งาดำ สมุนไพร เมล็ดงาดำนิยมนำมาบริโภค ลักษณะของต้นงาดำเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของงาดำ สรรพคุณช่วยชะลอวัย บำรุงผิวพรรณ บำรุงผม โทษของงาดำ มีอะไรบ้าง

งาดำ สมุนไพร สรรพคุณของงาดำ

งาดำ ( Sesamum ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของงาดำ คือ Sesamum indicum L สมุนไพร คุุณค่าทางโภชนาการของงาดำ สรรพคุณของงาดำ ช่วยชะลอความแก่  ช่วยบำรุงผิว ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ช่วยซ่อมแซมผิวพรรณ ช่วยบำรุงรากผม ช่วยให้ผมดกเงางาม ช่วยป้องกันการเกิดผมหงอก ช่วยบำรุงกำลัง ช่วยสลายไขมัน ใช้ลดความอ้วน ช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในร่างกาย

นอกจากนั้น งาดำยังมีสรรพคุณ ช่วยป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยบำรุงสมอง ช่วยบำรุงโลหิต ลดความดันโลหิต ช่วยขยายหลอดเลือด ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว ช่วยให้นอนหลับสบาย  ป้องกันโรคหวัด ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยบรรเทาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยป้องกันโรคข้อเสื่อม เป็นยาระบายอ่อนๆ  งาดำสามารถช่วยบำรุงร่างกาย ได้มากมาย เช่น ผม ผิว กระดูก เล็บ การขับถ่าย ระบบเลือด บำรุงหัวใจ หรือผู้หญิงวัยทอง ซึ่งงาดำช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ได้ดี

งาดำ ถือเป็นพืชชนิดพืชล้มลุก งาดำ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Sesamum indicum L งาเป็นพืชท้องถิ่นของเอเชีย และแถบตะวันออกของทวีปแอฟริกา ในปัจจุบันสามารถพบงานได้ในประเทศเขตร้อน ต้นงา จะมีความสูงประมาณ 2 เมตร เมื่อผลของงาเแห้งจะมีเมล็ดเล็กๆสีดำ สามารถนำมารับประทานได้ งาถือว่าเป็นพืชที่มีประโยชน์มาก หากรับประทานอย่างต่อเนื่องจะทำให้ร่างกายแข็งแรง ในงาดำ จะมาสารอาหารมากมายประกอบด้วย วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 วิตามินบี9 ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุสังกะสี และธาตุเหล็ก

ลักษณะของต้นงาดำ

ต้นงาดำ เป็นพืชล้มลุก เป็นไม้เนื้ออ่อน มีขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรงถึงยอด ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยมสีเขียวเข้มปนม่วง มีร่องตามยาวและมีขนปกคลุม อวบน้ำ สูงประมาณ 0.5-2 เมตร ใบมีลักษณะคล้ายกับใบหญ้างวงช้าง มีขนตลอดทั้งใบ เป็นใบเดียวรูปไข่ หรือรูปหอก ขอบใบเป็นจัก ใบมีสีเขียวอ่อนไปจนถึงเขียวเข้ม บางพันธุ์ใบอาจเป็นสีเหลือง ก้านใบยาว 5 เซนติเมตร ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลุ่มละ 1-3 ดอก ก้านดอกสั้น กลีบรองดอกมี 5 แฉก กลีบดอกมีสีขาว ขาวอมชมพู หรือม่วงอ่อน ผลหรือฝักขนาดค่อนข้างกลม รูปทรงกระบอกหรือแบน มีขนสั้น ๆ ปกคลุมรอบฝัก ปลายฝักมีจงอยแหลม เมล็ดมีรูปไข่ งาดำจะมีเมล็ดเป็นสีดำขนาดใหญ่กว่าเม็ดแมงลักเล็กน้อย ส่วนงาขาวจะมีสีนวล

คุณค่าทางโภชนาการของงาดำ

นักวิชาการได้ศึกษางาดำขนาด 100 กรัม พบว่า คุณค่าทางโภชนาการของงาดำต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 573 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 23.45 กรัม กากใยอาหาร 11.8 กรัม โปรตีน 17.73 กรัม น้ำ 4.69 กรัม น้ำตาล 0.30 กรัมไขมันรวม 49.67 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 18.759 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 21.773 กรัม กรดไขมันอิ่มตัว 6.957 กรัม
กรดกลูตามิก 3.955 กรัม กรดแอสพาร์ติก 1.646 กรัม เมไธโอนีน 0.586 กรัม ทรีโอนีน 0.736 กรัม ซีสทีอีน 0.358 กรัม ซีรีน 0.967 กรัม ฟีนิลอะลานีน 0.940 กรัม อะลานีน 0.927 กรัม อาร์จินีน 2.630 กรัม โปรลีน 0.810 กรัม ไกลซีน 1.215 กรัม ฮิสทิดีน 0.522 กรัม ทริปโตเฟน 0.388 กรัม ไทโรซีน 0.743 กรัม วาลีน 0.990 กรัม ไอโซลิวซีน 0.763 กรัม ลิวซีน 1.358 กรัม ไลซีน 0.569 กรัม
ไฟโตสเตอรอล 714 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 5 ไมโครกรัม วิตามินเอ 9 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.25 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.791 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.247 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 4.515 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.050 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.790 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 97 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 975 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 14.55 มิลลิกรัม ธาตุซีลีเนียม 5.7 ไมโครกรัม ธาตุโซเดียม 11 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 629 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 7.75 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 468 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 351 มิลลิกรัม
ธาตุแมงกานีส 2.460 มิลลิกรัม และธาตุทองแดง 4.082 มิลลิกรัม

สรรพคุณของงาดำ

สำหรับ สรรพคุณทางยาของงาดำ ประกอบด้วย ช่วยชะลอความแก่  ช่วยบำรุงผิว ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ช่วยซ่อมแซมผิวพรรณ ช่วยบำรุงรากผม ช่วยให้ผมดกเงางาม ช่วยป้องกันการเกิดผมหงอก ช่วยบำรุงกำลัง ช่วยสลายไขมัน ใช้ลดความอ้วน ช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในร่างกาย ช่วยป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยบำรุงสมอง ช่วยบำรุงโลหิต ลดความดันโลหิต ช่วยขยายหลอดเลือด ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว ช่วยให้นอนหลับสบาย  ป้องกันโรคหวัด ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยบรรเทาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยป้องกันโรคข้อเสื่อม

ข้อควรระวังในการบริโภคงาดำ

  1. สำหรับคนที่ลดน้ำหนักโดยการกินงาดำ เนื่องจากงาดำมีน้ำหนักเบา ซึ่งทำให้น้ำหนักตัวลดมาก อาจไม่ดีต่อสุขภาพ
  2. การบริโภคเมล็ดงาดำ มากเกินไปทำให้ลำไส้ใหญ่ถูกทำลายได้ และเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
  3. เมล็ดงา ทำให้ลำไส้ใหญ่อักเสบได้ และอาจทำให้ท้องผูก ปวดท้องได้
  4. อาการแพ้งาดำ ในการบริโภคงาดำสามารถทำให้แพ้ได้ อาการการแพงงาดำ เช่น ระบบย่อยอาหารผิดปกติ ตาอักเสบ น้ำมูกไหล หายใจลำบาก เป็นต้น หรือบางรายมีอาการแพ้อย่างรุนแรง คือ หอบ ความดันโลหิตต่ำ รู้สึกแน่นหน้าอก และทางเดินหายใจตีบตัน อาจเสียชีวิตได้ในที่สุด
  5. การบริโภคงาดำมากเกินไปอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่ไส้ติ่งได้
  6. คุณสมบัติหนึ่งของาดำคือ เป็นยาระบาย ซึ่งถ้าบริโภคมากเกินไปจะทำให้มีการถ่ายท้องมากเกินไป
  7. งาดำมีสรรพคุณในการบำรุงผม แต่ถ้าหากใช้มากเกินไป จะทำให้ผมร่วงได้
  8. ในสตรีมีครรภ์ ช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ไม่ควรรับประทานงาดำ อาจทำให้แท้งบุตรได้

ฟักข้าว Baby Jackfruit เบต้าเคโรทีนสูง ลักษณะของต้นฟักข้าว คุณค่าทางโภชนาการของฟักข้าว สรรพคุณใช้ถอนพิษ แก้ปวดหลัง ลดน้ำตาลในเลือด โทษของฟักข้าว

ฟักข้าว สมุนไพร สรรพคุณของฟักข้าว

ฟักข้าว ภาษาอังกฤษ เรียก Baby Jackfruit มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Momordica cochinchinensis (Lour) Spreng. ฟักข้าวมีชื่ออื่นๆ เช่น มะข้าว ขี้กาเครือ พุกู้ต๊ะ ผักข้าว เป็นต้น ต้นฟักข้าว มีถิ่นกำเนิดในประเทศพม่า ไทย จีน ลาว เขมร บังกลาเทศ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และมาเลเซีย

ประโยชน์ของฟักข้าว มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยในการชะลอวัย ป้องกันการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ปัญหาผิวแห้งกร้าน ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด ซึ่งฟักข้าวมีเบตาแคโรทีนสูงกว่าแครอท 10 เท่า และมีไลโคปีนมากกว่ามะเขือเทศ 12 เท่า ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ป้องกันโรคเกี่ยวกับดวงตา โรคต้อกระจก ประสาทตาเสื่อม ตาบอดตอนกลางคืน ช่วยป้องกันโรคหัวใจ หลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด ช่วยป้องกันและช่วยยับยั้งการเกิดลิ่มเลือดในเส้นเลือด ช่วยป้องกันเส้นเลือดในสมองแตก ซึ่งเป็นสาเหตุของการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ฟักข้าวมีโปรตีนที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อเอดส์ (HIV) และยังช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย ซึ่งได้ทำการจดสิทธิบัตรในประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ฟักข้าวมีฤทธิ์ในการต่อต้านมะเร็ง ไวรัส ช่วยยับยั้งระดับน้ำตาลในเลือด และยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีน ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารและมะเร็งปอด

งานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮานอยพบว่า น้ำมันจากเยื่อหุ้มเมล็ดของฟักข้าวมีประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งตับ ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ ช่วยในการขับเสมหะ ใช้กลั้วคอช่วยลดอาการเจ็บคอหรืออาการอักเสบที่ลำคอ ฟักข้าวเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในระยะพักฟื้นหรือผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ มีโรคประจำตัวหรือร่างกายอ่อนแอ รากฟักข้าวใช้แช่น้ำสระผม ช่วยทำให้ผมดกดำขึ้น แก้ปัญหาผมร่วง แก้อาการคันหนังศีรษะ รังแค และช่วยฆ่าเหาได้อีกด้วย

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ ได้ทำการศึกษาร่วมกันในเรื่องของการนำน้ำมันเยื่อหุ้มเมล็ดของฟักข้าวมาพัฒนาเป็นเครื่องสำอางสูตรลดเลือนริ้วรอย ซึ่งก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จนได้รับรางวัล “IFSCC Host Society Award 2011” จากงานประชุมสมาพันธ์นักเคมีเครื่องสำอางนานาชาติ ผลอ่อนฟักข้าวใช้ทำเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็นนำไปต้มหรือนึ่งจิ้มกินกับน้ำพริก หรือนำไปใส่แกงต่าง ๆ เช่น แกงส้มลูกฟักข้าว เป็นต้น ยอดฟักข้าวอ่อนใช้ทำเป็นอาหารก็อร่อย (กลิ่นจะคล้าย ๆ กับยอดหรือใบมะระ) เมนูฟักข้าว เช่น แกงเลียง แกงส้ม ผัดไฟแดง คั่วแค ใช้ลวกหรือต้มกินกับน้ำพริก ฯลฯ ฟักข้าวสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายอย่าง เช่น น้ำฟักข้าว ฟักข้าวแคปซูล เป็นต้น

ลักษณะของต้นฟักข้าว

ต้นฟักข้าว เป็นพืชล้มลุก เป็นพืชชนิดเถาไม้เลื้อย สามารถขยายพันธ์ได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ด การปักชำ การทาบกิ่ง การตอนกิ่ง ลักษณะของต้นฟักข้าว มีดังนี้

  • ลำต้นฟักข้าวลักษณะคล้ายกับต้นตำลึง ลำต้นกลม อ่อนอวบน้ำ ผิวขลุขละ สีเขียว
  • ใบของฟักข้าวเป็นใบเดี่ยว รูปร่างคล้ายกับหัวใจ ทรงรี ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก
  • ดอกของฟักข้าวจะออกตรงข้อต่อตามซอกใบ ลักษณะของดอกฟักข้าวเหมือนกับดอกตำลึงเลย มีกลีบดอกสีขาว ดอกของฟักข้าวจะมีสีเหลือง
  • ผลของฟักข้าวจะคล้ายรูปไข่เปลือกมีหนามเล็กๆ ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกสีส้ม
  • เมล็ดของฟักข้าว จะอยู่ในผลของฟักข้าวเหมือนเมล็ดแตง

คุณค่าทางโภชนาการของฟักข้าว

นักโภชนาการ ได้ศึกษา ฟักข้าว พบว่า ในผลอ่อนของผักข้าวขนาด 100 กรัม มีกากใยอาหาร 1 กรัม น้ำตาล 1.8 กรัม โปรตีน 0.98 กรัม มีวิตามินซี 0.04 มิลลิกรัม บีต้าแคโรทีน 91 มิลลิกรัม แคลเซียม 0.34 มิลลิกรัม ในฟักข้าวจะมีบีตาแคโรทีนมากกว่าแครอตถึง 10 เท่าตัว มีไลโคพีนมากกว่ามะเขือเทศถึง 12 เท่าตัว

สรรพคุณของฟักข้าว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากฟักข้าว ด้านกรบำรุงร่างกายและการรักษาโรค เราสามารถนำฟักข้าวมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ ใบ ราก ผล เมล็ด รายละเอียด ดังนี้

  • ใบของฟักข้าว เรานำมาใช้ ช่วยลดน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานได้ ช่วยแก้ไข้ตัวร้อนได้ ใช้รักษาริดสีดวง แก้อาการปวดหลังได้ แก้กระดูกเดาะ ช่วยถอนพิษอักเสบ รักษาฝี รักษาหูด
  • รากของฟักข้าว เรานำมาใช้ ดื่มช่วยถอนพิษ ช่วยขับเสมหะ ช่วยลดไข้ แก้ปวดตามข้อ
  • ผลอ่อนของฟักข้าว ใช้ลดน้ำตาลในเลือด ใช้รักษาโรคเบาหวาน
  • เมล็ดของฟักข้าว ใช้ในการ รักษาฝีในปอด รักษาท่อน้ำดีอุดตัน ช่วยขับปัสสาวะ รักษาอาการอักเสบ รักษาอาการบวม รักษากลากเกลื้อน รักษาโรคผิวหนัง

โทษของฟักข้าว

สำหรับผลฟักข้าวสามารถรับประทานได้ แต่เมล็ดดิบของฟักข้าวมีความเป็นพิษ การรับประทานเมล็ดของฟักข้าวอาจทำให้เกิดอาการแพ้ มึนเมา อาเจียน เป็นอันตรายได้


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove