ทับทิม ( Pomegranate ) สมุนไพร ประโยชน์และสรรพคุณรักษาแผล ช่วยเจริญอาหาร แก้ท้องร่วง เป็นยาถ่ายพยาธิ ใบทับทิม ลักษณะของต้นทับทิม การขยายพันธุ์ มีอะไรบ้าง

ทับทิม ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณทับทิม

ต้นทับทิม เป็น ผลไม้ ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอิหร่าน และ อัฟกานิสถาน ผลไม้ ชนิดนี้จะ ชอบอากาศหนาวเป็นพิเศษ ยิ่งหนาวมากเท่าไหร่ เนื้อทับทิมนั้นจะมีสีแดงเข้มมากขึ้นเท่านั้น และยังเป็นผลไม้มงคลของคนจีนอีกด้วย ด้วยความที่ทับทิมมีเมล็ดมากจึงสื่อความหมายถึงการมีลูกชายมาก ๆ ด้วยนั่นเอง โดยกิ่งใบของทับทิมก็นำมาใช้ในพิธีการต่าง ๆ ที่มีน้ำมนต์ในการประกอบพิธีหรือนำมาใช้พรมน้ำมนต์เพราะเชื่อว่ามีไว้ติดตัวจะช่วยในเรื่องการคุ้มครองจากภัยอันตรายต่าง ๆ ได้ด้วย

ทับทิม เป็นผลไม้ ที่มีสรรพคุณทางสมุนไพร ที่มีรสชาติหอมหวาน ทับทิม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Punica granatum Linn ชื่ออื่นๆของทับทิม เช่น มะแก๊ะ มะก่องแก้ว พิลาขาว หมากลิง พิลา เจียะลิ้ว

คุณค่าทางโภชนาการของทับทิม

ทับทิม 100 กรัม มีพลังงาน 83 กิโลแคลอรี่ น้ำตาล 13.67 กรัม คาร์โบไฮเดรต 18.7 กรัม  เส้นใย 4 กรัม โปรตีน 1.67 กรัม ไขมัน 1.17 กรัม  วิตามินบี2 0.053 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.067 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.293 มิลลิกรัม วิตามินบี9 38 ไมโครกรัม วิตามินบี6 0.075 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.377 มิลลิกรัม  โคลีน 7.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 10.2 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.6 มิลลิกรัม วิตามินเค 16.4 ไมโครกรัม แคลเซียม 10 มิลลิกรัม เหล็ก 0.3 มิลลิกรัม แมงกานีส 0.119 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 12 มิลลิกรัมโพแทสเซียม 236 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 36 มิลลิกรัม สังกะสี 0.35 มิลลิกรัม โซเดียม 3 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นทับทิม

ต้นทับทิม เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก เปลือกลำต้นของทับทิมมีสีเทา กิ่งของทับทิมมีหนามแหลมยาว ใบของทับทิมมีลักษณะเป็นรูปยาวรี ปลายใบเรียวแหลมสั้น ผิวหลังใบเป็นมัน ดอกของทับทิมออกเป็นช่อ สีส้ม สีขาว หรือสีแดง ผลของทับทิมมีลักษณะกลม ผิวเปลือกนอกหนา ผลของทับทิมเมื่อสุกเต็มที่จะมีสีเหลืองปนแดง ข้างในผลของทับทิมจะมีเมล็ดเป็นจำนวนมาก เป็นรูปเหลี่ยม มีสีชมพูสด การขยายพันธุ์ ทับทิม สามารถขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง หรือการใช้เมล็ด

สรรพคุณของทับทิม

สามารถใช้ทั้งส่วน เปลือกของลำต้น ใบ ดอก เปลือกผล เมล็ดและเปลือกราก รายละเอียดของ สรรพคุณของทับทิม มีดังนี้

  • ใบของทับทิม นำใบสดมาต้ม และกรองเอาน้ำใช้ล้างแผล ที่มีหนองเรื้อรังบนหัว หรือนำใบสอมาตำและพอกแผล
  • เปลือกของต้นทับทิม ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิได้ดี
  • เมล็ดของทับทิม นำมาบดให้ละเอียด กินเป็นยา รักษาโรคกระเพาะอาหาร บำรุงกระเพาะอาหาร ทำให้เจริญอาหาร และแก้ท้องร่วง
  • เปลือกรากของทับทิม ใช้เปลือกรากแห้ง มาต้มกิน เป็นยา แก้ระดูขาว ตกเลือด ถ่ายพยาธิ หล่อลื่นลำไส้ แก้ท้องเสีย และโรคบิดเรื้อรัง
  • ดอกของทับทิม ใช้ดอกแห้งมาต้มกรองเอาน้ำ ดื่มเป็นยา แก้หูอักเสบ หรือใช้ทาแผลที่มีเลือด ช่วยห้ามเลือดได้ดี
  • เปลือกของผลทับทิม นำเปลือกแห้งมาบดให้ละเอียดหรือต้มน้ำกิน ใช้เป็นยา แก้ท้องเสีย บิดเรื้อรัง ถ่ายเป็นเลือด ถ่ายพยาธิตกขาว

ทับทิม ( Pomegranate ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของทับทิม คือ Punica granatum Linn พืชลมลุก นิยมกินผล สมุนไพร ประโยชน์ของทับทิม สรรพคุณของทับทิม รักษาแผล ช่วยเจริญอาหาร แก้ท้องร่วง เป็นยาถ่ายพยาธิ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม รักษาโรคกระเพาะ รักษาลำไส้อักเสบ แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง ทับทิม ต้นทับทิม วิธีปลูก ใบทับทิม ลักษณะของแร่ทับทิม การขยายพันธุ์ ทับทิม ดอกทับทิม

ทับทิม ยังถือว่าเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพ โดย ประโยชน์ของทับทิม และ สรรพคุณของทับทิม นั้นมีมากมาย ด้วย ทับทิม นั้นเป็น ผลไม้ ที่มี รสหวานออกเปรี้ยว น้ำทับทิม จึงมีวิตามินซีสูงและยังประกอบด้วย เกลือแร่ ต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย จึงช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี และนอกจากนี้ยังมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคได้อีกด้วย อย่างเช่น บรรเทาอาการของโรคหัวใจ รักษาความดันโลหิตสูง ช่วยลดสภาวะการแข็งตัวขอเลือด รักษาโรคท้องเดิน โรคบิด เป็นต้น

ทับทิม ( Pomegranate ) พืชลมลุก สมุนไพร ประโยชน์ของทับทิม สรรพคุณของทับทิม รักษาแผล ช่วยเจริญอาหาร แก้ท้องร่วง เป็นยาถ่ายพยาธิ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ใบทับทิม ลักษณะของต้นทับทิม การขยายพันธุ์ มีอะไรบ้าง

มะรุม ( Horse radish tree ) สมุนไพร สารพัดประโยชน์ ลักษณะของต้นมะรุม โทษของมะรุม สรรพคุณของมะรุม แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงสายตา ป้องกันมะเร็ง

มะรุม สมุนไพร สรรพคุณของมะรุม

ต้นมะรุม มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Moringa oleifera Lam. ภาษาอังกฤษ เรียก Horse radish tree หรือ Drumstick ชื่ออื่นๆ เช่น กาเน้งเดิง ผักเนื้อไก่ ผักอีฮึม ผักอีฮุม มะค้อนก้อม เส่ช่อยะ ต้นมะรุม จัดเป็นพืชผักพื้นบ้านของไทยซึ่งเป็นพืชผักสมุนไพรโดยมีต้นกำเนิดในแถบทวีปเอเชีย อย่างประเทศอินเดียและศรีลังกา โดยเป็นไม้ยืนต้นที่โตเร็ว ปลูกง่ายในเขตร้อน ทนแล้ง สามารถรับประทานได้ทุกส่วนไม่ว่าจะเป็นฝัก ใบ ดอก เมล็ด ราก เป็นต้น แต่ถ้านำมาใช้เป็นยาสมุนไพรนั้นจะใช้เกือบทุกส่วนของต้นมะรุมรวมทั้งเปลือกด้วย

ลักษณะของต้นมะรุม

มะรุม เป็นไม้ยืนต้น มีความสูงประมาณ 3-5 เมตร มีเปลือกสีขาว รากของมะรุมจะหนานุ่ม ใบสลับแบบขนนก รูปไข่ ใบจะมีสีเขียวอ่อน ดอกของมะรุม จะออกเป็นช่อแยกแขนง มีกลีบดอก 5 กลีบ สีขาวอมเหลือง

คุณค่าทางโภชนาการของมะรุม

  • คุณค่าทางโภชนาการของฝักมะรุม 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 32 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย แคลเซียม 9 มิลลิกรัม เส้นใย 1.2 กรัม เหล็ก 1.5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม  วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัม วิตามินเอ 532 IU วิตามินซี 262 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.6 มิลลิกรัม
  • คุณค่าทางโภชนาการของใบมะรุม 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 37 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 8.53 กรัม กากใยอาหาร 3.2 กรัม ไขมัน 0.20 กรัม โปรตีน 2.10 กรัม น้ำ 88.20 กรัม วิตามินเอ 4 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.0530 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.074 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.620 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.794 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.120 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 44 ไมโครกรัม วิตามินซี 141.0 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.36 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 45 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.259 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 50 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 461 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 42 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.45 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะรุม

นิยมใช้ฝักมะรุมมาใช้ประโยชน์ พบว่ามะรุมสามารถนำมาใช้ประโยชน์ เช่น

  1. ใช้รักษาโรคเบาหวาน นิยมให้ผู้ป่วยบริโภคมะรุม เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ไม่สูงเกินไป
  2. สามารถนำมาใช้รับประทาน เพื่อ ลดความดันโลหิต ในผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง
  3. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย
  4. มะรุมมีสารต้านอนุมูลอิสระ หากรับประทานสม่ำเสมอ ในปริมาณที่เหมาะสมสามารถใช้ป้องกันมะเร็งได้
  5. มะรุมสามารถใช้รักษาโรคลำไส้อักเสบ หรือ โรคที่เกี่ยวข้องกับภายในช่องท้องได้ เช่น โรคพยาธิในลำไส้
  6. รักษาปอดให้แข็งแรง รักษาโรคทางเดินของลมหายใจ และโรคปอดอักเสบ
  7. มะรุมช่วยบำรุงสายตา เนื่องจาก ฝักของมะรุมมีวิตามินเอสูง

โทษของมะรุม

มะรุม ไม่ได้ปลอดภัยไปเสียทีเดียว เพราะ ในตัวของมะรุมเองนั้นก็มีพิษเหมือนกัน เนื่องจากมะรุมเป็นพืชในเขตร้อน สำหรับหญิงตั้งครรภ์หากรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไปก็อาจจะทำให้แท้งบุตรได้ และยังรวมไปถึงผู้ป้วยโรคเลือดก็ไม่ควรรับประทานมะรุมเช่นกัน เพราะจะทำให้เม็ดเลือดแตกง่าย นอกจากนี้ผู้ที่เป็นโรคเกาต์ก็ไม่ควรรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไป เพราะมะรุมมีโปรตีนที่ค่อนข้างสูงมาก แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้ความว่ามันจะไม่ปลอดภัย เพราะคนไทยนิยมนำมาประกอบอาหารมานานมากแล้ว ซึ่งสำหรับผู้ที่คิดจะดูแลสุขภาพด้วยการหันไปซื้อมะรุมสกัดแคปซูลมารับประทานนั้น ก็ควรจะต้องระมัดระวังและควรเลือกซื้อมะรุมแคปซูลที่มี อย ด้วย

มะรุม ( Horse radish tree ) สมุนไพร สารพัดประโยชน์ ลักษณะของต้นมะรุม โทษของมะรุม สรรพคุณของมะรุม แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงสายตา ป้องกันมะเร็ง ยาถ่ายพยาธิ รักษาเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิตสูง รักษาโรคกระเพาะ รักษาลำไส้อักเสบ สร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย รักษาโรคปอด รักษาโรคระบบทางเดินหายใจ ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะรุม Moringa oleifera Lam


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove