กระเทียม สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหาร คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม ประโยชน์และสรรพคุณเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ลดความดัน รักษาแผล ช่วยขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ บำรุงธาตุ

กระเทียม พีชสวนครัว สมุนไพร สรรพคุณของกระเทียม

ต้นกระเทียม มีชื่อสามัญ ว่า Garlic ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเทียม คือ Allium sativum L. จัดว่าเป็นพืชในวงศ์พลับพลึง ( AMARYLLIDACEAE ) และอยู่ในวงศ์ย่อย ALLIOIDEAE การปลูกกระเทียมในประเทศไทยนั้น นิยมปลูกมากในทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่กระเทียมที่ขึ้นชื่อว่ามีคุณภาพดี ต้องกระเทียมศรีสะเกษ กระเทียม นั้น ช่วยรักษาโรคกลากเกลื้อน ใช้น้ำคั้นหัวกระเทียมผสมน้ำอุ่นและเกลือ ใช้กลั้วคอใช้รักษาโรคทอนซิลอักเสบ กระเทียม นิยมปลูกมากในทางภาคอีสานและภาคเหนือ

ลักษณะของกระเทียม

กระเทียม เป็นพืชล้มลุก ลำต้นสูง 2 ฟุต หัวกระเทียมมีลักษณะกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 เซ็นติเมตร ด้านนอกเป็นกลีบเล็กๆ จำนวน 10-15 กลีบ ส่วนเนื้อของกระเทียมมีสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นฉุนจัด

คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกระเทียมสด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้ลังงาน 149 กิโลแคลอรี มีสารสำคัยประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 33.06 กรัม น้ำตาล 1 กรัม กากใยอาหาร 2.1 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม โปรตีน 6.36 กรัม วิตามินบี 1 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.11 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.7 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.596 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 1.235 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 3 ไมโครกรัม วิตามินซี 31.2 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 181 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.672 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 153 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 401 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 1.16 มิลลิกรัม และธาตุซีลีเนียม 14.2 ไมโครกรัม

สรรพคุณของกระเทียม

สมุนไพร กระเทียม นิยมนำมาทำอาหาร กระเทียมมีกลิ่นฉุน ให้ความหอมในอาหาร และมีรสหวานหากนำมาต้ม การบริโภคกระเทียมก็เหมือนการกินยา เป็นอาหารสุมนไพร อาหารสุขภาพ บำรุงร่างกายมากมาย เราได้รวบรวม สรรพคุณของกระเทียมมาให้เพื่อนๆได้เป็นข้อมูล การนำกระเทียมมาใช้ประโชยน์

  1. กระเทียมใช้ช่วยบำรุงผิวหนัง ให้มีสุขภาพผิวดี
  2. กระเทียมนำมาใช้ ช่วยการเจริญอาหารให้อยากกินอาหารจะได้เจริญเติบโต ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของเนื้อเยื่อ บำรุงข้อต่อและกระดูกในร่างกาย
  3. การบริโภคกระเทียมช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้
  4. กระเทียมกินดี ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันร่างกาย
  5. สรรพคุณบำรุงเลือด หากต้องการลดไขมันในเส้นเลือด และลดน้ำตาลในเส้นเลือดควรกินกระเทียม ช่วยป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว ช่วยในการละลายลิ่มเลือด มีสารต่อต้านไม่ให้เม็ดเลือดแดงแตก
  6. ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย คือ ประโยชน์ของกระเทียมอีกข้อหนึ่ง
  7. กระเทียมช่วย ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ
  8. เพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้โดย กระเทียมจะช่วยในเรื่องระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินปัสสาวะ เพราะกระเทียมมีสารบางตัวที่ควบคุมฮอร์โมนทั้งหญิงและชาย ช่วยทำให้มดลูกบีบตัว เพิ่มพละกำลังให้มีเรี่ยวแรง ช่วยป้องกันการเกิดโรคไต
  9. กระเทียมช่วยรักษาความดันโลหิตสูง ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ
  10. กระเทียม มีประโยชน์ด้านผมและหนังศีรษะโดยช่วยแก้ปัญหาผมบาง ยาวช้า มีสีเทา
  11. กระเทียมบำรุงโลหิต ช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง
  12. ช่วยในการขับพิษ และสารพิษอันตรายที่ปนเปื้อนในเม็ดเลือด
  13. สรรพคุณป้องกัน อาการไอ น้ำมูกไหล ป้องกันหวัด โรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ กระเทียมช่วยแก้อาการหอบ หืด ช่วยรักษาโรคหลอดลม ช่วยระงับกลิ่นปาก ช่วยในการขับเหงื่อ
  14. กระเทียมช่วย ขับเสมหะ ช่วยควบคุมโรคกระเพาะ ด้วยสารที่ช่วยยับยั้งไม่ให้น้ำย่อยอาหารมาย่อยแผลในกระเพาะ มีสรรพคุณช่วยในการขับลม ช่วยรักษาอาการจุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก โรคบิด
  15. กระเทียม สรรพคุณช่วยในการขับปัสสาวะ ช่วยในการขับพยาธิได้หลายชนิด เช่น พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย พยาธิเข็มหมุด พยาธิไส้เดือน เป็นต้น ช่วยรักษาโรคตับอ่อนอักเสบชนิดรุนแรงได้
  16. กระเทียมมีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อรา แบคทีเรีย เชื้อราตามหนังศีรษะและเล็บ และการยับยั้งเชื้อ เช่น เชื้อฝีหนอง คออักเสบ เชื้อปอดบวม เชื้อวัณโรค เป็นต้น
  17. กระเทียมช่วย บรรเทาอาการปวดข้อและปวดเมื่อยตามร่างกาย กระเทียมมีกลิ่นฉุนจึงสามารถช่วยไล่ยุงได้เป็นอย่างดี

ข้อควรคำนึงในการบริโภคกระเทียม

  1. การบริโภคกระเทียม เนื่องจากกลิ่นฉุนของกระเทียมหากบริโภคมากเกินไปจะเสียรสชาติของอาหาร การ
  2. ใช้กระเทียมในการบริโภคสดให้ใส่ในปริมาณที่เหมาะสม
  3. สารอาหาร จำพวกอาหารเสริมที่เป้นสารสกัดมาจากกระเทียม จำเป็นต้องศึกษาอย่างละเอียดถึงปริมาณในการบริโภคที่เหมาะสมต่อร่างกาย

การกินกระเทียมวันละ 5 กลีบ นั้นเป็นยาวิเศษ จะบรรเทาอาการแสบแน่นอกจากกรดไหลย้อน ลดแก็สในลำใส้ และป้องกันอาการท้องใส้ปั่นป่วน การกินกระเทียม เหมือนการกินแอสไพรินช่วยลดไข้ ที่มีประโยชน์สูงสุดคือ ช่วยต้านการแข็งตัวของเลือด กระเทียมแห้งมีฤทธิ์น้อยกว่ากระเทียมสด ไม่กินกระเทียมแทนยา แต่การกินกระเทียมต่อเนื่องในปริมาณที่เหมาะสมจะดีต่อสุขภาพ

กระเทียม สมุนไพร พืชล้มลุก นิยมนำมาทำอาหาร คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม ประโยชน์ของกระเทียม สรรพคุณของกระเทียม เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยลดความดัน รักษาแผลสด เป็นยาฆ่าเชื้อ ช่วยขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ บำรุงธาตุ  

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ผักไชยา Chaya คะน้าเม็กซิกัน สมุนไพร เรียกต้นผงชูรส ต้นไชยาเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของผักไชยา เช่น บำรุงเลือด บำรุงกระดูก โทษของผักไชยา มีอะไรบ้างคะน้าเม็กซิกัน ผักไชยา สมุนไพร ต้นผงชูรส

ต้นผักไชยา ( Chaya ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักไชยา คือ Cnidoscolus chayamansa เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับต้นยางพารา สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของผักไชยา เช่น ชายา มะละกอกินใบ คะน้าเม็กซิกัน ต้นผงชูรส ผักโขมต้น เป็นต้น ลำต้นผักไชยา นำมาตากแห้ง บดให้เป็นผง ใช้แทนผงชูรสได้ดี ใช้ผสมกับอาหาร ช่วยให้มีรสชาติกลมกล่อม ผักไชยา นิยมนำมารับประทานเป็นอาหารโดยใช้ส่วนของยอดอ่อนและใบ เมื่อเด็ดยอดอ่อนแล้วต้องนำมาปอกเปลือกออก ในเมืองไทยนิยมนำมาทำเมนู ผัดไชยาน้ำมันหอย ผักไชยาผัดไข่ ผัดราดหน้า ผัดซีอิ๊ว แกงส้ม ลวกจิ้มกับน้ำพริกก็ได้

ลักษณะของต้นผักไชยา

ต้นผักไชยา หรือ คะน้าเม็กซิกัน สามารถขยายพันธุ์ ได้โดยการตอนกิ่ง ปักชำ และ เพาะเมล็ดพันธ์ คะน้าเม็กซิโก เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่มีความชื้น ระบายน้ำได้ดี ชอบแสงแดด ระยะเวลาปลูก 60 วัน สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อนำมารับประทานได้

ต้นคะน้าเม็กซิโก เป็นไม้ยืนต้น ทรงพุ่ม ถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเขตร้อน ประเทศเม็กซิโก พบต้นคะน้าเม็กซิกัน การกระจายพันธุ์อยู่ในกัวเตมาลา และ ทวีปอเมริกากลาง ลักษณะของต้นไชยา มีดังนี้

  • ลำต้นไชยา ลักษณะอวบน้ำ ความสูงประมาณ 2 ถึง 6 เมตร เปลือกของลำต้นสีน้ำตาล ลำต้นมีน้ำยางสีขาว
  • ใบไชยา ลักษณะใบสีเขียวคล้ายใบมะละกอ ขอบเป็นแฉกๆ ใบหนึ่งมี 3 ถึง 4 แฉก
  • ดอกผักไชยา ออกดอกเป็นช่อ ดอกออกบริเวณปลายกิ่ง

ต้นไชยาเป็นไม้พุ่ม ชนิดหนึ่ง ลักษณะใบสีเขียวคล้ายใบมะละกอ เมื่อเด็ดออกมาจะมียางสีขาว ต้นโตง่าย สามารถสูงได้ถึง 6 เมตร รสชาติไม่ขม ไม่มีกลิ่นเหม็นเขียว ได้รับความนิยมนำมาปรุงเป็นอาหารในประเทศเม็กซิโก กัวเตมาลา และประเทศแถบอเมริกากลาง

คุณค่าทางโภชนาการของผักไชยา

สำหรับคะน้าเม็กซิโกหรือผักไชยา นำยมรับประทานก้านและยอด มีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบผักไชยาขนาด 100 กรัม ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอด้วย น้ำร้อยละ 85.3 คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 4.2 โปรตีนร้อยละ 5.7 ไขมันร้อยละ 0.4 กากใยอาหารร้อยละ 1.9 แคลเซียม 199.4 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 217.2 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 39 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 11.4 มิลลิกรัม วิตามินซี 164.7 มิลลิกรัม และ วิตามินเอ 0.085 มิลลิกรัม ผักไชยามีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าผักโขมมากถึง 2 เท่า

สรระคุณของผักไชยา

การนำผักไชยามาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย ใช้ประโยชน์จากก้านและใบ โดย สรรพคุณของผักไชยา มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงร่างกาย มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง
  • ช่วยบำรุงเลือด ทำให้เลือดหมุนเวียนดี ช่วยลดคอเลสเตอรอล เพิ่มธาตุเหล็กให้กับเลือด ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดการอักเสบในเส้นเลือด ช่วยบรรเทาโรคไขข้ออักเสบ
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยการย่อยอาหาร ช่วยบรรเทาริดสีดวงทวาร
  • บำรุงสายตา ช่วยในการมองเห็น บำรุงสายตา
  • บำรุงกระดูก เพิ่มแคลเซียมให้กระดูก รักษาโรคกระดูกพรุน
  • บำรุงสมอง ช่วยให้สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันอาการปวดหัว
  • บำรุงระบบทางเดินหายใจ รักษาโรคหอบหืด ป้องกันอาการไอ ลดการสะสมและลดการติดเชื้อในปอด ช่วยฆ่าเชื้อในปอด
  • ช่วยลดน้ำหนัก ปรับสมดุลของระบบการเผาผลาญ
  • บำรุงตับ ช่วยล้างพิษในตับ

โทษของผักไชยา

ต้นไชยามีพิษ เนื่องจาก มีสารกลูโคไซด์ เป็นสารที่อยู่ในผักไชยาดิบ การนำผักไชยามารับประทานต้องทำให้้สุกก่อน เพื่อทำลายฤทธิ์ของสารพิษ ให้นำไปต้ม หรือ ผัด อย่างน้อย 1 นาที และ  ห้ามต้มในภาชนะอะลูมิเนียม เพราะ อาจทำให้น้ำพิษ ทำให้ท้องร่วงได้

ผักไชยา ( Chaya ) หรือ คะน้าเม็กซิกัน สมุนไพร ต้นผงชูรส ลักษณะของผักไชยา เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของผักไชยา เช่น บำรุงเลือด บำรุงกระดูก โทษของผักไชยา มีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove