดรูมาติสซั่ม
  • รากอบเชย สรรพคุณ คือ แก้ไข้สำหรับสตรีหลังคลอด แก้อาการปวดฟัน รากนำมาต้มสำหรับสตรีกินหลังการคลอดบุตร ช่วยลดไข้หลังการผ่าตัด
  • เมล็ดอบเชย สรรพคุณ คือ ยาแก้ไอสำหรับเด็ก เป็นยาแก้บิดสำหรับเด็ก

โทษของอบเชย

การบริโภคอบเชยมีข้อควรระวังอยู่บ้าง เนื่องจากอบเชยเป็น สมุนไพรมีกลิ่นหอม มีน้ำมันหอมระเหย โดยข้อควรระวังในการบริโภคอบเชย มีดังนี้

  • อบเชยมีน้ำมันส่งผลให้อาการคลื่นไส้อาเจียน และเป็นอันตรายต่อไต สำหรับผู้ป่วยมีไข้ ตัวร้อน ปัสสาวะขัด ปัสสาวะเป็นเลือด อุจจาระแข็ง เป็นโรคริดสีดวงทวาร เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ขวบ และสตรีมีครรภ์ ห้ามรับประทานอบเชย
  • สำหรับ อบเชยจีน เป็นสมุนไพรที่ค่อนข้างปลอดภัย แต่อบเชยจีนมีสารคูมารินซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อตับ และการได้รับสารนี้ในปริมาณมากเกินไปอาจมีปัญหาต่อตับ สำหรับคนที่ป่วยเกี่ยวกับโรคตับ ไม่ควรรับประทานอบเชย

อบเชย พืชท้องถิ่น เปลือกของอบเชยมีกลิ่นหอม นำมาทำเครื่องเทศ อบเชย มี 5 ชนิด คือ อบเชยเทศ อบเชยจีน อบเชยญวน อบเชยชวา และ อบเชยไทย สรรพคุณของอบเชย เช่น ลดความดัน ลดน้ำตางในเลือด ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove