กัญชง สมุนไพร กัญชงกับกัญชาต่างกันอย่างไร ต้นกัญชงเป็นอย่างไร สรรพคุณเป็นยาบำรุงเลือด ช่วยให้ผ่อนคลาย สำหรับคนนอนไม่หลับ แก้วิงเวียนหัว รักษาไมเกรน สลายนิ่วได้กัญชง ต้นกัญชง สมุนไพร สรรพคุณของกัญชง

ต้นกัญชง มีชื่อสามัญ ว่า Hemp ออกเสียงว่า เฮมพ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ของกัญชง คือ Cannabis sativa L. subsp. Sativa เป็นพืชในตระกูลเดียวกับกัญชา ชื่อเรียกอื่นๆของกัญชง คือ หมั้ง หรือ ม่าง เป็นต้น  ต้นกัญชง เป็นพืชที่ใช้ในทางพิธีกรรมต่างๆของชาวม้ง และ ยังสามารถนำเส้นใยของต้นกัญชงมาใช้ประโยชน์ต่างๆมากมาย เช่น ทำเป็นเส้นด้าย ทำเส้นเชือก ตลอดจนใช้ทอผ้า ทำเครื่องนุ่งห่ม

ลักษณะของต้นกัญชง

ต้นกัญชง เป็นพืชตระกูลเดียวกับกัญชา แต่ไม่จัดว่าเป็นยาเสพติด การปลูกต้นกัญชงจะใช้เมล็ด มีแหล่งกำเนิดในเอเชียกลางและแพร่กระจายไปสู่เอเชียตะวันออก อินเดีย และในทวีปยุโรป เป็นพืชไม้ล้มลุก อายุสั่น ซึ่งอายุของต้นกัญชงหนึ่งต้นอายุเพียงหนึ่งปี ลักษณะของลำต้น ราก ใบ ดอก และผลของกัญชง มีดังนี้

  • ลำต้นของกัญชง ลักษณะตั้งตรง มีสีเขียว ความสูงประมาณไม่เกิน 6 เมตร ลำต้นอุ้มน้ำได้ดี
  • รากของกัญชง เป็นระบบรากแก้ว มีรากแขนงเป็นจำนวนมาก
  • ใบของกัญชง เป็นใบเดี่ยว เป็นลักษณะเหมือนรูปฝ่ามือ ใบเป็นแฉกมีประมาณไม่เกิน 9 แฉกต่อหนึ่งใบ ขอบใบเหมือนใบเลื่อย ปลายใบเรียวแหลม ก้านใบยาวประมาณ 7 เซนติเมตร
  • ดอกกัญชง จะออกดอกตามซอกใบและปลายยอด ออกดอกเป็นช่อ มีสีขาวขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 มิลลิเมตร
  • ผลกัญชง มีลักษณะเป็นรูปไข่ กลมรี ผิวเรียบมัน มีลายสีน้ำตาล ผลเป็นเมล็ดแห้งสีเทา ภายในเมล็ด มีสารอาหารจำพวกแป้งและไขมัน จำนวนมาก

สรรพคุณของกัญชง

การใช้ประโยชน์ของกัญชง ด้านสมุนไพร และการรักษาโรคนั้น จะใช้ เมล็ด และ ใบ โดยรายละเอียดของกัญชง มีดังนี้

  • ใบกัญชง สามารถนำมาทำเป็น ยาบำรุงโลหิต ช่วยทำให้ผ่อนคลาย แก้ปัญหานอนไม่หลับ รักษาอาการวิงเวียนศีรษะ แก้ปวดหัว รักษาไมเกรน แก้กระหาย รักษาโรคท้องร่วง รักษาโรคบิด แก้ปวด ช่วยบรรเทาอาการเจ็บ ช่วยคลายกล้ามเนื้อ รักษาโรคเกาต์
  • เมล็ดของกัญชง ใช้เป็นยาสลายนิ่ว สกัดเอาน้ำมันมาช่วยบำรุงผิวแห้ง รักษาโรคผิวแห้ง รักษาโรคสะเก็ดเงิน

ประโยชน์ของกัญชง

นอกจากสรรพคุณด้านสมุนไพรของกัญชง แล้ว ประโยชน์ด้านอื่นๆของกัญชง มีมากมาก ซึ่งให้ เปลือกของลำต้น เนื้อไม้ เมล็ด และใบ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เปลือกของกัญชง นำมาทำเส้นใย ใช้ทำเป็นเชือกและเส้นด้าย สำหรับการทอผ้าและเครื่องนุ่งห่ม
    เนื้อไม้ของกัญชง นำมาทำกระดาษได้
  • เมล็ดของกัญชง นำมากัดเอาน้ำมัน ซึ่งน้ำมันจากเมล็ดกัญชง สามารถนำไปผลิต สบู่ เครื่องสำอาง ครีมกันแดด แชมพู โลชั่นบำรุงผิว ลิปสติก ลิแผ่นมาส์กหน้า รวมถึงเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง

ความแตกต่างระหว่างกัญชงและกัญชา

โดยทั่วไปแล้ว รูปลักษณ์ หน้าตา ของกัญชา และ กัญชง เหมือนกันมาก แต่สรรพคุณของกัญชงและกัญชา แตกต่างที่ประโยชน์ของพืช การแยกกัญชงกับกัญชาจึงเป็นเรื่องของจุดประสงค์ในการใช้งานจากพืชมากกว่า และนั่นน่าจะเป็นเส้นแบ่งที่ดีที่สุดที่ทำได้

กัญชง พืชพื้นบ้านของชาวม้ง สมุนไพร ตระกลูกัญชา กัญชงกับกัญชาต่างกันอย่างไร ต้นกัญชงเป็นอย่างไร สรรพคุณของกัญชง เป็นยาบำรุงเลือดช่วยให้ผ่อนคลาย สำหรับคนนอนไม่หลับ แก้วิงเวียนศีรษะ รักษาไมเกรน สลายนิ่วได้

แก้วมังกร ( dragon fruit ) ลักษณะของต้นแก้วมังกร คุณค่าทางโภชนาการ ผลไม้ขึ้นชื่ิอของเวียดนาม สรรพคุณบำรุงผิว ลดความอ้วน โทษของแก้วมังกร มีอะไรบ้างแก้วมังกร สมุนไพร สรรพคุณของแก้วมังกร โทษของแก้วมังกร

แก้วมังกร ภาษาอังกฤษ เรียก dragon fruit ชื่อวิทยาศาสตร์ของแก้วมังกร คือ Hylocereus undatus (Haw) Britt. Rose. เป็นผลไม้ขึ้นชื่ิอของเวียดนาม มีเนื้อมาก รสหวาน คุณค่าทางอาหารสูง

ต้นแก้วมังกร เป็นพืชล้มลุก ประเภทไม้เลื้อย ตระกูลเดียวกับกระบองเพชร มีถิ่นกำเนิดจากทวีปอเมริกากลาง และมีการนำเข้ามาเอเชียครั้งแรก ที่ประเทศเวียดนาม แหล่งเพาะปลูกแก้วมังกรสำคัญของไทย คือ จันทบุรี ชลบุรี กาญจนบุรี สระบุรี และ สมุทรสงคราม แก้วมังกร จะออกผลผลิตในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี สรรพคุณเด่นของแก้วมังกร คือ ช่วยกระตุ้นระบบขับถ่าย ลดไขมันในเส้นเลือด รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ รักษาโรคเบาหวาน แก้ท้องผูก ช่วยลดน้ำหนัก ป้องกันโรคมะเร็งเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด ลดความดันโลหิต ป้อกงันโรคโลหิตจาง ช่วยขับสารพิษ ช่วยให้นอนหลับ เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกศาสตร์ของแก้วมังกร

ต้นแก้วมังกร เป็นพืชล้มลุก โดย ลักษณะของราก ลำตัน ดอกและผล มีลักษณะทั่วไป ดังนี้

  • รากของแก้วมังกร มีรากเป็นรากฝอย ขนาดเล็ก แทงลึกลงดิน
  • ลำต้นของแก้วมังกร มีลำต้นคล้ายต้นกระบองเพชร เป็นสามเหลี่ยม อวบน้ำ ขอบมีรอยหยักเป็นระยะๆ ลำต้นเป็นปล้องๆ มีหนาม ผิวลำต้นมีสีเขียว
  • ดอกของแก้วมังกร เป็นดอกเดี่ยว ขึ้นบริเวณส่วนปลายของปล้องสุดท้าย แก้วมังกรจะออกดอกประมาณ 8 ถึง 10 เดือน ดอกแก้วมังกรในระยะแรกจะเป็นตุ่มสีเขียว เมื่อดอแก้วมังกรสมบูรณ์พร้อม จะบานออกกลีบเลี้ยงจะมีสีเขียวอ่อน รูปร่างทรงกรวย คล้ายกับดอกโบตั๋น ดอกแก้วมังกรจะบานเวลากลางคืน และจะหุบในช่วงเช้า
  • ผลแก้วมังกร ลักษณะของผลแก้วมังกรเป็นทรงกลมรี เปลือกสีบานเย็น เปลือกหนา ผิวเปลือกปกคลุมด้วยกลีบเลี้ยง สีเขียว เนื้อของแก้วมังกรมีสีขาวหรือสีแดง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก

สายพันธุ์แก้วมังกร

สำหรับแก้วมังกรที่นิยมปลูกกัน มี 3 สายพันธุ์ ประกอบด้วย แก้วมังกรพันธ์เนื้อขาวเปลือกแดง แก้วมังกรพันธ์เนื้อขาวเปลือกเหลือง และ แก้วมังกรพันธ์เนื้อแดงเปลือกแดง โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • แก้วมังกรพันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Hylocercus undatus (Haw) Brit. & Rose. เปลือกจะมีสีชมพูสด กลีบสีเขียว รสชาติของเนื้อจะมีรสหวานอมเปรี้ยว
  • แก้วมังกรพันธุ์เนื้อขาวเปลือกเหลือง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Hylocercus megalanthus ผลจะมีขนาดเล็ดกว่าพันธ์อื่นๆ มีเปลือกสีเหลือง เนื้อสีขาว และเมล็ดจะมีขนาดใหญ่ รสชาติของเน้ือจะหวาน
  • แก้วมังกรพันธุ์เนื้อแดงเปลือกแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Hylocercus costaricensis เปลือกจะมีสีแดงจัด เนื้อก็มีสีแดงภายในมีเมล็ดจำนวนมาก รสชาติหวาน

คุณค่าทางอาหารของแก้วมังกร

มีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลแก้วมังกรขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 67.70 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 1.10 กรัม ไขมัน 0.57 กรัม น้ำตาลกลูโคส 5.70 กรัม น้ำตาลฟรูทโทส 3.20 กรัม ซอร์บิทอล 0.33 กรัม คาร์โบไฮเดรท 11.20 กรัม กากใยอาหาร 1.34 กรัม วิตามินซี 3 มิลลิกรัม ไนอาซิน 2.8 มิลลิกรัม วิตามินเอ 0.01 มิลลิกรัม แคลเซียม 10.2 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.37 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 38.9 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 27.5 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 272.0 มิลลิกรัม โซเดียม 8.9 มิลลิกรัม และ สังกะสี 0.35 มิลลิกรัม

จะเห็นได้ว่าแก้วมังกร อุดมไปด้วย วิตามินและแร่ธาตุ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หลายชนิด ทั้ง วิตามินซี วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น  แก้วมังกรจึงถูกจัดว่าเป็นอาหารเพื่อสุขภาพชนิดหนึ่ง

สรรพคุณของแก้วมังกร

สำหรับการใช้ประโยชน์ของแก้วมังกร เรานำผลของแก้วมังกรมาบริโภค เพื่อประโยชน์ต่างๆ โดย สรรพคุณของแก้วมังกร มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง สดใส ชุ่มชื่น เพราะมีวิตามินซีสูง
  • ช่วยคลายร้อน ดับกระหาย
  • ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
  • ช่วยควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากมีแคลอรีต่ำ และกากใยอาหารสูง
  • ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ
  • ช่วยชะลอวัย ลดริ้วรอยต่างๆ
  • ป้องกันโรคหัวใจ
  • ช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด
  • รักษาโรคเบาหวาน
  • ช่วยลดความดันโลหิต
  • ช่วยบรรเทาอาการของโรคโลหิตจาง
  • ช่วยกระตุ้นการขับน้ำนม
  • ช่วยดูดซับสารพิษที่ตกค้างในร่างกาย เช่น ตะกั่วที่มาจากควันท่อไอเสีย ยาฆ่าแมลง เป็นต้น
  • ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
  • ช่วยในการขับถ่าย แก้อาการท้องผูก
  • ช่วยให้ผ่อนคลาย และ ช่วยให้นอนหลับง่าย

ข้อควรระวังในการกินแก้วมังกร

สำหรับข้อควรระวังในการกินแก้วมังกร มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • แก้วมังกร เป็นผลไม้เย็น หากบริโภคมากเกินไป จะทำให้มือเท้าเย็น ท้องเสียง่าย
  • สำหรับสตรีมีประจำเดือน ไม่ความกินแก้วมังกรมาก เนื่องจากความเย็นของแก้วมังกรมีผลต่อเลือดจับตัวเป็นก้อน ทำให้ประจำเดือนขัด
  • แก้วมังกรห้ามกินคู่กับนมสด เพราะจะทำให้อาหารไม่ย่อย

การเพาะปลูกแก้วมังกร

แก้วมังกร เป็นไม้เลื้อย ต้องมีหลักสำหรับให้ต้นแก้วมังกรยึดเกาะ นิยมใช้ไม้เนื้อแข็งหรือเสาซีเมนต์ ระยะปลูก 3 x 3 เมตร โดยให้เตรียมหลุมขนาด 30 x 30 x 30 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักเก่า นำกิ่งพันธุ์ลงหลุมแล้วมัดกิ่งพันธุ์ให้แนบหลักและกันแดดให้ 1 – 2 สัปดาห์ แก้วมังกร เป็นพืชที่เติบโตได้ทุกสภาพดิน แต่จะชอบดินร่วน ดินร่วนปนทราย และไม่ชอบดินชื้น และน้ำท่วมขัง พื้นที่มีการระบายน้ำดี


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove